วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สินค้าเกษตร








(กลุ่มวัคซีนและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช)

อีเรเซอร์-วัน  (ERASER-1)


สำหรับไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา สาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช
นอกเหนือจาก “ฆ่าเชื้อแบบเฉียบพลัน” และ  “ป้องกันเชื้อแบบวัคซีน” 
(กระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรค (Systemic acquired resistance : SAR) แล้ว
"อีเรเซอร์-1" ยังทำหน้าที่เสริมที่หลากหลายให้พืช
1. ช่วยเพิ่มการสร้างเซลล์ที่เสื่อมสภาพให้เป็นเซลล์ใหม่(Revitalize)
2. ช่วยเพิ่มการออกดอก  การแตกราก และการแตกใบของพืช
3. ช่วยเพิ่มคลอโรฟิลด์ให้พืช
4. ช่วยเพิ่มความทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought Tolerance)
5. ช่วยเพิ่มระบบการหมุนเวียนน้ำในระบบท่อลำเอียง(Vascular Tube)
6. ช่วยลดกระบวนการหายใจของเซลล์ รักษาคุณภาพและยืดอายุผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ไม่ให้เน่าเสียเร็ว
7. ช่วยคงความแน่นของเนื้อผล การเปลี่ยนแปลงสี และปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ
8. ช่วยลดความเสียหายจากความเย็น (Cold Injury)
9. ช่วยการเปิด-ปิดของปากใบ การงอกของเมล็ด การดูดซับประจุ การแสดงออกของเพศ
10. ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์และกระบวนการทำงานของเอทธิลีนที่ทำให้ผลไม้สุกเร็ว ชะลอการสุกของผลไม้
11. ช่วยเพิ่มจำนวนฝักและผลผลิตของถั่วเขียว
12. ช่วยเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงและปริมาณของคลอโรฟิลด์
13. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์ฟลาโวนอยด์

Study after study, it has been shown that salicylic acid causes great things to happen to various species of plants. Such things as:
- Increased Roots
- Increased Foliage
- Increased Fruit
- Increased Flowers
- Increased Resistance to Pathogens
- Increased Chlorophyll
- Increased shoots, ability to root, and more...
- Increased Drought Tolerance
- Increased Water Circulation in Vascular Tube
- Increased Revitalize Cell

ตอบคำถาม ที่หลายคนสงสัยว่า..ทำไม "อีเรเซอร์-1" จึงมีความอัศจรรย์ ต่อการแก้ไขปัญหาไวรัสพืช
และ..ทำให้ "อีเรเซอร์-1" เป็นความหวังใหม่ในปัจจุบันของพืช ในการต่อสู้กับปัญหาไวรัสพืชให้ผ่านพ้นไปด้วยดี

"อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) : สารเสริมประสิทธิภาพชนิดพิเศษ เพื่อการกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคพืชทุกชนิด ( ทั้งไวรัส แบคทีเรียและเชื้อรา) ที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง รวมทั้งยังมีสาร Hydroxybenzoic acid ในรูป Active ซึ่งเป็นเสมือน "วัคซีน" ที่ให้แก่พืช เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคพืชให้แก่พืช ที่รวมแคลเซียมและโบรอน ตลอดจนสารเสริมประสิทธิภาพอื่นๆไว้ ซึ่ง Active Hydroxybenzoic acid ( แอคทีฟ ไฮดร๊อกซี่เบนโซอิค แอซิด) ตัวนี้มีความสำคัญมาก เพราะสารตัวนี้เป็นการเลียนแบบสารตามธรรมชาติ โดยที่ธรรมชาติกำหนดว่าต้องมีการสังเคราะห์สารตัวนี้ออกมาเมื่อมีเชื้อโรคเข้าทำลายพืช แต่เราใช้ Hydroxybenzoic acid ในรูปของการเลียนแบบธรรมชาติของพืช

การทำงานของ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) คือพร้อมให้มีการกระตุ้น(Active) ให้ทำงานทันที เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถนำ Hydroxybenzoic acid ในรูปที่ถูกต้องและนำมาใช้ในปริมาณ (Percentages) ที่เหมาะสมด้วยเทคนิคที่ถูกต้องแล้ว พืชก็จะสังเคราะห์ PR-Proteins ออกมา ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสด้วย มันเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ก่อนที่จะมีเชื้อไวรัสเข้ามาและเป็น Hydroxybenzoic acid ที่ไม่มีอันตรายต่อพืช เพราะในความจริงในธรรมชาติของพืชก็จะสร้างกรดตัวนี้ขึ้นมาอยู่แล้ว



