วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

มาทำ “เกษตรประณีต” (INTENSIVE FARMING) กันเถอะ


มาทำ “เกษตรประณีต” (INTENSIVE FARMING)
ด้วยทฤษฎี “วันเดอร์แลนด” (WUNDERLAND THEORY)
“เกษตรประณีต” (Intensive Farming) เป็นการเกษตรที่ต้องการผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ในอัตราสูงด้วยการใช้วิชาการทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย และต้องทำให้การปลูกพืชในปีหนึ่ง ๆ ได้หลายครั้งโดยซ้ำในพื้นที่นั้น ๆ  ดังนั้น “เกษตรประณีต” จำเป็นต้องใช้วิชาการที่สูง ใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรที่ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยใช้พื้นที่ปลูกที่น้อยที่สุด ซึ่งเหมาะสำหรับการทำการเกษตรในปัจจุบันที่การขยายพื้นที่ปลูกทำได้ยาก เพราะมีพื้นที่เกษตรลดน้อยลง อีกทั้งจะใช้ปุ๋ยสุรุ่ยสุร่ายไม่มีหลักเกณฑ์ ซึ่งจะทำให้เพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้นไม่ได้โดยเด็ดขาด และอาจเกิดผลเสียที่จะตามมากับดินเพาะปลูกที่จะเสื่อมไป “เกษตรประณีต” จะปลูกพืชแบบ “ตามมี ตามเกิด” หรือ “ตามยถากรรม” ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะการปลูกพืชแล้วไม่ได้มีการวางแผนควบคุมและป้องกันโรคภัยที่จะมาคุกคาม ย่อมเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อความเสียหายที่รุนแรง อันจะนำมาซึ่งผลผลิตที่ถูกทำลายลงไปโดยคาดหวังผลลัพธ์ไม่ได้เลยว่าผลผลิตจะได้ออกมาเท่าไหร่ และสิ่งที่จะติดตามมาก็คือ “ต้นทุนการผลิต” หรือที่เรียกว่า “ค่าใช้จ่าย” ต่อหน่วยที่จะสูงขึ้นตามมาทันที “เกษตรประณีต” (Intensive Farming) จะตอบโจทย์ของการทำอาชีพเกษตรกรรม หรือ การเพาะปลูกพืช ในปัจจุบันได้ดีทีเดียว
ห่วงใยในปัญหาการเพาะปลูกพืช ที่จะต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย จึงเห็นว่าการทำ “เกษตรประณีต” (Intensive Farming) มีความจำเป็นจริง ๆ ต่อการเกษตรยุคใหม่ ที่จะทำการเกษตรแบบปล่อยไปตามบุญตามกรรมไม่ได้ จึงได้นำเสนอ ทฤษฎี “วันเดอร์แลนด์” เพื่อการวางแผนการผลิตพืชเกือบทุกชนิด ให้ประสบผลสำเร็จ ตามหลักการ “เกษตรประณีต” ที่กล่าวมาคือ “ลดต้นทุน เพิ่มพูนผลผลิต พิชิตความยากจน”
“ปลูกพืช 100 ต้น ต้องหวังผล 100 ต้นเต็ม” ไม่ใช่ “ปลูกพืช 100ต้น หวังผลเพียง 50 ต้น ก็พอ” ถ้าเป็นแบบนี้แล้วเกษตรกรจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าปลูกพืชไปแล้ว “ได้ครึ่ง เสียครึ่ง” สุดท้ายเกษตรกรก็ยังยากจนอยู่ดี จริงไหม! จากปัญหาตรงนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรกันดีหละ! ไม่ยากเลย.. ถ้าท่านเดินตามแนวทางของเรา กับ ทฤษฎี “วันเดอร์แลนด์”
1.   ดินปลูกพืชต้องเป็นดินเป็นไม่ใช้ดินตาย
เพราะ “ดินตาย”  จะเป็นที่มาของปัญหาต่าง ๆ เช่น
·        “ดินตาย”  โครงสร้างดินจะแข็ง แน่นทึบ, ระบายน้ำ ระบายอากาศไม่ดี รากพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี
·        “ดินตาย”  สภาพความเป็นกรด-ด่าง (ค่า PH) ไม่เหมาะสม ถ้าดินเป็นกรดมากจะเป็นบ่อเกิดของโรคพืชต่าง ๆ ติดตามมาไม่ว่าจะเป็น โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคเหี่ยวเฉาและอื่น ๆ ที่ทำลายให้พืชเสียหายและการเพาะปลูกล้มเหลว
·        “ดินตาย”  ถ้าดินเป็นกรดหรือด่าง ไม่เหมาะสม ก็ทำให้การปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาให้ประโยชน์ได้น้อยลง เพราะจะถูกตรึงไว้ในดิน อย่างเช่นเราใส่ปุ๋ยลงไป 100 กก. พืชสามารถนำไปใช้ได้ เพียง 15-30% เท่านั้น อีก 50-70% จะถูกตรึงไว้ในดินและอาจสูญเสียจากการถูกชะล้างอีก 15-20 % หากเราสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ดีจะทำให้พืชสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างเต็มที่ ทำให้เราไม่ต้องใส่ปุ๋ยเผื่อสำหรับการสูญเสีย ดังนั้นเราทำอย่างไรถึงจะให้การปลดปล่อยปุ๋ยและธาตุอาหารที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ถูกปลดปล่อยให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
·        “ดินตาย” จะทำให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินมีจำนวนน้อยลง ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี เพราะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จะช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินเพื่อเป็นอาหารให้พืช ต่อไป
2.  พืชที่เพาะปลูก ต้องมีการวางแผนลดการสูญเสียจากการทำลายของโรคและศัตรูอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นโรคจากเชื้อไวรัส โรคจากเชื้อแบคทีเรีย หรือจากเชื้อรา อาทิโรคใบด่าง, โรคใบหงิก, โรคใบหด, โรครากเน่า, โรคโคนเน่า, โรคเหี่ยวเฉา, โรคใบไหม้, โรคราน้ำค้าง, ราสนิม เป็นต้น ซึ่งถ้าเราสามารถป้องกัน โดยเสมือนทำ “วัคซีน” ให้พืชก่อนที่จะเกิดโรคระบาดดังนั้น เราจึงสามารถมั่นใจได้ 100% เลยว่า ความเสียหายจะเกิดขึ้นน้อยที่สุด ผลผลิตก็จะได้สูงสุดต่อหน่วยพื้นที่ คือได้ผลผลิตสูงสุดโดยใช้พื้นที่น้อยที่สุดตรงกับนิยามการทำ “เกษตรประณีต”ต่อไป
3.   เติมเต็มในสิ่งที่จำเป็นสำหรับพืชที่ขาดหายไปหรือลดน้อยลงไป
ไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารรอง, ธาตุอาหารเสริม, แร่ธาตุ, ฮอร์โมนต่าง ๆ ที่พืชต้องการในการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ในการสร้าง คุณภาพและผลผลิตสูงสุดสำหรับพืช จึงจะให้การทำ “เกษตรประณีต” บรรลุเป้าหมายอันนำมาซึ่งรายได้เกษตรกรอย่างมากมาย และหลุดพ้นความยากจนกันเสียที

