วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทางรอด เกษตรกรไทย



บทความพิเศษ
                                  ทฤษฎี 2 สูง 1 ต่ำ : ทางรอด..เกษตรไทย
                      ผลผลิตสูง คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ
                         "ต้นทุนต่ำ" ไม่ใช่ความหมายเดียวกับคำว่า "ลดค่าใช้จ่าย" ให้ต่ำ มันมีความหมายที่แตกต่างกัน
ในทฤษฎี"2 สูง 1 ต่ำ" ของผม ผมจะไม่เน้นให้เกษตรกร "ลดค่าใช้จ่าย" ที่จำเป็นลงเพราะต้องการเพียงแค่จะประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะถ้าการ"ลดค่าใช้จ่าย"ที่จำเป็นลงแล้ว เกิดผลผลิตตกต่ำลงมา ก็คงไม่เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น อย่างเช่น ถ้าลดการใช้ปุ๋ยลงไปไร่ละ 30 กิโลกรัม แต่ผลผลิตลดลงไป 15% แค่นี้ก็ไม่คุ้มแล้วครับ เพราะการลดปุ๋ยลงไป 30 กก.สมมุติลดเงินได้ 900 บาท( ปุ๋ยกิโลกรัมละ 30 บาท) แต่ผลผลิตลดลงไป 15% ซึ่งเท่ากับ 600 กิโลกรัม ( สมมุติคุณปลูกยาสูบ ได้ผลผลิตไร่ละ 4,000 กิโลกรัม ผลผลิตลดลงไป 15%  ก็เท่ากับว่าผลผลิตลดลงไป 600กิโลกรัม ) ถ้าผลผลิตรับซื้อกิโลกรัมละ 7 บาท รายได้ก็ลดลงไปเป็นเงินถึง 4,200 บาทเลยทีเดียว ซึ่งรายได้หายไปมากกว่าการลดค่าปุ๋ยลงไปซะอีก (เพราะค่าปุ๋ยลดลงไปแค่ 900 บาทเท่านั้นเอง)  สิ่งที่ควรมองและให้ความสำคัญมากกว่าคือคำว่า"ต้นทุนต่ำ" นั่นคือ..คุณอาจจะเพิ่มค่าใช้จ่ายเข้าไปอีกไร่ละซัก 1,000 บาท (เป็นการเพิ่มต้นทุน) แต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมา 20% หรือได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาประมาณ 800 กิโลกรัม จะทำให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 5,600 บาท( ผลผลิตรับซื้อ กก.ละ 7 บาท  ลงทุน1,000 บาท แลกกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น 5,600 บาท) นี่แหล่ะ..ที่เราเรียกว่าการทำ "ต้นทุน"ให้ต่ำลง (คือการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่ารายจ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น )  คุณอาจจะสามารถลดต้นทุนให้ต่ำจากการตัดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆลงได้เล็กน้อย แต่ผลกระทบอาจเกิดขึ้นกับผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตที่อาจลดลงตามไปด้วยได้ และอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมากมายถ้า"ค่าใช้จ่ายลด" แล้ว"ผลผลิตก็ลด"ตามลงไปด้วย  และสิ่งที่สำคัญที่ควรทำให้"ต้นทุนต่ำ" ก็มีเพียงการเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆในทุกๆด้านให้กับพืชเพิ่มขึ้น อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตที่สำคัญต่างๆ(ให้สารสำคัญต่างๆที่จำเป็นสำหรับพืช  ปุ๋ยและธาตุอาหารเสริม ฮอร์โมนพืชฯลฯ) ที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างแม่นยำเข้าไป เพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการต่างๆ อาทิ อะไรที่ฟุ่มเฟือยต้องบริหารจัดการใหม่ ข้อจำกัดการทำการเกษตรบางอย่างในการผลิตพืช ซึ่งในบางครั้งก็ตัวชี้เป็นชี้ตายนั่นก็คือ "ค่าจ้าง ค่าแรงงาน ต่างๆ" บางอย่าง พืชบางพืชไม่เหมาะกับการจ้างแรงงานทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะต้นทุนจะสูง เกษตรกรบางกลุ่มจะหลีกเลี่ยงการจ้างแรงงานโดยการใช้แรงงานต่างตอบแทนกัน(แลกเปลี่ยนแรงงานกัน) เพราะพืชนั้นๆไม่ได้มีมูลค่าของราคาและรายได้ตอบแทนที่สูง เผื่อไว้ให้สำหรับเป็นต้นทุนตรงนี้ ขืนทำอะไรก็ต้องจ้างแรงงานทั้งหมด ก็จะถูกค่าจ้างแรงงานกินหมด กลายเป็น"ต้นทุนใหญ่" ที่แบกรับไม่ไหวเหมือนกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้วเขาเลยเผื่อส่วนรายจ่ายที่เป็นต้นทุนตรงนี้ไว้ สำหรับการใช้เครื่องมือเครื่องทุ่นแรงแทนแรงงานคนไป หลีกเลี่ยงการใช้แรงงานคน ไม่อย่างนั้นมีสิทธิค่าแรงงานเอาไปกินหมด ซึ่งไม่เหมาะกับบางพืชที่มีมูลค่าผลตอบแทนต่ำ เกษตรกรที่ชาญฉลาด(Smart Farmer)จะให้ความสำคัญกับการบริหารตรงนี้ให้ลงตัว ต้นทุนการใช้ปัจจัยต่างๆ ต้องประณีตและพิถีพิถัน แม่นยำ ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรคุ้มหรือไม่คุ้ม สังเคราะห์ปัญหาด้วยความแม่นยำ แล้วคุณจะเป็นผู้ชนะ จากข้อมูลที่แสดง ต้นทุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของออร์กาเนลไลฟ์ ที่ใช้(ไม่ว่าจะวัคซีนพืช วัคซีนแมลง สารตั้งต้น(Precursor) และอื่นๆ) ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ไร่ละ 1,500 กว่าบาท ต้องดูว่าคุ้มค่าหรือไม่ กับผลตอบแทนทางด้านผลผลิตและคุณภาพที่ได้รับถ้าไม่คุ้มก็ตัดบางส่วนออกไป แต่จะตัดตัวไหนตัดสินใจดีๆ ตัดสินใจให้แม่นๆ ที่ว่ามันจะไม่กระทบต่อผลผลิตและคุณภาพด้วย เพราะว่าปัญหาต้นทุนที่สูงมันอาจจะไม่ใช่เพราะจ่ายค่าผลิตภัณฑ์จากสินค้าออร์กาเนลไลฟ์ ก็ได้ มันอาจจะจะมาจากปัจจัยอื่นๆที่เราควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะดินฟ้าอากาศ หรือสภาพดินที่ปลูกเป็นต้น เพราะปัญหาบางอย่าง ถ้าตัดสินใจผิดพลาดปัญหามันจะยิ่งแย่กันไปใหญ่  ทุกอย่างจึงเป็นที่มาของ"องคาพยพ" ของคำว่า"เกษตรกรรม" ที่จะทำให้รวยก็ได้ ทำให้จนก็ได้ แต่เมื่อเจอปัญหา อย่า!!..พากัน"หลงทาง" ต้องวิเคราะห์ปัญหาด้วยปัญญาอย่างแท้จริง อย่างแม่นยำ เกษตรกรรมก็ยังจะทำให้คนเรามีโอกาสมีรายได้ที่ดีและมั่นคงได้อย่างแน่นอน

ยกตัวอย่าง: ทางรอด ยาสูบไทย ที่ต้องใช้ทฤษฎี" 2 สูง 1 ต่ำ"เท่านั้น นั่นคือ
(1) ผลผลิตสูง         (2) คุณภาพสูง         (3) ต้นทุนต่ำ 