แล้วจะนำ "อีเรเซอร์-1" มาใช้กับปัญหาไวรัสของพืชกันได้อย่างไร? ในประเด็นนี้มีการแยกไว้ 2 กรณี นั่นคือ

กรณีที่ (1) คือการใช้ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) เพื่อป้องกันโรคไวรัสใบด่าง ใบหงิกใน แตงกวา ยาสูบ มะเขือเทศ พริก เมล่อน ซึ่งเป็นกรณีที่อยากจะแนะนำมาก แต่เกษตรกรชาวสวนไม่นิยมใช้กันและมักปล่อยให้เป็นโรคก่อนจึงค่อยมารักษา ดังนั้นจึงอยากให้ใช้วิธีนี้เพราะเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดและเป็นวิธีของการใช้วัคซีนพืช โดยมีอัตราหรือสัดส่วนการใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่เป็นอัตรามาตรฐานของชาวสวน โดยมีเทคนิคการใช้คือให้ฉีดพ่นป้องกันทางใบให้ชุ่มทุก 7-10 วัน ให้เริ่มฉีดตั้งแต่เป็นต้นกล้าเล็กๆ ก่อน และนั่นเป็นการให้วัคซีนเสมือนในช่วงเด็กๆ เหตุผลที่ต้องฉีดตลอดเพราะ PR-Protiens ที่พืชสร้างขึ้นมีอายุการใช้งานและมีการหมดอายุลงในช่วงระยะหนึ่งๆ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฉีดกระตุ้นอยู่อย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เซลล์พืชมีการสร้าง PR-Protein ออกมาอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดช่วง

กรณีที่(2) คือการใช้ "อีเรเซอร์-1" เพื่อการแก้ไขปัญหา ถ้าเป็นโรคแล้วจะหาทางแก้ไขได้อย่างไร ความจริงไม่ค่อยอยากแนะนำวิธีนี้ซักเท่าไร เพราะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุและค่อนข้างยาก โอกาสเกิดความล้มเหลวก็อาจจะมีมาก แต่อาจพอมีความหวังได้บ้าง ด้วยการให้ "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) ในอัตรามาตรฐานข้างต้น แต่จะมีความแตกต่างบางอย่างในเรื่องการให้เพราะพืชติดโรคแล้ว จึงต้องย่นระยะเวลาการให้โดยให้มีความถี่มากขึ้น คือให้ 3-5 วันต่อครั้งเป็นเวลาอย่างต่ำ 3 ครั้ง ในระยะเริ่มต้น หลังจากนั้นจะเริ่มทิ้งระยะเป็นเวลา 7-10 วัน ต่อครั้ง แล้วพืชจะค่อยๆเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเกษตรกรจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้คือ จะมียอดอ่อนและใบอ่อนแตกออกมาใหม่และจะไม่มีไวรัสมารบกวนอีก ซึ่งเป็นยอดใหม่และใบใหม่ที่มีความสมบูรณ์ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามขอย้ำอีกครั้งว่าไม่ค่อยอยากแนะนำวิธีนี้ เพราะพืชเคยผ่านการติดโรคมาแล้ว กว่าจะฟื้นตัวได้ก็ต้องใช้เวลาในการปรับสภาพภายในของพืชเองระยะหนึ่งเพื่อให้ดีขึ้น แต่การปล่อยให้พืชที่เคยติดโรคกลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้งต้องอาศัย "ตัวช่วย" หลายอย่าง เพราะลำพังการจะให้พืชสร้างระบบภายในเองตาม

ลำพังคงต้องใช้เวลานานมาก ถึงกระนั้นการที่จะให้ได้ผลคงต้องมีการเสริม Proteins ให้มากขึ้นยิ่งดี เพราะการเสริมโปรตีนเข้าไปจะทำให้พืชที่ติดเชื้อไวรัสฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนพิเศษที่จะทำให้พืชที่ติดเชื้อไวรัสฟื้นตัวได้ดีขึ้นคือใน "อีเรเซอร์-1" (ERASER-1) มีสารที่จะช่วยกำจัดเชื้อโรคเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคที่อยู่ภายนอกและกำลังจะเข้าไปทำลายภายในของพืชที่ถือว่าเป็นอาการแทรกซ้อนได้ ซึ่งก็คือ อีเรเซอร์-1 มี "สารเสริมประสิทธิภาพ" ชนิดพิเศษที่ทำงานด้วยระบบประจุเพื่อช่วยเสริมการกำจัดเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี จึงทำให้การแก้ปัญหาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง



สุดท้ายนี้..จึงอยากกล่าวถึงบทสรุปและประโยชน์ของแนวทางการรักษาและป้องกันไวรัสพืช ด้วยวิธีการสร้างภูมิต้านทาน ( Systemic Acquired Resistance : SAR ) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผล ถูกต้องและยั่งยืน เพราะจะใช้ต่อเมื่อต้องการทำวัคซีนให้กับพืชเพื่อป้องกันโรคก่อนที่จะเกิดหรือก่อนเชื้อโรคจะเข้าทำลาย

และ..ที่บอกว่าวิธีนี้มีความยั่งยืนก็เพราะว่า หากเราย้อนกลับไปในสมัยก่อน มนุษย์เราเองก็ยังได้มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค และทำมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้อย่างยาวนาน ต่อมาทฤษฎีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคก็ถูกนำมาใช้ในสัตว์ต่างๆเพราะมีเหตุผลที่ต้องการให้สัตว์มีอายุที่ยั่งยืน แต่การฉีดวัคซีนไม่ได้หมายถึงจะไม่ตาย เพียงแต่ทำให้เกิดโรคน้อยลงและสิ่งมีชีวิตมีสุขภาพที่ดีขึ้นกัน

และเราเองก็มีความเชื่อว่า วิธีการนี้จะถูกนำมาใช้กับพืชเศรษฐกิจของเรา และยังเชื่ออีกว่าในอนาคตอีกไม่นานมันจะเป็นวิธีที่ยั่งยืนในพืชเศรษฐกิจต่างๆโดยเฉพาะพืชที่หายารักษายาก เช่น โรคไวรัสใบจุดวงแหวนมะละกอ(Papaya Ring Spot Virus :PRSV) โรคใบด่างแตง (Cucumber Mosaic Virus : CMV) โรคใบหดยาสูบ (Tobacco Leaf Curl Virus : TLCV) จะช่วยลดการระบาดและลดความรุนแรงของโรคเหล่านี้ลงได้ พร้อมทั้งยังช่วยฟื้นฟูพืชที่เป็นโรคให้กลับมาเจริญเติบโตได้ใหม่อีกด้วย ที่สำคัญยังสามารถช่วยลดการใช้สารเคมีที่อันตรายลงไปได้อย่างมาก ทั้งยังมีความปลอดภัย ต่อคน พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราบริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัดปรารถนาเป็นอย่างยิ่งมานานมากกว่า15 ปีแล้ว และได้รับความสนใจที่จะนำไปใช้เป็นทางเลือกในการแก้ไขโรคต่างๆในพืชเศรษฐกิจหลายชนิดอย่างพืชยาสูบ ตัวอย่างเช่น นำไปใช้ในผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจส่งเสริมการปลูกยาสูบรายใหญ่หลายพันไร่ในภาคเหนือบางรายติดต่อกันมานานมากกว่า 15 ปี ที่สามารถลดความเสียหายได้หลายสิบล้านบาทเลยทีเดียว

สุดท้าย..อยากจะย้ำอีกครั้งว่าอยากให้ใช้ในแบบของการ "ป้องกัน" มากกว่า "เยียวยา" เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า การที่รอให้เป็นโรคแล้วค่อยไปรักษาอาจเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า เพราะการฉีดในช่วง 10-15 วันต่อครั้ง จะมีความประหยัดกว่าการที่พืชกำลังจะให้ผลผลิตและเกิดเป็นโรคขึ้นมา จนทำให้ผลผลิตที่กำลังจะสร้างรายได้กลับเสียหายลงไป

และอยากฝากไว้กับการใช้สารเคมีมากๆอาจทำให้พืชอ่อนแอ และทำให้เกิดการติดโรคได้ง่ายขึ้น หนทางที่จะช่วยคือการให้ "วัคซีน" ในพืช และการใช้อย่างถูกหลักจะทำให้พืชมีภูมิต้านทานแม้ว่าหลังเก็บเกี่ยวแล้ว เพราะ PR-Protiens จะมีสะสมอยู่ทุกแห่งถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปแล้วเซลล์ยังคงทำงานอยู่ยังสามารถสร้างโปรตีนออกมาต้านทานได้

หมายเหตุ : (1) ถ้ามีการป้องกันแมลงพาหะ (Insect Vector) ด้วย" วัคซีนพืช 2 พลัง" ทั้ง "ซิกน่า" และ "ซาร์คอน" ด้วยการทำงาน 2 ประสานทั้ง "ขับไล่" และสร้าง"เกราะ" ป้องกัน แมลงพาหะเพื่อไม่ให้เข้ามาและนำเชื้อไวรัสสู่พืช (เพิ่มเติมจากการใช้แค่ "อีเรเซอร์-1") ให้แก่พืชตั้งแต่เริ่มต้นปลูกพืชเสร็จใหม่ๆ ตั้งแต่ก่อนที่พืชจะได้รับเชื้อไวรัส ก็จะเป็นแนวทางที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อไปการพิชิตปัญหาไวรัสในพืชเศรษฐกิจสำคัญ




ซาร์คอน  (SARCON)
วัคซีนพืช 2 พลัง
ทำงานได้ทั้งกระบวนการ Systemic Acquired Resistance : SAR
และกระบวนการ Physical Protection of Plant
ด้วยหน้าที่ของ *Monohydroxy benzoic acid (MHBA)  *Orthosilicic acid (OSA)

"ซาร์คอน" (SARCON) ยังทำหน้าที่เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต (Plant Growth Stimulating) และสร้างภูมิต้านทานโรคต่างๆ( Systemic Acquired resistance: SAR) เพื่อให้พืชเสมือนได้รับ "วัคซีน" ป้องกันโรคต่างๆ อีกทั้งยังช่วยในการสร้างผนังเซลล์(Cell Wall) ให้แข็งแกร่งดั่งคอนกรีตด้วย Silicon(ในรูป Orthosilicic acid) เพื่อเป็นเกราะป้องกันเพลี้ยและแมลงต่าง ๆ ไม่ให้เข้าทำลายพืชได้
ตลอดจนที่สำคัญในปัจจุบันกับปัญหาเรื่อง "ภาวะแล้ง" (Drought Stress).. เป็นภัยธรรมชาติที่เราไม่สามารถจะควบคุมได้ แต่..สิ่งหนึ่งที่เราพึงกระทำได้นั่นก็คือการสร้าง "ความทนทานต่อสภาพแล้ง" ( Drought Tolerance) ให้แก่พืชด้วยการใช้ "ตัวช่วย" บางอย่างที่สำคัญนั่นก็คือ การใช้กรดอินทรีย์บางตัวที่มีอยู่ใน "ซาร์คอน" 
(Hydroxybenzoic acid) ซึ่งได้ทำงานตามหน้าที่ของเขาก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่งเท่าที่มีที่เราจะสามารถช่วยพืชได้ในภาวะที่พืชขาดน้ำในช่วงระยะสำคัญของการเจริญเติบโต(Vegetative Growth Stage) "ตัวช่วย" นี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้กลไกในกระบวนการทำงานภายในของพืชเกิดการสะดุดหรือเสียหายลงไป 


หน้าที่ SARCON
1) ช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานเชื้อโรค (Systemic acquired resistance : SAR)
2) ช่วยเพิ่มการสร้างเซลล์ที่เสื่อมสภาพให้เป็นเซลล์ใหม่(Revitalize)
3) ช่วยเพิ่มการออกดอก การแตกราก และการแตกใบของพืช
4) ช่วยเพิ่มคลอโรฟิลด์ให้พืชช่วยเพิ่มความทนทานต่อสภาพแล้ง (Drought Tolerance)
5) ช่วยเพิ่มระบบการหมุนเวียนน้ำ(Water Circulation)ในระบบท่อลำเอียง (Vascular Tube)
6) ช่วยลดกระบวนการหายใจของเซลล์ รักษาคุณภาพและยืดอายุผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ไม่ให้เน่าเสียเร็ว
7) ช่วยคงความแน่นของเนื้อผล การเปลี่ยนแปลงสี และปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ
8) ช่วยลดความเสียหายจากความเย็น (Cold Injury)
9) ช่วยการเปิด-ปิดของปากใบ การงอกของเมล็ด การดูดซับประจุ การแสดงออกของเพศ
10) ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์และกระบวนการทำงานของเอทธิลีน ที่ทำให้ผลไม้สุกเร็ว ชะลอการสุกของผลไม้
11) ช่วยเพิ่มจำนวนฝักและผลผลิตของถั่วเขียว
12) ช่วยเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงและปริมาณของคลอโรฟิลด์
13) ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์ฟลาโวนอยด์
14) ช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัส ในดินให้พืชสามารถใช้งานได้
15) ช่วยเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงของพืช (Increased rates of photosynthesis)
16) ช่วยดูดซับพิษจากโลหะ เช่น อลูมิเนียม สนิมเหล็ก โซเดียม แมงกานีส (Decreasing toxicity: Al,Fe,Mn)
17) ช่วยให้พืชคายน้ำน้อยลง(แม้อุณหภูมิตอนกลางวันสูงถึง 38 องศาเซลเซียส) พืชจึงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น
18) ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ลำต้นไม่หักล้มง่าย(The strengthening of epidermal cells in leaves and stems)
19) ช่วยให้ผนังเซลล์แข็งแรงทำให้แมลงเจาะดูดน้ำเลี้ยงได้ยากลำบากขึ้น จึงทนทานต่อการถูกทำลายเสียหาย
20) ช่วยเพิ่มอัตราการงอกของยอดอ่อน เพิ่มความหนาแน่นของระบบราก
21) ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อสภาวะแห้งแล้ง (Enhances Drought Tolerance)
22) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าแทนที่ของอิออนบวกในดิน เพิ่มประสิทธิภาพของธาตุบำรุงพืช




