วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แคงเกอร์ :โรคอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งแก่พืชตระกูลส้ม


อย่า..ชะล่าใจ หากแก้ไขไม่ถูกวิธี มีหวังหายนะมาเยือน ส้มหรือมะนาวของท่านอย่างแน่นอน 

Citrus Canker caused by a bacteria, Xanthomonas campestris pv. citri or Xanthomonas axonopodi. pv citri.   is a very important disease. The symptoms can be seen on leaf, petiole, branch, stem or fruit. The symptoms of greasy spots of uncertain shapes appear on front and back of leaves. Lesions on leaves first appear as moist spots that enlarge and grow into raised white scabs that are a result of the bacterium stimulating cells to divide. The scabs darken and become cratered and surrounded by yellowed tissue or they may merge into large scabs. Lesions on fruit do not actually enter the flesh of the fruit, the fruit cracked and poor appearance makes the fruits unmarketable.


      โรคขี้กลาก หรือโรคแคงเกอร์ (Canker) สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri หรือ  Xanthomonas axonopodi. pv citri.  และมีความสำคัญมากต่อการปลูกพืชตระกูลส้ม อาการของโรคเกิดได้ทั้งที่ใบ ก้านใบ กิ่ง ลำต้นและผล อาการที่ใบเป็นแผลจุดขนาดเล็กฉ่ำน้ำ รอบ ๆ แผลเป็นวงสีเหลืองอ่อน ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นแผลเหลืองนูน โดยกลางแผลแตกเป็นสะเก็ด และแผลแตกทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ เนื่องจากสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นการป้องกันกำจัดโรคขี้กลากจึงใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราไม่ได้ผล

        อาการบนผลคล้าย ๆ กับอาการบนใบ แผลมักเชื่อมติดกัน แต่ไม่มีวงเหลืองล้อมรอบเหมือนอาการบนใบ อาการที่ผลส้มโอแผลมีสีสนิม เหลืองอมส้ม อาจแซมด้วยสีขาว แผลที่มียางไหลมีสีน้ำตาลคล้ำจนถึงสีดำทำให้ผลร่วงได้ อาการที่ใบส้มโอลุกลามเร็วมากในช่วงฤดูฝน ใบอ่อนที่มีหนอนชอนใบ มักเป็นช่องทางให้แคงเกอร์เข้าทำลายตามได้โดยง่าย   อาการบนผลส้มเกลี้ยงหรือส้มเช้งพบว่ามีผลแตกมาก โดยเริ่มจากแผลจากโรคแคงเกอร์ แผลที่แตกมักเป็นตามแนวขวางมากกว่าแนวตั้ง


       โรคแคงเกอร์ของส้มเกิดจากเชื้อบักเตรี ขึ้นได้ทั้งที่ใบ ผล และกิ่งก้าน เป็นสะเก็ดนูนสีเหลืองถึงน้ำตาลบนใบ ใหม่ๆ จะฟูคล้ายฟองนํ้า ต่อมาจะเป็นสะเก็ดแข็ง บริเวณรอบแผลจะมีวงสีเหลืองเป็นมันล้อมรอบ

       อาการที่ใบ ลักษณะอาการที่เป็นกับใบส้มตามธรรมชาติเริ่มแรกจะเป็นจุดเล็กๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด (1/16 นิ้ว) มีสีซีดกว่าสีของใบเล็กน้อย ไม่อาจมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น ลักษณะนูนและฟูคล้ายฟองน้ำ จะพบที่ด้านใต้ใบก่อน ต่อมาจึงนูนทั้ง 2 ด้าน ถ้าอากาศมีอุณหภูมิสูงและความชื้นมากพอ แผลที่ฟูอยู่แล้วจะเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ต่อมาเมื่อแผลมีอายุแก่มากขึ้น แผลจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลถึงน้ำตาลเข้ม ลักษณะที่นูนฟูคล้ายฟองนํ้าจะยุบตัวเป็นสะเก็ดขรุขระและแข็ง ลักษณะของแผลที่เกิดมักจะมีสีเหลืองเป็นมันล้อมแผลโดยรอบ ส่วนมากขนาดของแผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 มม. และมีขนาดไม่เกิน 4 มม. แต่แผลที่เกิดกับใบส้มโออาจมีขนาดใหญ่ถึง 8 มม.


