วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องของพริก พริกเหี่ยวเฉา พริกเน่า

พริกเหี่ยวเฉา ทีไร   หัวใจ..เกษตรกรก็เหี่ยวเฉา ตามไป
พริกเน่า ทีไร   หัวใจ..เกษตรกรก็อับเฉา ตามไปด้วย


เราจะช่วยเขาอย่างไรกันดี
วันนี้  เรามาทำ.."ประกันชีวิต" ให้กับ "พริก"  กันดีไหม?  
เพื่อไม่ให้ผลผลิต "พริก" มัน.. "พลิก" นั่นไง

ในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจของประเทศเริ่มตกต่ำและย่ำแย่ลง การประกอบอาชีพต่าง ๆ เหมือนกัน  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาราคาผลผลิตที่ตกต่ำ  ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นราคาวัสดุหรือปัจจัยการผลิต อาทิ ปุ๋ยเคมีหรือสารกำจัดศัตรูพืชต่าง ๆ ที่จำเป็น  ต่างก็ขยับราคาสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมัน จึงทำให้เกษตรกรเองก็เผชิญกับปัญหาความยากลำบากในการดำเนินอาชีพ  เพราะรายได้ลดน้อยลง  เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  การหาทางออกโดยการเรียกร้องให้มีการปรับราคาผลผลิตให้สูงขึ้น  คงเป็นเรื่องยาก  ทั้งนี้เพราะมันต้องขึ้นกับปัจจัยทางการตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงในตลาดโลก  ดังนั้นการหาทางออกจึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมด้วยช่วยกันหาแนวทางที่ดีที่สุดและมีความเป็นจริงได้มากที่สุดเพื่อให้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้มีทางออก "การเพิ่มคุณภาพ  เพิ่มผลผลิต พิชิตความเสียหาย”ของผลผลิตจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง



 เคล็ดลับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพริก
“ "เพิ่มคุณภาพ  เพิ่มผลผลิต  พิชิตความเสียหาย"”
การเพิ่มคุณภาพ  คือการทำให้ผลผลิตมีคุณภาพที่สูงขึ้น  ทำให้ได้พริกเกรดสูงมากขึ้น ทำให้ได้ราคาสูงขึ้น เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางราคา
การเพิ่มผลผลิต  คือ  การทำให้ผลผลิตมีผลใหญ่ ผลยาวขึ้น  น้ำหนักต่อไร่สูงขึ้น เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางรายได้
พิชิตความเสียหาย  คือ การลดความสูญเสียทั้งจากโรค  แมลง  เข้าทำลาย  การลดความเสียหายจะเท่ากับเป็น  “การลดต้นทุน”  การผลิตต่อหน่วยให้ต่ำลง

พริกเป็นพืชผักในกลุ่ม Solanacious เซ่นเดียวกับมะเขือเทศแต่อยู่ใน Genus Capsicumในประเทศไทยที่นิยมปลูกมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดทั้งเผ็ดและไม่เผ็ดเช่น พริกขี้หนู (bird chilli) พริกมันหรือพริกชี้ฟ้า (hot pepper) พริกหยวก (banana pepper) และพริกยักษ์ หรือพริกหวาน (bell pepper) แม้ว่าพริกจะเป็นพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารประเภทปรุงแต่งรส แต่ก็เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจจัดอยู่ในกลุ่มของพืชอาหารหลักชนิดหนึ่งของชาวไทยสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศและตลอดปี ขณะเดียวกันก็ปรากฎว่ามีโรคและศัตรูหลายชนิดขึ้นเกาะกินทำลายทำให้เกิดความเสียหายทั้งคุณภาพและปริมาณเป็นจำนวนมากในแต่ละปีเช่นกัน

พริกจัดอยู่ในสกุลแคปซิคัม (Capsicum มาจาก ภาษากรีก kapto แปลว่า "กัด") ซึ่งมี
ประมาณ 25 ชนิด (species) ที่นิยมปลูกกันมีเพียง 5 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ C. annuum L., C.
baccatum L., C. chinensis Jacq., C. frutescens L., C. pubescens R. & P. และมีพันธุ์ที่
ถูกพัฒนาขึ้นอีกมากมาย พริกนั้นมีชื่อที่ใช้เรียกกันอยู่หลายคำ ได้แก่ pepper, chili, chilli, chile
และ capsicum คนไทยอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า chilli พริกเป็นอาหารประจำวันที่มีประโยชน์
เกษตรกรไทยมักนิยมปลูกพริกอยู่ 2 ชนิดซึ่งได้แก่1.พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (ในกลุ่มC.
annuum) 2.พริกเผ็ดได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ (ในกลุ่มC. furtescens) พริกมีวิตามิน C
สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic acid ซึ่งสารเหล่านี้ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะ
อาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของ
ร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 - 90 มิลลิกรัม
/ 100 gนอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีนหรือวิตามิน A สูง พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด
ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin (เอื้องฟ้า, 2543) เกษตรกรปลูกพริก
กันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ สำหรับในภาคกลางนั้นมี
การปลูกพริกกันน้อยที่สุด พริกที่ปลูกในประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 383,000 ไร่ ผลผลิตรวมประมาณ
356,000 ตัน จังหวัดที่ปลูกพริกมากได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ชัยภูมิ เชียงใหม่
นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลยและกาญจนบุรี (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2541)




โรคพริกที่สำคัญ ได้แก่
(1) โรคกุ้งแห้ง ที่เกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp.,
(2) โรครากและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา  Sclerotium rolfsii,
(3) โรคใบหงิก ใบด่าง ที่เกิดจากเชื้อไวรัส
(4) โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา  Fusarium oxysporum,
(5) โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  Pseudomonas solanacearum
ซึ่งปัจจุบันเชื้อสาเหตุได้เปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์เป็น  Ralstonia solanacearum  เชื้อนี้เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญหลายชนิด ปัจจุบัน และถูกจัดให้เป็นโรคที่สำคัญมากที่สุดของโลกโรคหนึ่ง เพราะสามารถทำให้เกิดโรคกับพืชต่าง ๆ มากกว่า 200 ชนิด และที่สำคัญยังไม่มีวิธีการใดที่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ผลดีพอ โดยเฉพาะการใช้สารเคมีไม่แนะนำให้ใช้ แนวทางในการควบคุมโรคนี้ต้องเน้นที่การป้องกัน เพราะเชื้อสาเหตุโรคนี้ มีพืชอาศัยกว้างขวาง สามารถอยู่รอดในดินได้ (soil born disease) สามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำได้เป็นอย่างดี สามารถติดไปกับส่วนขยายพันธุ์พืชได้ ในประเทศไทยโรคนี้เป็นโรคที่สำคัญที่ทำให้เกิดความเสียหายกับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญหลายชนิด เช่น พริกต่าง ๆ มันฝรั่ง ขิง ปทุมมา ถั่วลิสง
มะเขือต่าง ๆ งาและยาสูบ เป็นต้น เกิดจากเชื้อ R. solanacearum ได้ (วงศ์, 2548)
( อ้างอิง : วงศ์ บุญสืบสกุล1 ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์1 บูรณี พั่ววงค์แพทย์1 สุรีย์พร บัวอาจ1
วิลาวัลย์ ใคร่ครวญ2 ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์3   หมายเหตุ: 1 = กลุ่มงานบักเตรีวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  2 = ศูนย์วิจัยพืชสวนกาญจนบุรี   3 = ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ)

โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium (Fusarium wilt)
โรคเหี่ยวของพริกที่เกิดจาก Fusarium sp. ได้มีผู้รายงานการพบครั้งแรกในรัฐนิวเม็กซิโกประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1960 หลังจากนั้นก็มีรายงานการระบาดและความเสียหายจากโรคนี้ในเกือบทุกแห่งที่มีการปลูกพริก

ลักษณะอาการ
การทำลายที่แท้จริงเกิดขึ้นที่รากหรือส่วนของต้นที่อยู่ระดับดินหรือใต้ดินซึ่งในระยะแรกจะมองไม่เห็นจนเมื่อรากส่วนใหญ่ถูกทำลายจนเน่าเสียแล้วพืชจึงจะแสดงอาการให้เห็นภายนอก คือใบเหลืองเหี่ยวลู่ลงและร่วงหลุดจากต้นในที่สุดอาการที่เกิดขึ้นนี้เมื่อเริ่มแสดงให้เห็นแล้วจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในกิ่งหรือแขนงที่ยังอ่อนจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลแล้วแห้งตายระยะนี้เมื่อถอนต้นขึ้นมาจากดินจะพบว่าส่วนของโคนต้นและรากถูกทำลายเปลือกหลุดร่อนเน่าเป็นสีนํ้าตาลเข้ม รากส่วนใหญ่จะขาดหลุดติดอยู่ในดิน หากดินมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยและสปอร์ของราเป็นสีขาวหรือสีส้มอ่อนๆ เกาะติดเป็นกลุ่มอยู่ที่บริเวณแผล การเกิดโรคหากเป็นในระยะกล้าอาการจะคล้ายโรค damping-off คือกล้าจะล้มพับแห้งตายเป็นหย่อมๆ เมื่อโตขึ้นมาในระยะที่เป็นต้นอ่อน หากเป็นรุนแรง อาจถึงตายได้เช่นกันหรือไม่ก็แคระแกร็นไม่ให้ดอกออกผล ถ้าเป็นในระยะที่ต้นแก่ติดผลแล้ว ผลพริกที่ได้จะขาดความสมบูรณ์มีขนาดลีบเล็ก หดย่น และร่วงหลุดจากต้น
เชื้อสาเหตุ
Fusarium oxysporum var. vasinfectum (Atkinson) Snyder & Hansen เป็นเชื้อ Fusarium ในกลุ่ม xysporum อีกชนิดหนึ่งที่ระบาดแพร่หลายที่ทำความเสียหายให้กับพืชอย่างกว้างขวางมากมายหลายชนิดที่พบทำลายพริกนี้ เป็น variety หนึ่งเฉพาะคือ vasinfectum พวกนี้พบว่ามีการขยายพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ถึง 3 ชนิด คือ ไมโครสปอร์ microspore) เป็นสปอร์ที่มีขนาดค่อนข้างเล็กและมีเซลล์เดียว มาโครสปอร์ (macrospore) เป็นสปอร์ที่มีขนาดโตกว่า รูปโค้ง เหมือนเคียวหรือพระจันทร์เสี้ยวมีผนังกั้นแบ่งออกเป็นเซลล์ย่อยๆ 2-6 เซลล์ ส่วนใหญ่ที่พบจะมี 4 เซลล์ ซึ่งแบ่งโดยผนัง septate 3 อัน ชนิดสุดท้ายได้แก่ chlamy- dospore เป็นสปอร์ที่เกิดอยู่ภายในเส้นใยมีผนังค่อนข้างหนา
F. oxgsporum var. vasinfectum เป็นราที่ค่อนข้างไวต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิ และความชื้นมาก อุณหภูมิเหมาะที่สุดต่อการเจริญจะอยู่ในช่วงระหว่าง 24 – 28°ซ ถ้าลดต่ำกว่า 17°ซ หรือสูงเกินกว่า 38°ซ แล้วการเจริญจะเป็นไปอย่างช้าๆ หรือไม่มีการเจริญเติบโตเลย สำหรับในเรื่องของความชื้นผิดกับ Fusarium sp. ทั่วๆ ไป คือค่อนข้างชอบดินที่มีความชื้นสูง พริกที่ปลูกในดินแห้งหรือที่ดอนมักจะไม่ถูกเชื้อนี้ทำลาย แต่จะเป็นรุนแรงในดินลุ่มที่มีการระบายนํ้าเลว
การอยู่ข้ามฤดูและการแพร่ระบาด
โรคนี้หลังจากที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วเชื้อก็จะอาศัยอยู่ในดินปลูกตลอดไปได้โดยไม่มีกำหนดจากการอาศัยเกาะกินเศษซากพืชและอินทรีย์วัตถุอื่นๆ ที่มีอยู่ในดินนั้น หากปลูกพืชซํ้าลงไปก็จะเกิดโรคขึ้นติดต่อกันไปได้เรื่อยๆ การระบาดส่วนใหญ่เชื้อจะติดไปกับดิน นํ้า จอบ เสียม ไถ คราด ล้อรถยนต์หรือแทรคเตอร์ หรือติดไปกับชิ้นส่วนของพืช เช่น หัว หน่อ เหง้า และต้นกล้าเมื่อเข้าทำลายพืชซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านทางรากหรือแผลที่โคนต้น หลังจากนั้นเมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสม พืชจะแสดงอาการเหี่ยวทั้งต้นและตายภายใน 2 สัปดาห์ แต่อาจจะนานออกไปถึง 2-3 เดือนหากสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อเชื้อพืชอาจจะเหี่ยวเฉพาะในตอนกลางวันหรือไม่ก็แคระแกร็นไม่ถึงกับตายทั้งต้น

การป้องกันกำจัด เมื่อปลูกพริกเสร็จแล้ว 5-7 วัน ควรฉีดพ่นด้วยสารอินทรีย์กลุ่มพิเศษ คาร์บอกซิล-พลัส ( Carboxyl-plus ) ในอัตรา 20 ซี.ซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และฉีดพ่นทุก 7-10  วัน อีกประมาณ 4-5 ครั้ง จะสามารถป้องกันและคุ้มครองให้พริกปราศจากโรคต่าง ๆ รบกวนเกือบตลอดอายุของพริก


