วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

มันสำปะหลัง


มันสำปะหลัง คือ อะไร ?
มันสำปะหลังเป็นพืชหัวชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกกันทั่วไปในภาษาอังกฤษว่า.." แคสซาวา (Cassava) หรือ ทาปิโอก้า (Tapioca)  ประเทศแถบแอฟริกา เรียกชื่อ ภาษาฝรั่งเศส ว่า แมนิออค (Manioc)
มันสำปะหลังมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ เช่น ประเทศเปรู เม็กซิโก กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และบราซิล ซึ่งมีการปลูกมันสำปะหลังมา 3,000 ถึง 7,000 ปีแล้ว ต่อมาได้ขยายไปสู่แหล่งอื่นๆ ของโลก โดยชาวโปรตุเกส และสเปน นำมันสำปะหลังจากเม็กซิโก มายังฟิลิปปินส์ ประมาณ ค.ศ.17 และชาวฮอลแลนด์ นำไปยังอินโดนีเซีย ประมาณค.ศ.18
นักวิทยาศาสตร์ได้จัดมันสำปะหลังไว้เป็นหมวดหมู่ ดังนี้
ORDER : GERANIALES OR EUPHORBIALES
CLASS : DICOTYLEDONEA
SUBCLASS : ARCHICHLAMYDEAE
FAMILY : EUPHORBIACEAE
TRIBE : MANIHOTEAE
GENUS : MANIHOT
SPECIES : ESCULENTA
มันสำปะหลังเป็นไม้พุ่มยืนต้นมีอายุอยู่ได้หลายปี การปลูกมันสำปะหลังจะใช้ส่วน ของลำต้นตัดเป็นท่อนปักไปในดิน ตรงบริเวณรอยตัดที่ปักอยู่ในดินจะแตกเป็นราก ฝอย หลังจากปลูกได้ประมาณ 2 เดือนรากจะค่อยๆสะสมแป้ง และมีขนาดโตขึ้น เรียกว่าหัวมันสำปะหลัง และจะสามารถเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังหลังจาก 6 เดือน ผ่านไปแล้วโดยจะยืดอายุเก็บเกี่ยวไปได้ถึง 16 เดือน โดยส่วนตาที่อยู่ด้านข้างท่อน มันจะเจริญเติบโตออกมาเป็นลำต้นต่อไป
สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า มีการ นำมันสำปะหลังเข้ามาปลูกเมื่อใด แต่คาดว่ามีการนำมัน สำปะหลังมาจากประเทศมาเลเซียเมื่อปี 2329 โดยมีชื่อ เรียกในระยะต่อมาว่า มันไม้ และมันสำโรง คำว่าสำปะหลัง นั้นภาษามาเลเซียและอินโดนีเซียเรียกว่า Ubikayu แปลว่า พืชที่มีรากขยายใหญ่ และคล้ายกับภาษาชวาตะวันตกว่า "สัมเปอ (Sampeu)"
ที่มา:http://www.tapiocathai.org/C.html
มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย แบ่งเป็น กี่ชนิด?
มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1. ชนิดหวาน (Sweet Type) เป็นมันสำปะหลังที่มีปริมาณกรด
ไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขมใช้เพื่อการบริโภคของมนุษย์ มีทั้งชนิดเนื้อร่วนนุ่ม และชนิดเนื้อแน่น เหนียว แต่มีจำนวนน้อย
2. ชนิดขม (Bitter Type) เป็นมันสำปะหลังที่มีกรดไฮโดรไซยานิคสูง เป็นพิษ และมีรสขม ไม่เหมาะสำหรับ การบริโภคของมนุษย์ หรือใช้หัวมันสำปะหลัง สดเลี้ยงสัตว์โดยตรง แต่จะใช้สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆเช่น แป้งมัน มันอัดเม็ด และแอลกอฮอล์ เป็นต้น เนื่องจากมีปริมาณแป้งสูง มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศ ไทยส่วนใหญ่เป็นชนิดขมสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม
ที่มา:http://www.tapiocathai.org/C.html
องค์ประกอบหัวมันสำปะหลังคือ อะไร?
มันสำปะหลังเป็นพืชที่เก็บสะสมอาหารไว้ในราก เมื่อพืชมีการสร้างอาหารจาก ใบและส่วนที่ เป็นสีเขียวแล้ว จะสะสมในรูปของคาร์โบไฮเดรต คือ แป้งไว้ในราก ความสามารถในการ สร้างและสะสมแป้งในรากมีความแตกต่างกันบ้าง เนื่องมาจาก พันธุ์ของมันสำปะหลัง อายุเก็บเกี่ยว ปริมาณน้ำฝนในช่วงแรกก่อนการเก็บเกี่ยว และปัจจัยอื่น ๆ จึงทำให้ส่วนประกอบของหัวมันอาจจะแตกต่างกันไป โดยทั่วไปหัวมัน สำปะหลังที่มีอายุ 12 เดือน ที่ได้รับปริมาณน้ำฝนเพียงพอ และไม่มีฝนตกชุกขณะ เก็บเกี่ยว จะมีส่วนประกอบแสดงได้ดังนี้
อ่านรายละเอียดได้ที่: http://www.tapiocathai.org/D.html
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์อะไรบ้าง?
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุก ๆ ส่วน ตั้งแต่ยอดจนถึงราก (หัวมัน) มีการนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เพื่อการบริโภคเป็นอาหารมนุษย์ และอาหาร สัตว์ และใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ กับมนุษย์และสัตว์ ในหลาย ๆ รูปแบบ ตลอดทั้งใช้ในอุตสาหกรรมแป้งแปรรูป (Modified Starch) ใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมต่างๆได้มากมายหลายชนิดและในวงการแพทย์ จึงกล่าว ได้ว่าการใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลังแยกได้ 3 ประเภท คือ บริโภคโดยตรง แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ (มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมัน) และแป้งมันสำปะหลังแปรรูป (ทางเคมีและกายภาพใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรมต่าง ๆ )
ที่มา: http://www.tapiocathai.org/E1.html
โรคที่สำคัญของมันสำปะหลังคืออะไร?
• โรคใบไหม้ (Cassava Bacterial Blight : CBB)
• โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Leaf Spot)
• โรคใบจุดไหม้ (Blight Leaf Spot)
• โรคใบจุดขาว (White Leaf Spot)
• โรคลำต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อรา (Stem Rot)
• โรคที่เกิดจากเชื้อรา Botryodiplodia theobromae
• โรคขี้เถ้าหรือราแป้ง (Cassava Ash Disease)
• โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
• โรครากหรือหัวเน่า (Root and Tuber Rot Diseases)

http://210.246.186.28/fieldcrops/cas/pest/index.HTM

การปลูกมันสำปะหลังที่ดีทำอย่างไร?
การเตรียมดิน
•ดินสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง
•การไถ
•การปรับปรุงบำรุงดิน
•การอนุรักษ์ดินและน้ำ
(อ่านรายละเอียดได้ที่:http://www.tapiocathai.org/F1.html)