        อาการที่กิ่งและก้าน มักจะเกิดกับกิ่งอ่อนของส้มที่มีความอ่อนแอต่อโรค เช่น มะนาว แผลที่เกิดใหม่ๆ อาจจะเห็นเป็นสีเหลืองอ่อนนูนฟูคล้ายกับแผลที่ใบ ต่อมาแผลจะแห้งแข็งเป็นสีนํ้าตาลเข้มขยายออกรอบกิ่ง หรือขยายเป็นทางตามความยาวของกิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอน มีขนาดใหญ่กว่าและสีนํ้าตาลเข้มกว่าที่ใบ แต่ไม่มีขอบสีเหลืองโดยรอบแผล
อาการที่ผล มีลักษณะคล้ายกับที่ปรากฏบนใบ หากแผลเกิดเดี่ยวกระจายกันก็มีลักษณะกลม หากเกิดติดต่อกันเป็นจำนวนมากแผลอาจมีรูปร่างไม่แน่นอน บริเวณรอบแผลดูคล้ายกับฝังลึกลงในผิวของผล ที่ตัวแผลก็จะนูนและปรุโปร่งคล้ายฟองนํ้า แต่แข็งมีสีเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่อแผลแก่ขยายเข้าบริเวณผิวของผลที่ยังดี ส่วนที่ติดกับแผลจะเป็นวงรีเหลืองโดยรอบเช่นเดียวกับบนใบ


         อาการที่ราก มีรายงานว่าเกิดได้กับรากที่อยู่เหนือดิน และปกติจะไม่ปรากฏขึ้นตามธรรมชาติ แต่ถ้านำเชื้อไปทดลองปลูกที่ราก ก็สามารถทำให้เกิดอาการของโรคนี้ได้

ลักษณะทางสัณฐานและการเจริญของบักเตรีเป็น rod-shaped ขนาดโดยเฉลี่ย 0.72 X 1.63 ไมครอน เคลื่อนไหวได้ด้วย monotrichous flagellum บักเตรีเป็นแกรมลบ และไม่มีสปอร์ โคโลนีมีสีเหลืองเป็นรูปวงกลม นูน ผิวเรียบ เป็นมันเยิ้ม และขอบเรียบ

ในทางสรีระลักษณะบักเตรีนี้ไม่ทำให้เกิดกรดและก๊าซในนํ้าตาลต่างๆ ไม่เกิดสาร Indole ไม่เปลี่ยน nitrate เป็น nitrite ทำให้เกิด hydrogen sulfide ได้เล็กน้อย เกิดตะกอนในนม ไม่ทำให้เกิด acetyl methylcarbinol สามารถใช้ citrate ใน Koser’s citrate broth ได้ เชื้อเจริญได้ดีที่สุดในอุณหภูมิ 25-30 °ซ.

วงจรของโรค บักเตรีอยู่ข้ามฤดูในพืช ตา ต้น เมล็ด เชื้อแพร่กระจายตามฝน ลมฝน การเก็บเครื่องมือทุ่นแรง และพืชที่เป็นโรค เชื้อเข้าทำลายพืชทางแผล ช่องเปิดตามธรรมชาติ เช่น ปากใบ เป็นต้น

ลักษณะของเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri (PaDIL, 2010)
เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri จัดอยู่ใน
Kingdom: Bacteria
Phylum/Division: Proteobacteria
Class: Gamma Proteobacteria
Order: Xanthomonadales
Family: Xanthomonadaceae
Genus: Xanthomonas
เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (gram negative) เซลล์เดียว มีลักษณะเป็นท่อน (rod shape) ขนาด 0.5-0.75 x 1.5-2.0 ไมโครเมตร เป็นพวกที่มี flagellum อันเดียวออกมาจากขั้วด้านเดียว (polar flagella) โคโลนีมีลักษณะสีเหลืองเป็นมัน ขอบเรียบนูน เหนียว เมื่อเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ เจริญได้ดีในอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส (Chand and Pal, 1982; Goto, 1992)

