ในเพจ #ยาสูบเงินล้าน
ถึงการปลูกและดูแลยาสูบ
ทั้งพันธุ์เวอร์จิเนียและเบอร์เล่ย์
วันนีเลยนำ "โปรแกรมและขั้นตอนการปฏิบัติ"
ในการปลูกและดูแลยาสูบเวอร์จิเนีย
(Flue-Cured Tobacco)
ยุค 4.0 (4 สูง 4 ต่ำ)
เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นก่อนนะครับ
เริ่มต้น (Start Up)
การเพาะกล้ายาสูบ
ให้นำ "วัสดุเพาะกล้า" (มีเดีย พีทมอส) บรรจุลงในถาดเพาะ
• แล้วหยอดเมล็ด
• เมื่อเมล็ดงอกแล้วประมาณ 10 วัน ให้แยกกล้าไปใส่ในถาดเพาะที่วางไว้ในแปลงกะบะซีเมนต์ที่บรรจุน้ำไว้แล้ว ดูแลรักษาโดยการป้องกันโรคและตะไคร่น้ำตามโปรแกรมปฏิบัติที่กำหนดไว้
• ด้วย “อีเรเซอร์-1” ใส่ไปในกะบะที่ใส่ถาดเพาะที่มีน้ำก่อนย้ายกล้ามาชำ 1-3 วัน อัตรา 10 ซี.ซี./น้ำ 1 บัว รดบนถาดกล้า และฉีดพ่นป้องกันโรคเน่าคอกล้า (Damping off) ด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส”
• ก่อนตัดใบให้ฉีดพ่นด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส” และหลังตัดใบเสร็จให้ฉีดพ่นด้วย “อีเรเซอร์-1” เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะทำให้กล้าโคนเน่า ,กล้ายอดเน่า
• ให้ปุ๋ย “โฟทอนิค” ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ไม่มีเกลือฟอสเฟต ที่ทำอันตรายกับกล้ายาสูบ สูตร 20-5-30 หรือสูตรใกล้เคียงในอัตรา 90-100 กรัม/น้ำ 1 ถังมะตอย ( 1 แปลงใช้ 2 ถังมะตอย ) ก่อนให้ปุ๋ยให้เอาน้ำออกจน "วัสดุเพาะกล้า" (Media) แห้ง ใส่ช่วงกล้าอายุ 20 วัน ( ก่อน Clipping ใบ 5 วัน )
การเตรียมพื้นที่ปลูก
• ไถขึ้นแปลง , จัดระยะปลูก
• ระหว่างแถว 120 ซม. ระหว่างต้น 60 ซม.
หมายเหตุ : แนะนำให้ขึ้นแปลงเดี่ยว ปรับสภาพดินด้วย “ซอยล์แอสท์” อัตราไร่ละ 50 กก. หว่านหลังไถ หรือขึ้นแปลงเสร็จและใช้ “ซอยล์ไลฟ์” อัตรา 500 กรัมต่อไร่ โดยหลังปลูกผสมน้ำรด อัตราผสม 150 กรัม/น้ำ 1 ถังมะตอย ( 200 ลิตร ) รดต้นละ 1 กระป๋องนม หลังปลูกไม่เกิน 3 วัน
ปลูกเสร็จ
• ฉีดพ่นด้วย “ซาร์คอน” อัตรา 20 ซี.ซี./ น้ำ 20 ลิตร เพื่อสร้าง “เกราะป้องกัน” อันแข็งแกร่งเพื่อป้องกันแมลงหรือเพลี้ยเจาะเข้าทำลายยากและสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืชต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส
• ฉีดพ่นด้วย “ซิกน่า” อัตรา 10 ซี.ซี./ น้ำ 20 ลิตร เพื่อขับไล่แมลงพาหะนำเชื้อไวรัสและแมลงต่างๆและสร้าง “วัคซีน” ป้องกันโรคต่างๆและป้องกันการรบกวนของแมลงหวี่ขาว และ
• กระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ด้วยการฉีดพ่นด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส”อัตรา 20 ซี.ซี. / น้ำ 20 ลิตร เพื่อคุ้มครองปกป้องและกำจัดโรคต่าง ๆ ที่หลบอยู่ภายในพืช และสร้างความเสียหายให้กับต้นยาสูบ เช่น โรคใบหด ,ใบด่าง , โรคใบจุดสีน้ำตาล ,โรคใบด่างวงแหวน ,โรคแข้งดำ ,โรครากเน่า , โรคเหี่ยวเฉาต่างๆ ควรฉีดพ่นทุก ๆ 10 วัน ประมาณ 3 ครั้ง