โรคเหี่ยวเขียว
  สาเหตุ แบคทีเรีย Ralstonia solanacearum

ต้นที่เหี่ยวจากเชื้อแบคทีเรีย  และเชื้อสาเหตุเป็นสายขุ่นขาวในน้ำใส

ลักษณะอาการ โรคเหี่ยวเขียวในพริก  เกิดจากการที่เชื้อเข้าไปเจริญอยู่ในท่อลำเลียงน้ำของพืช (xylem) ทำให้ท่อน้ำอุดตัน
     การเกิดโรคมักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ และขยายเป็นวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ ในสภาพดินที่มีความชื้นสูง การเกิดโรคจะมากและมีการระบาดรวดเร็ว
     ต้นพริกจะแสดงอาการที่เหี่ยวเริ่มที่ใบ  หลังจากนั้น 2-3 วัน อาการเหี่ยวจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยที่ไม่มีอาการใบเหลืองหรือใบจุดเกิดขึ้น  ภายในไม่กี่วันต้นพริกจะตาย  เมื่อถอนต้นที่เป็นโรคมาตัดตามขวางตรงระดับดินจะเห็นว่าไส้กลางต้นแสดงอาการช้ำน้ำสีเข้มกว่าต้นปกติ เมื่อทิ้งไว้หรือบีบต้นดูจะมีเมือกสีขาวข้น  หรือสีครีมไหลออกมาตรงรอยตัดต้นที่เป็นโรคอย่างรุนแรง ไส้กลางต้นจะถูกทำลายเป็นรูกลวง ถ้าตัดโคนต้นที่แสดงอาการแช่น้ำในภาชนะใส ประมาณ 5  นาที  จากรอยตัด จะพบว่าเนื้อเยื่อบริเวณท่อน้ำเปลี่ยนเป็นสีดำหรือน้ำตาลและเมื่อนำไปจุ่มน้ำจะพบ  bacterial stream ไหลออกจากบริเวณรอยตัด ข้อสังเกตนี้ใช้แยกอาการเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum หรืออาการเหี่ยวเหลืองที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii


     การป้องกันและกำจัด เมื่อปลูกพริกเสร็จแล้ว 5-7 วัน ควรฉีดพ่นด้วยสารอินทรีย์กลุ่มพิเศษ คาร์บอกซิล-พลัส ( Carboxyl-plus ) ในอัตรา 20 ซี.ซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และฉีดพ่นทุก 7-10  วัน อีกประมาณ 4-5 ครั้ง จะสามารถป้องกันและคุ้มครองให้พริกปราศจากโรคต่าง ๆ รบกวนเกือบตลอดอายุของพริก

โรครากและโคนเน่า (root rot)
เชื้อสาเหตุ   Sclerotium rolfsii Sacc.

ลักษณะอาการ
พริกที่ถูกเชื้อ Sclerotium spp. เข้าทำลายก็เช่นเดียวกับในมะเขือเทศ เชื้อจะเข้าทำลายส่วนรากและโคนต้น ระดับดิน ถ้าเป็นในระยะกล้าอาการจะคล้าย damping-off ส่วนในต้นโตจะเกิดอาการใบเหลือง เหี่ยว ใบล่วง แคระแกร็น หยุดการเจริญเติบโต เมื่อถอนต้นขึ้นดูจะพบว่าระบบรากถูกทำลายหลุดล่อนขาดกุดเช่นเดียวกับที่เกิดจาก Fusarium บริเวณโคนต้น เปลือกจะถูกทำลายลึกเข้าไปถึงส่วนของลำต้น ภายในเกิดเป็นแผลเป็นสีนํ้าตาลพร้อมกับจะปรากฎเส้นใยสีขาวขึ้นอยู่ทั่วไป และที่ต่างไปจากราอื่นๆ คือจะพบเม็ดสเครอโรเทียสีขาวหรือนํ้าตาลเป็นเม็ดกลมเล็กๆ เท่าหัวเข็มหมุดเป็นจำนวนมากอยู่ที่บริเวณแผลและดินโคนต้นเห็นได้ชัดเจน เมื่อรากถูกทำลายหมดหรือหากเกิดแผลจนรอบโคนต้นแล้ว พืชมักจะแห้งตายทั้งต้น

กลุ่มเส้นใยเชื้อ ราเมล็ดผักกาด  sclerotium



 โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
แอนแทรคโนสเป็นโรคที่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดและทำความเสียหายที่ผลพริก ซึ่งชาวบ้านทั่วๆ ไปรู้จักกันในชื่อของโรคกุ้งแห้ง เนื่องจากลักษณะอาการแห้ง หงิกงอ และสีของผลพริกที่เปลี่ยนโป โรคนี้พบระบาดทำความเสียหายให้แก่พริกชนิดต่างๆ เช่น พริกมันแดง พริกบางช้าง พริกเหลือง พริกหนุ่ม ฯลฯ ในแหล่งที่มีการปลูก เช่น ในท้องที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ เชียงใหม่ ฯลฯ โดยเฉพาะในฤดูฝน ซึ่งอากาศร้อนและชื้น โรคจะระบาดทำความเสียหายมาก

ลักษณะอาการ
  ผลพริกเริ่มเป็นแผลหรือจุดช้ำเป็นแอ่งยุบลง ลักษณะอาจกลมหรือไม่แน่นอน ขนาดก็ตั้งแต่จุดเล็กๆ ไปจนเต็มความกว้างของผลพริก อาจมีเพียงแผลเดียวหรือหลายแผลก็ได้ แผลเหล่านี้ต่อมาจะแห้งเป็นสีนํ้าตาลหรือดำพร้อมกับการสร้าง fruiting body ซึ่งเป็นที่เกิดของสปอร์หรือโคนิเดีย เป็นจุดสีเหลืองส้มหรือน้ำตาลดำเป็นวงๆ เรียงซ้อนกันอยู่ที่แผลดังกล่าวเชื้อจะเข้าทำลายผลพริกได้ทุกระยะการเจริญตั้งแต่เริ่มเป็นผลเล็กๆ จนโตเต็มที่และสุกแดงแล้ว อย่างไรก็ดีหากเป็นระยะที่ยังอ่อนเซลล์บริเวณแผลซึ่งถูกทำลาย จะหยุดการเจริญเติบโตขณะเดียวกันส่วนรอบๆ จะเจริญไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดอาการคดโค้งงอหรือบิดเบี้ยวขึ้นโดยมีแผล หรือเซลล์ที่ตายอยู่ด้านใน ลักษณะคล้ายกุ้งแห้งทำให้มีชื่อ เรียกดังกล่าว
พริกที่เป็นโรคตามธรรมชาติมักแสดงอาการให้เห็นชัดเจนบนผลพริกที่แก่จัดหรือผลสุก ส่วนอาการบนใบ ยอดอ่อน และกิ่งจะเกิดโรคต่อเมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสม โรคนี้ถ้าเกิดกับต้นกล้าจะทำให้ต้นกล้าแห้งตาย (seedling blight)
เชื้อสาเหตุ  เกิดจากรา 2 ชนิด คือ
1. Colletotrichum dematium (Syd.) Bulter & Bisby แผลมีสีนํ้าตาลถึงดำขนาดและรูปร่างไม่มีขอบเขตมี setae มาก conidia รูปโค้งเซลล์เดียวสีใส

2. Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc. เกิดแผลวงกลมรีมีขนาด 1-2 ซม. หรือใหญ่กว่านี้ แผลบุ๋มลึก มีสีเหลืองปนส้มและจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเมื่อแผลเก่า พบ acervulus อยู่เป็นวงๆ บนแผล conidium รูปไข่เป็นแท่งเซลล์เดียว สีใส และไม่มี setae อย่างไรก็ตามสีของ fruiting body ของราทั้งสองนี้จะต่างหรือแยกออกจากกันได้ ขณะที่ยังอ่อนหรือเริ่มสร้างเท่านั้น พอแก่จะกลายเป็นสีดำเหมือนกันหมด
Colletotrichum spp. มีการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ โดยการสร้างสปอร์หรือโคนิเดีย ภายใน fruiting body ลักษณะรูปถ้วยคว่ำ (acervulus) บนแผลซึ่งมองเห็นเป็นจุดๆ เรียงซ้อนกันเป็นวง เมื่อโคนิเดียแก่จะดันเปลือกด้านบน fruiting body ให้เปิดแตกออกแล้วหลุดออกมาข้างนอก ปลิวแพร่กระจายไปตามลม น้ำที่สาดกระเซ็น แมลง เครื่องมือกสิกรรม และสิ่งเคลื่อนไหวทุกชนิดที่ไปถูกต้องสัมผัสเข้า เมื่อตกลงบนผลพริกก็จะงอกเข้าทำลายแล้วก่อให้เกิดอาการขึ้น ภายใน 3-5 วัน จากพริกที่เป็นโรคเชื้อราจะถูกถ่ายไปยังเมล็ดเพื่ออยู่ข้ามฤดูและแพร่ระบาดต่อไป
สำหรับสิ่งแวดล้อมที่ช่วยในการแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรค คือความชื้นต้องสูงกว่า 95% อุณหภูมิระหว่าง 27 – 32° ซ.

โรคที่เกิดจากเชื้อ รา Collectotrichum gloeosporioides  และ C. capcisi
ที่มา : http://www.pmc06.doae.go.th/chilly/Collectotrichum_chilly.htm

การป้องกันกำจัด 
1. เมล็ดพันธุ์ควรเก็บจากแปลงที่ไม่เป็นโรคมาก่อน ถ้าจำเป็นต้องเก็บจากแปลงที่เป็นโรค ก่อนปลูกควรทำ seed treatment เช่น hot water treatment ใช้อุณหภูมิ 50-52°ซ. นาน 30 นาที พบว่าได้ผลดีมาก หรือใช้สารเคมี Delsene MX คลุกเมล็ดในอัตรา 0.8% ของนํ้าหนักเมล็ดก็ได้ผลดีเช่นกัน

2. ปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับพืชที่ไม่อยู่ในวงศ์ Solanaceae และหมั่นทำลายวัชพืช จัดการระบายนํ้าให้ดี ตลอดจนเก็บเศษซากพืชที่เป็นโรคนี้ทำลายเสีย

3. หลังจากเก็บพริกจากต้นแล้วและอยู่ในระหว่างการขนส่ง ควรเก็บไว้ในที่เย็น ภายใต้อุณหภูมิคงที่ พริกจะไม่ค่อยเกิดโรค

4. เมื่อต้นพริกโตแล้ว ฉีดสารเคมีป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น imazalil, prochloraz, benomyl, carbendazim, mancozeb, maneb และ Delsene MX เป็นต้น

(หมายเหตุ : ควรเมื่อปลูกพริกเสร็จแล้ว 5-7 วัน ควรฉีดพ่นด้วยสารอินทรีย์กลุ่มพิเศษ "คาร์บอกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า" ( Carboxyl-plus ) ในอัตรา 20 ซี.ซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และฉีดพ่นทุก 7-10  วัน อีกประมาณ 4-5 ครั้ง จะสามารถป้องกันและคุ้มครองให้พริกปราศจากโรคต่าง ๆ รบกวนเกือบตลอดอายุของพริก  หรือ เมื่อพบอาการเป็นโรคแล้วในบางส่วนให้รีบฉีดพ่นด้วย"อีเรเซอร์-1"(Eraser-1) ในอัตราผสม 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วันประมาณ 2 ครั้ง)


 โรคพริกที่เกิดจากไวรัส (pepper virus diseases)
พริกเป็นพืชที่ง่ายต่อการติดเชื้อไวรัสมาก โดยสามารถรับเชื้อไวรัสต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชอื่นได้เกือบทุกชนิด และก่อให้เกิดอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสในพืชอื่นทั่วๆ ไปเช่น ยอดตาหรือใบม้วนหงิก เป็นคลื่น หดย่น กุดด่างลาย เป็นดอกดวง เหลืองซีดชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ฯลฯ virus ที่พบบ่อยและมากในกลุ่มของ virus พริกที่สำคัญ 3 ชนิด คือ CVMV, CMV, และ PVY


รายงานชนิดของไวรัสต่างๆ ที่พบและก่อให้เกิดความเสียหายในพริกได้แก่
1. Chilli veinal mottle virus (CVMV)  CVMV ก่อให้เกิดอาการใบด่าง ด่างเขียวเป็นจุดๆ ด่างเขียวเป็นแถบบริเวณเส้น vein ใบหยุดย่นหงิกงอ หยุดการเจริญเติบโต อาจพบ CVMV เดี่ยวๆ หรือพบร่วมกับไวรัสอื่น
CVMV จัดอยู่ในกลุ่ม Potyvirus ยาวประมาณ 750 nm. ถ่ายทอดได้ง่ายโดยวิธีกล มีเพลี้ยอ่อนหลายชนิด เช่น Aphis craccivora, A. gossypii, และ Myzus persicae เป็นพาหะแบบ non-persistent มีพืชอาศัยหลายชนิดในวงศ์ Solanaceaae เช่น Nicotiana tabacum, N. glutinosa, Datura sp., Petunia sp. Physalis sp. และมะเขือเทศ เป็นต้น
โรคใบด่างพริกที่เกิดจากเชื้อ ไวรัส AMV และ CVMV
ที่มา : http://plant-disease.ippc.orst.edu/factsheet. aspx?RecordID=825
และ http://www.plantwise.org/?dsid=12898&loadmodule=plantwisedatasheet&pa
ge=4270


2. Potato virus Y (PVY)   อาการหลังจากที่พริกได้รับเชื้อ PVY เริ่มต้นจากเส้นใบขยายบวมโตเด่นชัดขึ้น (vein clearing)ติดตามด้วยอาการด่างลายหดย่นขึ้นกับเนื้อใบต้นแคระแกรน ออกผลน้อย ขนาดเล็กกว่าปกติ บิดเบี้ยว บางครั้งเมื่อเป็นมากใบจะหลุดร่วงหมดทำให้ตายทั้งต้น PVY แพร่ระบาดได้ดีโดยเพลี้ยอ่อนบางชนิด และวิธีกล PVY เป็นไวรัสท่อนคดยาวประมาณ 730 nm.

โรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อ ไวรัส TEV  และ PVY
ที่มา : http://www.chileplant.eu/diseases.htm และ http://plantpath.ifas.ufl.edu/
pdc/Inclusionpage/Pepper/PVYinPep.html

3. Cucumber mosaic virus (CMV)  ทำให้เกิดอาการใบด่าง Chlorotic vein banding ใบหดลีบเล็ก แคระแกร็น บางครั้งพบอาการจุดไหม้ ถ่ายทอดโรคได้โดยเพลี้ยอ่อนมากกว่า 60 ชนิด dodder มากกว่า 10 ชนิด และโดยวิธีกลเป็นไวรัสทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 nm. มีพืซอาศัยกว้างขวางมาก

4. Alfalfa mosaic virus (AMV)  อาการบนต้นพริกจากการทำลายของไวรัสชนิดนี้มีหลายลักษณะเช่น แผลสีเหลือง ใบด่างลาย เกิดเป็นแผลวงแหวนกลม ใบจุด ต้นแคระแกร็น ให้ดอกติดผลน้อย ลดปริมาณผลผลิต Alfalfa mosaic virus ระบาดแพร่กระจายได้ดีโดยแมลงเพลี้ยอ่อนมากกว่า 13 ชนิด dodder อย่างน้อย 5 ชนิด และโดยวิธีกล
AMV เป็น virus รูปร่าง bacilliform มีพืชอาศัยหลายชนิดในวงศ์ Solanaceae และวงศ์ถั่ว

5. Potato virus X (PVX)  พริกที่ปลูกใกล้เคียงบริเวณที่มีการปลูกมะเขือเทศ มันฝรั่ง มักจะติดเชื้อไวรัสนี้ โดยจะก่อให้เกิดอาการใบด่างลายมีสีเหลืองสลับเขียว ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นสีเหลืองทั้งใบ แล้วแห้งตายอย่างรวดเร็ว โรคอาจลุกลามไปยังกิ่งก้านอื่นทั่วต้นก่อให้เกิดอาการแคระแกร็นใบร่วงพริกที่เป็นโรคนี้ผลได้จะลดลงหรือไม่ได้ผลเลย
ถ่ายทอดโรคโดยวิธีกล และ grass hopper จัดเป็น virus ในกลุ่ม potex virus ยาวประมาณ 515 nm.

6. Tobacco etch virus (TEV)  TEV ก่อให้เกิดอาการแผลลักษณะเป็นวงเรียงซ้อนกัน (concentric ring) บนใบและผลพริก โดยเนื้อเยื่อตรงส่วนที่เป็นวงจะแห้งตายเป็นสีเหลืองตัดกับส่วนในที่จะคงเขียวเป็นปกติ บนผลพริกหากเกิดอาการมากๆ จะบิดเบี้ยวและหดเสียรูป ส่วนใบอ่อนที่เพิ่งแตกจะมีขนาดหดเล็กลงด่างและย่น ในรายที่เป็นรุนแรงส่วนรากที่อยู่ในดินจะถูกทำลายเสียหายไปด้วยและกลายเป็นสีนํ้าตาล
แพร่ระบาดได้ดีโดยเพลี้ยอ่อนมากกว่า 10 ชนิด สำหรับการอยู่ข้ามฤดูส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับวัชพืชบางชนิดในบริเวณใกล้เคียง

การป้องกันกำจัด
การป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสมีหลักใหญ่ๆ ที่ควรยึดถืออยู่ 3 ประการด้วยกันคือ
1. หลีกเลี่ยงการปลูกพริกที่อ่อนแอหรือง่ายต่อการติดเชื้อลงในดินปลูกที่เคยมีโรคหรือใกล้กับพืชที่สามารถติดต่อโรคกันได้เช่น มะเขือเทศ ยาสูบ มันฝรั่ง
2. พยายามขจัดทำลายต้นตออันเป็นแหล่งกำเนิดของโรคตลอดจนพืชอาศัยและวัชพืชต่างๆ ซึ่งอาจเป็นสื่อหรือที่อาศัยชั่วคราวของเชื้อ อย่าให้มีหลงเหลืออยู่บริเวณแปลงปลูก
3. ป้องกันการระบาดและการติดเชื้อ เช่นทำลาย หรือป้องกันการระบาดของแมลงที่เป็นตัวนำและถ่ายเชื้อ ทั้งเรื่องการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์เกี่ยวกับการกสิกรรมต้องแน่ใจว่าสะอาดอยู่เสมอ ตลอดจนหลีกเลี่ยงการสัมผัส จับต้องต้นพืชที่เป็นโรค หากจำเป็นต้องใช้ต้องล้างให้สะอาดเสียก่อนที่จะไปปฏิบัติกับต้นอื่นต่อไป
แมลงวันทอง : ภาพประกอบจากInternet
แมลงวันทอง : ภาพประกอบจากInternet
(หมายเหตุ ป้องกันแมลงพาหะนำเชื้อไวรัส ด้วยการฉีดพ่นด้วย สารส่งสัญญาณในการขับไล่แมลง (ISR) และสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสด้วย กลไกในกระบวนการ Systemic Acquired Resistances (SAR)


ที่มา:อาจารย์อุดม  ฟ้ารุ่งสาง
PYV      ถ่ายทอดโดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ
CVMY   ถ่ายทอดโดยวิธีสัมผัส  มีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ
TEV      ถ่ายทอดโดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ
CMV     ถ่ายทอดโดยวิธีกล  มีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ
AMV      ถ่ายทอดโดยวิธีกล   มีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ
การแพร่ระบาดของโรค  ขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดของแมลง  เชื้อไวรัส  สาเหตุโรคทั้ง  5  ชนิด  โดยมีเพลี้ยอ่อนถ่ายทอดโรค
เพลี้ยไฟพริก   เป็นแมลงประเภทดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืช  เช่น  ยอด  ใบอ่อน  ตาดอก  ทำให้ ต้นพริกชะงักการเจริญเติบโต  ยอดและใบหงิกและม้วนงอขึ้นด้านบน
เพลี้ยไฟพริก (Chili thrips)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirtothrips dorsalis Hood เป็นแมลงปากดูด ลำตัวยาว 1.5-2.0
มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลอมเหลือง ตัวเต็มวัยมีปีกบินได้และวางไข่บนใบพืช
พริกโดนเพลี้ยไฟ  : ภาพประกอบจากInternet

ลักษณะการทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงที่เนื้อเยื่อเจริญ เช่น ยอดอ่อน ใบอ่อน ใบ ตาดอก ดอกและผลอ่อน ทำให้เซลล์ถูกทำลาย เช่น ใบหงิก ใบบิด ขอบใบทั้งสองด้านม้วนขึ้น ปลายใบเหลืองแห้งกรอบ ร่วงหล่น ผลบิดงอเสียหาย ระบาดมากเมื่อความชื้น ต่ำหรืออุณหภูมิสูง อากาศแห้งแสงแดดจัดและกระแสลมแรง
พืชอาหารและศัตรูธรรมชาติ
พืชอาหาร ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด มะม่วง ถั่วลิสง มะขาม ลิน้ จี่ ลำไย มะละกอ ส้มและพริก
ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่าห้ำStethorus sp. แมงมุมใยกลม  Zygiella calyptrate
(Workman) แมงมุมตาหกเหลี่ยม Oxyopes javanus (Thorell) และไรตัวห้ำ Amblyseius sp.

ใบพริกที่เพลี้ย ไฟเข้าทำลาย
ที่มา : ศิริณี (2544)

 ไรขาวพริก   เป็นศัตรูพืชที่สำคัญในพริก  มักระบาดในฤดูฝน   เมื่อเกิดระบาดจะทำให้ใบอ่อนหงิก    ขอบใบม้วนงอลงด้านล่าง    ทำให้ใบมีลักษณะเรียวแหลมเปราะหักง่าย   ต้นแคระแกร็น  ไม่เจริญเติบโตไรขาว

ไรขาวพริก (ก) และใบพริกที่ไรขาวเข้าทำลาย (ข)
ที่มา : กองกีฏและสัตววิทยา, 2544)
(อ้างอิงภาพประกอบโรคต่างๆ จาก เอกสารวิชาการ : เทคโนโลยีการผลิตพริกคุณภาพในเขตภาคเหนือตอนบน
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรียบเรียงและจัดทำโดย : นิพัฒน์ สุขวิบูลย์ ,สุทธินี เจริญคิด ,สันติ โยธาราษฎร์, กิ่งกาญจน์ เกียรติอนันต์
,ศิวพร แสงภัทรเนตรพันธ์ศักดิ์ แก่นหอม ,ประนอม ใจอ้าย)





พริก (Tropical mite)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyphagotarsonemus latus Banks ลำตัวมีสีขาว ตัวเมียและตัวอ่อนชอบอยู่กับที่ ส่วนตัวผู้เคลื่อนไหวได้ดี
ลักษณะการทำลาย  มักพบระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือระยะแตกใบอ่อน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนหรือยอดอ่อน ทำให้ใบหงิก ขอบใบม้วนลง ยอดแตกเป็นฝอย ใบเรียวเล็ก ใต้ใบเป็นสีน้ำตาล ใบหนาแข็งและเปราะ
 (แหล่งที่มา  นางประไพ  บุญญโส  เจ้าพนักงานการเกษตร  สำนักงานเกษตรอำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา)


โรคลำต้นไหม้ เชื้อรา Phytophthora capcisi
ที่มา: www//nt/article?id=262:-powdery-mildew&catid=38




กระบวนการทำงานและการเจริญเติบโตของพริก


1.ระยะย้ายปลูก  (Transplant)
กล้าแข็งแรง ระบบรากดี ไม่มีโรคติดมากับกล้าพันธุ์ ป้องกันแมลงพาหะทั้งแมลงหวี่ขาว, เพลี้ยไฟ, เพลี้ยอ่อน ที่จะมาปล่อยเชื้อไวรัส โรคใบหงิก ใบหดต่าง ๆ ฉีดพ่น  “ซิกน่า”  อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20  ลิตร ทุกๆ 7-10 วันจำนวน 3-4 ครั้ง

2.ระยะตั้งตัว  (Establishment)
ระยะนี้ต้นพริกจะเจริญเติบโตในระบบราก เร่งสร้างราก และแตกยอดแตกใบ หลังปลูก 7 วัน  เริ่มใส่ปุ๋ยทางดิน
ปุ๋ย “อินทรีย์เคมี สูตร 12-3-3” + “กรีนอัพ” (ฮอร์โมนอาหารพืช ชนิดเม็ด) และฉีดพ่น “ซาร์คอน” และ “คาร์บ๊อกซิล”  เพื่อป้องกันโรคใบหงิกจากเชื้อไวรัส และป้องกันโรคเหี่ยวเฉาจากเชื้อแบคทีเรีย ทุก ๆ 7 วัน 3-4 ครั้ง

3.ระยะเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ (Vegetative Growth)
ระยะนี้มีการแตกใบ, แตกกิ่งก้านสาขาดี ต้นสมบูรณ์ ไม่มีโรคและแมลงรบกวน ทั้งโรคเหี่ยว โรคใบหงิกจากไวรัส   ฉีดพ่นด้วย “ไบโอเจ็ท” กับ “ซาร์คอน” ทุกๆ 7-10 วัน 3-4 ครั้ง อัตรา ไบโอเจ็ท 1 ซอง + ซาร์คอน 20 ซีซี /น้ำ  20  ลิตร

4.ระยะออกดอกและบำรุงดอก (Flowering)
ออกดอกดี  ดอกดก  ดอกสมบูรณ์ ไม่ร่วงง่าย  ติดผลดี  ผลดก   ฉีดพ่นด้วย “ซูก้าร์-ไฮเวย์” ผสมร่วมกับ “พาวเวอร์-5” อัตรา 20 ซีซี + 20 ซีซี / น้ำ20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน 2-3 ครั้ง  เพื่อสะสมพลังงานและอาหารสำหรับการติดดอกและออกผลและ“เปิดตาดอก” ด้วย “ไบโอเจ็ท”  อัตรา 10 กรัม / น้ำ 20 ลิตร 1-2 ครั้ง (หลังสะสมอาหารพร้อม)  เมื่อแตกตาดอกแล้วให้พ่น “ซูก้าร์-ไฮเวย์”  กับ  “พาวเวอร์-5” ต่อเพื่อให้ติดผลดี