วงจรการเกิดโรคแคงเกอร์ของเชื้อ แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri
วงจรการเกิดโรคของเชื้อแบคทีเรีย X. axonopodis pv. citri ในส้ม เริ่มจากเซลล์แบคทีเรียตกลงบนผิวพืชอาศัย แล้วเข้าไปในเซลล์ทางบาดแผล ปากใบ และ/หรือรูเปิดธรรมชาติ เพิ่มปริมาณและอาศัย apoplast อยู่ภายในเซลล์พืช พืชแสดงอาการของโรคแคงเกอร์โดยเกิดแผลมีลักษณะเป็นจุดวงกลม จากนั้นจุดวงกลมจะเริ่มมีขนาดใหญ่ นูน และมีสีเข้ม เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชักนาให้เซลล์มีการเพิ่มจานวนและมีขนาดใหญ่ขึ้น (hyperplasia) ต่อไปแผลจุดวงกลมขนาดใหญ่เหล่านั้นจะเริ่มแตกออก และปลดปล่อยเซลล์แบคทีเรียสาเหตุโรคแคงเกอร์ออกมา และเข้าทาลายพืชอาศัยต้นต่อไป โดยแพร่ระบาดไปกับ ลม ฝน และแมลง (Gottig et al., 2010) ดังแสดงไว้ในภาพ 1
ภาพ  วงจรการเกิดโรคแคงเกอร์ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย X. axonopodis pv. citri (Gotting



การจัดกลุ่มเชื้อสาเหตุโรคแคงเกอร์ (Stall and Seymour, 1983)
จากลักษณะของภูมิศาสตร์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อและทางด้านการแพร่ระบาดในสถานที่ต่างๆ (geographic distribution) พืชอาศัย (host range) สามารถแบ่งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคแคงเกอร์ออกได้เป็น 5 กลุ่ม

1. CBCD-A (citrus bacterial canker disease-A) เป็นพวก Asiatic canker หรือ canker A หรือ common form เป็นกลุ่มที่แพร่ระบาดมากที่สุด (Schubert et al., 2001) พบระบาดในเอเซีย แอฟริกา หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค (oceania) และในอเมริกาใต้ เชื้อสาเหตุของโรคในกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่มีพืชอาศัยกว้างที่สุด

2. CBCD-B (concrosis B, canker B หรือ flase canker) เชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้ก่อให้เกิดโรคแคงเกอร์กับพวกมะนาวหวาน (lemon) ในประเทศอาร์เจนตินา ในปี 1923 (Schubert et al., 2001) ต่อมามีการแพร่ระบาดมายังประเทศใกล้เคียงได้แก่ ประเทศอุรุกวัยและปรากวัย เชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถเข้าทาลาย มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มเปรี้ยว และส้มโอ ได้ ปัจจุบันเชื้อสาเหตุชนิดนี้ถูกจาแนกเป็นเชื้อ X. axonopodis pv. aurantifolii (Hasse)(Vauterin et al., 1995)

3. CBCD-C (maxican lime concrosis) เชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้พบก่อโรคเฉพาะมะนาว
[lime: C. aurantifolia (christm)] Swigh “Mexican” ในประเทศบราซิลในปี 1963 (Schoulties et al., 1987) และพบเฉพาะในประเทศบราซิลเท่านั้น ปัจจุบันเชื้อถูกจาแนกเป็นเชื้อ X. axonopodis pv. aurantifolii เช่นเดียวกับ canker B (Vauterin et al., 1995)
4. CBCD-D (mexican bacteriasis) พบในปี 1987 โดย Schoulties et al. (1987) ได้พบโรคของ Maxican lime ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสาเหตุแคงเกอร์แต่พบในเมืองโกลิมา ประเทศเม็กซิโก พืชที่เป็นโรคมีการเกิดแผลลักษณะแคงเกอร์บนใบและกิ่ง ไม่พบบนผล ปัจจุบันสันนิษฐานเชื้อสาเหตุโรคคือเชื้อรา Alternaria limicola (Schubert et al., 2001)