มันสำปะหลังมีพันธุ์อะไรบ้าง?
พันธุ์ระยอง 5
• ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตหัวสดสูง 4.42 ตัน/ไร่
2. ผลผลิตมันแห้งสูง 1.55 ตัน/ไร่ และผลผลิตแป้ง 1.03 ตัน/ไร่
3. มีความงอกของท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกดี และต้นพันธุ์อยู่รอดจนถึง เวลาเก็บเกี่ยวสูง 93 %
4. มีเสถียรภาพและการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
• ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาล สูงประมาณ 170 เซนติเมตร มีระดับการแตกกิ่ง 2-3 ระดับ ระดับความสูงการแตกกิ่งระดับแรก 100-120 เซนติเมตร กิ่งทำมุมกับลำต้น 15-30 องศา แผ่นใบรูปร่างเป็นแบบใบหอก ใบแก่สีเขียวเข้ม ยอดอ่อนสีม่วงอมน้ำตาล ก้านใบสีแดงเข้ม หัวรูปร่างอ้วนป้อม เปลือกหัวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว
• ฤดูปลูกที่เหมาะสม
ต้นฤดูฝน เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ปลายฤดูฝน เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
• พื้นที่แนะนำ
สามารถปลูกได้ดีทั้งในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• ความต้านทานโรค
ต้านทานปานกลางต่อโรคใบจุด
• ข้อควรระวัง
เป็นโรคใบไหม้ได้ง่ายกว่าพันธุ์อื่นๆ แต่อาการไม่รุนแรงถึงกับทำให้ต้นตาย
• การรับรองพันธุ์
กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2537
พันธุ์ระยอง 60
• ลักษณะเด่น
1. เป็นพันธุ์ที่สะสมน้ำหนักหัวสดได้เร็ว โดยเมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือนให้ผลผลิตหัวสด 3.15 ตัน/ไร่
2. ผลผลิตสูง เมื่อเก็บเกี่ยวอายุ 12 เดือน ให้ผลผลิต 4.2 ตัน/ไร่
3. ผลผลิตมันแห้งเมื่ออายุ 8 เดือน 1.22 ตัน/ไร่ และอายุ 12 เดือน 1.4 ตัน/ไร่
4. ผลผลิตแป้งเมื่ออายุ 8 เดือน 0.78 ตัน/ไร่ เมื่ออายุ 12 เดือน 0.85 ตัน/ไร่
• ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน สูงประมาณ 175 เซนติเมตร มีระดับการแตกกิ่ง 1-3 ระดับ ระดับความสูงการแตกกิ่งระดับแรก 130-150 เซนติเมตร กิ่งทำมุมกับลำต้น 15-30 องศา แผ่นใบรูปร่างเป็นแบบใบหอก ใบแก่สีเขียวเข้ม ยอดอ่อนสีเขียวอมม่วง ก้านใบสีเขียวปนแดง หัวรูปร่างอ้วนสั้น เปลือกหัวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาวครีม
• ฤดูปลูกที่เหมาะสม
ต้นฤดูฝน เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ปลายฤดูฝน เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
• พื้นที่แนะนำ
ให้ผลผลิตดีในภาคตะวันออก
• ความต้านทานโรค
ต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้
• ข้อควรระวัง
1. เมื่อเก็บเกี่ยวในฤดูฝน มีแป้งต่ำกว่า 20 %
2. เนื้อมีสีครีม บางครั้งทำให้โรงงานตัดราคา
• การรับรองพันธุ์
กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2530
พันธุ์ระยอง 7
• ลักษณะเด่น
1.ปลูกปลายฤดูฝนได้ดี เนื่องจากงอกเร็ว และมีความอยู่รอดสูง
2. ผลผลิตหัวสดสูงถึง 6.08 ตันต่อไร่
3. มีปริมาณแป้งสูง 27.7 เปอร์เซ็นต์
4. เหมาะสำหรับการใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังติดท้ายแทรกเตอร์ หรือเครื่องขุดด้วยมือ เนื่องจากไม่มีก้านของหัว และมีจำนวนหัวมาก ออกรอบโคนต้น
• ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ต้นตั้งตรง ไม่โค้งงอ ไม่แตกกิ่ง เมื่ออายุ 1 ปี สูง 183 เซนติเมตร มีจำนวนลำต้นที่แตกจากท่อนปลูกมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ก้านใบสีเขียวอ่อน แฉกใบกลางเป็นรูปใบหอก ใบและยอดอ่อนสีเขียวอ่อน หัวสีครีม เนื้อของหัวสีขาว ไม่มีก้านหัว
• ฤดูปลูกที่เหมาะสม
เป็นพันธุ์สำหรับปลูกปลายฤดูฝน
• พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ดีในแหล่งปลูกมันสำปะหลัง
• ข้อควรระวัง
ถ้าปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและกระทบภาวะแล้งยาวนาน หลังจากได้รับน้ำฝนอีกครั้ง จะเกิดการแตกตาตามลำต้นมากกว่าในสภาพปกติ ทำให้ได้ปริมาณท่อนพันธุ์ที่จะนำไปปลูกลดลง
• การรับรองพันธุ์
กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2548
พันธุ์ระยอง 72
• ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตหัวสดสูง 5.09 ตัน/ไร่
2. ผลผลิตแป้งสูง 1.07 ตัน/ไร่
3. ผลผลิตมันแห้งสูง 1.71 ตัน/ไร่
4. ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้ผลผลิตหัวสด 5.55 ตัน/ไร่ ผลผลิตแป้ง 1.23 ตัน/ไร่ และผลผลิตมันแห้ง 1.91 ตัน/ไร่
5. ท่อนพันธุ์มีความอยู่รอดถึงเก็บเกี่ยวสูงถึง 92 %
6. ทรงต้นดี แตกกิ่งบ้างเล็กน้อยในระดับที่สูงจากโคนต้น สามารถทำให้ขยายพันธุ์ได้มากขึ้น
• ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นสีเขียวเงินสูงประมาณ 200 เซนติเมตร มีระดับการแตกกิ่ง 0-1 ระดับ ความสูงของการแตกกิ่งระดับแรก 130-140 เซนติเมตร กิ่งทำมุมกับลำต้น 60-75 องศา ใบแก่สีเขียวเข้ม ก้านใบสีแดงเข้ม ความยาวก้านใบ 25-30 เซนติเมตร ยอดอ่อนสีม่วง เปลือกหัวสีขาวนวล เนื้อในสีขาว
• ฤดูปลูกที่เหมาะสม
ต้นฤดูฝน เดือนพฤษภาคมถึงเดือยมิถุนายน
ปลายฤดูฝน เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
• พื้นที่แนะนำ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• ความต้านทานโรค
ต้านทานต่อโรคใบจุด และต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้
• ข้อควรระวัง
เมื่อปลูกในภาคตะวันออก ไม่ควรเก็บเกี่ยวในฤดูฝน เพราะอาจทำให้ มีแป้งต่ำกว่า 20%
• การรับรองพันธุ์
กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2543
พันธุ์ระยอง 9
• ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตแป้ง 1.24 ตันต่อไร่ และผลผลิตมันแห้ง 2.11 ตันต่อไร่ 2.ให้ผลผลิตเอทานอลสูงทุกอายุเก็บเกี่ยว เมื่ออายุเก็บเกี่ยว 8 12 และ 18 เดือน ให้เอทานอล 191 208 และ 194 ลิตรต่อตันหัวสดตามลำดับ 3. ทรงต้นดี สูงตรง อัตราการขยายพันธุ์สูงกว่า 1:8
• ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นสีน้ำตาลอมเหลือง ไม่ค่อยแตกกิ่ง เมื่ออายุ 1 ปี สูง 235 เซนติเมตร แตกกิ่งน้อยอยู่ในระดับ 0-2 ความสูงที่แตกกิ่ง 160-190 เซนติเมตร มุมของกิ่ง 45-60 องศา ก้านใบสีเขียวอ่อนอมชมพูมีความยาว 25-30 เซนติเมตร แฉกใบกลางเป็นรูปใบหอก ใบและยอดอ่อนสีเขียวอ่อน หัวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อของหัวสีขาว
• พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ดีในทุกแหล่งปลูกมันสำปะหลัง ศักยภาพในการให้ผลผลิตขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และการดูแลรักษา
• ข้อควรระวัง
ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 1 ปี เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแต่สะสมน้ำหนักช้า การเก็บเกี่ยวเร็วจะให้ผลผลิตหัวสดต่ำกว่าพันธุ์มาตรฐานอื่นๆ
• การรับรองพันธุ์
กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2549
พันธุ์ระยอง 90
• ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตหัวสดสูง เมื่อเก็บเกี่ยวอายุ 12 เดือน ให้ผลผลิต 3.81 ตัน/ไร่
2. มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง ประมาณ 24 % ในฤดูฝน
3. ผลผลิตมันแห้งสูง 1.4 ตัน/ไร่ และผลผลิตแป้ง 0.96 ตัน/ไร่
• ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นมีลักษณะโค้ง สีน้ำตาลอ่อน สูงประมาณ 165 เซนติเมตร มีระดับการแตกกิ่ง 0-2 ระดับ ระดับความสูงการแตกกิ่งระดับแรก 120-140 เซนติเมตร กิ่งทำมุมกับลำต้น 75-90 องศา แผ่นใบรูปร่างเป็นแบบใบหอก ใบแก่สีเขียวเข้ม ยอดอ่อนและก้านใบสีเขียวอ่อน หัวรูปร่างยาวเรียว เปลือกหัวสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในสีขาว
• ฤดูปลูกที่เหมาะสม
ต้นฤดูฝน เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
• พิ้นที่แนะนำ
สามารถปลูกได้ดีทั้งในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีดินค่อนข้างดี
• ความต้านทานโรค
ต้านทานต่อโรคใบไหม้
• ข้อควรระวัง
1. ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ที่พบการแพร่ระบาดของแมลงหวี่ขาวอยู่เสมอ
2. ตอบสนองต่อปุ๋ยและความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึงให้ผลผลิตสูงในดินที่ดีหรือค่อนข้างดี ควรใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ (สูตร 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่)
3. ลำต้นมีลักษณะโค้ง ถ้าหากแตกกิ่ง จะทำให้ปฏิบัติดูแลรักษาได้ยาก
4. ต้นพันธุ์สำหรับนำไปใช้ปลูกเสื่อมคุณภาพเร็วในฤดูแล้ง เมื่อตัดต้นพันธุ์แล้วควรรีบปลูก ไม่ควรเก็บต้นพันธุ์ไว้นานเกิน 2 สัปดาห์ เพราะความงอกลดลง
• การรับรองพันธุ์
กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2534
พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50
• ลักษณะเด่น
งอกดี หัวดก และมีลักษณะเป็นกลุ่ม มีปริมาณแป้งในหัวสูง
• ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นโค้งเล็กน้อย สีเขียวเงิน สูง 180- 250 ซม. แตกกิ่งระดับแรกที่ความสูง 80-150 ซม.
• ฤดูปลูกที่เหมาะสม
• พื้นที่แนะนำ
สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ
พันธุ์เขียวปลดหนี้
เป็นพันธุ์มันสำปะหลังที่ได้จากการผสมข้าม โดยใช้พันธุ์ระยอง 5 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงเป็นแม่ และพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง คือ พันธุ์ OMR29-20-118 เป็นพ่อ ในพ.ศ.2535 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ให้ผลผลิตแป้งและผลผลิตมันแห้งสูง เป็นที่พอใจของเกษตรกร โรงงานแป้งมัน และลานมันเส้น มีการกระจายพันธุ์จากเกษตรกรสู่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่รู้จักในชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า ?พันธุ์เขียวปลดหนี้ ? คำว่า ?เขียว? มาจากสีของลำต้น นอกจากนี้ยังมีเอกชนนำต้นพันธุ์ไปจำหน่ายให้เกษตรกร โดยใช้ชื่อว่า ?พันธุ์มังกรหยก? ด้วย
• ลักษณะเด่น
1. มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง เมื่อเก็บเกี่ยวในฤดูฝน มีเปอร์เซ็นต์แป้ง 25.8 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตแป้ง 1.25 ตันต่อไร่ เก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง เปอร์เซ็นต์แป้งจะสูงขึ้นเป็น 29-32 เปอร์เซ็นต์
2. ปริมาณมันแห้งสูง มีเปอร์เซ็นต์มันแห้ง 42.8 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตมันแห้ง 2.00 ตันต่อไร่
3. ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 4.77 ตันต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ระยอง 5 และเกษตรศาสตร์ 50
• ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นสีเขียวเงิน ความสูงประมาณ 170 - 220 เซนติเมตร ลำต้นโค้งเล็กน้อย มีน้ำหนักต้นดี มีการแตกกิ่ง ที่ระดับความสูงใกล้ยอด กิ่งทำมุม 60-90 องศา กับลำต้น มีจำนวนลำที่ใช้ทำพันธุ์ 1-3 ลำต่อต้น ส่วนใหญ่มี 2 ลำ ก้านใบสีเขียวอมแดง ใบกลางเป็นรูปใบหอก ใบแก่สีเขียวเข้ม ยอดอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว เปลือกนอกของหัวสีน้ำตาล เนื้อของหัวสีขาว
• ฤดูปลูกที่เหมาะสม
• ข้อควรระวัง
ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 1 ปี ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วจะให้ผลผลิตหัวสดต่ำกว่าพันธุ์รับรองพันธุ์อื่น ๆ เช่น ระยอง 5 ระยอง 72 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 เนื่องจากพันธุ์ CMR35-22-196 มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง แต่สะสมน้ำหนักช้า
งานวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลังของหน่วยงานอื่น ๆ
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง แห่งประเทศไทย
สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง
สำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ห้องสมุดงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(อ่านรายละเอียดได้ที่:http://www.tapiocathai.org/Mainpage.html)

