วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

การจัดการ ..การผลิตพืช โดย "ออร์กาเนลไลฟ์"


หัวใจสำคัญ..ของ"การจัดการ"การผลิตพืช" ยุคใหม่ โดย"ออร์กาเนลไลฟ์"
เข้าใจองค์ประกอบทั้งหมดและจัดการให้ถูกต้องครบถ้วน ย่อมนำมาซึ่งผลผลิตและคุณภาพที่สูงสุด อันจะนำมาซึ่งรายได้ที่ดีเยี่ยม จึงนับเป็นทางออกของเกษตรไทยในยุคปัจจุบันและอนาคต
"ออร์กาเนลไลฟ์"..ใส่ใจใน"องค์รวม"ของการจัดการพืช เราจึง"ดูแลพืช เสมือนดูแล..ลูกรัก"อย่างถูกต้องและสมบูรณ์อย่างผู้รู้ใจพืช
องค์ประกอบทางด้านซ้ายมือ คือเรื่องของธรรมชาติ องค์ประกอบทางด้านขวามือ คือหน้าที่ส่วนหนึ่งของเรา"ออร์กาเนลไลฟ์" และเป็นหน้าส่วนหนึ่งของท่าน เราต้องแบ่งหน้าที่กันนะ..เกษตรกรที่รัก
"เราคิด ท่านทำ ท่านคิด เราช่วยทำ"


Impossible is not a fact...It's an opinion
Impossible is temporary...It's our potential
คำว่า"เป็นไปไม่ได้" เป็นแรงผลักดัน ให้"ออร์กาเนลไลฟ์" พยายามมากขึ้น

คำว่า"เป็นไปไม่ได้" ทำให้"ออร์กาเนลไลฟ์" สร้างนวัตกรรม ที่แตกต่าง
และ..สำหรับเรา"ออร์กาเนลไลฟ์"...คำว่า"เป็นไปไม่ได้" กลับสร้าง"ศักยภาพ"สินค้าที่ยิ่งใหญ่ให้กับเรา
ออร์กาเนลไลฟ์ "ขายตรงนอกคอก" มุ่งมั่นและตั้งใจ"ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้"
ออร์กาเนลไลฟ์ จึงไม่ใช่ขายตรงทั่วไป ที่ใช้กรอบเดิมๆที่เน้น "สร้างภาพ”และ”สร้างกระแส"
หรือเน้น”ขายฝัน”มากกว่า”ขายสินค้า”
แต่...ออร์กาเนลไลฟ์ มุ่งมั่น "สร้างสินค้า”และ”องค์ความรู้" ควบคู่กับการ"สร้างคน"ให้มุ่งมั่นและลงมือทำจริง
ออร์กาเนลไลฟ์ มุ่งมั่น"สร้างสินค้า" ให้เป็น"ทรัพย์สิน" เพื่อลูกหลานมีกินมีใช้ตลอดไป
ออร์กาเนลไลฟ์ "ความจริงเข้มข้นกว่าที่คุณคิด"(The Concentrate of Truth)




ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ
น้ำ ยางในต้นยางพารามีส่วนประกอบของสาร cis-polyisoprene(C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสาย ของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้
แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ
Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA
GAP/Pyrubate Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate
สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้น จาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10), FPP(C15), และ GGPP(C20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลีเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT) โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวต่อเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis-polyisoprene
กว่า จะมาเป็น"น้ำยางพาราธรรมชาติ" ต้องผ่านกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry) โดยมีสาร"ตั้งต้น"(Precursor) ในการเริ่มต้นสังเคราะห์น้ำยาง ให้มั่นใจว่า"พาร์ทเวย์" (PATHWAY)ที่มี"สารตั้งต้น"ในกระบวนการสร้างน้ำยาง ยิ่งใช้ยิ่งดี น้ำยางยิ่งมีน้ำหนัก เนื้อแน่น (โมเลกุลน้ำยางยาวขึ้น) เปอร์เซนต์น้ำยางสูงขึ้น เปอร์เซนต์น้ำยางไม่ตกต่ำ ไม่ว่าจะเจอภาวะอากาศแปรปรวนใดๆก็ตามที "พาร์ทเวย์"(PATHWAY)จะไปช่วยให้ต้นยางที่สร้าง"สารตั้งต้น" (Precursor) ไม่ดีหรือมีไม่เพียงพอต่อกระบวนการสังเคราะห์น้ำยาง ให้มี"สารตั้งต้น"(Precursor) ที่เพียงพอต่อการสังเคราะห์น้ำยางได้มากขึ้นหรือเป็นปกติขึ้น ไม่ต้องถามว่าเป็น"สารเร่ง" หรือไม่? ตอบได้เลยว่า"ไม่ใช่" เพราะมันไม่มี "เอทธิลีน"(Ethylene) จริงๆแล้วต้นยางพาราขาด"สารตั้งต้น"( Malate) ตัวนี้ไม่ได้จริงๆ ถ้ายังคิดว่าต้องการน้ำยางพาราอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดไป การสร้าง"น้ำยางพารา" จึงต้องผ่านสารตัวนี้อยู่ดี
(ที่ ให้ใช้"พาร์ทเวย์"ควบคู่กับ"อีเรเซอร์-1" ก็เพราะมันมีความจำเป็นต้องรักษาแผลที่หน้ายางตลอดเวลาไม่ให้ติดเชื้อโรค และต้องฆ่าเชื้อโรคที่รุนแรงที่จะเข้าทำลายบริเวณแผลที่หน้ายางด้วยสารฆ่า เชื้อแบบเฉียบพลัน และยังต้องป้องกันเชื้อโรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับหน้ายางอีกด้วย ที่สำคัญต้นยางเองยังต้องมีการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อเปลือกทดแทน(Revitalize) ส่วนที่เสียหายไปจากการกรีดให้กลับคืนมาเป็นหน้าปกติอีกด้วย ซึ่งกรดอินทรีย์สังเคราะห์ในกลุ่ม Hydroxy acid บางตัวที่มีอยู่ใน"อีเรเซอร์-1"สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ)






ขบวนการสังเคราะห์แสงกับการสร้างสารสะสม
ขบวนการสังเคราะห์แสง เป็นขบวนการที่พืชใช้พลังงานแสงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี โดยมี น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ
ขบวนการสังเคราะห์แสงในพืช C3 พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Fixation) ให้อยู่ในร
ูปของ สารที่มีคาร์บอน 3 ตัว คือ G3P (Glyceraldehyde-3phosphate) ใน Calvin Cycle และสาร G3P จะถูกเปลี่ยนเป็นสารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาลโดยตรงต่อไป
ในพืช C4 และพืช CAM พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน 4 ตัว คือ มาเลท (Malate) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการเปลี่ยนเป็นสารสะสมต่างๆ ในพืชต่อไป ดังนี้
1. สารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาล – พืช C4 และ CAM จะใช้มาเลทเป็นสารตั้งต้นให้คาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ Calvin Cycle ได้สาร G3P ก่อนสังเคราะห์เป็นแป้งและน้ำตาลต่อไป
2. สารสะสมประเภท โปรตีน น้ำมัน น้ำยาง อัลคาลอยด์ สี กลิ่น ฮอร์โมนพืช ฯลฯ – พืช C4 และ CAM จะใช้ Pyruvate ที่ได้จาก Malate หลังจากปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว มาใช้ในการสังเคราะห์สารประเภทต่างๆ โดยมีขั้นตอน (Pathway) ตามลำดับต่อไป เช่น Pyruvate เป็นน้ำมันต่างๆ ได้โดยผ่าน Mevalonic Pathway เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง
1. สภาพของพืช ได้แก่ สภาพทางสรีรวิทยา เช่น สรีระของใบ อายุของใบ การเข้าทำลายใบของโรคพืช ที่มีผลต่อสภาพรงควัตถุที่ใช้สังเคราะห์แสง สภาพทางพันธุกรรม ได้แก่ C3, C4, CAM มีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชนั้นๆ
2. แสง ได้แก่ ความเข้มของแสง ความเข้มของแสงสูงอัตราการสังเคราะห์แสงจะสูงแต่ถ้าเกินจุดอิ่มตัวจะทำให้ใบ ไหม้ได้ ความเข้มของแสงต่ำอัตราการสังเคราะห์แสงจะต่ำ แต่อัตราการหายใจไม่ขึ้นกับความเข้มของแสง ดังนั้นถ้าความเข้มของแสงต่ำเกินจุดอัตราสมดุลย์ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 และ O2 พืชก็จะเริ่มไม่เจริญและตายในที่สุด ความยาวช่วงแสง อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มเป็นสัดส่วนกับความยาวของช่วงวัน ความยาวคลื่นแสง พบว่าช่วงคลื่นแสงสีแดงและสีน้ำเงินมีผลต่อการสังเคราะห์แสงมากกว่าแสงใน ช่วงคลื่นอื่นๆ
3. อุณหภูมิ ถ้าสูงหรือต่ำเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของเอ็มไซม์ในขบวนการ Dark Reaction ในอุณหภูมิที่สูงมากจะทำให้ปากใบปิดอัตราการหายใจสูงและอัตราการสังเคราะห์ แสงลดลง
4. ความเข้มข้นของก๊าซในบรรยากาศ เช่น CO2 มากทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวอัตราการสังเคราะห์ก็ จะไม่เพิ่มขึ้นอีก O2 มากจะลดการสังเคราะห์แสงของพืช C3 เพราะแย่งการใช้วัตถุดิบ RuBP ตัวเดียวกับ CO2
5. ธาตุอาหาร มีผลต่อการสังเคราะห์ทั้งทางตรงและทางอ้อม แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ธาตุอาหารหลายชนิดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นตอนการสังเคราะห์แสง
6. ปริมาณน้ำที่พืชได้รับ เพราะน้ำเป็นแหล่งอิเลคตรอนที่ใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง น้ำมีผลต่อการปิดเปิดปากใบทำให้มีผลต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้าไปใบ น้ำมีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซในระดับเซล
ใน สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือเมื่อสภาพของพืชไม่สมบูรณ์ พืชมักมีปัญหาจากการสังเคราะห์แสง พืชจะอยู่ในสภาพเครียด จากปัจจัยที่มีผลได้ข้างต้น พาร์ทเวย์(PATHWAY)สามารถปรับสภาพของพืชได้อย่างรวดเร็ว จากการให้สารตั้งต้น C4 หรือสารมาเลท(MALATE)แก่พืชโดยตรง เพื่อชดเชยการขาดสารมาเลท(MALATE)จากการสังเคราะห์แสงที่มีปัญหาของพืช





ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell,
Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลี
ยง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม เลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ
Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
มี ส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืช เมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการ สังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรด ซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อย ธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช







SYSTEMIC ACQUIRED RESISTANCE (SAR)
การป้องกันโรคพืชโดยวิธีกระตุ้นภูมิต้านทานโรค (SAR) คืออะไร?
การ ป้องกันโรคพืชโดยวิธกระตุ้นภูมิต้านทานโรคเป็นการใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติ เฉพาะเจาะจงบางอย่างไปกระตุ้นระบบการป้องกันตนเองต่อเชื้อโรคของพืชตาม ธรรมชาติ สารเคมี
ดัง กล่าวให้กับพืชโดยวิธีฉีดพ่นทางใบและสารเคมีบางอย่างสามารถให้โดยการแช่ เมล็ดด้วย สารเคมีเหล่านี้สามารถไปกระตุ้นให้พืชต่อต้านการเข้าทำลายของเชื้อโรคก่อน ที่จะเกิดการเสียหายได้โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ เทคโนโลยีนี้ยังสามารถใช้เสริมร่วมกับการป้องกันโรคในแบบเดิมๆได้

วิธีนี้จะช่วยอะไรบ้าง?
- วิธีนี้ช่วยลดการระบาดและความรุนแรงของโรคต่อพืชและผลผลิตได้
- วิธีนี้ช่วยเพิ่มระยะเวลาป้องกันโรคพืชและลดระยะเวลาการเป็นโรคได้
- วิธีนี้ช่วยให้ยุทธวิธีการควบคุมป้องกันโรคพืชครบทุกด้าน โดยช่วยการป้องกันโรคที่ต้นทางนอกจากเหนือจากการรักษาที่ปลายทางหรือเมื่อ พืชเป็นโรคเกิดความเสียหายแล้ว
- วิธีนี้ช่วยสิ่งแวดล้อมโดยทำให้ลดการใช้สารเคมีที่เป็นพิษสูงในการป้องกันรักษาโรคพืช
- วิธีนี้ช่วยป้องกันโรคที่รักษายากหรือยังไม่มียารักษาเมื่อเกิดการระบาด เช่น โรคจากเชื้อไวรัส
- วิธีนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคในกรณีของกรดซาลิไซลิค เพราะเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ

กลไกการกระตุ้นภูมิต้านทานโรค
การ กระตุ้นภูมิต้านทานโรคพืชเป็นวิธีที่ใกล้เคียงเลียนแบบธรรมชาติมากที่สุดใน การป้องกันตนเองของพืชโดยการใช้สารเคมีไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ เมื่อพืชเริ่มติดโรค วิธีนี้ไม่เพียงแต่เป็นการใช้สารเคมีใหม่ๆ ในพืชแต่ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สมบูรณ์แบบอีกด้วย โดยการเน้นที่การป้องกันมากกว่าการรักษา
ใน ธรรมชาติเมื่อพืชถูกเชื้อโรคเข้าทำลาย จะเกิดการกระตุ้นเฉพาะที่ เช่น บริเวณใบที่ติดเชื้อโรค ทำให้เกิดการตอบสนองของพืชในรูปของปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์พืช และนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า กรดซาลิไซลิค (Salicylic acid) เป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่พืชสร้างขึ้นหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งจะเป็นสารเคมีสำคัญในการกระตุ้นการสร้างโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานโรค (PR-proteins) ขึ้นมาป้องกันตนเอง โปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานโรคเหล่านี้เป็นแบบที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อโรค ใดๆ แต่จะครอบคลุมเชื้อโรคได้กว้าง (broad spectrum) ดังนี้นจึงสามารถต้านทานโรคที่เกิดได้ทั้งจากแบคทีเรีย รา และไวรัส อย่างไรก็ตามโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานโรคเหล่านี้จะมีอายุไม่ยาวนัก ประมาณ 15-30 วันก็จะหมดไป





กระบวนการ "TUBERIZATION" กับกลไก “การลงหัว"(Tuber)
เป็น กระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลัง เมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังก
ล่า วก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน อีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth)เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน
การ ลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสง แต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตัวเดียวกันกับที่พืช สังเคราะห์แสงได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้นและสุดยอดขึ้น ดังนั้นการใช้ "ซูการ์-ไฮเวย์"(ZUKAR-Highway) ร่วม ด้วยจึงมีความจำเป็น นี่คือ..คำตอบ ในการพัฒนาผลผลิตมันสำปะหลังในยุคใหม่แห่งโลกอนาคตทางการเกษตร


องค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของกระบวนการ"TUBERIZATION"
Photoperiod หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืช ตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์ “Jasmonic acid” (JA) ท
ี่ใบ และหลังจากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก (Root) จนทำให้เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวนมาก
“การลงหัว” เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ ที่เซลล์เนื้อเยื้อเจริญ (Subapical meristem cell) ที่อยู่บริเวณ
ปลายรากและปลายยอดของพืช หลังจากได้รับ Jasmonic acid (JA) ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเซลล์ดังนี้
1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์) เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน
2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์) เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุดแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็น “หัว”
3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพและหน้าที่) ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำหน้าที่
ให้ เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพเพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัว อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูกสะสมได้มากขึ้นที่หัว การสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้ปริมา ณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อ ได้รับ “AXZON” (Jasmonic acid , Glutamic acid and Mixer of Other Organic acid compound) จะช่วยให้เซลล์บริเวณ Storage Root มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีจำนวนมากขึ้นทำให้พร้อมสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น อีกทั้งการเคลื่อนย้ายโปรตีนและแป้งทำให้ง่ายขึ้น หัวมันเลยใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว •









BIO-JET
BIO-STIMULANTS are biological compounds that stimulate both microbial and plant growth processes
- reduces stresses,