5. CBCD-E (citrus bacterial spot) พบในปี 1984 ซึ่งได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคแคงเกอร์ในฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยลักษณะอาการของโรคไม่เหมือนโรคแคงเกอร์โดยทั่วๆ ไป คือพบในต้นกล้าส้ม (nursery form of citrus canker) จากการศึกษา พบว่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับเชื้อโรคแคงเกอร์กลุ่มต่างๆ กับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่พบว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ X. campestris pv. alfalfae ซึ่งจัดเป็นกลุ่มใหม่ (Schoulties et al., 1987) ปัจจุบันได้ตั้งชื่อใหม่คือ X. axonopodis pv. citrumelo (Graham and Goottwald , 1991)

กิ่ง ต้นส้มที่เป็นโรคแคงเกอร์มากผลผลิตจะลดลง ส้มที่เป็นโรครุนแรงได้แก่ มะนาว มะกรูด ส้มเขียวหวาน และส้มโอ

 การแพร่ระบาด เชื้อแบคทีเรียกระเซ็นทางน้ำ และลมฝนจากเนื้อเยื่อที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของลำต้น สภาพที่มีฝนตกชุกทำให้โรคระบาดมาก วิธีการให้น้ำโดยการฉีดเข้าทางทรงพุ่มก็จะแพร่โรคให้ระบาดมาก แหล่งแพร่ระบาดคือ ส่วนของต้นที่เป็นโรคที่ตกค้างภายในสวนและกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค การระบาดของหนอนชอนใบจะช่วยแพร่โรคบนใบด้วย

โรคแคงเกอร์ นับว่าเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งแก่พืชตระกูลส้ม เพราะโรคนี้ค่อนข้างที่จะเข้าทำลายพืชตระกูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ถ้าสภาพของต้นอ่อนแอ โรคนี้จัดเป็นโรคที่มักจะคอยสร้างปัญหา ให้แก่เกษตรกรชาวสวนมะนาวและผู้ที่ปลูกพืชตระกูลส้มทั้งหลายกันเป็นจำนวนมาก เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นต้น กิ่ง ก้าน ใบ และผลอีกด้วย คือสรุปง่ายๆ  ว่าลองได้โรคนี้เข้ามาละก็ เตรียมตัวเจ๊งกันได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ทั้งหลาย เพราะโรคนี้จะทำให้ผลผลิตตกต่ำ และอาจจะต้องเสียเงินเสียทองซื้อต้นพันธุ์ใหม่มาปลูกใหม่

วิธีการจัดการดูแลและรักษานั้นก็ใช่ว่าจะง่าย ยิ่งถ้าเป็นสารเคมีที่เคยใช้ๆกันด้วยแล้ว ก็ค่อนข้างที่จะอันตรายและมักจะไม่ค่อยได้ผลในระยะยาว  ผู้ที่ชอบนำสารเคมีที่คิดว่าจะฆ่าเชื้อเชื้อแบคทีเรียได้มาใช้ในกลุ่มสารปฏิชีวนะบางตัวมาใช้แต่ก้ไม่ได้ผลมากนัก หรือบางท่านก็นำสารเคมีบางอย่าง อาทิเช่น สารในกลุ่มกลุ่มคอปเปอร์เข้ามาใช้ แต่ก็อาจจะได้ผลในระยะแรกแต่พอใช้ไปได้นานเข้า  ก็จะทำให้ต้นพืชมีปัญหาได้และเชื้อโรคแคงเกอร์ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม ใช่ว่าจะหมดไปโดยสิ้นเชิง และยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างและสะสมในดินเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  สารพิษที่ตกค้างเหล่านี้อาจจะยังไม่ออกฤทธิ์ออกเดชทันทีในช่วงที่ดินและสภาพภูมิอากาศมีความชื้นอยู่เพียงพอ เพราะความชื้นจากน้ำและสภาพภูมิอากาศจะเป็นตัวช่วยในการบรรเทาและเจือจางสารเคมีเหล่านั้นให้เป็นอันตรายน้อยลง แต่ถ้าเข้าสู่ฤดูแล้งหรือต้นฤดูหนาว ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีน้อยทำให้น้ำในดินระเหยออกไปในปริมาณมาก ทำให้สารพิษเหล่านี้มีความเข้มข้นมากขึ้นจนเป็นพิษต่อมะนาว ทำให้ต้นมะนาวทั้งหลายอ่อนแอลง และเชื้อโรคแคงเกอร์ฉวยโอกาสเข้ามารบกวนและจู่โจมส้มหรือมะนาวของเราได้