มันสำปะหลังจัดเป็นพืชหัวชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ?
Manihot esculenta Crantz
มันสำปะหลัง มีชื่อสามัญเรียกหลายชื่อตามภาษาต่างๆ ที่ได้ยินกันมากได้แก่อะไรบ้าง?
Cassava, Yuca, Mandioa, Manioc, Tapioca
มันสำปะหลังมีแหล่งกำเนิดแถบที่ลุ่มเขตร้อน (Lowland tropics) มีหลักฐานแสดงว่าปลูกกันในโคลัมเบียและเวเนซูเอลา มานานกว่า 3,000 – 7,000 ปีมาแล้วสันนิษฐานว่าแหล่งกำเนิดมันสำปะหลังมีกี่แหล่ง?
4 แหล่งด้วยกันคือ
1. แถบประเทศกัวเตมาลาและเม็กซิโก
2. ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้
3. ทางทิศตะวันออกของประเทศโบลิเวียและทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศอาร์เจนตินา
4. ทางทิศตะวันออกของประเทศบราซิล
ในทวีปเอเซียมีการนำมันสำปะหลังมาปลูกครั้งแรกที่ประเทศใด?
ฟิลิปปินส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยชาวสเปนได้นำมาจากเม็กซิโกและในเวลาต่อมาก็มีการปลูกที่ อินโดนีเซีย และเมื่อ พ.ศ. 2337 ได้มีการนำมันสำปะหลังจาก อัฟริกามาปลูกที่อินเดียเพื่อใช้ในการทดลอง
สำหรับประเทศไทยมีหลักฐานที่แน่นอนว่ามีการนำมันสำปะหลังเข้ามาปลูกเมื่อใด?
สำหรับประเทศไทยไม่มีหลักฐานที่แน่นอนว่ามีการนำมันสำปะหลังเข้ามาปลูกเมื่อใดคาดว่าคงเข้ามาในระยะเดียวกันกับการเข้าสู่ศรีลังกาและฟิลิปปินส์คือประมาณ พ.ศ. 2329–2383 มันสำปะหลังเดิมเรียกกันว่ามันสำโรง มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่ามันต้นเตี้ย ทางภาคใต้เรียกว่ามันเทศ ( แต่เรียกมันเทศว่ามันหลา)
มันสำปะหลังเป็นพืชอาหารที่สำคัญเป็นอันดับที่เท่าใด ของโลก?
มันสำปะหลังเป็นพืชอาหารที่สำคัญเป็นอันดับ 5 ของโลก
รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และมันฝรั่ง เป็นพืชอาหารที่สำคัญของประเทศในเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศต่างๆ ในทวีปอัฟริกาและทวีปอเมริกาใต้ ในทวีปเอเซียประเทศอินโดนีเซียและอินเดียมีการบริโภคมันสำปะหลังกันเป็นจำนวนมาก ปริมาณผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีร้อยละ 60 ใช้เป็นอาหารของมนุษย์ ร้อยละ 27.5 ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ และร้อยละ 12.5 ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ทำรายได้ให้เกษตรกรมากเป็นอันดับที่ เท่าใด?
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ทำรายได้ให้เกษตรกรมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากยางพารา อ้อย และข้าว ผลผลิตมันสำปะหลัง ภายในประเทศนำไปใช้ทำมันเส้นและมันอัดเม็ดร้อยละ 45-50 ใช้แปรรูปเป็นแป้งร้อยละ 50-55
ประเทศใด ที่ส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังออกมากที่สุดในโลก?
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังออกมากที่สุดในโลก ประเทศที่ไทยส่งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในรูปของมันอัดเม็ดไปขายมากที่สุดคือ ประเทศในกลุ่มประชาคมยุโรป (เนเธอร์แลนด์ สเปน เยอรมัน โปรตุเกส) เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ส่วนในรูปของแป้งมันสำปะหลัง ประเทศญี่ปุ่นสั่งซื้อ มากที่สุด รองลงมาคือฮ่องกง สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน
แมลงศัตรูมันสำปะหลัง
• ไรแดง
• เพลี้ยแป้งลาย
• แมลงหวี่ขาว
• แมลงศัตรประเภทปากกัด
http://210.246.186.28/fieldcrops/cas/pest/index2.HTM
การป้องกันกำจัดวัชพืช
• ไถ 1 ครั้ง ตากดินไว้ 7–10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง
• กำจัดวัชพืชไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ตลอดฤดูปลูก คือ
ครั้งแรก
พ่นสารกำจัดวัชพืชทันทีหลังปลูกก่อนวัชพืชงอก หรือใช้จอบ เครื่องกลขนาดเล็ก หรือแรงงานสัตว์ เพื่อกำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1 – 2 เดือน ก่อนใส่ปุ๋ย
ครั้งที่สอง
ใช้จอบดาย หรือพ่นสารกำจัดวัชพืชอีกครั้ง ถ้ามีวัชพืชฤดูเดียวประเภทใบแคบมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่
แมลงศัตรูธรรมชาติ ของมันสำปะหลัง
ศัตรูธรรมชาติของไรและแมลงศัตรูมันสำปะหลังที่สำคัญพบทั่วไป ได้แก่
แมลงห้ำ มี 4 ชนิด ซึ่งทั้งระยะหนอนและตัวเต็มวัยเป็นตัวห้ำ ยกเว้นแมลงช้างปีกใส เฉพาะระยะหนอนเท่านั้นที่เป็นตัวห้ำ
• ด้วงเต่าสีดำ ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร รูปร่างกลม หัวและท้ายเล็กกว่าส่วนลำตัวเล็กน้อย ปีกสีน้ำตาลเป็นมัน เป็นตัวห้ำของไรแดงและเพลี้ยแป้งลาย
• ด้วงเต่าสีน้ำตาล หนอนมีลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้ง หัวท้ายเรียว เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร หลังโค้งนูนสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลเข้ม ส่วนอกสีเหลืองทอง ปลายปีกมีรูปยาวรีสีเหลืองทอง เป็นตัวห้ำของเพลี้ยแป้งลาย
• ด้วงปีกสั้น ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร รูปร่างยาวเรียว ปีกสั้นกว่าท้อง เป็นตัวห้ำของไรแดง
• แมลงช้างปีกใส ตัวเต็มวัยลำตัวเรียวยาว ปีกโค้งบางใสขนาดใหญ่และ ยาวกว่าลำตัว สีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน มีปีก 2 คู่ หนอนมีลำตัว เรียวยาว สีน้ำตาลอ่อน มีแถบสีน้ำตาลพาดผ่านลำตัว มีกรามคล้ายเขี้ยว และบางชนิดจะมีซากเหยื่อที่กินแล้วอยู่บนหลังเพื่อพรางตัว หนอนเป็นตัวห้ำของไรแดง เพลี้ยแป้งลาย และแมลงหวี่ขาว
ไรตัวห้ำ
• ไรตัวห้ำ ตัวเต็มวัยสีแดงเข้ม มี 8 ขา ตัวมันวาว วิ่งค่อนข้างเร็ว ขายาวกว่าไรแดง เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ไข่มีสีขาว รูปยาวรี ตัวอ่อนมีสีขาวและสีเหลือง เป็นไรตัวห้ำที่สำคัญของไรแดง
แมลงเบียน
• แตนเบียนเพลี้ยแป้ง เป็นแมลงเบียนขนาดเล็กมาก เข้าทำลายตัวอ่อน วัยสุดท้ายของเพลี้ยแป้งลาย โดยแตนเบียนจะวางไข่เข้าไปในตัวอ่อนของ เพลี้ยแป้งลาย ทำให้เพลี้ยแป้งลายที่ถูกทำลาย มีลักษณะเป็นมัมมี่แข็งตาย ติดที่ผิวใบพืช
ฤดูปลูกมันสำปะหลัง
- ต้นฤดูฝน เดือนเมษายน–มิถุนายน
- ปลายฤดูฝน เดือนกันยายน–พฤศจิกายน
การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง
- ไถกลบวัชพืชและเศษใบ-ต้น มันสำปะหลังส่วนที่ไม่ได้ใช้ทำพันธุ์
- พื้นที่ดอนไม่จำเป็นต้องยกร่อง ส่วนพื้นที่ต่ำอาจมีน้ำขังได้บ้าง จึงควรยกร่องปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเอียงควรยกร่องปลูกขวางแนวลาดเอียง
การเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง
- ใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่มีอายุ 8-12 เดือน เพราะท่อนพันธุ์จากลำต้นเจริญเติบโตและอยู่รอดดีกว่าท่อนพันธุ์จากกิ่ง
- ท่อนพันธุ์ใหม่ สด ไม่บอบช้ำ และไม่มีโรคแมลงทำลาย
- ตัดท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 20 เซนติเมตรสำหรับปลูกในฤดูฝน หรือ 25 เซนติเมตรสำหรับปลูกในช่วงปลายฝน และมีจำนวนตาอย่างน้อย 5-10 ตาต่อท่อนพันธุ์
วิธีปลูกมันสำปะหลัง
- ปลูกแบบปักท่อนพันธุ์ตั้งหรือเอียง โดยในฤดูฝนควรปักให้ลึก 5- 10 เซนติเมตร ในช่วงปลายฤดูฝนควรปักให้ลึก 10- 15 เซนติเมตร
- ในพื้นที่ต่ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดเอียงควรปลูกมันสำปะหลังบนสันร่อง
ระยะปลูกมันสำปะหลัง