- encourages strong plant development, providing increased plant health, quality and productivity
Four Basic Effects
Greater soil
Microbe activity.
Bio-Jet stimulates beneficial soil microbe activity – especially those around the plant roots.
These improve rooting as well as helping fight-off disease and soil pests, at the same time as working
within the soil to release more nutrients to the plant.
Increased chlorophyll
Bio-Jet increases levels of plant chlorophyll – the green pigment essential for plant development.
This ensures better use of energy from the sun, fuelling strong, healthy growth.
Stress relief
Bio-Jet acts within the plant, raising its natural defense mechanisms to a higher level.
As a result, it is better equipped to resist pests and diseases, diverting more of its energies into growth,
with reduced stress.
Increased Frost tolerance
Bio-Jet helps the plant withstand the pressures of frost, reducing damage at critical stages of growth.
INCREASE PLANT HEALTH, YIELD AND QUALITY…..
Used regularly throughout the life of the plant, Bio-Jet will
- improve turf wear
- ensure strong growth and better flowering
- Increase fruit crop yields
- ensure good grainfill and top quality cereal yields
- minimize transplanting shock
- boost potato size and crop development
- harden plants during periods of stress
- maximize nutrient and moisture uptake
- reduce the effects of pest and disease attack
- raise crop quality and storage life


BIO-JET : สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
ไบโอเจ็ท - ช่วยกระตุ้นให้พืชมีการแตกตาอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ตายอด ตาดอก ตาใบ
ไบ โอเจ็ท - ช่วยเพิ่มประมาณแห้ง น้ำตาล ฮอร์โมนต่างๆ ทำให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลังจากเก็บเกี่ยว หรือ ฟื้นตัวเร็วหลังจากโดนน้ำแช่ขัง

ไบโอเจ็ท - ช่วยกระตุ้นให้พืชที่แคระแกรน เนื่องจากอากาศ ร้อนหรือหนาวเกินไป
และพืชที่แพ้สารเคมี ให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
ไบโอเจ็ท - สามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด
ไบโอเจ็ท - พืชดูดซึมเข้าทางใบและรากได้ดี
ไบโอ-เจ็ท ประกอบด้วย
ฮอร์โมนต่างๆ - อ๊อกซิน (Auxin) , จิบเบลเรลริน (Gibberellin) , ไซโตไคนิน (Cytokinin)
น้ำตาล และกรดอินทรีย์ - แมนนิทอล (Mannitol) , อัลจีนิค แอซิด (Alginic acid) , ลามินาริน (Laminarin) , น้ำตาลต่างๆ (Other sugar)
ธาตุอาหารหลัก - ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเซียม (K)
ธาตุอาหารรอง - แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S)
ธาตุอาหารเสริม - สังกะสี (Zn) , เหล็ก (Fe) , แมงกานีส (Mn) , โบรอน (B)





          มีหลายคนสงสัยว่า..เวลาใส่"ฮอร์โมนและอาหารเสริมพืช(ชนิดเม็ด)..กรีนอัพ" เข้าไป ทำไม? พืชตอบรับดีและมีการเจริญเติบโตแบบ"ผิดหูผิดตา" ตอบได้คำเดียวว่า..มันมาจากความ"หิวโหย ซ่อนเร้น" ของพืชนั่นไง!! ถ้าแก้ปัญหาได้ตรงจุดตรงประเด็นเราก็จะเห็นการตอบสนองในสิ่งที่พืช เขาขาดและกำลังต้องการความช่วยเหลือ เราจะเห็นการตอบรับอย่างที่เห็น หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่า.."คุณรู้หรือยังว่า...พืชต้องการอะไร?" ในความ"หิวโหย ที่ซ่อนเร้น"อยู่นั้น
ฮอร์โมน และอาหารเสริมพืช(ชนิดเม็ด) "กรีนอัพ"( GreenUp) ผลิตขึ้นมาเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการของพืชอย่างแท้จริง ในสิ่งที่พืชขาดแต่พืชเองพูดบอกเราไม่ได้ เพื่อให้ใช้ง่าย ไม่สิ้นเปลือง และไม่เป็นการเพิ่มต้นทุน" เป็นการเติมเต็มในส่วนที่พืชขาดและต้องการมาก แต่ในปุ๋ยเคมีที่เคยใส่ไม่มี" และข้อดีอีกข้อคือสามารถลดปุ๋ยเคมีที่เคยใช้ลงครึ่งหนึ่งและเติม"กรีนอัพ" เข้าไปแทนครึ่งหนึ่ง(ปุ๋ยเคมีที่เคยใช้ 50 กก.ก็ลดลงเหลือ 25 กก.และเพิ่ม"กรีนอัพ"เข้าไปแทน 25 กก.รวมเป็น 50 กก.) ก็ถึงเส้นชัยของพืชแล้ว อีกทั้งยังลดต้นทุนได้ด้วย นี่คือ..อีกหนึ่งทางออกของการเกษตรยุคใหม่ ที่ใช้วิทยาการใหม่เข้าไปบริหารจัดการให้พืช









