วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ผลงานบางส่วนของสมาชิกออร์กาเนลไลฟ์ ที่ใช้ผลิตภัณฑ์กับมันสำปะหลัง

ผลงานบางส่วน ของออร์กาเนลไลฟ์ที่ประมวลภาพไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นศึกษาหาแนวทางพัฒนาผลผลิตมันสำปะหลังไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง  สมาชิก ที่อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เปิดใจยอมรับการพัฒนาการปลูกมันสำปะหลังอย่างมีวิทยาการและพัฒนามาสู่การเพิ่มรายได้


พื้นที่มันสำปะหลัง พืชนี้มีพื้นที่มากกว่า 8 ล้านไร่(ในปี 2558) "สินค้า" และ "องค์ความรู้" ควบคู่ "ประสบการณ์" ที่ "ใช่" เท่านั้นคือ...คำตอบ ที่ยั่งยืน



ขวัญใจ ชาวไร่มันสำปะหลัง ยุคใหม่ โดย บริษัทออร์กาเนลไลฟ์ (www.organellelife.com)
 ในภาพ: มันสำปะหลังอายุ 6 เดือน




มันสำปะหลังในกระบวนการของ "ORG-Model" โดยออร์กาเนลไลฟ์ (อายุ 8 เดือน กำลังรอถอน น้ำหนักนำมาชั่งได้ต้นละเฉลี่ยประมาณ 15 กก.ของคุณบัวทอง คำจูมจัง บ้านหนองหิ้ง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ )


18 พฤศจิกายน 2556 เยี่ยมชมแปลงมันสำปะหลัง อายุ 6 เดือนกว่า (ปลูก 10 พค56) ของพ่อบุญรอด พะโส อำเภอบ้านม่วง สกลนคร เพื่อพิสูจน์การทำงานของ"ซาร์คอน"(SARCON) ,ไบโอ-เจ็ท(BIO-JET) และ"แอคซอน"(AXZON) ในภาพยังไม่ได้ฉีดพ่น"เพาเวอร์-ไฟว์(PATHWAY#Power5) เพื่อสั่งลงแป้ง ให้หัวใหญ่ หัวหนัก เปอร์เซนต์แป้งเยอะ


ทดลองขุดมัน 6 เดือน ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการ "สั่งลงแป้ง"(Starch Synthesis) และเป็นมันที่ปลูกในดินลูกรัง โครงสร้างดินแย่มาก แต่ผ่านกระบวนการ"สั่งลงราก"(Root Revitalization) รากดก รากเยอะ และผ่านกระวนการ "สั่งลงหัว"( Tuberization) แล้ว "รากดก หัวดก เพราะเปลี่ยนรากเป็นหัวได้หมดจด" รากทุกราก ต้องเป็นหัว อย่ามัวหลงทาง ยืนยัน..ฟันธง!!

ใช้ผลิตภัณฑ์ของออร์กาเนลไลฟ์ กับมันสำปะหลัง ของเขา "สุดยอด" จริงๆครับ (มันอำเภอบ้านด่าน บุรีรัมย์ ของคุณกนกเพชร ดวงนาค ศูนย์ODSC อำเภอบ้านด่าน)
พันธุ์ก็มีส่วนครับ แต่ไม่อยากให้ไปซีเรียสจนต้องกังวลและทุ่มทุนเรื่องพันธุ์ เสมือนคนไทยก็ฉลาดและโตใหญ่ได้ถ้าดูแลดี โภชนาการดี ไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่งตาน้ำข้าวหรอกที่โตใหญ่ ฝรั่งแคระ ตัวเล็ก ขี้โรคก็มีเยอะครับ เราเน้นดูแลกระบวนการทำงานทางชีวเคมี(Biochemistry)ภายในต้นพืชเป็นหลักครับ
รายละเอียดศึกษาได้ที่www.organellelife.com ครับ


มี 3 กระบวนการที่สำคัญและเราเน้นมากสำหรับมันสำปะหลัง นั่นคือ
(1) กระบวนการสั่งลงราก ด้วยกระบวนการ"Revitalization of Root Cell" 
(2) กระบวนการสั่งลงหัว ด้วยกระบวนการ"Tuberization" 
(3) กระบวนการสั่งลงแป้ง ด้วยกระบวนการ" Starch Synthesis " 

ทั้ง 3 กระบวนการ จะมีสารสำคัญทางชีวเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาควบคุมตามธรรมชาติ แต่อาจไม่สมบูรณ์เราจึงสร้างสารเลียนแบบตามธรรมชาติของพืชขึ้นมาควบคุมแทน นี่คือหัวใจสำคัญในภาวะปัจจุบันที่โลกวิปริตจาก"ภาวะวิกฤติโลกร้อน"(Global Warming) ที่รุนแรงและเสียหายมากต่อสภาวะแวดล้อมทางดินฟ้าอากาศต่อพืชนะครับ