- พื้นที่ราบใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 80-100 เซนติเมตรระหว่างต้น 80- 100 เซนติเมตร ซึ่งมีจำนวนต้น 1,600-2,500 ต้นต่อไร่
- พื้นที่ลาดเอียงใช้ระยะปลูกระหว่างร่อง 80 เซนติเมตร ระหว่างต้น 80 เซนติเมตรเพื่อช่วยลดปัญหาการชะล้างพังทะลายของดิน
การใส่ปุ๋ยมันสำปะหลัง
- แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน N:P:K 2:1:2 ในทางปฏิบัติ แนะนำให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมกับปุ๋ยยูเรียและโปรแตสเซียมคลอไรด์อย่างละ 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนปุ๋ยใกล้เคียง เช่น สูตร 15-7-18 ใส่อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
- ใส่เพียงครั้งเดียวเมื่อมันสำปะหลังอายุ 1-2 เดือนในขณะที่ดินมีความชื้น เพียงพอ โดยขุดหลุมใส่ 2 ข้างต้นระยะพุ่มใบแล้วกลบดิน
การบำรุงรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินปลูกมันสำปะหลัง
การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้คงสภาพเดิมเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงได้ยาวนาน สามารถทำได้โดยการหว่านเมล็ดพืชสด เช่น ปอเทือง หรือถั่วพุ่ม อัตราประมาณ 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือโรยเมล็ดถั่วพร้าอัตราประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่เป็นแถวห่าง 0.50–1.0 เมตร ระยะระหว่างต้น 25-50 เซนติเมตรแล้วไถกลบพืชสดเหล่านี้เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน ก่อนปลูกมันสำปะหลัง
การอนุรักษ์ดิน เพื่อปลูกมันสำปะหลัง
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังโดยทั่วไปมักมีความลาดเอียงไม่สม่ำเสมอ และ ลักษณะเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย จึงทำให้มีการชะล้าง พังทลายของดินมากโดยเฉพาะช่วง 1-3 เดือนแรกที่ปลูกมันสำปะหลัง วิธีการปฏิบัติเพื่อช่วยลดปัญหานี้สามารถทำได้โดย
- วิธีทางเขตกรรม คือ ควรเตรียมดินด้วยผาล 3 และ 7 ยกร่องปลูกใน แนวระดับโดยระยะระหว่างร่อง 80 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 80 เซนติเมตรตลอดจนการใส่ปุ๋ยเคมีด้วยจะช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดีมีพุ่มใบปกคลุมผิวดินได้รวดเร็ว ลดการสูญเสียดินได้มาก และยังทำให้ได้ผลผลิตสูงด้วย
- วิธีการจัดระบบการปลูกพืช สามารถใช้เป็นแนวป้องกันบนพื้นที่ปลูกที่มี ปัญหาการชะล้างพังทลายของดินได้ค่อนข้างมาก ทางเลือกที่ใช้ปฏิบัติได้ผลดีระยะยาวได้วิธีหนึ่งคือ การใช้หญ้าแฝก ด้วยระยะห่างระหว่างหลุม 10 เซนติเมตร หลุมละ 1 ต้น จำนวนแถวของหญ้าแฝกขึ้นอยู่กับความลาดเอียงของพื้นที่
แหล่งปลูกมันสำปะหลัง
แหล่งปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสมควรมีคุณสมบัติดังนี้
สภาพพื้นที่
- ไม่เป็นที่ลุ่มหรือมีน้ำท่วมขัง
- มีความสูงจากระดับน้ำทะเล
- ใกล้แหล่งรับซื้อผลผลิต
ลักษณะดิน
- ดินร่วน ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี
- มีความเป็นกรดและด่าง 4.5 – 8.0
สภาพภูมิอากาศ
- เขตร้อนตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 30 องศาเหนือ ถึง 30 องศาใต้
- มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200–1,500 มิลลิเมตรต่อปี
- อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนไม่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส
การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ไม่จำกัดอายุการเก็บเกี่ยวแต่ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบ 8 เดือนขึ้นไป อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ 12 เดือน หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรรีบส่งโรงงานโดยเร็ว ไม่ควรทิ้งเกิน 4 วันเพราะหัวมันจะเน่าเสีย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปริมาณแป้งของมันสำปะหลัง
1. พันธุ์
พันธุ์มันสำปะหลังแต่ละพันธุ์มีเปอร์เซนต์แป้งในหัวไม่เท่ากัน พันธุ์ระยอง 90 มีเปอร์เซนต์สูงที่สุด รองลงมาคือพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 5 ระยอง 72 และระยอง 60 ตามลำดับ
2. ฤดู
ช่วงฤดูแล้ง (พฤศจิกายน–มีนาคม) เดือนพฤศจิกายน ความชื้นในดินเริ่มน้อยลงต้นมันสำปะหลังหยุดการเจริญเติบโต ทิ้งใบ น้ำในหัวมีน้อยเปอร์เซนต์แป้งจึงสูงจนถึงฤดูฝน (เมษายน - ตุลาคม) เดือนเมษายนอากาศร้อนจัดและเริ่มมีฝน มันสำปะหลังใช้พลังงานมากเพื่อการหายใจ และสร้างใบใหม่แป้งที่สะสมไว้ในหัวจึงถูกนำไปใช้ทำให้เปอร์เซนต์แป้งลดลง
3. อายุ เมื่อเก็บเกี่ยวในเดือนเดียวกันอายุ 8-12 เดือน จะมีเปอร์เซนต์แป้งไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ถ้าต้นมันสำปะหลังมีอายุมากขึ้น 16-18 เดือน หัวจะมีขนาดใหญ่ บริเวณตรงกลางของหัวจะฝ่อหรือมีน้ำมากเปอร์เซนต์แป้งในหัวจึงต่ำ
4. การตัดต้นก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อมีการตัดต้นมันสำปะหลังโดยยังไม่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังจะมีการแตกยอดและใบใหม่ จึงดึงแป้งที่สะสมในหัวมันไปใช้ทำให้เปอร์เซนต์แป้งลดลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในราย 2 เดือนแรกหลังการตัดต้นไป ต่อเมื่อเข้าเดือนที่ 3 มีใบมากพอแล้วจะสังเคราะห์แสงสร้างแป้งไปสะสมที่หัวได้อีกครั้งหนึ่ง
5. ระยะเวลาหลังเก็บเกี่ยว หลังจากขุดหัวมันสำปะหลังแล้วควรรีบนำส่งโรงงานทันทีในระยะ 2 วันแรกหัวมันยังไม่เน่าเสียและเปอร์เซนต์แป้งในหัวยังไม่ลดลงแต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้เกิน 4 วัน หัวมันสำปะหลังจะเน่าเสียมากและเปอร์เซนต์แป้งในหัวจะลดลง
การเก็บรักษาต้นพันธุ์มันสำปะหลัง
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ของมันสำปะหลังคือ ส่วนของลำต้น การเก็บรักษาต้นพันธุ์มีระยะเวลาจำกัดเนื่องจากความสมบูรณ์ ความแข็งแรง และความงอกจะลดลงเป็นลำดับ
ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาในการเก็บรักษาต้นพันธุ์มีดังนี้
1) พันธุ์ ต้นพันธุ์มันสำปะหลังในแต่ละพันธุ์สามารถเก็บได้นานต่างกัน เช่น
- พันธุ์ระยอง 90 เก็บไว้ได้ไม่เกิน 15 วัน
- พันธุ์ระยอง 60 ระยอง 5 เกษตรศาสตร์ 50 เก็บไว้ได้ 30 – 45 วัน
2) ส่วนของต้นพันธุ์ มันสำปะหลังบางพันธุ์ เช่น ระยอง 90 มีการแตกกิ่ง ส่วนของกิ่งก็สามารถใช้ทำพันธุ์ได้แต่จะเก็บรักษาได้ไม่นานเท่าส่วนของลำต้น
3) ฤดู ในฤดูฝนสภาพอากาศมีความชื้นสูง สามารถเก็บรักษาต้นพันธุ์ได้ยาว นานกว่าในฤดูแล้ง
4) สภาพการเก็บ
- ในฤดูฝน เก็บไว้ในสภาพกลางแจ้งหรือในที่ร่มมีผลไม่แตกต่างกัน
- ในฤดูแล้ง เก็บในที่ร่มจะเก็บไว้ได้นานกว่าเก็บในสภาพกลางแจ้ง
5) วิธีการเก็บ ควรเก็บกองรวมวางตั้งบนพื้นดินที่มีการสับพรวนดิน ให้ส่วนโคนของทุกๆต้นสัมผัสพื้นดินแล้วพรวนดินกลบรอบๆ กอง ถ้าเป็นฤดูแล้งต้องมีการรดน้ำช่วยจะทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น วิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์มันสำปะหลังไว้ทำพันธุ์ที่ดีที่สุด คือ การทำแปลงขยายพันธุ์ไว้เฉพาะเมื่อเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังจะไม่ เก็บเกี่ยวหมดทั้งแปลงแต่จะเหลือไว้ส่วนหนึ่ง (1:10) ซึ่งจะ เก็บเกี่ยวหลังจากเอาต้นพันธุ์ไปปลูกแล้ว