องค์ความรู้ด้านชีวเคมี(Biochemistry) ของพืช
ท่านทราบหรือไม่ ต่อไปในอนาคต "องค์ความรู้"ด้านชีวเคมี(Biochemistry) ของพืช นับวันจะมีบทบาทและมีความสำคัญมากต่อพืช เนื่องจากในปัจจุบันภาวะวิกฤตดินฟ้าอากาศของโลกที่มันเกิดวิปริตขึ้นอย่างรุนแรง จนพืชเองดำเนินชีวิตด้วยความยากลำบากขึ้น กระบวนการทำงานต่างๆทางชีวะและเคมีภายในพืช เริ่มมีปัญหาและเกิดอาการสะดุดและรวนขึ้นมาอย่างไม่เป็นระบบ โดยแสดงออกถึงเรื่องการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตที่ผิดปกติ เราเองจึงต้องหันมาให้ความสนใจในกระบวนการต่างๆภายในพืชให้มากขึ้น หันมาสนใจกลไกการทำงานของกระบวนการต่างๆอีกมากมายภายในพืชให้มากขึ้น หันมาสนใจสุขภาพของพืช ให้ความสำคัญต่อการ"สร้างเสริม" มากกว่าการ"รักษา" เราพยายามค้นหาคำตอบของปัญหาต่างๆของพืช ที่ตรงจุดตรงประเด็นและต้องเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผลผลิตที่ตกต่ำ ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โรคพืชต่างๆระบาดรุมเร้าจนเรื้อรังแก้ไขยากขึ้น แมลงศัตรูทั้งเพลี้ยและหนอนสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นและระบาดและรบกวนอย่างหนัก และเกิดอาการดื้อยาจนแก้ปัญหาไม่ได้ ตลอดจนคุณภาพของผลผลิตต่ำและแย่ลงไปเรื่อยๆ ปัญหาต่างๆเหล่านี้ในอดีตเราแก้ปัญหาแบบ"หญ้าปากคอก" ไม่ถูกวิธีมันเลยมีปัญหาเรื้อรัง มาจนถึงกระทั่งวันนี้ แต่เราโชคดีมาถึงวันนี้ เราได้ค้นพบปัญหาที่เป็นต้นตอและเป็นต้นเหตุสำคัญหลักๆของพืช ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลผลิตที่ตกต่ำและย่ำแย่ เรื่องคุณภาพผลผลิตที่ด้อยคุณภาพ เรื่องโรคภัยและศัตรูต่างๆของพืช มันเกิดขึ้นจากสาเหตุใด เราศึกษาและค้นพบกระบวนการต่างๆที่สำคัญและจำเป็นสำหรับพืชได้ใหม่ อาทิ กระบวนการ "Revitalization"(กระบวนการฟื้นฟูเซลล์และสร้างเสริมเซลล์ให้เป็นเซลล์ที่สมบูรณ์ปกติและทำให้เสมือนเป็นเซลล์ใหม่อยู่ตลอด) ซึ่งกระบวนการนี้มีความสำคัญมากกับพืชทุกพืชทั้ง ยางพารา นาข้าว ยาสูบ มันสำปะหลัง ฯลฯ ในปัจจุบันนี้มาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับยางพารา กระบวนการ"Reviyalization" นับว่าสำคัญและจำเป็นมาก เพื่อแก้ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง เพิ่มประสิทธิภาพการสร้างเปลือกยางใหม่ และการทำให้ลำต้นยางสร้างลำต้นให้อวบใหญ่เร็ว และทำหน้าที่อื่นๆอีกมากมาย เรายังค้นพบกระบวนการ" Laticiferization " (กระบวนการสร้างระบบท่อน้ำยางและน้ำยาง เพิ่มเซลล์ท่อน้ำยาง ฯลฯ) เรายังค้นพบกระบวนการ"SAR" (Systemic Acquire Resistance) ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืชให้กับพืชเสมือนพืชได้รับวัคซีน ตลอดจนเรายังได้ค้นพบกระบวนการ " Tuberization" ( กระบวนการลงหัว ในพืชตระกูลมีหัว) อาทิ มันสำปะหลัง มันเทศ มันฝรั่ง หอม กระเทียม เป็นต้น  และนอกเหนือจากนั้น เรายังศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้อื่นๆอีกมากมายที่จะตามมา นี่จึงเป็นคำตอบที่ว่า แท้ที่จริงแล้ว" องค์ความรู้" และ "วิทยาการต่างๆ" ไม่เคยหยุดนิ่ง เราเองต่างหากที่หยุดนิ่ง ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา และยึดติดกับความเชื่อเก่าๆ ทั้งๆที่ปัจจัยต่างๆของโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ปัญหาต่างๆเลยแก้กันแบบหลงทางมาโดยตลอด มาถึงตรงนี้ ณ วันนี้ ด้วย"องค์ความรู้" ควบคู่กับ"ประสบการณ์"กับพืชอันยาวนานเกือบ 30 ปีที่เรามี เราจึงมานำเสนอวิธีคิดใหม่ ด้วยองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกร เราจึงไม่ใช่แค่ขายสินค้า แต่เรามา"องค์ความรู้"ควบคู่"ประสบการณ์" อันยาวนานของเรา  อะไรที่"ใช่" เราจะบอกว่า"ใช่" อะไรที่"ไม่ใช่" เราก็จะบอกว่า"ไม่ใช่" เราต้องไม่ทำให้เกษตรกรต้องเจ็บปวดปาดเหงื่อพร้อมกับน้ำตาอยู่ตลอดเวลาในชีวิของเขา เราพร้อมแล้ว ในนามของ"บริษัทออร์กาเนลไลฟ์" มาเพื่อให้ ไม่ใช่มาเพื่อขอ ถ้าจะขอก็ขออย่างเดียวเท่านั้น คือ ขอให้ท่าน"เปิดใจ" รับสิ่งใหม่ๆ จะเชื่อหรือไม่ เปิดใจรับไว้ศึกษา เรายินดีครับ