ปุ๋ยอินทรีย์เคมี "ออร์กรีน-พลัส " สูตร 12-3-3
"นวัตกรรมปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตรสูง"
เป็นนวัตกรรมใหม่ของปุ๋ยทางดินระดับนานาชาติ

อินทรีย์วัตถุคุณภาพดี กลุ่มโปรตีนจากกากผงชูรส(WAC)และกากเบียร์(Yeast Extract)
ปุ๋ยอินทรีย์เคมี"ออร์กรีน-พลัส" สูตร 12-3-3..
มีดีที่.."อะมิโน โปรตีน ไนโตรเจน"(Amino Protein Nitrogen)
ปุ๋ยอินทรีย์เคมี "ออร์กรีน–พลัส" สูตร 12-3-3 + OM 10%
ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 5 พลัง...
พลังที่1 พลังจากธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและเสริม(N-P-K) ครบถ้วน
พลังที่2 พลังจากธาตุอาหารรองและเสริม บางตัวที่ดินขาดแคลนและพืชจำเป็นต้องใช้
พลัง ที่3 พลังจากอินทรีย์วัตถุกลุ่มโปรตีนจากกากผงชูรส(WAC) และกากยีสต์(Yeast Extract)ซึ่งมีอินทรีย์วัตถุสูงกว่ากลุ่มอื่นๆถึง10 เท่าตัว
พลังที่4 พลังจากจุลินทรีย์กลุ่มFacultative ที่ถูกสร้างขึ้นโดยการใส่กลูโคส ยีสต์และอะมีโน แอซิด ทำให้มีคุณสมบัติเป็นชีวภาพชั้นดี
พลังที่5 พลังจากฮิวมิค แอซิด และฟลูวิค แอซิด เพื่อเป็นคีเลท ทำให้พืชดูดธาตุอาหารได้ดี และยาวนานคงทน
ดินได้ปุ๋ยดี พืชเจริญเติบโตดี มีคุณภาพดีและมีผลผลิตสูง ตามต้องการของเกษตรกร ต้อง"ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ออร์กรีน-พลัส" เท่านั้น
ปุ๋ยดี... มีชัยไปกว่าครึ่ง ครับพี่น้อง "ครบและจบในเมล็ดเดียว จริงๆ"