สุขลักษณะและความสะอาดการปลูกมันสำปะหลัง
- สภาพพื้นที่ปลูก ควรดูแลรักษาให้ปราศจากวัชพืชและโรคแมลงอยู่เสมอ
- ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรใหม่ สด ไม่บอบช้ำและปราศจากโรค แมลง และเป็นพันธุ์ที่ไม่ถูกทำลายโดยสารเคมีกำจัดวัชพืช
- ผลผลิต (หัวสด) เมื่อเก็บเกี่ยวส่งจำหน่ายไม่ควรมีส่วนของลำต้นและดิน ติดปน
- หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต (หัวสด) ควรรีบส่งจำหน่ายทันทีไม่ควรทิ้ง ไว้นานเกิน 4 วัน เพราะหัวมันสำปะหลังจะเน่าเสียหาย
- การพ่นสารเคมีกำจัดโรค แมลง และวัชพืช ทุกครั้งควรมีการ ป้องกันให้ถูกวิธี
ประโยชน์มันสำปะหลังแยกตามส่วนต่างๆ
หัวสด
• ใช้เป็นอาหารมนุษย์ โดยรับประทานสด ต้ม นึ่ง ย่าง อบ เชื่อม ทำเป็นแป้งแล้วแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่างๆ ตลอดจนนำมาผ่านเป็นแผ่นบางๆ แล้วทอด
• ใช้เป็นอาหารสัตว์ ทั้งที่เป็นหัวสด กากที่เหลือจากการทำแป้ง เปลือกของหัว
• ใช้ส่งโรงงานอุตสาหกรรมทำแป้ง มันเส้น มันอัดเม็ด แอลกอฮอล์ ฯลฯ
ใบ
• ใช้เป็นอาหารมนุษย์ รับประทานสด ต้มจิ้มน้ำพริก นำมาแกง
• ใช้เป็นอาหารสัตว์ ในรูปใบสด ตากแห้งป่นผสมกับอาหารข้นเลี้ยงสัตว์ และเป็นอาหารผสม
ลำต้น
• ใช้ทำเป็นท่อนพันธุ์ โดยตัดออกเป็นท่อนๆ นำไปปลูกได้
• ใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยตัดส่วนยอดผสมกับใบสดใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง ตากแห้งเป็นอาหารหยาบ
เมล็ด
• ใช้สกัดน้ำมันที่มีคุณภาพดีสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยาได้
การใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในรูปต่างๆ
มันเส้น
• ใช้เป็นอาหารสัตว์ หมักแล้วเติมเนื้อสัตว์ น้ำมัน ผัก เครื่องเทศ และน้ำปรุงอาหาร
• ใช้เลี้ยงสัตว์โดยตรง
แป้ง
• ใช้เป็นอาหารมนุษย์ อาหารทารก เป็นเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด ใช้ทำวุ้นเส้น ทำเบียร์
• ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นตัวทำให้สารติดแน่น คงรูปร่าง เป็นตัวทำให้เป็นผงฝุ่นใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมซักรีด อุตสาหกรรมทำกาว กระดาษ แป้งเปียก แอลกอฮอล์
อะซีโตน ยา กลูโคส ใช้ในอุตสาหกรรมเจาะน้ำมัน และแป้งแปรรูป
แป้งดิบ (flour)
เป็นแป้งที่ไม่ได้สกัดเอาเยื่อใยออก ทำได้โดยนำหัวมันสำปะหลังมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแห้งให้ละเอียดแล้วร่อนด้วยตะแกรงร่อนแป้ง จะได้แป้งดิบที่สามารถนำมาใช้ทำขนมอบชนิดต่างๆ ได้คล้ายแป้งสาลี เช่น นำมาทำเป็นเค้ก แพนเค้ก ขนมปัง คุกกี้ พาย สามารถนำมาทดแทน แป้งสาลี แป้งข้าวจ้าว
อุตสาหกรรมการแปรรูปมันสำปะหลัง
• อุตสาหกรรมมันเส้น
• อุตสาหกรรมมันอัดเม็ด
• อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
การใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบประกอบในอุตสาหกรรมอื่น
• อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมทอผ้านั้นจะต้องใช้แป้งมันสำปะหลัง โดยด้ายที่จะใช้ทอผ้านั้นจะต้องผ่านการชุบแป้งเสียก่อน ด้ายจึงจะเรียบไม่มีขน นอกจากนี้ในขั้นตอนการพิมพ์ลายผ้าแป้งจะช่วยทำให้พิมพ์ลายได้สม่ำเสมอ
• อุตสาหกรรมกระดาษ การทำกระดาษต้องใช้เยื่อกระดาษที่ทำจากไม้ต่างๆ เช่น ไม้ไผ่ ไม้สน ไม้ยูคาลิปตัส เป็นต้น ทำให้เป็นเยื่อเล็กๆ แล้วนำเยื่อกระดาษเหล่านั้นมาเรียงเป็นแผ่น อย่างไรก็ตามแผ่นกระดาษจะไม่เรียบ จะต้องมีการฉาบผิวด้วยกาวจากแป้งทำให้กระดาษเรียบ ช่วยทำให้กระดาษไม่ซึมหมึกเวลาเขียนด้วยน้ำหมึก หรือพิมพ์สี
• อุตสาหกรรมไม้อัด แป้งมันสำปะหลังมีคุณสมบัติเป็นกาวจึงถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไม้อัด เนื่องจากในการผลิตไม้อัด ต้องประกอบไม้ให้ติดกันโดยใช้กาว
• อุตสาหกรรมกาว แป้งมันสำปะหลังยังมีคุณสมบัติพิเศษ เมื่อถูกความร้อนหรือถูกสารเคมีจะมีความเหนียว และมีคุณสมบัติสามารถรักษาความเหนียวได้เหมือนเดิมไม่มีการคืนตัว แป้งมันที่จะใช้ทำกาวจะต้องเป็นแป้งบริสุทธิ์
• อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
• ผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น สาคู ใช้แป้งมันเป็นส่วนผสม
• ซอสต่างๆ เช่น ซอสมะเขือเทศ อาหารกระป๋อง ใช้แป้งเพื่อเพิ่มความเข้มข้น
• ไอศกรีม
การใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลักในการแปรรูป
• ผงชูรส ผงชูรสที่ใช้ในการปรุงอาหารมีชื่อทางเคมี คือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต (monosodium glutamate)
• ไลซีน  ไลซีนเป็นกรดอะมิโนชนิดจำเป็นต่อร่างกาย (essential amino acid) ที่สัตว์ใช้สร้างโปรตีน และไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ต้องได้รับจากอาหารสัตว์
• สารความหวาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกลูโคสที่ผลิตในประเทศไทยมี 3 ชนิด
- กลูโคสเหลว (glucose syrup) สามารถนำไปเป็นวัตถุในการผลิตลูกกวาดและเครื่องดื่มหลายชนิด
- กลูโคสผง (glucose powder) นำมาผลิตเดกซโตรสอีกสองชนิด คือ
• เด็กซ์โตสโมโนไฮเดรส (dextrose monohydrate) หมายถึง เด็กซ์โตรสที่มีความชื้น ส่วนมากใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง
• เด็กซ์โตสแอนไฮดรัส (dextrose anhydrous) หมายถึง เด็กซ์โตสที่ไม่มีความชื้น และผ่านกรรมวิธีการทำให้บริสุทธิ์และตกผลึก ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยา
- ซอบิตอล (sorbitol) เป็นผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากเด็กซ์โตรสละลายที่ความเข้มข้นร้อยละ 70 ใช้มากในอุตสาหกรรมยาสีฟัน และเครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ใหม่จากแป้งมันสำปะหลัง
• สารดูดน้ำ การใช้งานของโพลิเมอร์ดูดซึมน้ำมากมีหลายด้าน เช่น ใช้งานด้านอนามัยทางการแพทย์ ปริมาณที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ ผ้าอ้อมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อดูดซึมของเหลวในร่างกายจาก การขับถ่ายที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ใช้ทางอุตสาหกรรมเป็นสารข้นสำหรับหมึกสกรีนระบบน้ำ วัสดุดูดน้ำออกจากเชื้อเพลิง
• พลาสติกที่สลายได้ทางชีวภาพ
• การผลิตแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลัง หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ประกอบด้วยแป้ง ซึ่งแป้งสามารถเปลี่ยนเป็น แอลกอฮอล์ที่เรียกว่า เอทานอล (ethanol) แอลกอฮอล์ที่ได้นี้เมื่อนำไปผสมน้ำมันเบนซินในอัตรา 10-20 : 90-80 ส่วน สามารถใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ที่เรียกว่า แก็สโซฮอล์ (gasohol) การใช้มันสำปะหลังเพื่อผลิตเป็นแอลกอฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
โอกาสของมันสำปะหลังกับอุตสาหกรรมเอทานอลของไทย
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีปริมาณการผลิตโดยประมาณ 16 ถึง 18 ล้านตันหัวมันสำปะหลังต่อปี ในหัวมันสำปะหลังจะมีแป้งเป็น องค์ประกอบอยู่ในปริมาณสูง (ประมาณร้อยละ 70 ถึง 85 โดยน้ำหนักแห้ง)
ดังนั้น มันสำปะหลังจึงเป็นวัตถุดิบทางการเกษตรชนิดหนึ่งที่สามารถ นำมาใช้ในการผลิตเอทานอลได้โดยการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง สามารถนำมันสำปะหลังที่มีมากในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวมาแปรรูปเป็นมันเส้นเพื่อความสะดวกและยืดอายุการเก็บ ตลอดจนสะดวกต่อการขนส่ง จึงทำให้อุตสาหกรรมเอทานอลจากมันสำปะหลังมีความเป็นไปได้ โอกาสของการใช้มันสำปะหลังในการผลิตเอทานอลเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตได้ โดยการรวมขั้นตอนการย่อยครั้งสุดท้าย (saccharification) เข้าไว้ในขั้นตอนเดียวกับการหมัก (fermentation ) ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า Simultaneous Saccharification and Fermentation (SSF) โดยเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำตาลกลูโคส จะมีกิจกรรมการย่อยแป้งในสภาวะเดียวกับการหมัก กล่าวคือ ที่อุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส และค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 4.0 ถึง 4.5 ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการย่อยแป้ง รวมทั้งยังช่วยประหยัด พลังงานในกระบวนการผลิต