ทฤษฎี"วันเดอร์แลนด์" ( WUNDERLAND THEORY )ทฤษฎีนี้ มีที่เราที่เดียว ที่"ออร์กาเนลไลฟ์" ทั้งนี้เพราะเรามี"องค์ความรู้"ทางวิทยาศาสตร์เกษตร และ"องค์ความรู้" ทางกระบวนการชีวเคมี(Biochemistry) ของพืช ที่นำมาใช้กับพืชในยุค"วิกฤติโลก วิกฤติพืช" และจึงเป็นที่มาของ"สินค้า"ของเราที่ใช้ในกระบวนการทำงานด้านต่างๆของพืช ทั้งทางด้านชีวะและทางด้านเคมี(Biological & Chemical of Plant ) ภายในพืช ในลักษณะการสร้างสารเลียนแบบสารที่พืชสร้างได้เองตามธรรมชาติเพื่อใช้ในการทำงานตามกระบวนการต่างๆของพืชเอง อาทิ กระบวนการ" Revitalization" กระบวนการ" Tuberization" กระบวนการ" Laticiferization" กระบวนการ " Systemic Acquire Resistance"( SAR) เป็นต้น เราสามารถสร้างสารเลียนแบบธรรมชาติของพืชได้ ไม่ว่าจะเป็น สารMalate  สารJasmonate และสารอื่นๆอีกมากมายหลายชนิด และนำมาป้อนให้กับพืชเพื่อทดแทนส่วนที่พืชขาดแคลนเสมือนพืชสร้างได้เอง พืชจึงตอบรับทันที ที่กล่าวมานี้จึงเป็นที่มาของทฤษฎี"วันเดอร์แลนด์"(Wunderland Theory) ที่มีพื้นฐานมาจากการทำงานของกระบวนการชีวเคมี(Biochemistry)ของพืช ทุกอย่างมีคำตอบ ว่าสินค้ามันทำงานอย่างไร มีกลไกอย่างไรบ้าง และพืชนำไปใช้เพื่อทำหน้าที่ส่วนไหน และสำหรับสินค้าเรา เรากล้าพูดเต็มปากเลยว่าเป็น "สินค้า พูดได้" เพราะมันพูดแทนเราทั้งหมดจากผลงานทุกผลงานที่ใช้ผ่านมา ที่สินค้าสร้างไว้ทุกไร่ทุกนาทุกตารางวาทุกสวน ลองมาศึกษาสินค้ากับเรา แล้วจะพบว่ามีความสุข ไม่อยากจะบอกว่าเป็นสินค้า" กระตุกต่อมความสุข" ให้หลั่งออกมา ยิ่งใช้ ยิ่งมีความสุข นี่คือเรื่องจริง ครับ


       แก้ปัญหายางตายนึ่ง สวนยางท่านพินิจ จารุสมบัติ ที่จังหวัดบึงกาฬ: 4 ปีที่ไม่มีน้ำยาง มากกว่า 2,000 ต้น เป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ท่านพินิจ จารุสมบัติ ได้เปิดโอกาสให้ทีมงานเข้าไปแก้ไข และก็ชื่นใจที่ได้น้ำยางคืนมา ไม่ใช่โชคช่วย แต่มันมาด้วยกระบวนการชีวเคมีของพืช ด้วยกระบวนการ"Revitalization" ของพืช ด้วยกรด Hydroxy acid บางชนิดที่อยู่ในคู่ขวัญบันลือโลก"พาร์ทเวย์ และ อีเรเซอร์-1" ที่ทำหน้าที่(Mode of Action) กระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดใหม่ รวมทั้งการฟื้นฟูเซลล์ให้กลับมาสู่สภาพเดิม ทำให้เป็นเสมือนเซลล์ใหม่ อยู่ตลอดเวลา เซลล์ท่อน้ำยาง(Laticifer Cell) ได้รับการฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ(Cambium Cell) ได้เกิดขึ้นมาใหม่ มีการสร้างเนื้อเยื่อเจริญต่างๆเพิ่มขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อเจริญของท่อลำเลียง(Vascular Cambium)ต่างๆ อาทิ ท่ออาหาร(Phoem) ท่อน้ำยาง(Laticifer) เป็นต้น จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า" เราแก้ปัญหา"ยางตายนึ่ง" ให้ฟื้นคืนกลับมามีน้ำยาง ได้อย่างไร?