แต่ในทางกลับกันถ้าเราหันกลับไปใช้ทฤษฎี" 2 ต่ำ 1 สูง" นั่นคือ (1) ผลผลิตต่ำ (2) คุณภาพต่ำ (3) ต้นทุนสูง ย่อมเกิดความมืดมนตามมา กับปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นอยู่ร่ำไป และถ้าปล่อยให้ยาสูบเกิดความเสียหายทางด้านการเจริญเติบโต การเจริญเติบโตไม่ดี ปล่อยให้เกิดเป็นโรคต่างๆมากมาย เสียหายหลายร้อยหลายพันต้นต่อไร่ ทำให้ผลผลิตตกต่ำ หนำซ้ำคุณภาพยังต่ำลงอีกด้วย เลยพากันทำให้ "ต้นทุนสูง" กันไปใหญ่ และพอได้ผลผลิตต่ำ คุณภาพต่ำ ราคาก็ตกต่ำตามมา หาที่ขายก็ลำบาก จึงต้องดิ้นรนต่อสู้กับพ่อค้าเพื่อต่อรองราคาที่รับซื้อ เพื่อให้ได้ราคารับซื้อที่สูงๆ ซึ่งมันเป็นเรื่องยากและลำบากมากเพราะเรากำหนดราคารับซื้อเองไม่ได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด สุดท้ายเราก็"ขาดทุน" เราจึงต้องหันมาให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการทำ "ทฤษฎี 2 สูง 1 ต่ำ" ให้เกิดผลมากที่สุด นั่นคือการทำให้ " ผลผลิตสูง คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ"  โดยต้องทำอย่างไรให้ "ผลผลิตต้องทำให้ได้สูงถึง 90% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้( ตั้งเป้าหมายผลผลิตไว้ 5,000 กิโลกรัม/ไร่ ต้องทำให้ได้ถึง 4,500 กิโลกรัม/ไร่ ) ส่วนคุณภาพต้องทำอย่างไรถึงให้ได้เกรดสูงมากกว่า 90%  และทำอย่างไรถึงให้ต้นทุนต่ำ(ลงทุนไร่ละ 5,000บาท ได้ผลผลิตไร่ละ 5,000 กิโลกรัม ดีกว่าลงทุน 4,000 บาท แต่ได้ผลผลิตแค่ 3,000 กิโลกรัม ) แล้วจะทำอย่างไรดี?  ก็โดยใช้กระบวนการที่ดี ใช้ปัจจัยที่"ใช่"  ตามที่พืชต้องการ อย่างรู้ใจพืช ว่าพืชต้องการอะไรในภาวะที่สิ่งแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งปัจจัยต่างๆต้องการสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมนำมาใช้ให้เกิดผลตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งควรต้องให้ความสำคัญต่อการลดความเสียหายอันเกิดจากภัยต่างๆทั้งภัยจากดินฟ้าอากาศที่เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตกเดี๋ยวแดดออก และภัยจากโรค&แมลงต่างๆนานาที่ต่างพากันมาแบบหน้าใหม่ๆตลอดเวลาไม่รู้ว่าเป็นเชื้อโรคอะไรต่อมิอะไร ถ้าเรารู้ไม่เท่าทันมันก็เกิดความเสียหายอย่างมโหฬาร 








ยาสูบรุ่นปลูกเดือนตุลาคม2556  ที่ผ่านมามีการใช้ทฤษฎีวันเดอร์แลนด์ในการดูแลตั้งแต่เริ่มต้นปลูก ใช้"ซอยล์แอสท์" เป็นตัวปรับสภาพดินหว่านไถปลูก และการใช้"ซอยล์ไลฟ์" ซึ่งเป็นอินทรียวัตถุสกัดจากธรรมชาติชนิดเข้มข้นเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินปลูก เป็นการ"ฟื้นดินตาย ให้กลายเป็นดินเป็น" เป็นการให้"ออกซิเจน"ทางดิน  และการใช้อาหารพืช "กรีนอัพ" สูตร 5 พลัง เป็นปุ๋ยเสริมแต่งหน้า(Side Dressing) ซึ่งมีทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม โดยเฉพาะธาตุอาหารหลักไนโตรเจน(N) อยู่ในรูปไนเตรท(NO3) ซึ่งพืชดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีทันใด อีกทั้งยังมีฮอร์โมนพืชที่จำเป็น มีสารให้พลังงานน้ำตาลทางด่วน มีสารป้องกันโรคและแมลง มี อมิโน แอซิด(Amino acid)  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อพืชที่ให้กับยาสูบทางดินอย่างมืออาชีพจากออร์กาเนลไลฟ์  ส่วนปุ๋ยรองพื้น ( Base Dressing) ใช้สูตร 8-12-24+6 MgO+ 0.5B นอกจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทางดินแล้ว ส่วนอื่นก็เป็นไปตามทฤษฎี