(ภาคผนวก : 1 พื้นฐาน 3 กระบวนการ ในการผลิตมันสำปะหลังของชมรม"นวัตกรรมมันสำปะหลังไทย"

"รากคือหัว หัวคือราก"

1 ใน 3 กระบวนการสำคัญของการปลูกมันสำปะหลัง นั่นคือ..

กระบวนการ"TUBERIZATION"(กระบวนการลงหัว)

"รากทุกราก ต้องให้เป็นหัว" อย่า..มัวหลงทาง "ถึงเวลาต้องลงหัว ก็ต้องลงหัว"

อย่า..!! มัวบ้าต้น บ้าใบ จนไม่มีหัว เราเราปลูกมันเพื่อต้องการหัว ไม่ใช่ปลูกเพื่อต้องการราก

หัวใจหลักในการปลูกมันสำปะหลังเราจึงเน้นที่"1 พื้นฐาน 3 กระบวนการ "

"1 พื้นฐาน" คือ ดิน

ดินที่มีชีวิต(ไม่ใช่ดินตาย) ดินที่มีอินทรียวัตถุมากเพียงพอ ดินที่มีโครงสร้างที่ดี โปร่งร่วนซุย ดินที่มีจุลินทรีย์ปลดปล่อยธาตุอาหาร ดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่เหมาะสม ฯลฯ

"3 กระบวนการ"ที่สำคัญ คือ

(1) Root Cell Revitalization"สั่งราก" "รากคือหัว หัวคือราก"

(2) Tuberization "สั่งลงหัว" "หัวดก หัวมาก" รากทุกราก ต้องเป็นหัว

(3) Starch Biosynthesis "สั่งลงแป้งและโปรตีน" "หัวใหญ่ หัวหนัก น้ำหนักดี มีเปอร์เซนต์แป้งสูง

กระบวนการแรก กระบวนการ “สั่งราก” (Root Cell Revitalization) ถ้าเราสามารถสั่งรากได้ เราก็มีชัยไปกว่าครึ่ง รากที่ดีคือ “รากสะสมอาหาร” (Storage Root) หรือที่เราเรียกว่า “Tuberous Root” ซึ่งจะต่างจาก

“รากหาอาหาร” (Fabous Root) ทำให้พัฒนาไปสู่“รากสะสมอาหาร” เป็นสัดส่วน ส่วนใหญ่ให้ได้

 แค่นี้“เราก็ชนะไปครึ่งทางแล้ว”

กระบวนการที่สอง กระบวนการ “สั่งลงหัว” (Tuberization) “เปลี่ยนรากให้เป็นหัว อย่ามัวหลงทาง”

กระบวนการที่สาม กระบวนการ “สั่งลงแป้ง” (Starch Biosynthesis) เพิ่มปริมาณแป้งและโปรตีนให้สูง

ขึ้น มีน้ำหนักมากขึ้น หัวโตเร็ว หัวใหญ่ ได้เปอร์เซ็นต์แป้งสูง นี้คือ เป้าหมายสุดท้ายแห่งความสำเร็จ

(ซึ่ง 3 กระบวนการ ที่กล่าวมา อาจขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศที่จะทำให้มันดำเนินการไปได้ตามปกติหรือไม่ ในบางครั้งที่เกิด"วิกฤตโลก"ด้านดินฟ้าอากาศ(Global Warming) อาจทำให้กระบวนการทำงานต่างๆของพืชทำงานได้ไม่ปกติหรือสะดุดลง  เราจึงต้องศึกษาหา"ตัวช่วย" ให้มัน ให้ดินดี น้ำดี ปุ๋ยดี พันธุ์ดี แต่ถ้า"ดินฟ้าอกาศไม่ดี" เดี๋ยวร้อนเดี่ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก ไม่มีความพอดี พืชเองก็ปรับตัวยากลำบากเหมือนกัน กระบวนการทำงานต่างๆก็มีสิทธิวิปริตเหมือนกัน "เซลล์ป่วย  พืชป่วย"แล้วจะให้พืชดำเนินกิจกรรมทำงานได้ปกติได้อย่างไร)

หัวใจรองลงมา นอกจาก 1 พื้นฐาน 3 กระบวนการ นั่นก็คือ...