7 วันหลังปลูก
• ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 8-12-24 + 4MgO อัตรา 25 กก./ ไร่ ผสมด้วย ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 25 กก./ ไร่
• ฉีดพ่นด้วย “ไบโอเจ็ท” 10 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่มเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต กระตุ้นการแตกราก , แตกยอด , แตกใบอ่อน , ต้นใหญ่ ,ใบใหญ่ ควรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ประมาณ 3 ครั้ง เพื่อความสมบูรณ์ของต้นยาสูบ
25 วันหลังการปลูก
•ใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 8-12-24 + 4 MgO +0.05B อัตรา 75 กก. / ไร่
• เสริมปุ๋ยเร่ง สูตร 15-0-0 อัตรา 25 กก. / ไร่
• เพิ่มคุณภาพและผลผลิตให้สูงถึง 4,500 - 5,000 กก./ไร่ ให้ฝังหรือหว่านอาหารเสริม “ลาเซน่า” ( Lacena ) อัตราไร่ละ 25 กก. เพื่อเพิ่มคุณภาพใบยา, เพิ่มการสุกแก่ใบยา, เพิ่มสีส้มใบยาแห้ง, เพิ่มผลผลิตใบยาหนามีน้ำหนัก, เพิ่มการสะสมแป้งและน้ำตาล, ใบยาบ่มมีกลิ่นหอม, ทำให้ใบยาสุกแก่สมบูรณ์ ตามกำหนด ใบยาไม่เป็นฝ้า, ไม่กระด้าง, เนื้อใบยาหนา นุ่ม มีความยืดหยุ่นสูง นำไปบ่มดี, เรโซ (Ratio) แคบ
45 วันหลังปลูก
• ฉีดพ่นด้วย “PATHWAY POWER-5” 20 ซี.ซี./ น้ำ 20 ลิตร เพื่อกระตุ้นให้ต้นยาสูบสร้างนิโคตินและสารสำคัญได้ดี ตลอดจนได้รับธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการสำหรับการเจริญเติบโต ทุก 7 – 10 วัน 2 – 3 ครั้ง ช่วงยาสูบอายุ 45 วันจนถึง 60 วัน
• ฉีดพ่น “ซูก้าร์ – ไฮเวย์” อัตรา 20 ซี.ซี. / น้ำ 20 ลิตร เพื่อสร้างคุณภาพเนื้อใบยาให้หนา เรโชแคบ
• ฉีดพ่น “อีเรเซอร์-1” เพื่อป้องกัน & กำจัดโรคราสีน้ำเงิน (ราน้ำค้าง) โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคไวรัสต่าง ๆที่ทำความเสียหายที่รวดเร็วและรุนแรง
60 วันหลังปลูก
• ควรตอนยอดทันที เมื่อยาสูบส่งคอดอกหรือหลังจากที่เก็บยาตีน
• เด็ดยอด พร้อมใบที่สั้นกว่า 1 คืบทิ้ง
• กำจัดหน่อและแขนงทิ้งให้หมด
• รดด้วยยาคุมหน่อ EKK#99 อัตราต้นละ 10 ซี.ซี. ที่ยอดยาสูบ (อัตราผสม 20 ซี.ซี. / 1 ลิตร)
ยาสูบ Thailand 4.0
http://paccapon.blogspot.com/20%E2%80%A6/%E2%80%A6/thailand-tobacco-40.html%E2%80%A6
แมลงหวี่ขาว
http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post_48.html?m=0
ทำไม..แมลงจึงระบาด
http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
คู่..หยุดโรค
http://paccapon.blogspot.com/2017/04/blog-post.html?m=0
"ความต่าง"
"สินค้า" ต้อง..ต่าง
ถึง..จะมีที่ยืน
ถ้า..ไม่ต่าง ไม่มี..ที่ยืน
"สินค้า" ต้อง..ต่าง
ถึง..จะมีที่ยืน
ถ้า..ไม่ต่าง ไม่มี..ที่ยืน