วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

1 ใน 3 กระบวนการสำคัญของการปลูกมันสำปะหลัง

1 ใน 3 กระบวนการสำคัญของการปลูกมันสำปะหลัง นั่นคือ..
กระบวนการ "TUBERIZATION" (กระบวนการลงหัว)
"รากทุกราก ต้องเป็นหัว" อย่า..มัวหลงทาง "ถึงเวลาต้องลงหัว ก็ต้องลงหัว"
อย่า..!! มัวบ้าต้น บ้าใบ จนไม่มีหัว เราต้องการหัว ไม่ใช่ปลูกเพื่อต้องการราก
หมายเหตุ: หัวใจหลักในการปลูกมันสำปะหลัง..เน้น " 1 พื้นฐาน 3 กระบวนการ "
"1 พื้นฐาน" คือ ดิน ดินที่มีชีวิต(ไม่ใช่ดินตาย) ดินที่มีอินทรียวัตถุมากเพียงพอ ดินที่มีโครงสร้างที่ดี โปร่งร่วนซุย ดินที่มีจุลินทรีย์ปลดปล่อยธาตุอาหาร ดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่เหมาะสม ฯลฯ
"3 กระบวนการ"ที่สำคัญในพืชมันสำปะหลัง คือ
(1) Root Cell Revitalization"สั่งราก" "รากคือหัว หัวคือราก"
(2) Tuberization "สั่งลงหัว" "หัวดก หัวมาก" รากทุกราก ต้องเป็นหัว
(3) Starch Biosynthesis "สั่งลงแป้งและโปรตีน" "หัวใหญ่ หัวหนัก น้ำหนักดี มีเปอร์เซนต์แป้งสูง
หัวใจรองลงมาคือ (1) พันธุ์ พันธุ์เปรียบเสมือน"คน"จะเป็นคนฝรั่ง คนจีน คนญี่ปุ่น คนไทยหรือคนลาว ก็สามารถสืบพันธุ์และให้ลูกหลานเหลนได้หมด จะตัวโตใหญ่ หรือเตี้ยแคระ จะฉลาดหรือโง่ จะสมองดีหรือขี้เลื่อย จะขี้โรคหรือไม่ขี้โรค หลักๆก็อยู่ที่การเลี้ยงดู(ฝรั่งแคระก็มีเยอะ ญี่ปุ่นโตอย่างยักษ์ก็มีแยะ ฝรั่งขี้โรคก็มีมาก ลาวฉลาดก็มีไม่น้อย) พันธุ์มีความสำคัญแต่ไม่ใช่เป็นตัวตัดสินผลผลิตที่ดีเพียงประการเดียว บางครั้งพันธุ์เลยถูกสวมรอยกลายเป็นเครื่องมือทางการค้าไปบางส่วนก็มี บางทีก็มีผู้มาโฆษณาเกินความจริงไปก็มี บางทีไปดูถึงที่เห็นแปลงสาธิตแล้วตัดสินใจแพงเท่าไรก็ซื้อมา แต่ทำไม?ไม่เห็นเหมือนกับตาที่ได้ไปดูมา เขาได้ 20 ตัน ทำไมเราได้ 7-8 ตัน มันคืออะไร
(2) ปุ๋ย ปุ๋ยก็คือปุ๋ย เป็นอาหารของพืช ไม่มีสารระเบิดดิน ไม่มีสารระเบิดหัว เพื่อให้หัวดก หัวมากได้ ไม่ว่าจะราคาไหน ถูกหรือแพงก็ตามที ที่มีวางขาย
(3) ระบบน้ำ มีส่วนช่วยให้มันสำปะหลังมีผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่าเก่าได้ จากที่เคยได้ผลผลิต 3-4 ตันต่อไร่ อาจจะกลายเป็น 6-7 ตันต่อไร่ แต่คงไม่ใช่กลายเป็น 20-30 ตันต่อไร่อย่างแน่นอน เพราะมันต้องมีกระบวนการทำงานของพืชเป็นหลัก
(กำลังทำเอกสารเชิงวิชาการและอ้างอิงภาคปฏิบัติและประสบการณ์ภาคสนาม ไว้ให้คนที่สนใจ ใครสนใจติดต่อมาได้นะครับ ใครไม่สนใจก็ไม่เป็นไรเพราะอาจจะต่างตำราเราไม่ว่ากัน บางครั้งใครจะหาว่าเราขายสินค้าด้วยก็ไม่ว่ากัน เพราะมั่นใจว่าเราไม่ได้งกอยากขายสินค้าแต่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อยเราก็เอาวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาบางอย่างทางการเกษตรเข้าแลก ยกตัวอย่าง..อย่างเช่นเวลาเราไม่สบายไปหาหมอและขอคำปรึกษาที่คลีนิก หมอเองตรวจรักษาแล้วก็ยังจ่ายยา ทำไมไม่หาว่าหมอขายยา ถ้าหมอให้คำปรึกษาและไม่จ่ายยาให้ไปหาซื้อยาเองที่ร้านขายยา อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า"พ่อพระ"เต็มตัวเพราะเสียสละ แต่หมอเองก็มีภาระส่วนตัวและหมอก็เรียนมาค่าใช้จ่ายสูง ที่สำคัญเราเองก็เต็มใจจ่าย ขออย่างเดียวให้หมอวินิจฉัยแม่นและจ่ายยาแม่นก็พอ ท่านว่าจริงไหม)
www.organellelife.com
www.organellelife-vdo.com
www.facebook.com/organellelife.org
www.twitter.com/organellelife
www.organellelife.blogspot.com
Line ID:organellelife
ภาคผนวก: กระบวนการ "TUBERIZATION" กับกลไก การลงหัว"
เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลัง เมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน อีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth)เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน
การลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้นและสุดยอดขึ้น ดังนั้นการใช้ "ซูการ์-ไฮเวย์"(ZUKAR-Highway) ร่วม ด้วยจึงมีความจำเป็น นี่คือ..คำตอบ ในการพัฒนาผลผลิตมันสำปะหลังในยุคใหม่แห่งโลกอนาคตทางการเกษตร
ช่วงอายุประมาณ 60-90 วันจะเป็นช่วงอายุ(Growth Stage) ของมันสำปะหลังที่จะเปลี่ยนการเจริญเติบโตมาเป็นการ"ลงหัว"เพื่อสะสมอาหารที่หัว มันจะมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนตัวหนึ่งขึ้นมาควบคุมกระบวนการลงหัว(TUBERIZATION) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มันสำปะหลังสังเคราะห์ขึ้นได้เองตามธรรมชาติซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ของปริมาณแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ถ้าความสัมพันธ์ของแสงและอุณหภูมิ ไม่สัมพันธ์กัน มากไปหรือน้อยไป มันก็ไม่เพียงพอต่อการสร้างฮอร์โมนตัวนี้ การลงหัวก็จะสะดุดและลงหัวได้ไม่ค่อยดี หรือไม่มีการลงหัว มัวแต่หลงทาง และงามแต่ต้นงามแต่ใบ ไม่มีหัวหรือมีหัวจำนวนน้อย ถ้าฮอร์โมนตัวนี้เพียงพอการลงหัวก็จะดี ทุกอย่างเป็นกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry) ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ ถึงกลไกต่างๆ ถ้าเราเลียนแบบธรรมชาติโดยการสร้างสารบางอย่างหรือฮอร์โมนบางอย่างที่มันพร่องหรือมันขาดแคลนและนำสารหรือฮอร์โมนนั้นๆมาทดแทนในส่วนที่ขาดแคลนนี้ให้แก่พืชได้ พืชย่อมดีใจและสามารถทำหน้าที่ในกระบวนการต่างๆต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ (ในภาพ: มันอายุ 5 เดือน ทำหน้าที่"ลงหัว" เกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะรากเล็ก รากน้อย เปลี่ยนเป็นหัวเกือบหมด รอก็แต่ขยายหัวและ"ลงแป้ง"เท่านั้น)
ต่อไป..เมื่อปลูกมันสำปะหลัง คราใด ให้มั่นใจในกระบวนการ "Tuberization" ด้วย "แอคซอน" และ "ซูการ์-ไฮเวย์" "หัวดก หัวใหญ่ น้ำหนักดี มีเปอร์เซนต์แป้งสูง ให้มั่นใจ.. "ออร์กาเนลไลฟ์” : เราดูแลทุกระบบการทำงานภายในของพืชอย่างรู้จริง
“Photoperiod”
ในธรรมชาติ  “Photoperiod”: หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืชตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์ “Jasmonic acid” (JA) ที่ใบและหลังจากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก (Root) จนทำให้เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวนมาก
การลงหัว” : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ ที่เซลล์เนื้อเยื้อเจริญ (Subapical meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากและปลายยอดของพืช หลังจากได้รับ Jasmonic acid (JA) ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเซลล์ดังนี้
1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์) : เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน
2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์) : เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุดแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็น หัว
3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพและหน้าที่) : ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำหน้าที่ให้เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพเพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัว อย่างมีประสิทธิภาพ,สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูกสะสมได้มากขึ้นที่หัว การสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้ปริมาณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อได้รับ “AXZON” (Jasmonic acid , Glutamic acid and Organic acid compound) จะช่วยให้เซลล์บริเวณ Storage Root มีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทำให้พร้อมสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น อีกทั้งการเคลื่อนย้ายโปรตีนและแป้งทำให้ง่ายขึ้น หัวเลยใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น