(1) พันธุ์ พันธุ์เปรียบเสมือน"คน"จะเป็นคนฝรั่ง คนจีน คนญี่ปุ่น คนไทยหรือคนลาว ก็สามารถสืบพันธุ์และให้ลูกหลานเหลนได้หมด จะตัวโตใหญ่ หรือเตี้ยแคระ จะฉลาดหรือโง่ จะสมองดีหรือขี้เลื่อย จะขี้โรคหรือไม่ขี้โรค หลักๆก็อยู่ที่การเลี้ยงดู(ฝรั่งแคระก็มีเยอะ ญี่ปุ่นโตอย่างยักษ์ก็มีแยะ ฝรั่งขี้โรคก็มีมาก ลาวฉลาดก็มีไม่น้อย) พันธุ์มีความสำคัญแต่ไม่ใช่เป็นตัวตัดสินผลผลิตที่ดีเพียงประการเดียว บางครั้งพันธุ์เลยถูกสวมรอยกลายเป็นเครื่องมือทางการค้าไปบางส่วนก็มี บางทีก็มีผู้มาโฆษณาเกินความจริงไปก็มี บางทีไปดูถึงที่เห็นแปลงสาธิตแล้วตัดสินใจแพงเท่าไรก็ซื้อมา แต่ทำไม?ไม่เห็นเหมือนกับตาที่ได้ไปดูมา เขาได้ 20 ตัน ทำไมเราได้ 7-8 ตัน มันคืออะไร

(2) ปุ๋ย ปุ๋ยก็คือปุ๋ย เป็นอาหารของพืช ไม่มีสารระเบิดดิน ไม่มีสารระเบิดหัว เพื่อให้หัวดก หัวมากได้ ไม่ว่าจะราคาไหน ถูกหรือแพงก็ตามที ที่มีวางขาย

(3) ระบบน้ำ มีส่วนช่วยให้มันสำปะหลังมีผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่าเก่าได้ จากที่เคยได้ผลผลิต 3-4 ตันต่อไร่ อาจจะกลายเป็น 6-7 ตันต่อไร่ แต่คงไม่ใช่กลายเป็น 20-30 ตันต่อไร่อย่างแน่นอน เพราะมันต้องมี"กระบวนการทำงานต่างๆ"ทั้งทางด้านBiological และทางด้าน Biochemistry ของพืชเป็นหลัก

(กำลังทำเอกสารเชิงวิชาการและอ้างอิงภาคปฏิบัติและประสบการณ์ภาคสนาม ไว้ให้คนที่สนใจ ใครสนใจก็ติดต่อมานะครับ ใครไม่สนใจก็ไม่เป็นไรเพราะแต่ละคนอาจจะต่างคนต่างตำรา เราก็ไม่ว่ากัน ในบางครั้งใครอาจจะมองว่าเราขายสินค้าด้วยก็ไม่ว่ากัน เพราะเรามั่นใจว่าเราไม่ได้มาเพื่องกอยากขายสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว อย่างน้อยเราก็มาเพื่อเอาวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาและประสบการณ์ที่มีบางอย่างทางการเกษตรเข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันด้วย

โดยส่วนตัวของผมยังยืนยันอยู่ตลอดเวลาว่า ไม่ว่าจะไปปลูกที่ไหนๆ ปัจจัยอื่นๆอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมอาทิ สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพพื้นที่ สภาพที่ดิน และอื่นๆอาจจะแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่ยังเหมือนกันอยู่ไม่ว่าจะปลูกที่ใด

นั่นก็คือ"กระบวนการทำงานต่างๆ" ของพืช ก็ยังคงมีระบบเหมือนเดิม เพียงแต่จะทำอย่างไรให้กระบวนการต่างๆทำงานได้อย่างสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพและปกติได้มากน้อยขนาดไหนก็เท่านั้น

กระบวนการ "TUBERIZATION" กับกลไก “การลงหัว"(Tuber)

เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลัง เมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน อีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth)เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน

การลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้นและสุดยอดขึ้น ดังนั้นการใช้ "ซูการ์-ไฮเวย์"(ZUKAR-Highway) ร่วม ด้วยจึงมีความจำเป็น นี่คือ..คำตอบ ในการพัฒนาผลผลิตมันสำปะหลังในยุคใหม่แห่งโลกอนาคตทางการเกษตร

ช่วงอายุประมาณ 60-90 วันจะเป็นช่วงอายุ(Growth Stage) ของมันสำปะหลังที่จะเปลี่ยนการเจริญเติบโตมาเป็นการ"ลงหัว"เพื่อสะสมอาหารที่หัว มันจะมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนตัวหนึ่งขึ้นมาควบคุมกระบวนการลงหัว(TUBERIZATION) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มันสำปะหลังสังเคราะห์ขึ้นได้เองตามธรรมชาติซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ของปริมาณแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ถ้าความสัมพันธ์ของแสงและอุณหภูมิ ไม่สัมพันธ์กัน มากไปหรือน้อยไป มันก็ไม่เพียงพอต่อการสร้างฮอร์โมนตัวนี้ การลงหัวก็จะสะดุดและลงหัวได้ไม่ค่อยดี หรือไม่มีการลงหัว มัวแต่หลงทาง และงามแต่ต้นงามแต่ใบ ไม่มีหัวหรือมีหัวจำนวนน้อย ถ้าฮอร์โมนตัวนี้เพียงพอการลงหัวก็จะดี ทุกอย่างเป็นกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry) ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ ถึงกลไกต่างๆ ถ้าเราเลียนแบบธรรมชาติโดยการสร้างสารบางอย่างหรือฮอร์โมนบางอย่างที่มันพร่องหรือมันขาดแคลนและนำสารหรือฮอร์โมนนั้นๆมาทดแทนในส่วนที่ขาดแคลนนี้ให้แก่พืชได้ พืชย่อมดีใจและสามารถทำหน้าที่ในกระบวนการต่างๆต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ (ในภาพ: มันอายุ 5 เดือน ทำหน้าที่"ลงหัว" เกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะรากเล็ก รากน้อย เปลี่ยนเป็นหัวเกือบหมด รอก็แต่ขยายหัวและ"ลงแป้ง"เท่านั้น)

องค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของกระบวนการ"TUBERIZATION"

Photoperiod หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืชตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์ “Jasmonic acid” (JA) ที่ใบและหลังจากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก (Root) จนทำให้เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวนมาก

“การลงหัว” เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ ที่เซลล์เนื้อเยื้อเจริญ (Subapical meristem cell) ที่อยู่บริเวณ

ปลายรากและปลายยอดของพืช หลังจากได้รับ Jasmonic acid (JA) ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดการ

เปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเซลล์ดังนี้

1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์) เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน

2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์) เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุดแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็น “หัว”

3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพและหน้าที่) ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำหน้าที่

ให้เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพเพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัว อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูกสะสมได้มากขึ้นที่หัว การสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้ปริมา ณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น

เมื่อได้รับ “AXZON” (Jasmonic acid , Glutamic acid and Mixer of Other Organic acid compound) จะช่วยให้เซลล์บริเวณ Storage Root มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีจำนวนมากขึ้นทำให้พร้อมสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น อีกทั้งการเคลื่อนย้ายโปรตีนและแป้งทำให้ง่ายขึ้น หัวมันเลยใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผมก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำการศึกษาค้นคว้าและดูงานวิจัยเกี่ยวกับมันสำปะหลัง และลงดูสภาพจริงในไร่ปลูกที่เกี่ยวข้องกับงานที่ศึกษาค้นคว้าอยู่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง สิ่งที่ผมพบกลับกลายเป็นเรื่องที่ง่ายๆ จึงจุดประเด็นและลงมือทดสอบกระบวนการทำงานต่างๆของมันสำปะหลัง ประกอบกับใช้ควบคู่กับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญคือ "เรื่องดิน" และปัจจัยรองๆที่ตามมาคือเรื่องของ พันธุ์ เรื่องของปุ๋ย เรื่องของระบบน้ำ เป็นส่วนเสริม ที่ให้ความสำคัญมากคือ เรื่อง "ดิน"และ"กระบวนการทำงานภายในของพืช"อย่างมันสำปะหลังเอง

วิธีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้มากกว่า 10-20 ตันต่อไร่ จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว เพียงแค่กระบวนการแรกคือ "กระบวนการสั่งราก"(Root Cell Revitalization) ถ้าทำได้ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ และมีทำวิธีการง่าย ๆ ให้สำเร็จได้ด้วย ด้วยการทำให้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่เราปลูกลงไปในแปลงมีรากออกมามากที่สุด และมีสัดส่วนของราก"Tuberous Root" (รากสะสมอาหาร)ให้มากที่สุด เพราะถ้ารากมีมากก็มีสิทธิกลายเป็นหัวได้มาก หัวมันสำปะหลังจะไม่

