SYSTEMIC ACQUIRED RESISTANCE (SAR)
สารกระตุ้นภูมิต้านทานโรค โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ
การป้องกันโรคพืชโดยวิธีกระตุ้นภูมิต้านทานโรค (SAR) คืออะไร?
การป้องกันโรคพืชโดยวิธกระตุ้นภูมิต้านทานโรคเป็นการใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงบางอย่างไปกระตุ้นระบบการป้องกันตนเองต่อเชื้อโรคของพืชตามธรรมชาติ สารเคมีดังกล่าวให้กับพืชโดยวิธีฉีดพ่นทางใบและสารเคมีบางอย่างสามารถให้โดยการแช่เมล็ดด้วย สารเคมีเหล่านี้สามารถไปกระตุ้นให้พืชต่อต้านการเข้าทำลายของเชื้อโรคก่อนที่จะเกิดการเสียหายได้โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ เทคโนโลยีนี้ยังสามารถใช้เสริมร่วมกับการป้องกันโรคในแบบเดิมๆได้
วิธีนี้จะช่วยอะไรบ้าง?
- วิธีนี้ช่วยลดการระบาดและความรุนแรงของโรคต่อพืชและผลผลิตได้
- วิธีนี้ช่วยเพิ่มระยะเวลาป้องกันโรคพืชและลดระยะเวลาการเป็นโรคได้
- วิธีนี้ช่วยให้ยุทธวิธีการควบคุมป้องกันโรคพืชครบทุกด้าน โดยช่วยการป้องกันโรคที่ต้นทางนอกจากเหนือจากการรักษาที่ปลายทางหรือเมื่อพืชเป็นโรคเกิดความเสียหายแล้ว
- วิธีนี้ช่วยสิ่งแวดล้อมโดยทำให้ลดการใช้สารเคมีที่เป็นพิษสูงในการป้องกันรักษาโรคพืช
- วิธีนี้ช่วยป้องกันโรคที่รักษายากหรือยังไม่มียารักษาเมื่อเกิดการระบาด เช่น โรคจากเชื้อไวรัส
- วิธีนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคในกรณีของกรดซาลิไซลิค เพราะเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ
กราฟแสดงประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชโดยวิธี SAR
กลไกการกระตุ้นภูมิต้านทานโรค
การกระตุ้นภูมิต้านทานโรคพืชเป็นวิธีที่ใกล้เคียงเลียนแบบธรรมชาติมากที่สุดในการป้องกันตนเองของพืชโดยการใช้สารเคมีไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติเมื่อพืชเริ่มติดโรค วิธีนี้ไม่เพียงแต่เป็นการใช้สารเคมีใหม่ๆ ในพืชแต่ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สมบูรณ์แบบอีกด้วย โดยการเน้นที่การป้องกันมากกว่าการรักษา
ในธรรมชาติเมื่อพืชถูกเชื้อโรคเข้าทำลาย จะเกิดการกระตุ้นเฉพาะที่ เช่น บริเวณใบที่ติดเชื้อโรค ทำให้เกิดการตอบสนองของพืชในรูปของปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์พืช และนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า กรดซาลิไซลิค (Salicylic acid) เป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่พืชสร้างขึ้นหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งจะเป็นสารเคมีสำคัญในการกระตุ้นการสร้างโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานโรค (PR-proteins) ขึ้นมาป้องกันตนเอง โปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานโรคเหล่านี้เป็นแบบที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อโรคใดๆ แต่จะครอบคลุมเชื้อโรคได้กว้าง (broad spectrum) ดังนี้นจึงสามารถต้านทานโรคที่เกิดได้ทั้งจากแบคทีเรีย รา และไวรัส อย่างไรก็ตามโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานโรคเหล่านี้จะมีอายุไม่ยาวนัก ประมาณ 15-30 วันก็จะหมดไป
ข้อได้เปรียบเมื่อใช้สารเคมีกระตุ้นภูมิต้านทานโรค
การที่พืชป้องกันตนเองได้ตามธรรมชาติก็มีจุดอ่อนหลายๆ อย่าง ได้แก่ การที่พืชจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ต้องมีระดับความเสียหายค่อนข้างมากแล้ว เพราะต้องรอให้มีการสร้างกรดซาลิไซลิคในปริมาณมากพอที่จะกระตุ้นได้ และภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้นเฉพาะพืชต้นนั้นไม่สามารถจะควบคุมหรือป้องกันพืชทั้งแปลงได้ ดังนี้การระบาดก็จะยังเกิดขึ้นตลอดเวลา การให้สารเคมีในปริมาณเพียงเล็กน้อยกระตุ้นจะช่วยให้สามารถป้องกันโรคพืชก่อนเกิดความเสียหายและยังสามารถควบคุมและป้องกันโรคจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส ได้ในพืชที่กว้าง
ปัญหาและข้อควรระวัง
การป้องกันโรคพืชด้วยวิธีการกระตุ้นภูมิต้านทาน (SAR) กำลังเป็นที่สนใจและเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และสามารถใช้ร่วมเสริมกับการใช้สารกำจัดโรคพืชโดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี เพื่อลดการใช้ที่มีพิษสูงเหล่านั้น อย่างไรก็ตามการใช้สารกระตุ้นภูมิต้านทานนี้ควรจะเริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการเพาะปลูก หรือก่อนที่จะเกิดโรค และควรฉีดเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ สารเคมีกระตุ้นภูมิต้านทาน (SAR chemicals) กำลังถูกพัฒนาขึ้นมาอีกหลายๆ ตัว จากบริษัทชั้นนำของโลก ซึ่งเน้นไปที่การค้นหาสารเคมีสังเคราะห์ที่สามารถไปกระตุ้นภูมิต้านทานตามกลไกเลียนแบบธรรมชาติ แต่การใช้สารเคมีสังเคราะห์จะเกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ยังคงต้องวิจัยและทดสอบความเป็นพิษ และความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคต่อไปอีกระยะหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตามการใช้สารเคมีที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเองอยู่แล้ว เช่น กรดซาลิไซลิค (Salicylic acid) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในวงการแพทย์มานานนับศตวรรษแล้วนั้น คงจะเป็นสิ่งยืนยันความปลอดภัยแก่ผุ้ใช้และผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
อีเรเซอร์-1
คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า
ซาร์คอน
อิมมูนซาน
ซิกน่า
|
เข้าใจพืช รู้ใจดิน รู้ลึก รู้จริง ในสิ่งที่ทำ ผู้นำนวัตกรรมการเกษตร ตัวจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น