ชีวิต.."แมลงหวี่ขาว"..เปลี่ยน
ผม..เปลี่ยนความคิด ในเรื่องนี้มา 15 ปี
โชคดี..ที่เปลี่ยนก่อน
กับยาสูบ 1,000 กว่าไร่ ในตอนนั้น
"แมลงหวี่ขาว" (Whitefly)
(Bemesia tabaci)
นำเชื้อ Tobacco Leaf Curl Virus (TLCV)
"เจ้าวายร้าย" ที่เป็นหนึ่งใน "มหันตภัยเงียบ"
ที่คอยทำลายพืชให้เสียหาย มากมายหลายชนิด
ใช้วิธีการเก่าๆ เราไม่อาจเอาชนะมันได้
เอาสารเคมีชนิดที่รุนแรง ชนิดแพงๆ มาไล่ฆ่ามันอย่างไร ก็ไม่มีวันชนะมันได้ ยิ่งฆ่ามันยิ่งดื้อยา ชีวิตก็อันตรายมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
ลองเปลี่ยนมาเป็น "แนวทางใหม่ๆ" กันดูบ้างไหม?
เผื่อมันจะ "ใช่" และ.."เอาอยู่"
ลองดู !!! กัน
- คิดแบบเดิม
- ทำแบบเดิม
- เชื่อแบบเดิม
- ใช้แบบเดิม
ผลลัพธ์ก็ได้แบบเดิมๆ
ซิกน่า(ZIGNA) หนึ่งในสินค้านวัตกรรมใหม่ทางการเกษตรของโลก ด้วยกลไกลการทำงานในกระบวนการชีวเคมี (Biochemistry) ของพืช ซึ่งใช้กลไกในการป้องกันตนเองของพืช (Plant Defense Response) มีลักษณะหลายๆอย่าง เช่น
1.การป้องกันทางกายภาพ (Physical barriers)
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชสภาพปกติ) :
Leafhairs,waxy,cuticles,actinmicrofilament, etc.
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น) : Cell wall strengthening, lignification, cell death, etc.
- Preformed (มีอยู่แล้วในพืชสภาพปกติ) :
ได้แก่ สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคต่างๆ เช่น alkaloids, saponins, สารterpenoid ในน้ำยาง ฯลฯ เป็นต้น
- Induced (สร้างเมื่อถูกกระตุ้น) :
2.1. Local resistance เช่น phytoalexins, No, ROI, ect.
2.2. Systemic resistance (signaling defenses) เช่น SAR, ISR, SWR
Cell Signaling in Resistance (การส่งสัญญาณเซลล์เพื่อป้องกันตนเอง)
1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitor) ให้เกิดสัญญาณ ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธุ์เชื้อโรค ปล่อยสารชักนำไปยังพืชที่มีตัวรับ (Receptor) ที่เข้ากันได้ ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์พืช ทำให้สามารถรับรู้สารชักนำนั้นๆ และเกิดสัญญาณขึ้นได้
2. การรับรู้ที่เกิดขึ้นทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (Messengers) ไปยังเซลล์อื่นๆ ทั่วทั้งต้นที่ยังไม่ถูกบุกรุก สารส่งสัญญาณที่สำคัญได้แก่ Salicylic acid (SA), Jasmonic acid (JA) และอื่นๆ
3. การรับรู้ที่เกิดขึ้นยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองของเซลล์ต่อการบุกรุก
4. การรับรู้ที่เกิดขึ้นส่งสัญญาณให้ Defense genes สร้างสารต่อต้านการบุกรุกต่างๆ
ข้อสังเกต : Nonhost plant และ Host plant ที่ต้านทานโรค จะมีผนังเซลล์ที่สามารถรับรู้การบุกรุกจากสารชักนำของเชื้อโรค ชนิดหนึ่งๆได้ ขณะที่พืชที่ไม่ต้านทานโรคไม่สามารถรับรู้สารชักนำของเชื้อโรคนั้นๆได้
Plant Systemic Defenses
ลักษณะการเกิดภูมิต้านทานไปทั่วต้น (Systemic Resistance) ภายในพืชโดยการส่งสัญญาณที่สำคัญแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1. Systemic Acquired Resistance (SAR) กระตุ้นโดยเชื้อโรคเข้าทำลาย (Pathogen attack) ส่งสัญญาณทาง SA-signaling pathway