     จาก ทฤษฎีสุขภาพพืช(Plant Health Theory) โดยออร์กาเนลไลฟ์ ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพพืชและเน้นการ “สร้างเสริม”มากกว่าการ “ซ่อม” และมองปัญหาพืชแบบองค์รวมและทุกมิติ ไม่มองปัญหาเพียงมิติใดมิติหนึ่ง ทุกปัญหาต้องนำมาบูรณาการร่วมกัน หัวใจสำคัญของ “ทฤษฎีพืช”โดยออร์กา เนลไลฟ์ จะเน้นที่หัวใจสำคัญคือการ “สร้างภูมิคุ้มกัน” เพื่อให้ร่างกายของพืชมีความต้านทานต่อโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยการให้ “วัคซีนพืช”ที่ทรงประสิทธิภาพก่อนที่เชื้อโรคต่างๆจะทำลายพืชให้เกิดโรคได้ ด้วยกระบวนการ “SAR”(Systemic Acquired Resistance) และตลอดจนรวมถึง กระบวนการทาให้ร่างกายของพืชแข็งแรง ด้วยการให้สารอาหารและ
สาร ต่างๆ(The Nutrients and Essential Substrates)ที่จำเป็นต่อพืชอย่างรู้ใจพืช เพื่อสร้างเสริมและฟื้นฟูเซลล์พืชให้สมบูรณ์เพื่อให้พืชสามารถสร้างสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ทั้งสารปฐมภูมิและสารทุติยภูมิ(The Primary and Secondary metabolite)เป็นต้น ด้วย “ทฤษฎีวันเดอร์แลนด์” และ “ผลิตภัณฑ์วันเดอร์แลนด์” ของออร์กาเนลไลฟ์เท่านั้น ที่จะทำได้ เพราะว่าเรามีพร้อมทุกอย่างตามที่พืชต้องการ ซึ่งเราสามารถสร้างสารเลียนแบบสารต่างๆที่พืชต้องการและจำเป็นต้องใช้ ซึ่งที่จริงแล้วสารต่างๆที่กล่าวมานั้น พืชเองสามารถสร้างได้เองตามธรรมชาติแต่ในปัจจุบันพืชอาจขาดแคลนเพราะสร้าง เองได้น้อยลงเนื่องด้วยสภาวะแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไป สุขภาพพืชเลยแย่และอ่อนแอ การเจริญเติบโตของพืชก็ผิดปกติ การสืบพันธุ์ก็ผิดปกติ การให้ผลผลิตก็ผิดปกติ และอื่นๆอีกมากมาย นับเป็นปัญหาใหญ่ของพืช ที่เราจะใช้วิธีการเดิมๆที่คุ้นเคยแก้ปัญหา
ย่อม ไม่ได้ ซึ่งวิธีการเดิมๆเรามักจะชอบแก้ไขปัญหากันแบบเฉพาะหน้า ชอบการเยียวยา มากกว่า การป้องกัน เราจึงต้องหันมาเน้นในเรื่องของสุขภาพพืชให้มากขึ้นและจากนี้ไป “ศูนย์สุขภาพพืช”
โดย ออร์กาเนลไลฟ์ จะมีความสำคัญยิ่ง เพราะเรามีทั้ง “วัคซีนพืช”หนึ่งเดียวในโลกและเรามี “สารตั้งต้น”ที่เข้าไปทางานในระดับเซลล์พืชหนึ่งเดียวในโลก และเรามี “ฮอร์โมนพืช”ที่เลียนแบบเหมือนที่พืชสร้างได้เองหนึ่งเดียวในโลก แล้วแบบนี้ เราพอที่จะเป็นความหวังให้กับเกษตรกรได้ไหมครับ และต่อไป นี้จับตาดูให้ดีๆ “ศูนย์สุขภาพพืช”จะมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า “สถานีอนามัย” สำหรับคนเราเลยทีเดียวครับ