5.ระยะติดผลและเจริญเติบโต  (Fruit Development)
ผลโตไว  ใหญ่สม่ำเสมอ ไม่หลุดร่วง  ต้นสมบูรณ์  ไม่โทรมง่าย  ฉีดพ่นด้วย “ซูก้าร์-ไฮเวย์” กับ “พาวเวอร์-5” 
เพื่อให้ผลดก ผลไม่หลุดร่วง  ผลสม่ำเสมอ  อัตราผสม 20 ซีซี + 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

6.ระยะสุกแก่และเก็บเกี่ยว (Maturity)

สีสวย  เนื้อแน่น  น้ำหนักดี  ไม่มีโรคและแมลงรบกวน   ฉีดพ่นด้วย “ซูก้าร์-ไฮเวย์” กับ “พาวเวอร์-5”  เพื่อให้ผลหนัก เนื้อดี สีสวย ผลสม่ำเสมอ และฉีดพ่นด้วย “อีเรเซอร์-1” เพื่อป้องกันและกำจัดโรคกุ้งแห้ง

หมายเหตุ  :
 (1) กรณีมีโรค กุ้งแห้ง รบกวนให้ฉีดพ่นด้วย “อีเรเซอร์-1”  2-3 ครั้ง  ทุก ๆ 5-7 วัน อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ล.

 (2) กรณีต้องการป้องกันแมลงวันทอง  ช่วง ติดดอก ออกผล ให้ฉีดพ่นด้วย “ซิกน่า-ออล อิน วัน”
         เพื่อป้องกันและขับไล่แมลงวันทองให้ออกไป





1.  ซิกน่า ออล อิน วัน( ZIGNA All in One ) 
 สารส่งสัญญาณในการต่อต้านโรคและ แมลงต่างๆ( Cell Signalingin Resistance of Plant for Pathogen& Insect ) ทำงานผ่านระบบ SAR และ ISR ซึ่งมีส่วนผสมของสารสำคัญในขบวนการ SA-Signaling Pathway และขบวนการ JA-Signaling Pathway และธาตุอาหารสำคัญบางตัวอาทิ Ca , Znและสารสำคัญบางตัว อาทิ Amino acid , Malate Compounds เป็นต้น


พริกเป็นโรค
ผลผลิตดี ปลอดโรค

 
หยุดไวรัสพืช ด้วย ORG- Model
พืชต่างๆ อาทิ มะละกอ ยาสูบ พริก มะเขือเทศ พืชตระกูลแตง ฯลฯ ที่ถูกไวรัสเข้าทำลายและระบาดหนักส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเกิดความเสียหาย เกษตรกรเกิดภาวะขาดทุน และเกษตรกรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้มีแต่ต้องเสียหายและทำลายทิ้ง การแก้ปัญหาไวรัสพืชที่เกิดขึ้น ถ้าเราเข้าใจกระบวนการและกลไกในการดูแลและป้องกันปัญหามันยังมีทางออก เพื่อหยุดความสูญเสียรายได้จากความเสียหายตรงนี้ เราลองมาศึกษาวิธีที่เป็นไปได้ภายใต้"องค์ความรู้"ใหม่ๆกันดีไหม
มาทำความรู้จักกับ โรคไวรัสพืช กันเถอะ
หลักการหยุดไวรัสพืช ตามหลักการและแนวทางของ..ออร์กาเนลไลฟ์
กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) : นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้ง ไวรัสพืชต่างๆ ทั้ง ใบด่าง ใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบจู๋

1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่ง จะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น

2. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.

3. อาศัยกลไกในการทำงานของ Induced Systemic Resistance (ISR) โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช

4. การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณ ต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น
เพื่อเป็นสารตั้งต้น( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น

5. พืชที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของพืชอาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่งพืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ
แนวทางการแก้ปัญหาไวรัสพืช ในระบบ ORG-Model By Organellelife



2. ซาร์คอน ( SARCON)

เพื่อจุดประสงค์ที่สำคัญคือ
2. 1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์ของพืช อาทิ การฟื้นฟูเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่ การบำรุงเซลล์ให้สมบูรณ์ ไม่แบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ การซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ

2.2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ

2.3 กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันเพลี้ยแป้ง
และหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป"Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้วเมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม เลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง

มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืช เมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการ สังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น


     กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อย ธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช





3. อีเรเซอร์-1 (Eraser-1)


สารกำจัดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน และสารป้องกันเชื้อโรคในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน เสมือนเป็น "วัคซีน" ให้พืช ( ในกระบวนการ Systemic Acquired Resistance: SAR ) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น


กลไกการออกฤทธิ์ของ "ERASER-1"
กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่

1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )

2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )




การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป

การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)

คุณสมบัติ อีเรเซอร์-1

ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัส เชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจน ตายได้ในทันที อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วน ต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัส กับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

คุณประโยชน์

ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น

เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที

เสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ  อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้

อีเรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์

เหมาะกับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรสและพืชตระกูลถั่ว





4. คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า (CARBOXYL-PLUS Extra)

กรดอินทรีย์อัจฉริยะ   "หนึ่งเดียวในโลก  ที่กล้า..ท้าชนทุกโรค"
 โรคเหี่ยวเฉาพริก
 โรคเหี่ยวเฉามะเขือเทศ
 โรคเหี่ยวเฉามันฝรั่ง
 โรคเน่าเละกะหล่ำ
 โรคแข้งดำยาสูบ
 โรคโคนเน่าต่างๆ
 โรคใบด่างมะละกอ
 โรคใบหงิกงอแตงโม
 โรคส้มโอขี้กลาก
 ฯลฯ


กันไว้ดีกว่าแก้....
เพื่อความมั่นคงในชีวิตของพืชและรายได้ของคุณ
ปัญหาโรคพืชจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา
จะหมดไป  มั่นใจ... “คาร์บ๊อกซิล- พลัส” เอ็กซ์ตร้า






เกษตรกร...........ที่รัก
จริงไหมครับ.......ที่ท่านปลูกพืชแล้ว
ใครก็ไม่อยากให้พืชเป็นโรค
ใครก็ไม่อยากให้พืชเหี่ยวเฉา
ใครก็ไม่อยากให้พืชเน่า
ใครก็ไม่อยากให้พืชรากเน่า-โคนเน่า
ใครก็ไม่อยากให้พืชเตี้ยแคระ
ใครก็ไม่อยากให้พืชใบหด ใบหงิก ใบงอ ใบด่าง ต่างๆนานา