ในปัจจุบัน มีข่าวดีที่เราหลีกหนีสารเคมีที่เชื้อมันเริ่มดื้อยา เราหันมาหาวิธีสามารถที่จะทำการรักษาโรคแคงเกอร์นี้ได้แล้ว


โดยที่ไม่ต้องไปใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายทั้งหลาย รวมทั้งสารประกอบทองแดงก็ไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะยิ่งใช้นานเข้าก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมความเลวร้ายให้แก่ต้นเพิ่มขึ้น เพราะต้นเขาจะยิ่งอ่อนแอหรือตายลงไป แต่โรคนั้นก็ยังคงอยู่ ไม่หายไปไหน เราควรเปลี่ยนมาใช้กรดอินทรีย์สังเคราะห์บางตัวที่ใช้ปราบเชื้อโรคแคงเกอร์นี้ได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อพืชและผู้ใช้ นั่นคือ "อีเรเซอร์-1" สลับกันกับ"คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า"
ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่ปลอดภัยและได้ผลดี ในอัตรา 20 ซีซี.ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน ทั้งป้องกันและกำจัดโรคนี้ ด้วยกรรมวิธีของกระบวนการ "Systemic Acquired Resistances" (SAR) นี่จึงเป็นอีกทางออกหนึ่งของปัญหาโรคแคงเกอร์ หรือโรคขี้กลาก ที่น่ากลัวที่ทำความเสียหายให้กับพืชตระกูลส้มของเรา ไม่ว่าจะเป็นส้มเขียวหวาน ส้มโอ ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง มะนาว หรือว่ามะกรูดก็ตามที แต่บัดนี้เรามีทางแก้ไขแล้วด้วยกระบวนการใหม่ที่ใช้กระบวนการทางชีวเคมีของพืชเข้าช่วย

(หมายเหตุ: พืชตระกูลส้ม (Rutaceae) มีสมาชิก จานวน 130 สกุล และมีมากถึง 1,500 ชนิด (จตุพร และคณะ, 2541) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและพม่า (Tolkowsky, 1938) แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานที่สามารถยืนยันแหล่งกาเนิดที่แท้จริงของส้ม (อำไพวรรณ และคณะ, 2527)

การผลิตต้นส้มในปัจจุบัน เกษตรกรให้ความสำคัญในการคัดเลือกพันธุ์ของต้นตอที่มีความเหมาะส้มกับกิ่งพันธุ์ดีเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้นตอส้มเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพการผลิตส้มกล่าวคือ ต้นตอส้มจะมีอิทธิพลต่อความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ความแข็งแรงของต้นส้ม ความต้านทานต่อโรค ความเข้ากันได้ของต้นตอกับยอดพันธุ์ดี การเคลื่อนย้ายธาตุอาหารและน้า ระบบราก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อผลผลิต และคุณภาพของผลส้ม (เปรมปรี, 2544)