       สุขภาพ พืช ( Plant Health ) ยืดถือหลักความเป็นองค์รวมที่ไม่อาจแบ่งแยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกจากกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศน์ของพืชทุกอย่างจะมีประโยชน์เกื้อกูลต่อสุขภาพของพืช สุขภาพคือความเป็นองค์รวมของระบบชีวิตทั้งมวล มิใช้เป็นแค่ภาวะที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น การมี
ภูมิ คุ้มกันที่ดีที่มีความสามารถในการปรับตัวและฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็วก็ เป็นลักษณะที่สำคัญอันหนึ่งของสุขภาพพืช เราอาจต้องมองถึงบทบาทการสร้างเสริมระบบนิเวศวิทยา ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ อาทิ จุลินทรีย์ในดิน การสร้างเสริมคุณภาพของดิน การดูแลเรื่องอินทรีย์วัตถุในดินที่เพียงพอและสร้างเสริมโครงสร้างของดิน เป็นต้น และเรา ควรละเว้นจากสารเคมีไม่ว่าจะเป็น อาทิ สารป้องกันกาจัดศัตรูพืช หรืออื่นๆ เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของพืชทั้งสิ้น
การไม่เอาใจใส่ในเรื่องของการจัดการวัชพืช การจัดการโรคพืช การจัดการแมลงศัตรูพืช ก็จะเป็น
สาเหตุ สำคัญที่จะทำให้สุขภาพของพืชแย่ลง ถ้าเรายังคงมุ่งเน้นแต่การใช้สารเคมี เพื่อการเยียวยารักษาแบบที่ผ่าน ๆ มา “โปรแกรมการบริหารและจัดการสุขภาพพืช” ( Plant Health Management Program : PHMP ) จึงมีความสำคัญยิ่ง
การ ทำการเกษตรในบ้านเราต่อไปในอนาคต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา เราทำ “การเกษตรแบบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า” เป็นการใช้วิทยาศาสตร์แบบเร่งรัด คืออยากให้พืชโตเร็ว ๆ ก็เอาปุ๋ยเคมีมาใส่เร่งให้มัน อยากได้ผลผลิตสูง ๆ เราก็เอาปุ๋ยเคมีมาใส่ให้มัน เอาฮอร์โมนมาฉีดให้มันเพราะเราไม่เข้าใจวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง
วิทยา ศาสตร์ หากพูดง่าย ๆ คือ กระบวนการจัดการสร้าง การพัฒนาการ การเกิดปฏิกิริยา การเสื่อมโทรม หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจาก ปัจจัยเดี่ยวหรือปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย ที่เกี่ยว
ข้อง กัน แต่ที่สำคัญต้องสามารถพิสูจน์และหาเหตุและผลที่เกิดขึ้นนั้นได้ ในทางการเกษตร ถ้าเราจะปลูกพืชที่เราต้องการ เราจะต้องรู้ว่าเราต้องการปลูกพืชอะไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้พืชที่เราปลูกเจริญเติบโตได้ดี พื้นที่ปลูกเหมาะสมหรือไม่มีโรคและแมลงศัตรูอะไรบ้างที่จะมารบกวน แล้วสาเหตุที่โรคและแมลงเหลำนั้นเข้ามาเนื่องจากอะไร เราจะจัดการอย่างไร จะป้องกันหรือขับไล่หรือกำจัด และจะทำด้วยวิธีใดเหล่านี้เป็นต้น ที่จะทำให้เราสามารถปลูกพืชได้อย่างผู้รู้ และเป็นการทำแบบวิทยาศาสตร์เกษตร
อย่าง แท้จริงวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข๎องกับการปลูกพืชจึงประกอบไปด้วยหลายสาขาที่มารวมกันเป็นระบบและ องค์รวม ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ การจัดการดินให้สมบูรณ์ การจัดการอาหารทางดิน การจัดระบบปลูกที่เหมาะสม การจัดการให้น้ำ การจัดการให้ปุ๋ย การจัดการศัตรูพืชทั้งโรคและแมลง การบำรุงสุขภาพพืช การเพิ่มผลผลิต และการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการบรรจุ


            สิ่ง แรกที่ต้องให้ความสำคัญก็คือ ดินกับการจัดการดิน วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดินเราเรียกว่า “ปฐพีวิทยา” ซึ่งครอบคลุมเรื่องดินไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ชนิดดิน โครงสร้างดินและธาตุอาหารในดิน เป็นต้น
จาก “ทฤษฏีสุขภาพพืช” จึงเป็นทฤษฏีที่มุ่งเน้น “การสร้างเสริม”
มากกว่า “การซ่อม” ใน “ทฤษฏีสุขภาพพืช” จึงหมายรวมถึงทุกเรื่องที่เราต้องดูแลตั้งแต่ตัวของพืชเอง ซึ่งต้องดูแลปัจจัยภายในพืชทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทางานต่าง ๆ ภายในพืช ทั้งกระบวนการทาง Physiology , Biochemistry , Biology หรือทางด้านพันธุกรรมพืช เป็นต้น อีกทั้งเราจะต้องดูแลปัจจัยภายนอกทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดิน เรื่องสภาพอากาศ ทั้งความร้อน ความหนาวเย็น หรือกระทั่งความชื้นสัมพัทธ์ ที่มีผลต่อพืช สรุปว่า “ทฤษฏีสุขภาพพืช” จึงเป็นทฤษฏีที่เกี่ยวข๎องกับทุกมิติอย่างเป็นองค์รวม และการแก้ไขปัญหาจึงต้อง “บูรณาการ” ในทุก ๆ มิติให้เกิดความสมดุลย์ โดยไม่มองอย่างแยกส่วน จึงเป็นที่มาของ “ การบริหารจัดการสุขภาพพืช”
( Plant Health Management ) ด้วย “ทฤษฏีวันเดอร์แลนด์” อย่างจำเป็นยิ่งยวด






  

084 - 8809595,084 - 3696633 
Line ID :  @organellelife.com   (พิมพ์ @ ด้วยค่ะ

www.organellelife.com 
www.facebook.com/organellelife.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น