 

    สวนยางของคุณ เทวินทร์ ศรจันทร์  3 ปีที่ใช้คู่ขวัญ"พาร์ทเวย์และอีเรเซอร์-1" เปิดกรีดยางที่อายุ 5 ปี 8 ปี กรีดมาได้ 3 ปีแล้ว  เป็น 3 ปีที่ใช้ กระบวนการ"Revitalization" เขาจัดให้ หน้ายางอะไร จะสวยปานนั้น Hydroxy acid จะทำหน้าที่สมานแผล และสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ให้เสมือนเป็นหน้ายางใหม่ เรียบเนียน สวยใส ไม่เป็นโรค น้ำยางหนัก เปอร์เซ็นต์สูง ใครไม่ใช้ ไม่ได้สตางค์เพิ่ม เพราะน้ำยางไม่มีน้ำหนัก ไม่มีเปอร์เซ็นต์ยางที่ดี กระบวนการ"Revitalization" "ฟื้นฟูเซลล์ บำรุงเซลล์ สร้างเนื้อเยื่อใหม่ ไร้โรครบกวน ให้น้ำยางดี มีน้ำหนัก ที่สำคัญต้นยางมีอายุยืนนาน ไม่ต้องกลัวยางตายนึ่ง ให้น้ำยางได้หลายสิบปี ไม่มีสะดุดซักต้น 




"ยาสูบยุคใหม่ ใส่ใจนวัตกรรมใหม่" เพื่อให้ได้คุณภาพและผลผลิตที่สูง...นี่คือสิ่งที่ยืนยันว่าในปัจจุบันนี้ มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้กับยาสูบ ไม่ว่าจะเป็น"วัคซีนพืช"เพื่อป้องกันโรคร้ายต่างๆอย่างมากมายของยาสูบ ทั้งโรคร้ายจากไวรัส(โรคใบหด โรคใบด่าง โรคเตี้ยแคระ) หรือจากเชื้อแบคทีเรีย( โรคเหี่ยว โรคใบไหม้ ไฟลามทุ่ง) หรือจากเชื้อราก็ตาม( โรคแข้งดำ โรคแอนแทรคโนส โรคราสีน้ำเงิน) โรคต่างๆเหล่านี้มันมีมากขึ้นในปัจจุบันเพราะมันมาพร้อมกับวิกฤติโลก วิกฤติดินฟ้าอากาศที่วิปริตเหลือล้น ขนาดคนยังแทบจะทนไม่ได้ หรือแม้แต่มีการนำสารPrecurcor(สารตั้งต้น) อาทิเช่น สารมาเลท( Malate Compound) ซึ่งทำงานอยู่ในกระบวนการ "Nicotine Ring" มาใช้กับยาสูบ เพื่อทำให้กระบวนการชีวเคมี(Biochemistry)ภายในยาสูบดำเนินการไปได้อย่างปกติ มีการนำกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์บางชนิดต่อพืช ซึ่งทำงานในกระบวนการ"Revitalization"(กระบวนการฟื้นฟูและบำรุงตลอดจนสร้างเสริมเซลล์ให้ใหม่อยู่เสมอ) มาใช้กับยาสูบด้วย เพื่อให้ยาสูบสามารถสร้างผลผลิตและคุณภาพที่สูงได้ตามที่เราต้องการ นี่คือ..ยาสูบยุคใหม่ในปัจจุบัน ที่หาทางออกได้ทัน จริงๆ ครับท่าน
ยาสูบรุ่นปลูกเดือนตุลาคม2555 สวนยาสูบที่เห็นในภาพนี้ใช้ทฤษฎีวันเดอร์แลนด์ในการดูแลตั้งแต่ต้น ใช้"ซอยล์แอสท์" เป็นตัวปรับสภาพดินหว่านหลังไถ ใช้"ซอยล์ไลฟ์" ฟื้นดินตายให้กลายเป็นดินเป็น ให้อ๊อกซิเจนทางดิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์"ออร์กรีน" ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยมีปุ๋ยอินทรีย์มา เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีสารมาเลท(Malate) และใช้ อาหารพืช"กรีนอัพ" เป็นปุ๋ยเสริมแต่งหน้า(Side Dressing) ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ทางดินของมืออาชีพจากออร์กาเนลไลฟ์ ส่วนปุ๋ยรองพื้น(Base Dressing) ใช้สูตร 8-12-24+6MgO+0.5B นอกจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทางดินแล้ว ส่วนอื่นก็เป็นไปตามทฤษฎี คือมีการให้"วัคซีนพืช" ตามกระบวนการ "SAR"(Systemic Acquire Resistance) นั่นคือ คือใช้ "ซาร์คอน"และ"คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า" เป็นวัคซีนป้องกันโรคและแมลง ทั้งโรคจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นโรคใบด่าง ใบหด เตี้ยแคระ หรือโรคเหี่ยวเฉา โรคเน่าที่ราก เน่าที่โคน ก็หมดไปไม่เกิดขึ้น มีการให้สารที่เป็นประโยชน์ทั้งฮอร์โมนและสารSecondary Metabolites ที่สำคัญบางตัว ใช้"ไบโอ-เจ็ท" กระตุ้นการแตกราก กระชากการแตกยอด แตกใบและมีการให้สาร Precursor(สารตั้งต้น) ที่มีสารมาเลท(Malate) นั่นคือ"พาร์ทเวย์ M-190" ที่เป็นสารสำคัญในกระบวนการชีวเคมีของพืชในการเจริญเติบโตและสร้างสารสำคัญอันเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างคุณภาพของใบยาสูบ จะเรียกว่าสวนยานี้เป็น"สวนยาสูบกึ่งอินทรีย์" ก็ไม่ผิดนัก เพราะเราพยายามจะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด ยกเว้นปุ๋ยเคมี(สูตร 8-12-24 และ 15-0-0 ) ที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราก็ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะมันยังไม่มีทางออกและยังหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง เป้าหมายของการทำยาสูบยุคใหม่นี้ ต้องมีผลผลิตไม่ต่ำกว่าไร่ละ 4,500-5,000 กก./ไร่( ปลูกไร่ละ 2,500 ต้น ให้ได้น้ำหนักต้นละ 2 กก.และทุกต้นต้องไม่เสียหายจากการทำลายของโรคต่างๆและต้องเจริญเติบโตได้ไม่สะดุดและสมบูรณ์เหมือนกันทุกต้น) นี่คือสิ่งที่เรา ต้องทำให้ได้นั่นเอง