2. Induced Systemic Resistance (ISR) กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPR) ส่งสัญญาณทั้ง JA-signaling pathway และ SA-signaling pathway
3. Systemic Wound Response (SWR) กระตุ้นโดย Herbivores และ แมลงเข้าทำลายส่งสัญญาณทาง JA-signaling pathway และ SA-Signaling Pathway
SA-Signaling Pathway
- avr-gene (Elicitor) จากเชื้อโรคเมื่อจับกับ R-gene (Receptor) ของพืช จะเกิด Hypersentitive Response (HR) ทำให้เกิดการตอบสนองในเซลล์ และสังเคราะห์ Salicylic acid (SA) เป็นการส่ง สัญญาณระหว่างเซลล์ไปทั่วต้น และกระตุ้นให้ PR-genes สร้าง PR-proteins มาต่อต้านเชื้อโรค
-PR-proteins ที่เกิดขึ้นมีหลายตัว มีกลไกลต่อต้านเชื้อโรคแตกต่างกันไป ทำให้สามารถต่อต้านเชื้อโรคได้หลายตัวพร้อมๆกัน (Broad spectrum) และออกฤทธิ์ดีกับ Biotrophic และ Hemi-biotrophic pathogens ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
-PR-proteins จาก SAR เป็น acidic PR-proteins และอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ (intercellular space)
-แบคทีเรียบางชนิดบริเวณราก (PGPR) สามารถทำให้เกิด SA-Signaling Pathway ในระบบ ISR
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า...
ทำไม? เราจึงต้องใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA)
และทำไม? เมื่อใช้ "ซิกน่า" (ZIGNA) ไปเรื่อยๆแล้ว ปัญหาเรื่องแมลงจะค่อยๆลดน้อยถอยลงไป ไม่สร้างปัญหาอย่างมากมายให้กับเราในระยะยาว ถ้าขืนใช้แต่สารเคมี ปัญหามีแต่จะยิ่งแย่ไปเรื่อยๆ
เพราะ..คุณจะไม่มีวันรบชนะแมลงต่างๆได้เลย ด้วยวิธีการแบบเดิมๆ เพื่อเข่นฆ่ามัน ด้วยสารเคมี ในสภาวะที่ดินฟ้าอากาศของ "โลกวิกฤติ" หรือ "โลกเปลี่ยน" ไปแบบนี้ เพราะเรารู้ดีว่า..สาเหตุใหญ่คือ.."สภาวะโลกร้อน" นั่นเอง
สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
ทำไม? แมลงจึงระบาด
http://paccapon.blogspot.com/2017/03/blog-post_28.html?m=0
"อีเรเซอร์-1" กำลังกลายเป็นความหวังใหม่
ในการต่อสู้กับปัญหาโรคต่างๆของพืช ในปัจจุบันโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่ให้ทำความเสียหายให้แก่พืชหลายๆชนิด เพื่อให้ผ่านพ้นอุปสรรคและความเสียหายทางด้านผลผลิตไปได้ด้วยดี
"อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) : สารเสริมประสิทธิภาพชนิดพิเศษ เพื่อการกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคพืชทุกชนิด ( ทั้งไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา) ที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง "อีเรเซอร์-1" มีสารประกอบอินทรีย์ในรูปเกลือแอมโนเนียม ( NH4+ ) หรือ Ammonium Salt of Organic Compounds ซึ่งจะมีประจุบวก(+) อย่างแรงวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายจนตายได้ในทันที
(กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่
1. ผนังเซลล์ชั้นนอก(outer membrane )
2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane)
การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก(outer membrane) ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป
การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน(cytoplasmic membrane)
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-) โดยทันที) อีกทั้ง "อีเรเซอร์-1" ยังมีส่วนผสมของสารเสริมประสิทธิภาพทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วนต่างๆของพืชได้ดี "อีเรเซอร์-1" ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วภายหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
รวมทั้งใน "อีเรเซอร์-1" ยังมีสารในกลุ่มของ Monohydroxybenzoic acid ในรูปที่ Active ซึ่งเป็นเสมือน "วัคซีน" ที่ให้แก่พืช เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคพืช (Systemic Acquired Resistance : SAR) ให้แก่พืชด้วยดี ที่รวมทั้งมีธาตุสำคัญๆ อาทิแคลเซียมและโบรอนไว้ ตลอดจนมีสารเสริมประสิทธิภาพพิเศษอื่นๆไว้ด้วย ซึ่ง Active Monohydroxybenzoic acid (แอคทีฟ โมโนไฮดร๊อกซี่เบนโซอิค แอซิด) ตัวนี้มีความสำคัญมาก เพราะสารตัวนี้เป็นการเลียนแบบสารตามธรรมชาติ โดยที่ธรรมชาติกำหนดว่าต้องมีการสังเคราะห์สารตัวนี้ออกมาเมื่อมีเชื้อโรคเข้ามารุกทำลายพืช แต่เราใช้ Monohydroxybenzoic acid ในรูปของการเลียนแบบธรรมชาติของพืชที่สังเคราะห์เองได้
การทำงานของ #อีเรเซอร์วัน" (ERASER-1) คือพร้อมให้มีการกระตุ้น (Active) ให้ทำงานทันที เพราะฉะนั้นเวลาที่เรานำ Monohydroxybenzoic acid ในรูปที่ถูกต้องและนำมาใช้ในปริมาณ (Percentages) ที่เหมาะสม ด้วยเทคนิคที่ถูกต้องแล้วพืชก็จะถูกสังเคราะห์ PR-Proteins ออกมาได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสด้วย มันเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ก่อนที่จะมีเชื้อไวรัสเข้ามาและเป็น Monohydroxybenzoic acid ที่ไม่มีอันตรายต่อพืช เพราะในความจริงในธรรมชาติของพืชก็จะสร้างกรดตัวนี้ขึ้นมาเองอยู่แล้ว
แล้วจะนำ "อีเรเซอร์-1" มาใช้กับปัญหาไวรัสของพืชกันได้อย่างไร?
ในประเด็นนี้มีการแยกไว้ 2 กรณี นั่นคือ :
กรณีที่ (1) คือการใช้ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) เพื่อป้องกันโรคไวรัสใบด่าง ใบหงิกใน แตงกวา ยาสูบ มะเขือเทศ พริก เมล่อน มะละกอ ซึ่งเป็นกรณีที่อยากจะแนะนำมาก แต่เกษตรกรชาวสวนไม่นิยมใช้กันและมักปล่อยให้เป็นโรคก่อนจึงค่อยมารักษา ดังนั้นจึงอยากให้ใช้วิธีนี้ เพราะเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดและเป็นวิธีที่ถูกต้องของการใช้วัคซีนพืช โดยมีอัตราหรือสัดส่วนการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่เป็นอัตรามาตรฐานของชาวสวน โดยมีเทคนิคการใช้คือให้ฉีดพ่นป้องกันทางใบให้ชุ่มทุก 7-10 วัน ให้เริ่มฉีดตั้งแต่เป็นต้นกล้าเล็กๆ ก่อน และนั่นเป็นการให้วัคซีนเสมือนในช่วงเด็กๆ เหตุผลที่ต้องฉีดตลอดเพราะ PR-Protiens ที่พืชสร้างขึ้นมีอายุการใช้งานและมีการหมดอายุลงในช่วงระยะหนึ่งๆ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฉีดกระตุ้นอยู่อย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เซลล์พืชมีการสร้าง PR-Protein ออกมาอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดช่วง