กระบวนการสั่งลงราก"Root Revitalization"


กระบวนการสั่งลงหัว "Tuberization" เปลี่ยนรากให้เป็นหัว โดยการบังคับการเจริญเติบโตให้เปลี่ยนจากทางด้านElongation Growth มาเป็นการเจริญทางด้านLateral Growthเพื่อสะสมแป้งที่รากให้เป็นหัวมัน รากทุกรากต้องเป็นหัว ด้วยฮอร์โมนที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบในกระบวนการชีวเคมี (Biochemistry)



กระบวนการสั่งแป้ง"Starch Synthesis" ด้วยสารตั้งต้น(Precursor) ที่มีชื่อว่า "Malate" และ"Glutamate" เพื่อเพิ่มเปอร์เซนต์แป้งให้สูงขึ้น


กระบวนการ "สั่งลงหัว"(Tuberization) ต้องมั่นใจได้ว่า"ถึงเวลาลงหัว ก็ต้องลงหัว อย่ามัวหลงทาง" รากทุกราก ต้องเป็นหัว ให้ได้หมดสิ้น ไม่ยกเว้นแม้จะเป็น รากกิ่ง รากติ่ง รากแขนง


ที่เห็นทั้งหัวดกและหัวใหญ่ เพราะการดูแลองค์ประกอบครบถ้วนครับกับกระบวนการทำงานของต้นมันสำปะหลังอย่างถูกต้องถูกวิธี ไม่มีสะดุด ตั้งแต่การสั่งลงราก(Root Revitalization) กระบวนการสั่งลงหัว (Tuberization) กระบวนการสั่งลงแป้ง(Starch Synthesis) ทั้งๆที่การเตรียมดินอาจจะไม่ครบถ้วน ระบบน้ำก็ไม่มีอาศัยเทวดา พันธุ์ก็ใช้พันธุ์ธรรมดาพื้นๆทั่วไป ครับ ใช้พันธุ์ ระยอง 9 เท่านั้นเอง และมีพันธุ์อื่นปะปนบ้างเล็กน้อย



ต้นแบบนี้หัวละประมาณ 21 กิโลกรัม(มันบึงกาฬ ปลูกในแปลงยางปลูกใหม่)
ใช้แอคซอน ตัวเดียวก็จะได้ผล เรื่องสั่งลงหัว(Tuberization) เรื่องเดียวเท่านั้นแต่ได้ 100% ครับอาทิ ปลูกแล้วมีรากดีมาก รากเยอะ แต่ไม่ค่อยจะเป็นหัวทั้งหมด แต่ถ้าใช้แอคซอนสั่ง การลงหัวก็จะเต็มที่ไม่มีพลาด เพราะกระบวนการทำงานในต้นมัน มันจะถูกบังคับให้ทำหน้าที่ลงหัวเมื่อฮอร์โมนที่เป็นกรดอินทรีย์ตัวหนึ่งมันมีปริมาณมากพอที่จะทำงานตามกลไกของกระบวนการ "Tuberization" แต่แค่ใช้ "แอคซอน" เพียงอย่างเดียวผลลัพธ์ก็เกินคาดแล้วครับเมื่อเทียบกับไม่ใช้ การันตีจากคนที่ใช้แอคซอนเพียงอย่างเดียว ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัวเกือบทุกราย อาทิเคยได้ไร่ละ 3 ตัน ก็จะเป็น 6-7 ตัน/ไร่ (โดยเฉลี่ย) ที่เพิ่มมากกว่านั้นก็มีอาทิ เคยปลูก 10 ไร่ได้ 11 ตัน ทุกปี ทุกปี @ได้ไร่ละ1.1 ตัน แต่พอมาใช้ "แอคซอน" กลับได้มา 50 ตัน(ไร่ละ5 ตัน)เพิ่มขึ้นมาถึง 5 เท่าตัว (เคสนี้อยู่ที่อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย) ผลลัพธ์ที่กล่าวมาทั้งหมด การเปรียบเทียบระหว่างใช้กับไม่ใช้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ทุกอย่างต้องเหมือนเดิมคือ การปฏิบัติแบบเดิมๆ พื้นที่เดิม พันธุ์เดิม ปุ๋ย&ยาเหมือนเดิม จะแตกต่างกันก็เพียง "ใช้ กับ ไม่ใช้" แอคซอน เท่านั้นครับ

หน้าที่ของแอคซอน AXZON
ทำให้พืชเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางด้านยาว (Elongation growth) มาเป็นการเจริญเติบโตทางด้านกว้าง (Lateral growth) แทน โดย AXZON จะทำให้ระดับน้ำตาลในเซลล์สูงขึ้นทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ในแนวรัศมีของลำต้นมากขึ้นเซลล์ขยายตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มีพื้นที่พร้อมที่จะสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น