 



         อีเรเซอร์-1(ERASER-1) โฉมใหม่ ขวัญใจเกษตรกรมืออาชีพ ยุคใหม่ที่ใส่ใจนวัตกรรมใหม่ๆทางการเกษตร เป็นสินค้าแห่งยุคอนาคตที่มาทันเวลา และเกษตรกรกำลังตามหา ว่าจะมีใครมาแก้ปัญหาโรคต่างๆของพืชที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน "อีเรเซอร์-1" เป็นทั้งวัคซีนพืช เป็นทั้งนักฆ่าเชื้อโรคพืชแบบเฉียบพลัน ฆ่าทั้งเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา อีกทั้งยังมีกรดอินทรีย์ Hydroxy acid ที่ทำหน้าที่ในกระบวนการ" Revitalization " ด้วย ที่ทำหน้าที่(Mode of Action) กระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดใหม่คล้ายๆการสร้างสเต็มเซลล์(Stem Cell) รวมทั้งการฟื้นฟูเซลล์ให้กลับมาสู่สภาพเดิม ทำให้เป็นเสมือนเซลล์ใหม่ ที่มีพลังใหม่ มีชีวิตชีวาใหม่ อยู่ตลอดเวลา เซลล์ท่อน้ำยาง(Laticifer Cell) ได้รับการฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ(Cambium Cell) ได้เกิดขึ้นมาใหม่ มีการสร้างเนื้อเยื่อเจริญต่างๆเพิ่มขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อเจริญของท่อลำเลียง(Vascular Cambium)ต่างๆ อาทิ ท่ออาหาร(Phoem) ท่อน้ำยาง(Laticifer) เป็นต้น จึงช่วยชีวิตพืชได้อย่างมหัศจรรย์ และสร้างสรรค์การทำหน้าที่ดีๆให้กับพืชซึ่งในภาวะปัจจุบันที่พืชมันเจอทางตันในการดำรงชีวิต "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) คือ คำตอบ สินค้าดีที่ต่อไป พืชทุกพืชจำเป็นต้องใช้ เพราะมันให้ในสิ่งที่พืชต้องการในการสร้างความสมบูรณ์ของเซลล์และกิจกรรมต่างๆของเซลล์ จาก ออร์กาเนลไลฟ์



พาร์ทเวย์ ( PATHWAY) โฉมใหม่ หน้าตาสวยใส ขวัญใจเกษตรกรมืออาชีพ ยุคใหม่ที่ใส่ใจนวัตกรรม ทางการเกษตร แต่คุณภาพเหมือนเดิม สารPrecursor (สารตั้งต้น) ในกระบวนการสร้างน้ำยาง สร้างน้ำมัน สร้างน้ำตาล สร้างแป้ง สร้างนิโคติน สร้างคาเฟอีน และสารอื่นๆอีกมากมาย ที่พืชทุกพืชจำเป็นต้องมี แต่ปีจจุบันมันสร้างได้ไม่สมบูรณ์และเพียงพอ วงจรการทำงานของเซลล์เลยสะดุด สาร Precursor (สารตั้งต้น) ที่ว่านี้ ทั้งพืช C3 และพืช C4 และพืช CAM ต้องการและจำเป็นมาก ยิ่งในสภาวะที่สภาพแวดล้อมของโลกเป็นพิษ ดินฟ้าอากาศวิปริต พืชเลยวิกฤติไปตามๆกัน แต่มันพูดไม่ได้ มันบอกเราไม่ได้เท่านั้น เราจึงต้องรู้ใจมัน และควรแบ่งปัน"พาร์ทเวย์" ให้กับมันโดยด่วน ก่อนที่จะสายเกินไป


ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติ
น้ำยางในต้นยางพารา มีส่วนประกอบของสาร cis–polyisoprene (C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยางในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์

แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทางชีวเคมีเปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA GAP/Pyruvate Pathway เป็นการสังเคราะห์ IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate   

สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้นจาก IPP(C5) เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),FPP(C15)และ GGPP(20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลิเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT)

โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis – polyisoprene

 