คือมีการให้"วัคซีนพืช" ตามกระบวนการ "SAR"(Systemic Acquire Resistance) นั่นคือ คือใช้  "ซาร์คอน" และ "คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า" เป็นวัคซีนป้องกันโรคและแมลงของยาสูบ ทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นโรคใบด่าง ใบหด เตี้ยแคระ หรือโรคเหี่ยวเฉา โรคเน่าที่ราก เน่าที่โคน ก็จะหมดไปไม่เกิดขึ้นให้รำคาญหัวใจ  มีการให้สารที่เป็นประโยชน์ทั้งฮอร์โมนและสารSecondary Metabolites ที่สำคัญบางตัว มีการใช้ "ไบโอ-เจ็ท" กระตุ้นการแตกราก กระชากการแตกยอด แตกใบและมีการให้สาร Precursor(สารตั้งต้น) ที่ชื่อว่า "สารมาเลท" (Malate) นั่นคือ "พาร์ทเวย์ เพาเวอร์-5 " ที่เป็นสารสำคัญในกระบวนการชีวเคมีของยาสูบในการสร้างการเจริญเติบโตและสร้างสารสำคัญ อาทิ "นิโคติน" และสาร"อัลคาลอยด์" ต่างๆที่มีมากกว่า สิบๆชนิดในใบยาสูบอันเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างคุณภาพของใบยาสูบ จะเรียกว่าสวนยาสูบนี้เป็น "สวนยาสูบกึ่งอินทรีย์" ก็ไม่ผิดที่ผิดทางมากนัก เพราะเราพยายามจะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด ยกเว้นปุ๋ยเคมี(สูตร 8-12-24 และ 15-0-0 ) ที่ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะยังมีความจำเป็น แต่เราก็ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะมันยังไม่มีทางออกและยังหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง เป้าหมายของการทำยาสูบยุคใหม่นี้ ที่ต้องให้มีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 4,500-5,000 กก./ไร่( ปลูกไร่ละ 2,500 ต้น ให้ได้น้ำหนักต้นละ 2 กก.และทุกต้นต้องไม่เสียหายจากการทำลายของโรคและแมลงต่างๆและทุกต้นต้องเจริญเติบโตได้ดีไม่มีสะดุดและสมบูรณ์เหมือนกันทุกต้น) นี่คือสิ่งที่เรา ต้องทำให้ได้นั่นเอง  ยาสูบยุคใหม่จึงต้องใส่ใจ"องค์ความรู้" ใหม่ๆ "นวัตกรรม" ที่แม่นยำ ที่ไม่อยู่กับที่ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่มีผลร้ายต่อสุขภาพให้ได้มากที่สุด "สุขภาพล้ม คนล้ม" แล้วเราจะหารายได้ไปเพื่ออะไรกัน " พืชไม่ล้ม สุขภาพไม่ล้ม คนไม่ล้ม" ชีวิตก็ยืนยาว นี่คือ.. สิ่งที่พึงปรารถนาของมนุษย์เราทุกคน..ไม่ใช่หรือ
                                                                                                          ด้วยความปรารถนาดีจาก
                                                                                                        ภัคภณ (ธณกรภ์)    ศรีคล้าย
                                                                                              บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย)  จำกัด










www.organellelife.com
www.organellelife-vdo.com
www.facebook.com/organellelife.org
www.twitter.com/organellelife
www.organellelife.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น