ที่มา:(1) ไพโรจน์  จ๋วงพานิช
       (2) หนังสือโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิมพ์ครั้งที่ 3 (พิสุทธิ์ เอกอำนวย, 2553) สวนสัตว์แมลงสยาม เชียงใหม่     เจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณา 592 หน้า
       (3) มนตรี บุญจรัส. 2557 . ปัญหาที่เกิดบ่อยในการทำมะนาวนอกฤดู. เกษตรวาไรตี้ รู้แล้วรวย  ฉบับที่ 35/2557.
       (4) ศุภรักษ์ ศุภเอม
       (5) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ตรวจเอกสาร)







อีเรเซอร์-วัน

กลไกการออกฤทธิ์ของ "ERASER-1"
กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่

1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )

2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )



การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป

การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)

คุณสมบัติ อีเรเซอร์-1

ERASER-1 เป็นสารเสริมประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง อีเรเซอร์-1 มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ )  หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจนตายได้ในทันที อีเรเซอร์-1 ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ดี  อีเรเซอร์-1 ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

คุณประโยชน์

ใช้กำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดย อีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่น ๆ เป็นต้น

เชื้อโรคจะถูกกำจัดและหยุดการลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะอีเรเซอร์-1 สามารถฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชได้มากกว่า 99% ในทันที  หลังจากเชื้อโรคสัมผัสกับน้ำยาไม่เกิน 5 นาที

เสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่ อีเรเซอร์-1 สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพ  อื่น ๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่ว ๆ ไปได้

อีเรเซอร์-1 สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว ( Pre-harvest ) และหลังการเก็บเกี่ยว ( Post-harvest ) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็วหลังจากฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์

เหมาะกับโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า, และโรคอื่นๆ ในหอม  กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรสและพืชตระกูลถั่ว


คาร์บ็อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า

องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า)

กรดอินทรีย์ (Organic acid) - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )

กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล

กรดไขมัน (Fatty acic) - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น






กลไกการออกฤทธิ์ Carboxyl-Plus Extra 

• ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล


• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว


• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า pKa (ค่าการแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด

• กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)


กลไกการออกฤทธิ์ของ คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า(Carboxyl-plus Extra)

คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า (Carboxyl-plus Extra) ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตและกำจัดเชื้อโรคพืชโดยใช้คุณสมบัติของกรดคาร์บอกไซลิคและกรดไขมันหลายชนิดร่วมกัน กลไกการออกฤทธิ์ สรุปได้ดังนี้
1.    กรดในคาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า แตกตัวตามค่า pKa ของกรดแต่ละชนิดทำให้ pH ของบริเวณผิวนอกของเชื้อโรคลดลง  ทำให้ผนังเซลล์เชื้อโรคเสียสมดุลย์  ผนังเซลล์ชั้นนอกถูกทำลาย และลดการทำงานของเอ็นไซม์ที่บริเวณผนังเซลล์ ทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต

2.    กรดในสภาพไม่แตกตัว(RCOOH) จะผ่านผนังเซลล์เชื้อโรคเข้าไป ช่วงแทรกผ่านผนังเซลล์เข้าไปทำให้บางส่วนเกิดรอยร้าวและรั่ว

3.    กรดที่เข้าไปในเซลล์เชื้อโรคจะแตกตัวภายในเซลล์เชื้อโรค ทำให้ pH ในเชื้อโรคลดลง จึงทำให้คุณสมบัติของโปรตีนเปลี่ยน ทำให้โปรตีนสูญเสียคุณสมบัติการทำหน้าที่เป็นเอ็มไซม์ (Enzymes)ที่จำเป็นของเชื้อโรค

4.    เชื้อโรคต้องเร่งกำจัด H+ ออกจากเซลล์ตลอดเวลาทำให้สูญเสียพลังงานมากจนตาย

5.    กรดแตกตัวประจุลบ ( RCOO-) ที่แตกตัวภายในเซลล์ของเชื้อโรค จะเป็นพิษต่อเชื้อโรคและจะไปรบกวนขบวนการสังเคราะห์ DNA และโปรตีนทำให้เชื้อโรคตาย






ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
www.organellelife.com
www.facebook.com/organellelife.org
Line ID :  organellelife
084-8809595,084-3696633

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น