สารพันปัญหา..ยางพาราไทย ที่มีอยู่มากมายหลากหลาย ทั้งที่แก้ง่ายและแก้ยาก แต่ถ้าหากไม่อยากให้เกิดปัญหาในภายภาคหน้า เรามีวิธี เมื่อเรา "ปลูกยางใหม่" หัวใจสำคัญ 2 ประการที่เราจะต้องท่องจำไว้ นั่นคือ
(1) "ทำอย่างไร..ให้ดินน่าอยู่สำหรับรากยางพารา" และ
(2) "ทำอย่างไร..ไม่ให้ยางพาราเป็นโรคร้ายแรง อาทิ โรคเปลือกแห้ง โรครากขาว โรคเส้นดำ โรคราแป้ง ฯลฯ
(1) ซอยล์ไลฟ์    (2) ผงแร่"บีเอ็มซี-มิกซ์   (3) ซาร์คอน    (4) พาร์ทเวย์    (4) อีเรเซอร์-1   คือ..คำตอบ
ผสม" ซอยล์ไลฟ์" อัตรา 25 กรัม กับ "บีเอ็มซี-มิกซ์" อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 1 บัว(10 ลิตร) รดรอบๆลำต้นยางพารา  1 บัวต่อหนึ่งต้น และราดด้วย ""ซาร์คอน"  อัตราผสม 10 ซีซี.ต่อน้ำ 1 บัว ราดให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม รดทุกๆ 3 เดือนจะเป็นการดี ถ้าจะรดถี่ๆก็ 2 เดือน/ครั้ง ในส่วนของการฉีดพ่นให้ท่านผสม "พาร์ทเวย์" กับ " อีเรเซอร์-1" เข้าด้วยกัน ในอัตรา 20 ซีซี.กับ 20ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไปที่ใบยางให้ทั่วทรงพุ่ม ทุก 15 วัน แล้วท่านจะเห็นความอัศจรรย์ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับต้นยางพาราปลูกใหม่ของท่าน  ต้นยางของท่านจะ "เติบโตดี  แตกยอดดี  หนึ่งปี มีมากกว่า 6-10 ฉัตร เส้นรอบวงปีแรกไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร โรครากเน่าโคนเน่าไม่มี ใบร่วงไม่มี แตกรากดียิ่งกว่ารากหญ้าแฝก แตกรากเยอะมากๆ รากทุกรากสมบูรณ์"  นี่คือ..สิ่งที่ท่านจะได้เห็นว่ามันเป็นจริงได้และที่สำคัญมันจะทำให้ท่านกรีดยางได้ภายใน 5 ปี เพราะมันมี
กระบวนการ"REVITALIZE" เกิดขึ้นกับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญต่างๆของต้นพืช  เมื่อปลูกยางใหม่ท่านใช้"อีเรเซอร์-1"ผสมน้ำรด เท่ากับท่านหมดความกังวลใจว่าต่อไปในวันข้างหน้า ยางพาราของท่านจะเป็นอย่างไร เรากล้ายืนยันว่ายางพาราของท่าน ได้ทำ"ประกันชีวิต"ไว้เรียบร้อยแล้ว ยางพาราของท่านจะไม่เป็นโรคร้ายแรงใดๆไม่ว่าจะเป็นโรครากเน่าโคนเน่า โรคใบร่วง และที่สำคัญเป็นการรับประกันว่ายางพาราของท่านจะไม่เป็นโรคตายนึ่ง ท่านใช้"อีเรเซอร์-1" ประกันชีวิตยางพาราของท่าน แถมยังได้"ปันผล" คืนมา เพราะยางพาราของท่านมันโตเร็ว โตดี โตแบบมีคุณภาพ มีท่อน้ำยาง ให้ท่านได้กรีดแบบเต็มที่ แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ช่วยให้ท่านมีรายได้ที่ดีอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่โตแบบไม่มีคุณภาพ เร่งให้ต้นมันโตแต่ตัวแต่ไม่มีน้ำยาง เร่งปุ๋ยเร่งฮอร์โมนให้มันโตเป็นความคิดแบบเก่าๆที่เน่าบริสุทธิ์ "หยุด..ข่มขืนดิน" และ"หยุด..ข่มขืนยาง" ด้วยการอัดแต่ปุ๋ยเคมี แล้วบอกว่ายางมันโตดี แต่มีน้ำยางหรือไม่ไม่มีใครรับประกัน หยุดกันเสียที และมีใครเคยถามต้นยางกันบ้างว่ามันต้องการอะไร ไม่ใช่พอใจจะใส่อะไรๆก็ใส่กันเข้าไปตามใจพ่อค้าที่เขาบอกมาว่าดี แต่ไม่เคยมีคำแนะนำที่ดีเลยว่า"ถ้า ยางพาราเสียหาย จะทำอย่างไรดี"มีแต่ลองผิดลองถูก และเอาเกษตรกรเป็นหนูทดลอง ดีแต่โฆษณาสินค้าว่าเป็นนวัตกรรม แต่เป็น"นวัตกรรมอำพราง" ที่ไม่เคยบอกว่าหน้าที่ของมันกับพืชมันทำงานอย่างไร มันมีกลไกในกระบวนการทำงานด้านชีวเคมีในพืชอย่างไร บอกแต่ว่า..ใบใหญ่ ต้นใหญ่ ใบเขียว น้ำยางไหลดี ไหลโจ๊ก ไหลโจ๊ก แต่ไม่ได้บอกว่า มันมาจากอะไร หรือเอาไปใช้กับพืชมีหัวก็บอกว่าใช้ได้ ใช้แล้ว หัวใหญ่ หัวยาว หัวดก ต้นใหญ่ ใบใหญ่ แต่ไม่ได้บอกว่ามันมาได้อย่างไร เพื่อนสมาชิกชาวออร์กาเนลไลฟ์ ที่อาสามาเป็น"หมอพืชอาสา" ท่านต้องหันมาสนใจในเรื่องนี้ที่ต้องการ"ผู้เชี่ยวชาญ"ทั้งงานด้านทฤษฎีและงานด้านปฏิบัติ เราต้องมาฝึกหัด เรียนรู้และฝึกฝน ให้ตนเองเป็นที่พึ่งของเกษตรกรให้ได้ ด้วยวิทยาการและองค์ความรู้ของเราเอง ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญและจำเป็นเรายิ่งต้องรีบเผยแพร่ ก่อนที่จะสายเกินแก้ เกิดปัญหาสารพันยางพาราจนแก้ไขไม่ไหว  2-3 ปีท่านจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ท่านไม่เชื่อ เราไม่เดือดร้อน เพราะไม่ใช่สวนยางของเรา แต่ต้นยางของท่านมันเดือดร้อน เพื่อนสมาชิกต้องเริ่มออกแนะนำให้เขาทำประกันชีวิต"ให้กับสวนยาง ด้วยการจ่าย"เบี้ยประกัน" อันแสนถูกที่สุดในโลก ด้วย"อีเรเซอร์-1" ต้นละแค่ 4บาทกว่าๆต่อครั้ง ปีละ 4 ครั้งก็แค่ 10 กว่าบาท เป็นการประกันปัญหาต่างๆนานาของยางพาราไม่ว่าจะเป็นยางยืนต้นตาย ยางตายนึ่งไม่ให้น้ำยาง ปัญหาเหล่านี้จะไม่มีเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ไม่ต้องกลัวว่าพอยางพาราจะได้กรีดแล้วมันยืนต้นตาย หรือเวลาจะได้กรีดแล้วไม่มีน้ำยางให้เรา เราควรเริ่มรณรงค์ได้แล้วตั้งแต่บัดนี้ ดีกว่าที่เราจะไปมัวรอเรื่อง"ราคายางพารา"ว่าจะราคากิโลกรัมละเท่าไร และใครจะช่วยเราได้ เราก็หันมาพัฒนาผลผลิตและคุณภาพยางพาราของเราดีกว่าไหม  ออร์กาเนลไลฟ์ห่วงใยชาวสวนยางพาราจริงๆ ด้วยพลังแห่ง"ความจริง" ออร์กาเนลไลฟ์.."นวัตกรรมสู่ชีวิต เครือข่ายแห่งความจริง"