ซิกน่า สารชักนำการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง 
วัคซีนพืช 2 พลัง
ทำงานได้ทั้งกระบวนการ Systemic Acquired Resistance : SAR
และกระบวนการ Induced Systemic Resistance : ISR
ด้วยหน้าที่ของ *Monohydroxy benzoic acid (MHBA)  * Jasmonic acid (JA)


คุณสมบัติ  “ซิกน่า” (ZIGNA) ใช้เป็นวัคซีนพืชโดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลงตามธรรมชาติและสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่วทั้งต้น โดย ซิกน่า เป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง


สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย ซิกน่า มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆ ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อโรคพืชหลายชนิด (board-spectrum) ขณะที่สารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้นหลายชนิดเช่น alkaloids, Proteinase Inhibitors, รวมทั้งสารระเหยต่างๆ เป็นต้น มีกลไกการป้องกันและกำจัดแมลงต่างกันไป ทำให้ออกฤทธิ์เสริมกันได้ดียิ่งขึ้น


Cell Signaling in Resistance   (การส่งสัญญาณเซลเพื่อป้องกันตนเอง)
1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitor) ให้เกิดสัญญาณ ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธุ์เชื้อโรค ปล่อยสารชักนำไปยังพืชที่มีตัวรับ (Receptor) ที่เข้ากันได้ ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์พืช ทำให้สามารถรับรู้สารชักนำนั้นๆ และเกิดสัญญาณขึ้นได้
2. การรับรู้ที่เกิดขึ้นทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (messengers) ไปยังเซลอื่นๆ ทั่วทั้งต้นที่ยังไม่ถูกบุกรุก สารส่งสัญญาณที่สำคัญได้แก่ Salicylic acid (SA), Jasmonic acid (JA) และอื่นๆ
3. การรับรู้ที่เกิดขึ้นยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองของเซลล์ต่อการบุกรุก
4. การรับรู้ที่เกิดขึ้นส่งสัญญาณให้ defense genes สร้างสารต่อต้านการบุกรุกต่างๆ
ข้อสังเกต : Nonhost plant และ Host plant  ที่ต้านทานโรค จะมีผนังเซลที่สามารถรับรู้การบุกรุกจากสารชักนำของเชื้อโรค ชนิดหนึ่งๆได้ ขณะที่พืชที่ไม่ต้านทานโรคไม่สามารถรับรู้สารชักนำของเชื้อโรคนั้นๆได้

SA-Signaling Pathway
SA -กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรค (PR-Protein ) และ PR-Protein เป็นชนิด acidic ซึ่งได้ผลดีกับเชื้อโรคชนิด Biotroph และ Hemi-biotroph ) มาป้องกันตนเองจากเชื้อโรคที่จะลุกลามต่อไปทั่วลำต้น ซึ่งเป็นการสั่งสัญญาณผ่าน SA

JA-Signaling Pathway
JA - เป็นการส่งสัญญาณผ่าน JA ทำให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) ของพืชสร้างสารหลายชนิดออกมาต้านทานโรค อาทิ Defensins, Thionins, PR-Proteins (ชนิด Basic ซึ่งได้ผลดีกับเชื้อโรคชนิด Necrotroph)
JA - เป็นการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้น
   •Alkaloids ต่างๆ อาทิ Saponin, nicotine ที่เป็นพิษต่อระบบประสาทและการทำงานของ Enzymes ในแมลง
   •Proteinase Inhibitor : ยับยั้งการทำงานของน้ำย่อยในแมลง ทำให้แมลงขาดสารอาหาร หรือหลั่งน้ำย่อยออกมามากจนเกินไป จนแมลงตาย
   •Volatine Signal : ส่งสารระเหยไล่แมลงศัตรูพืชโดยตรงหรือส่งสารระเหยล่อแมลงที่เป็นประโยชน์ (Predator) มากำจัดแมลงศัตรูพืชอีกทีหนึ่ง