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้....  ช่างบั่นทอนความรู้สึก บั่นทอนกำลังกาย กำลังใจ ทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยอ่อน อ่อนล้า หมดเรี่ยวแรงเสียเต็มที เพราะต้องวิตกกังวลกับผลกระทบอีกหลายเรื่องที่จะตามมา ไม่ว่าจะทุนที่ลงไป แรงงานที่ทุ่มลงไป ถ้าขาดทุนแล้วเราจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้เขา ผลผลิตของเราจะเหลือสักเท่าไร จะคุ้มกับหนี้สินไหม ถ้าปลูกพืชเราหวังจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วยทุกต้นทุกใบ แต่กลับมาเห็นมัน "เหี่ยวเฉา” ลงต่อหน้าต่อตาต้นแล้วต้นเล่า จิตใจก็เริ่มหดหู่ไม่รู้จะเหลือสักเท่าไร คิดแล้วก็เริ่มท้อแท้ใจ จะแก้ไขก็ไม่ทันการ หลายคนวิพากษ์วิจารณ์บ่อยๆว่า “ก็รู้อยู่แล้วว่า...ปัญหามันเกิดขึ้นเป็นประจำ ปลูกกี่ปีกี่ครั้งมันก็ต้องเจอ “เหี่ยวเฉา” ทำลาย  ทำไมไม่รู้จักป้องกันหรือแก้ไขไว้เสียแต่ตอนแรกล่ะตั้งแต่ลงมือปลูก เกษตรกรบางคนก็เถียงว่า “ป้องกันไว้แล้ว” แต่ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ป้องกันมันไม่ได้ผลซะทีจนไม่รู้จะทำอย่างไรดี เห็นมัน “เหี่ยวเฉา” มาทีไรใจคอรู้สึกไม่ดีเลย...เครียด


เกษตรกร.....ที่รักครับ  บัดนี้..เรามีข่าวดีมาบอก  
เป็นโชคดีของเกษตรกรที่รักแล้ว ครับ
เพราะบัดนี้ “ออร์กาเนลไลฟ์” มีผลิตภัณฑ์ดีๆ มาบอก เป็นนวัตกรรมใหม่ของสารอินทรีย์ที่จะมาป้องกันและคุ้มครองโรคพืชที่ร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็น โรคใบด่างวงแหวนมะละกอ  โรคเน่า โรคเหี่ยวเฉาใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดกับพริก มะเขือเทศ ยาสูบ มันฝรั่ง มะละกอ มะระ ผักกาด กะหล่ำ ขิง หรืออื่นๆ
"คาร์บ๊อกซิล- พลัส เอ็กซ์ตร้า" สารอินทรีย์อัจฉริยะหนึ่งเดียวในโลกที่กล้าท้าชนทุกโรคเน่า โรคเหี่ยวเฉา และโรคใบด่างใบหด ทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยไม่กลัวโรคเหล่านี้

“คาร์บ๊อกซิล- พลัส” เอ็กซ์ตร้า หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากชุดปฏิบัติการ “ต้านความจน”  จาก ออร์กาเนลไลฟ์
 การลดความเสียหายของพืชจากการทำลายของโรคร้ายแรง จึงเปรียบเสมือนการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรทางอ้อม ทั้งนี้เพราะเราจะได้รับผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ลดความเสี่ยง จากการขาดทุนจนอาจเกิดหนี้สิน และทำให้ “ความจน” ติดตามมา

 มาร่วมกันป้องกันความเสียหายของพืชจากโรคร้ายแรง เหมือนการทำ "“ประกันชีวิต" ..” ให้กับพืชของคุณ




เหตุผล..ว่าทำไม  ?  ..ท่านต้องทำ"ประกันชีวิต"ให้กับพืชของท่าน
 พืชเองก็เหมือนคนเราที่ต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ต่างๆรบกวน เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้สูงสุดตามเป้าหมายที่วางไว้
 สมมุติท่านปลูกพริก 1 ไร่ จำนวน 3,000 ต้น
ท่านตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้นหนึ่งจะได้ผลผลิต 2 กิโลกรัม/ต้น  ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต 6,000 กิโลกรัม  ถ้าพริกกิโลกรัมละ 10 บาท ต้นหนึ่งจะมีรายได้ต้นละ 20 บาท
 1 ไร่     ท่านจะมีรายได้ (20 x 3,000 ต้น) = 60,000 บาท 
 แต่ถ้าพริกของท่านเจอโรคเหี่ยวเฉาตายไปซัก 1,000 ต้น
รายได้ของท่านก็จะหายไป (1,000 x 20 บาท ) =  20,000 บาท
  ท่านลองคิดดู ... ท่านเสียหายไหม ?

  แต่ถ้าท่านทำ“ประกันชีวิต” ให้พริกของท่าน โดยใช้   คาร์บอกซิล -– พลัส เอ็กซ์ตร้า  ฉีดพ่นป้องกัน จะเป็นอย่างไร……

คาร์บอกซิล -– พลัส เอ็กซ์ตร้า   1 ขวด ราคาประมาณประมาณ 700 บาท ผสมได้ 10 ปี๊บ 
เฉลี่ยปี๊บละ 70 บาท  1 ไร่ ฉีดพ่นครั้งละ 3 ปี๊บ คิดเป็นค่าใช้จ่าย 3x70 = 210 บาท 
ถ้าฉีดพ่น 4 ครั้ง ( 210 x 4 ) = 840 บาท
ท่านลงทุนเพียงแค่ 840 บาท สามารถป้องกันรายได้ที่อาจจะสูญเสียไปตั้ง 20,000 ได้
แบบนี้ไม่เรียกว่า  “คุ้ม”  แล้วจะเรียกว่าอะไร? หล่ะครับท่าน
(ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจาก Thaikasetsart.com )




คาร์บอกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า 
สารอินทรีย์อาหารเสริมเข้มข้น คุ้มครอง และรักษาโรคพืช ลดปัญหาการหลุดล่วงและทำให้ผลผลิตเก็บได้นาน

คุณสมบัติพิเศษ
- เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคพืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้งต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสารอาหารที่จำเป็น
- ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก เช่น โรคเหี่ยวเฉาพริก มะเขื่อเทศ มันฝรั่ง , โรคเน่าและกระหล่ำ , โรคแข้งดำยาสูบ , โรคใบหงิกงอ ใบหด ยาสูบ , โรคโคนเน่ามะเขือต่าง ๆ , โรคใบต่างวงแหวนมะละกอ , โรคจากเชื้อไวรัส ฯลฯ
- ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate) ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็งแรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
- เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษตกต้างในพืชและผลผลิตใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ

อัตราการใช้ 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า)

กรดอินทรีย์ (Organic acid) - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )

กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล

กรดไขมัน (Fatty acic) - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น









กลไกการออกฤทธิ์ Carboxyl-Plus Extra 

• ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล


• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว



• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า pKa (ค่าการแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด

• กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)






สอบถามเพิ่มเติม 
บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด 
084 -8809595, 084-3696633
Line ID : @organellelife.com  (มี@ด้วยครับ)
ทักแชทไลน์ คลิ๊ก>>> https://lin.ee/nTqrAvO







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น