กรณีที่(2) คือการใช้ "อีเรเซอร์-1" เพื่อการแก้ไขปัญหา ถ้าเป็นโรคแล้วจะหาทางแก้ไขได้อย่างไร? ความจริงก็ไม่ค่อยอยากแนะนำวิธีนี้ซักเท่าไร เพราะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุและค่อนข้างยาก โอกาสเกิดความล้มเหลวก็อาจจะมีมาก แต่อาจพอจะมีความหวังได้บ้าง ด้วยการให้ "อีเรเซอร์-1 " (ERASER-1) ในอัตรามาตรฐานข้างต้น แต่จะมีความแตกต่างบางอย่างในเรื่องการให้ เพราะพืชติดโรคแล้ว จึงต้องย่นระยะเวลาการให้โดยให้มีความถี่มากขึ้น คือให้ 3-5 วันต่อครั้งเป็นเวลาอย่างต่ำ 3 ครั้ง ในระยะเริ่มต้น หลังจากนั้นจะเริ่มทิ้งระยะห่างออกไปเป็นเวลา 7-10 วันต่อครั้ง แล้วพืชก็จะค่อยๆเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเกษตรกรจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้คือ จะมียอดอ่อนและใบอ่อนแตกออกมาใหม่และจะไม่มีไวรัสมารบกวนอีก ซึ่งเป็นยอดใหม่และใบใหม่ที่มีความสมบูรณ์ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามขอย้ำอีกครั้งว่าไม่ค่อยอยากแนะนำวิธีนี้ เพราะพืชเคยผ่านการติดโรคมาแล้ว กว่าจะฟื้นตัวได้ก็ต้องใช้เวลาในการปรับสภาพภายในของพืชเองระยะหนึ่งเพื่อให้ดีขึ้น แต่การปล่อยให้พืชที่เคยติดโรคกลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้งต้องอาศัย "ตัวช่วย" หลายๆอย่าง เพราะลำพังการจะให้พืชสร้างระบบภายในเองตามลำพังคงต้องใช้เวลานานมาก ถึงกระนั้นการที่จะให้ได้ผลคงต้องมีการเสริม Proteins ให้มากขึ้นยิ่งดี เพราะการเสริมโปรตีนเข้าไปจะทำให้พืชที่ติดเชื้อไวรัสฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สุดท้าย..อยากจะย้ำอีกครั้งว่าอยากให้ใช้ในแบบของการ "ป้องกัน" มากกว่า "เยียวยา" เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า การที่รอให้เป็นโรคแล้วค่อยไปรักษาอาจเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า เพราะการฉีดในช่วง 10-15 วันต่อครั้ง จะมีความประหยัดกว่าการที่พืชกำลังจะให้ผลผลิตและเกิดเป็นโรคขึ้นมา จนทำให้ผลผลิตที่กำลังจะสร้างรายได้กลับเสียหายลงไป
และอยากฝากไว้กับการใช้สารเคมีมากๆอาจทำให้พืชอ่อนแอ และทำให้เกิดการติดโรคได้ง่ายขึ้น หนทางที่จะช่วยคือการให้ "วัคซีน" ในพืช และการใช้อย่างถูกหลักจะทำให้พืชมีภูมิต้านทานแม้ว่าหลังเก็บเกี่ยวแล้ว เพราะ PR-Protiens จะมีสะสมอยู่ทุกแห่งถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปแล้วเซลล์ยังคงทำงานอยู่ยังสามารถสร้างโปรตีนออกมาต้านทานได้
ศึกษาข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมที่ลิ้งค์
http://paccapon.blogspot.com/2015/08/1-4.html
(Cr ภาพ: ขอบคุณภาพจากคุณ กฤชนพัต บุญญฤทธิ์, คุณฐิติการ เทพเสน, คุณธิติวัฒน์ อิสระบุตรฐิติกุล)
========
☎️ โทร.084-8809595 , 084-3696633
📲Line id :@organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ http://line.me/ti/p/%40organellelife.com
☎️ โทร. 084-8809595 , 084-3696633
📲Line id :@organellelife.com (พิมพ์ @ด้วยนะครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ https://lin.ee/nTqrAvO