ซิกน่า : ยังทำหน้าที่เสริมอื่นๆ ที่หลากหลายให้พืช
   •ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
   •สร้างความแข็งแกร่งและแข็งแรงให้พืช
   •ฟื้นฟูสภาพต้นพืชให้สมบูรณ์, ไม่โทรม
   •ช่วยเพิ่มผลผลิตให้พืช
   •ช่วยให้พืชมีการสร้างสารสำคัญต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ สร้างแป้ง, น้ำตาล, น้ำยาง,น้ำมัน เป็นต้น
   •ช่วยสร้างเซลล์ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง (Revitalize)
   •ช่วยเพิ่มระบบการไหลเวียนน้ำในท่อลำเลียง (Vascular Tube)
   •ช่วยเพิ่มความสามารถในการทนทานสภาพแล้ง (Drought Tolerance)
•ช่วยเพิ่มอัตราสารสังเคราะห์แสง (Increase Photosyntheis)







คาร์บ็อกซิล - พลัส เอ็กซ์ตร้า

คุณประโยชน์
เป็นสารอินทรีย์ดูดซึมพิเศษ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคพืช เป็นสารอาหารเสริมพืช ที่พืชใช้เป็นสารตั้งต้น ในขบวนการสังเคราะห์พลังสานและสารอาหารที่จำเป็น

ช่วยคุ้มครองพืชและลดการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก  เช่น เชื้อราไฟทอปเทอร่า โรคเหี่ยวเฉาพริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง, โรคเน่าและกะหล่ำ , โรคแข้งดำยาสูบ, โรคใบหงิกงอ ใบหด ยาสูบ , โรคโคนเน่ามะเขือต่าง ๆ  ฯลฯ

ช่วยลดการใช้สารกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  มีแคลเซียมอยู่ในรูปคีเลท (Calcium Chelate) ทำให้พืชได้รับแคลเซียมพอเพียง ทำให้พืชแข็งแรงและให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
เป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน พืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษตกค้างในพืชและผลผลิตใช้ได้กับพืชทุกชนิดทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ


องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า) 
กรดอินทรีย์ (Organic acid)  
- สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )
กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid)  
- กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุลกรดไขมัน (Fatty acic)  
- กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น


กลไกการออกฤทธิ์ของ คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า (Carboxyl-plus Extra)
ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตและกำจัดเชื้อโรคพืชโดยใช้คุณสมบัติของกรดคาร์บอกไซลิคและกรดไขมันหลายชนิดร่วมกัน กลไกการออกฤทธิ์ สรุปได้ดังนี้
กรดในคาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า แตกตัวตามค่า pKa ของกรดแต่ละชนิดทำให้ pH ของบริเวณผิวนอกของเชื้อโรคลดลง  ทำให้ผนังเซลล์เชื้อโรคเสียสมดุลย์  ผนังเซลล์ชั้นนอกถูกทำลาย และลดการทำงานของเอ็นไซม์ที่บริเวณผนังเซลล์ ทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
กรดในสภาพไม่แตกตัว(RCOOH) จะผ่านผนังเซลล์เชื้อโรคเข้าไป ช่วงแทรกผ่านผนังเซลล์เข้าไปทำให้บางส่วนเกิดรอยร้าวและรั่ว
กรดที่เข้าไปในเซลล์เชื้อโรคจะแตกตัวภายในเซลล์เชื้อโรค ทำให้ pH ในเชื้อโรคลดลง จึงทำให้คุณสมบัติของโปรตีนเปลี่ยน ทำให้โปรตีนสูญเสียคุณสมบัติการทำหน้าที่เป็นเอ็มไซม์ (Enzymes)ที่จำเป็นของเชื้อโรค เชื้อโรคต้องเร่งกำจัด H+ ออกจากเซลล์ตลอดเวลา ทำให้สูญเสียพลังงานมากจนตาย กรดแตกตัวประจุลบ (RCOO- ) ที่แตกตัวภายในเซลล์ของเชื้อโรคจะเป็นพิษต่อเชื้อโรคและจะไปรบกวน ขบวนการสังเคราะห์ DNA และโปรตีนทำให้เชื้อโรคตาย





(กลุ่มเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ)

ไบโอเจ็ท (Bio-Jet)


ไบโอเจ็ท ฮอร์โมนมหัศจรรย์ ขวัญใจพืช ขวัญใจเกษตรกร
พ่นเมื่อไหร่ ใหญ่เมื่อนั้น
พ่นเมื่อไหร่ ยาวใหญ่เมื่อนั้น
พ่นเมื่อไหร่ แตกยอด แตกใบ เมื่อนั้น
พ่นตอนเช้า ยาวตอนเย็น
"กระตุ้นแตกราก กระชากแตกใบ กระชากแตกยอด กระทุ้งตาดอก" ต้อง..ไบโอเจ็ท