ทฤษฎี 2 สูง 1 ต่ำ
"ต้นทุนต่ำ" ไม่ใช่ความหมายเดียวกับคำว่า"ลดต้นทุน"ให้ต่ำ มันต่างกัน ในทฤษฎี"2 สูง 1 ต่ำ" ของผม ผมจะไม่เน้นให้"ลดต้นทุน" ที่จำเป็น ถ้าลดต้นทุนแล้ว ผลผลิตลดลง ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ลดการใช้ปุ๋ยลงไปไร่ละ 30 กิโลกรัม แต่ผลผลิตลดลงไป 15% แค่นี้ก็ไม่คุ้มแล้วครับ เพราะลดปุ๋ยลงไป 30 กก.สมมุติเป็นเงิน 900 บาท( ปุ๋ยกิโลกรัมละ 30 บาท) แต่ผลผลิตลดลง 15%( สมมุติคุณปลูกยาสูบ ได้ผลผลิตไร่ละ 4,000 กิโลกรัม ) ผลผลิตลดลงไป 15% ( ผลผลิตลดลงไป 600กิโลกรัม ) ถ้าผลผลิตกิโลกรัมละ 7 บาท ก็เป็นเงินลดลงไปถึง 4,200 บาท มากกว่าลดค่าปุ๋ยซะอีก ที่ลดลงไปได้แค่ 900 บาท  สิ่งที่ควรมองและให้ความสำคัญมากกว่าคือคำว่า"ต้นทุนต่ำ" นั่นคือ"คุณอาจจะเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าไปอีกซัก 1,000 บาท (เป็นการเพิ่มต้นทุน) แต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมา 10% หรือให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 400 กิโลกรัม จะทำให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 2,800 บาท( สมมุติผลผลิต กก.ละ 7 บาท ) ลงทุน1,000 บาท แลกกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น 2,800 บาท นี่แหล่ะเราเรียกว่า"ต้นทุนต่ำ" (คือการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่ารายจ่ายที่จ่ายเพิ่ม )  คุณอาจจะสามารถลดต้นทุนให้ต่ำจากการตัดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆลงได้เล็กน้อย แต่ผลกระทบอาจเกิดขึ้นกับผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตที่อาจลดลงตามไปด้วยได้ และอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมากมายถ้าลดค่าใช้จ่าย แล้วผลผลิตกับลดตามลงไปด้วย  และสิ่งที่สำคัญที่ควรทำให้"ต้นทุนต่ำ" ก็มีเพียงการเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆในทุกๆด้านให้กับพืชเพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตต่างๆ(สารสำคัญต่างๆที่จำเป็นสำหรับพืช  ปุ๋ยและธาตุอาหารพืชฯลฯ) ที่ถูกต้องและ เหมาะสม อย่างแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการต่างๆ อาทิ อะไรที่ฟุ่มเฟือยต้องบริหารจัดการใหม่ ข้อจำกัดการทำการเกษตรบางพืชในบางครั้งตัวชี้เป็นชี้ตายคือ ค่าจ้าง ค่าแรงงาน ต่างๆ พืชบางพืช ไม่เหมาะกับการจ้างแรงงานทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ เกษตรกรกรบางกลุ่มจะหลีกเลี่ยงการจ้างแรงงานโดยการใช้แรงงานต่างตอบแทนกัน(แลกเปลี่ยนแรงงานกัน) เพราะพืชนั้นๆไม่ได้มีมูลค่าของราคาและรายได้ เผื่อไว้ให้สำหรับตรงนี้ ไม่อย่างงั้นค่าจ้าง ค่าแรงงานจ้างจะกินหมด กลายเป็นต้นทุนใหญ่ไป ในประเทศที่พัฒนาแล้วเขาเลยเผื่อส่วนรายจ่ายตรงนี้ไว้แค่การใช้เครื่องมือเครื่องทุ่นแรงแทนแรงงานคนไป หลีกเลี่ยงการใช้แรงงานคน ไม่อย่างนั้นมีสิทธิค่าแรงงานเอาไปกินหมด ไม่เหมาะกับบางพืชที่มีมูลค่าต่ำ เกษตรกรที่ชาญฉลาด(Smart Farmer)จะให้ความสำคัญกับการบริหารตรงนี้ให้ลงตัว ต้นทุนการใช้ปัจจัยต่างๆ ต้องประณีตและพิถีพิถัน แม่นยำ ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรคุ้มหรือไม่คุ้ม สังเคราะห์ปัญหาด้วยความแม่นยำ แล้วคุณจะเป็นผู้ชนะ จากข้อมูลที่แสดง ต้นทุนใช้สินค้าของออร์กาเนลไลฟ์ที่ใช้ไปตกอยู่ไร่ละ 1,000 กว่าบาท ต้องดูว่าคุ้มค่าหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มก็ตัดบางส่วนออกไป แต่จะตัดตัวไหนตัดสินใจดีๆ แม่นๆ หรือว่าที่มันยังไม่คุ้มเพราะว่ามันยังให้ผลผลิตได้ไม่ตามเป้าหมาย มันเกิดจากสินค้าออร์กาเนลไลฟ์หรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ปัญหาจะยิ่งแย่ไปใหญ่ หรือว่าเราควรจะเพิ่มปัจจัยตรงไหนที่สมควรเพิ่ม ก็เพิ่มได้ไม่จำเป็นต้องเชื่อออร์กาเนลไลฟ์ทั้งหมดก็ได้  ถ้าเราเห็นว่าดีหรือว่าเราใช้ครบทุกกระบวนการแล้วแต่ประสิทธิภาพของการใช้ยังไม่เต็มร้อย ก็ควรเน้นให้เข้มงวดขึ้น หรือว่ามันจะมาจากปัจจัยอื่นๆที่เราควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะดินฟ้าอากาศ หรือสภาพดินปลูกเป็นต้น ทุกอย่างจึงเป็นที่มาของ"องคาพยพ" ของคำว่า"เกษตรกรรม" ที่จะทำให้รวยก็ได้ ให้จนก็ได้ แต่เมื่อเจอปัญหาอย่าพากันหลงทาง ต้องวิเคราะห์ปัญหาด้วยปัญญาจริงๆอย่างแม่นยำ เกษตรกรรมก็ยังทำให้คนเรามีโอกาสมีรายได้ที่มั่นคงได้อย่างแน่นอน