ดกหรอกถ้ามันมีรากน้อย ผลผลิตต่อต้นมันก็จะไม่ได้ 15-20 กก.หรอกถ้าท่อนพันธุ์มันตอนแรกมันออกรากมาแค่ 5-6 ราก ควรทำให้รากออกมากที่สุดตอนปลูกเป็นใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้พันธุ์พันธ์เทวดา แค่ทำให้รากออกมาเยอะและสมบูรณ์เป็น"รากสะสมอาหาร" ก็เพียงพอที่จะชนะไปครึ่งทางแล้วครับ

มันสำปะหลังให้พันธุ์ดีอย่างไร ไปปลูกที่ดินไม่ดี ดินไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ต่อให้พันธุ์มันดีอย่างไรก็ตามที และมันสำปะหลังต่อให้พันธุ์ดีอย่างไรและไปปลูกในดินที่ดีและอุดมสมบูรณ์เพียงใดก็ตามที แต่ถ้ามีกลไกในการทำงานในกระบวนการต่างๆภายในของพืช พิกลพิการไม่สมบูรณ์ พืชดำเนินกิจกรรมในกระบวนการทำงานของตัวเองต่อไปไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เราจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการต่างๆทางด้านสรีรวิทยาของพืช(Physiology of Plant) และวิชาการทางชีวเคมีของพืช(Biochemistry of Plant) ซึ่งศึกษาและเน้นถึงเรื่องกลไกการทำงานของกระบวนการต่างๆภายในของพืชนี้ จึงนับว่ามีความจำเป็นและมีประโยชน์อย่างยิ่ง

( เนื้อหาต่างๆในบทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว จึงขอสงวนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นใดๆ )

มาสร้างราก"Tuberous Root" กันเถอะ?

"สร้าง"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร) ให้ได้สัดส่วนมากๆ

อย่า..ให้มีแต่ราก"Fibrous root"(รากหาอาหาร) ในปริมาณที่มากกว่า

เมื่อพัฒนา "Tuberous root" ได้มากๆแล้ว(ด้วยSARCON)

ต่อไปก็ส่งไม้ต่อให้"AXZON" ทำงานต่อโดยการ"แบ่งเซลล์"(Cell Devision) "ขยายเซลล์"(Cell Enlargement) และ"เปลี่ยนหน้าที่ของเซลล์" (Cell Differentiation) ใน"Tuberous root"ให้ทำหน้าที่เป็นการสะสมแป้งและโปรตีน(Tuberization) จนเป็นหัวและขยายขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว"

คู่มือ"นวัตกรรมมันสำปะหลังไทย"..ฉบับ ออร์กาเนลไลฟ์

ใช้เป็นแนวทางประกอบการพัฒนาการปลูกมันสำปะหลัง อีกแนวทางหนึ่ง เป็นทางเลือกใหม่

นี่คือ..สูตรการปรุงอาหาร ระดับภัตตาคารใหญ่ จะอร่อยเลิศรสหรือไม่? ไม่ได้อยู่ที่"สูตร" หรือ"เครื่องปรุง" อย่างเดียว

ต้องอยู่ทีฝีมือ"กุ๊ก" หรือ"ผู้ปรุง" ด้วย

หรือเปรียบเสมือนอยู่ที่ตัว"เกษตรกร" ผู้ปลูก" ด้วยว่า..ดูแลดี ปฏิบัติดี ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่? ขนาดไหน?

แต่ที่ออร์กาเนลไลฟ์..เรามั่นใจว่า เราคัดสรรแต่"เครื่องปรุง"ชั้นดี และ"สูตรการปรุง" ชั้นเยี่ยมที่มีคุณภาพไว้ใจได้และต้อง"ใช่"ไว้ให้เท่านั้น ทั้งหมดอยู่ที่ท่านแล้วล่ะ!! จะทำอย่างไรให้สำเร็จ

คำว่า"มันสำปะหลัง 30 ตัน/ ไร่ เคยได้ยินได้ฟังมานานหลาย10 ปี ก่อนที่จะเข้ามาศึกษากับพืชเศรษฐกิจตัวนี้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่พยายามศึกษาถึงกลไกในกระบวนการทำงานภายในต่างๆของพืชนี้ ซึ่งมีคนพูดถึงผลผลิต 30 ตัน/ไร่ จึงสงสัยแต่พอมีโอกาสได้เข้ามาศึกษาถึงได้รู้ว่า.." 30 ตันต่อไร่" ใช้เป็น"ตัวเลขสัญลักษณ์" เพื่อกระตุ้นการสร้างเป้าหมายในการพัฒนาผลผลิต ไม่ให้เกษตรกรปลูกทิ้งปลูกขวางแบบว่าจะได้เท่าไรก็ช่างมัน ไม่มีการพัฒนา ทั้งเรื่องการดูแล การเขตกรรม การให้น้ำ การให้ปุ๋ย ระยะปลูกที่ถูกต้อง อื่นๆอีกต่างๆมากมาย แล้วมาบ่นกันว่า ปลูกมันได้แค่1-2 ตัน/ไร่ ไม่คุ้ม ดังนั้นตัวเลข 30 ตัน/ไร่ จึงไม่ใช่ว่าส่วนใหญ่จะทำได้ จึงเป็นได้แค่ตัวเลขที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการศึกษาและวิจัยค้นคว้าอย่างมุ่งมั่นพัฒนาให้ก้าวไปข้างหน้าให้จงได้ให้ใกล้เคียงเป้าหมายได้มากที่สุด เพื่อการอยู่ดีกินดี (เสมือนการทำธุรกิจที่บริษัททุกบริษัทพยายามตั้งเป้าหมายยอดขายให้ได้มากที่สุด อาทิตั้งเป้ายอดขายไม่ต่ำกว่าปีละ100-200 ล้านบาท แล้วแต่บริษัทขนาดเล็กหรือใหญ่ การตั้งเป้าไว้ 100-200 ล้านบาทต่อปี ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ถ้ามันมีความเป็นไปได้ในการทำงานการตลาดอย่างมุ่งมั่นและมีกลยุทธ์ที่ดี และถ้าทำไปได้ใกล้เคียงซัก 50-80 ล้านบาท ก็ถือว่าไม่เลวใช่ไหมครับ) สำหรับมันสำปะหลังการตั้งเป้าไว้แบบนี้ไม่มีอะไรเสียหาย เราไม่ใช่ตั้งไว้เพื่อการ"ท้าทาย"หรือ"โม้โอ้อวด" แก่ใครกัน แต่เราตั้งเป้าหมายไว้เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ แต่การจะทำให้ได้ใกล้เคียงขนาดไหน นั่นต้องใช้ทั้งความรู้และความสามารถในทุกๆด้านที่พร้อมสรรพ์ ทั้งทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และทั้งปัจจัยที่ควบคุมเองได้และปัจจัยที่ควบคุมเองไม่ได้(ดินฟ้าอากาศ,สภาพพื้นที่ดินฯลฯ) ถ้าตั้งเป้าไว้ 30 ตันแต่ทำได้ซักใกล้เคียงซัก10-15 ตัน มันก็ไม่เลวใช่ไหมครับ? ตั้งเป้าหมายไว้ได้ไม่มีใครห้ามครับ และต่อไป..เราคงต้องใช้ทั้ง"องค์ความรู้"ที่ใช่ และ"ปัจจัย"ต่างๆที่ถูกต้อง แม่นยำ ว่าจะต้องทำอย่างไรกัน มันจะบังคับตัวเราให้เป็นมืออาชีพมากขึ้นจริงๆ

เราเริ่มต้นตั้งเป้าหมายว่าเราจะทำอย่างไรให้ได้ซักต้นละ 10 กิโลกรัม ถ้า 1,600 ต้นต่อไร่ก็จะได้ 16 ตัน แต่มันอาจจะไม่ได้ทุกต้น ได้ซัก 1,000 ต้น เราก็จะได้ 10 ตัน แล้วต่อไป เราจะทำอย่างไรให้ได้ต้นละ 15 กิโลกรัม ถ้า 1,600 ต้น ก็จะได้ 24 ตัน แต่มันอาจจะได้ซักแค่ 1,000 ต้น มันก็ยังได้ 15 ตัน นี่คือ.."ความเป็นไปได้" ภายใต้หลักการทางวิชาการรองรับ อย่า..หยุดนิ่งอยู่กับที่ ทุกอย่างเป็นไปได้ครับถ้าเรามุ่งมั่นตั้งใจและพยายาม ถ้ายังไม่ได้ก้ไม่เสียหายอะไร

ถ้า"สตีฟ จ๊อบส์" คิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีมือถือที่เป็นได้มากกว่าโทรศัพท์ ที่ไม่ใช่ใช้ได้แค่เพียงแต่โทรศัพท์พูดคุยกันอย่างเดียว แต่ทำให้สามารถใช้งานด้านอื่นๆได้คล้ายๆอุปกรณ์ประจำสำนักงาน เราคงไม่มีสมาร์ทโฟนที่ชื่อว่า"Iphone"น่ะครับ เป็นกำลังใจให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันครับ ยินดีพูดคุยเพื่อการร่วมมือกัน

www.organellelife.com
www.facebook.com/organellelife.org
www.organelle2.blogspot.com
Line ID:organellelife































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น