BIO-JET : สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
ไบโอเจ็ท - ช่วยกระตุ้นให้พืชมีการแตกตาอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ตายอด ตาดอก ตาใบ
ไบโอเจ็ท - ช่วยเพิ่มประมาณแห้ง น้ำตาล ฮอร์โมนต่างๆ ทำให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลังจากเก็บเกี่ยว หรือ ฟื้นตัวเร็วหลังจากโดนน้ำแช่ขัง
ไบโอเจ็ท - ช่วยกระตุ้นให้พืชที่แคระแกรน เนื่องจากอากาศ ร้อนหรือหนาวเกินไป
และพืชที่แพ้สารเคมี ให้มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
ไบโอเจ็ท - สามารถใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด
ไบโอเจ็ท - พืชดูดซึมเข้าทางใบและรากได้ดี

ไบโอ-เจ็ท ประกอบด้วย
ฮอร์โมนต่างๆ - อ๊อกซิน (Auxin) , จิบเบลเรลริน (Gibberellin) , ไซโตไคนิน (Cytokinin)
น้ำตาลและกรดอินทรีย์ - แมนนิทอล (Mannitol) , อัลจีนิค แอซิด (Alginic acid) , ลามินาริน (Laminarin) , น้ำตาลต่างๆ (Other sugar)
ธาตุอาหารหลัก - ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเซียม (K)
ธาตุอาหารรอง - แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S)
ธาตุอาหารเสริม - สังกะสี (Zn) , เหล็ก (Fe) , แมงกานีส (Mn) , โบรอน (B), คอปเปอร์ (Cu)
BIO-JET
BIO-STIMULANTS are biological compounds that stimulate both microbial and plant growth processes
- reduces stresses,
- encourages strong plant development, providing increased plant health, quality and productivity

Four Basic Effects
Greater soil
Microbe activity.
Bio-Jet stimulates beneficial soil microbe activity – especially those around the plant roots.
These improve rooting as well as helping fight-off disease and soil pests, at the same time as working
within the soil to release more nutrients to the plant.
Increased chlorophyll

Bio-Jet increases levels of plant chlorophyll – the green pigment essential for plant development.
This ensures better use of energy from the sun, fuelling strong, healthy growth.
Stress relief

Bio-Jet acts within the plant, raising its natural defense mechanisms to a higher level.
As a result, it is better equipped to resist pests and diseases, diverting more of its energies into growth,
with reduced stress.
Increased Frost tolerance

Bio-Jet helps the plant withstand the pressures of frost, reducing damage at critical stages of growth.


INCREASE PLANT HEALTH, YIELD AND QUALITY…..
Used regularly throughout the life of the plant, Bio-Jet will
- improve turf wear
- ensure strong growth and better flowering
- Increase fruit crop yields
- ensure good grainfill and top quality cereal yields
- minimize transplanting shock
- boost potato size and crop development
- harden plants during periods of stress
- maximize nutrient and moisture uptake
- reduce the effects of pest and disease attack
- raise crop quality and storage life
http://www.organellelife.com/product_group.php?category_id=4


พาร์ทเวย์ #ไอพีพี
พาร์ทเวย์#ไอพีพี สารอินทรีย์เพื่อเพิ่มการผลิตสารสะสมต่างๆ ในพืช (สะสมแป้ง สะสมน้ำตาล สะสมน้ำมัน สะสมน้ำยาง)

คุณสมบัติ
- ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำมันและไขมัน ใช้เพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง และเหมาะกับการนำไปใช้เพิ่มผลผลิตแก่พืชที่ให้น้ำมันทุกชนิด
- ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำยาง เพิ่มผลผลิตน้ำยาง เพิ่มคุณภาพน้ำยาง ให้ข้นขึ้น มีเปอร์เซ้นต์ยางสูงและมีโมเลกุลยาวขึ้น
- ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำตาล เพิ่มผลผลิตให้กับอ้อย ช่วยเพิ่มคุณภาพและความหวานให้กับผลไม้ทุกชนิด
- ช่วยเพิ่มการสะสมแป้งในหัวพืช เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง เผือก เป็นต้น
- ช่วยเพิ่มพลังงานช่วงพืชมีสภาพไม่สมบูรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมจากความร้อน ความแห้งแล้ง
- สามารถใช้ร่วมกับสารเสริมประสิทธิภาพ และสามารถให้พร้อมกับยาหรือปุ๋ยทางใบทุกชนิด