กระบวนการสั่งลงราก(Root Revitalization) ก็มีความสำคัญ "รากคือหัว หัวคือราก" และต้องเป็นราก"สะสมอาหาร"(Storage Root) ไม่ใช่ราก"หาอาหาร" (Fibrous root)เพื่อรอการสั่ง "เก็บอาหาร" จนเป็นหัวมัน


มันทีมงานอำเภอบ้านม่วง สกลนคร ขอโชว์บ้าง ปลูกที่ไหน ที่ไหน ก็ได้ผลลัพธ์ เหมือนๆกัน เพราะมันมาจากกระบวนการทำงานของพืชแบบเดียวกัน จากสินค้าออร์กาเนลไลฟ์(มันปลูกแซมในสวนยางพารา)






ก็ดูเอาเองนะครับ ปลูกเล่นๆแค่อยากลองดู ปลูกแค่ไม่ถึง 1 ไร่ ยังได้ 7 ตันกว่าๆ ทั้งๆที่ทำไม่ครบกระบวนการ เพียงแค่ฉีด"แอคซอน"(ยาสั่ง) สั่งให้ลงหัว(Tuberization) แค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น มันเลย "หัวใหญ่ หัวหนัก แป้งเยอะ" อายุเพียงแค่ 10 เดือนก็ถอนแล้วยังได้ขนาดนี้ ถ้าเก็บไว้เป็นปี ไม่หัวใหญ่ หัวหนัก มากกว่านี้เหรอ และถ้าทำครบกระบวนการของออร์กาเนลไลฟ์จะไม่ยิ่งไปกันใหญ่เหรอ10 ตันต่อไร่ไม่ใช่เรื่องยาก..และ..20 ตันต่อไร่ก็ไม่ไกลเกินฝัน แบบจับต้องได้  ด้วยหลักการทำงานของกระบวนการทำงานทางชีวเคมี(Biochemistry) ของพืชที่สมบูรณ์


มันลุงถวิลอยู่อำเภอนาแกจังหวัดนครพนมไม่ถึง1ไร่ปลูกได้สิบเดือนฉีดพ่นแค่เอคซอนเกือบ7ตัน



มันจากอำเภอบ้านด่าน บุรีรัมย์ โดยศูนย์ODSCคุณทับทิม ดวงนาค "ปลูกที่ไหน ที่ไหน ก็ได้ผลลัพธ์เหมือนกัน เพราะมันใช้กระบวนการทำงานของสินค้าตัวเดียวกัน"


ทีมกาฬสินธุ์ยืนยันว่าของทีมเขาทำจริงกับมือ ข้อมูลจริงทุกอย่างและกำลังพัฒนาสู่เป้าหมายจริงที่ตั้งไว้10-20ตัน/ไร่ ถึงไม่ได้ก็ขอให้ได้ใกล้เคียงก็พอใจแล้ว "คุณ..ได้ตามนั้น" ตามที่ขอมา



กระบวนการ "TUBERIZATION"
เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลังเมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีนอีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth)เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน
การลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้นยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงได้ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้นและสุดยอดขึ้น ดังนั้นการใช้ "ซูการ์-ไฮเวย์"(ZUKAR-Highway) ร่วม ด้วยจึงมีความจำเป็น

นี่คือ..คำตอบ ในการพัฒนาผลผลิตพืชลงหัวในยุคใหม่แห่งโลกอนาคตทางการเกษตร


“Photoperiod”
ในธรรมชาติ “Photoperiod”: หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืชตระกูลที่มีการลงหัว  เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์ “Jasmonic acid” (JA) ที่ใบและหลังจากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก (Root) จนทำให้เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวนมาก
“การลงหัว” : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ที่เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Subapical meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากและปลายยอดของพืช
หลังจากได้รับ JA  ในปริมาณที่เหมาะสม  ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเซลล์ดังนี้
1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์)
: เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน

2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์)
: เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุดแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็น “หัว”

3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพและหน้าที่)
: ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำหน้าที่ให้เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพเพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัวอย่างมีประสิทธิภาพ,สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูกสะสมได้มากขึ้นที่หัวการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้ปริมาณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น

"แอคซอน"..สารสำคัญในกระบวนการTuberization..(ลงหัว)
"ดก"..ได้ด้วยกระบวนการทำงานของพืช อย่างแท้จริง
"ดก"..ได้ด้วยกระบวนการสำคัญ"Tuberization"(กระบวนการลงหัว)



สายด่วน..พืช"ลงหัว"(Tuberization): 084-880-9595
Line ID: organellelife



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น