ยกตัวอย่าง: ทางรอด ยาสูบไทย ต้องใช้ทฤษฎี" 2 สูง 1 ต่ำ"เท่านั้น นั่นคือ (1) ผลผลิตสูง (2) คุณภาพสูง (3) ต้นทุนต่ำ แต่ในทางกลับกันถ้าเราหันกลับไปใช้ทฤษฎี" 2 ต่ำ 1 สูง" นั่นคือ (1) ผลผลิตต่ำ (2) คุณภาพต่ำ (3) ต้นทุนสูง ย่อมเกิดปัญหาต่างๆตามมาอยู่ร่ำไป และถ้าปล่อยให้ยาสูบเกิดความเสียหายทางด้านการเจริญเติบโต การเจริญเติบโตไม่ดี ปล่อยให้เกิดเป็นโรคต่างๆมากมาย เสียหายไร่ละหลายร้อยหลายพันต้น ผลผลิตเลยต่ำ หนำซ้ำคุณภาพยังต่ำอีก เลยทำให้ต้นทุนสูง พอได้ผลผลิตต่ำ คุณภาพต่ำ ก็ต้องดิ้นรนต่อสู้และต่อรองกับพ่อค้าที่รับซื้อ เพื่อให้ได้ราคาสูงๆ ซึ่งมันเป็นเรื่องยากและลำบากมากเพราะเรากำหนดราคารับซื้อเองไม่ได้ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด สุดท้ายเราก็ขาดทุน เราต้องหันกลับมาทำทฤษฎี" 2 สูง 1 ต่ำ"นั่นคือ" ผลผลิตสูง คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ" ให้เกิดผลให้ได้มากที่สุด โดยที่"ผลผลิตต้องทำอย่างไรให้สูงถึง 90% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้( เป้าหมายผลผลิต 5,000 กิโลกรัม/ไร่) คุณภาพต้องทำอย่างไรให้ได้เกรดสูงมากกว่า 90% และทำอย่างไรให้ต้นทุนต่ำ โดยใช้ปัจจัยที่"ใช่" ที่เหมาะสม และที่พืชต้องการ ซึ่งใช้ได้เกิดผลตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งควรต้องลดความเสียหายจากภัยต่างๆทั้งดินฟ้าอากาศ และโรค&แมลง
           ที่กล่าวมาเบื้องต้น "ออร์กาเนลไลฟ์" เรามีวิธี เพราะเรามีทฤษฎี"วันเดอร์แลนด์"และสินค้าในกระบวนการ"Revitalization"และกระบวนการ"SAR"และกระบวนการชีวเคมีต่างๆอีกมากมายภายในพืช และนี่คือ ทางออกหนึ่งซึ่งเกษตรกรอาจตามหามานานตลอดชีวิตก็เป็นได้ เราเชื่อมั่นอย่างนั้นจริงๆ ทฤษฎีและสินค้าของเรา จึงไม่มีการลองผิดลองถูกครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น