อัตราการใช้  พืชทั่วไป 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ให้กับพืช ทุกๆ 10-15 วัน
สำหรับปาล์มน้ำมัน : ให้ฉีดพ่นที่กาบบริเวณทะลายปาล์ม
สำหรับต้นยางพารา : ยางปกติ 5 ซีซี ต่อน้ำ 2 ลิตร , ยางตายนึ่ง 10 ซีซี ต่อน้ำ 2 ลิตรฉีดพ่นบริเวณหน้ายางที่กรีด


PATHWAY (พาร์ทเวย์)
พาร์ทเวย์ กับ การเลียนแบบ ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางตามธรรมชาติน้ำยางในต้นยางพารา มีส่วนประกอบของสาร cis–polyisoprene (C5H8)n ซึ่งในน้ำยางที่มีคุณภาพสูงจะมีปริมาณของสารนี้ในสัดส่วนที่สูงและมีขนาดสายของโมเลกุลที่ยาว สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตน้ำยาง ในธรรมชาติได้จากการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สารมาเลท (Malate) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA และ Pyruvate ก่อนที่จะผ่านขบวนการทาง ชีวเคมี เปลี่ยนเป็นสาร IPP ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโมเลกุลของยางธรรมชาติ Isoprenoid Pathway เป็นการสังเคราะห์สาร IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Acetyl-CoA GAP/Pyruvate Pathway เป็นการสังเคราะห์ IPP จาก Malate เปลี่ยนเป็น Pyruvate  สาร IPP ที่ได้จะรวมตัวกันโดย enzyme IPPI และมี Mg2+ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นสารที่มีคาร์บอนสูงขึ้นจาก IPP(C5)
เป็น DMAPP(C5), GPP(C10),FPP(C15)และ GGPP(20) ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายสาร GGPP แต่ละโมเลกุลจะต่อกันเป็นสายโพลิเมอร์โดย enzyme Rubber Transferase (RuT)โดยดึงเอาสาร IPP เป็นตัวเชื่อมระหว่างสาร GGPP จนได้เป็นสายโมเลกุลที่ยาวขึ้นในรูป cis – polyisoprene

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง โดยต้นยางไม่โทรมด้วยวิธีทางชีวเคมีเคมี เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยวิธีทางชีวเคมีที่ดี และถูกต้อง เป็นเทคนิคที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการบำรุงรักษาต้นยางให้สมบูรณ์อย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง และไม่ใช่วิธีเร่งแบบเดิมๆ ด้วยการใช้สารเร่งการแก่ของพืชอย่าง เอทีฟอน (Ethephon) ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้ดี แต่ก็จะทำให้ต้นยางโทรม และต้นยาง
อาจตาย ก่อนอายุกำหนดในที่สุด

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยสารเคมีที่เหมาะสมอย่างถูกวิธีประกอบด้วย 3 แนวทางประกอบกัน ได้แก่
1. การบำรุงสภาพหน้ายางและเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer)ให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
2. ให้ต้นยางแบ่งเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) มากขึ้น
3. การให้วัตถุดิบในการผลิตน้ำยาง

การให้วัตถุดิบ โดยการเพิ่มสารตั้งต้น (Precursor) ในการผลิตน้ำยาง
น้ำยางที่เกิดขึ้นต้องมีวัตถุดิบในการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งได้แก่ ปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง
ธาตุอาหารเสริมคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และแสงแดด ดังนั้น ถ้าต้องการน้ำยางมากก็จำเป็นต้อง ให้วัตถุดิบเหล่านี้มากตามไปด้วยแต่ในสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม หรือสภาพต้นยางที่ไม่
สมบูรณ์ ขบวนการสังเคราะห์น้ำยางจะไม่สมบูรณ์ ทำให้บางครั้ง การนำปุ๋ยและธาตุอาหารเหล่านี้
ไปใช้ได้ไม่เต็มที่ การให้ สารตั้งต้น(Precursor) อย่างสาร Malate ( ใน PATHWAY ) เป็นเทคนิค
หนึ่งที่ช่วยลดปัญหาจากสภาพที่ไม่เหมาะสมได้ เพิ่มวัตถุดิบในการผลิตน้ำยางได้ทันทีทุกสภาพแวดล้อม

การบำรุงสภาพหน้ายางและเซลล์ผลิตน้ำยางให้สมบูรณ์แข็งแรง
ถ้าเซลล์ผลิตน้ำยาง (Laticifer) แข็งแรงไม่เกิดเชื้อโรคเข้าทำลาย การผลิตน้ำยางก็จะสม่ำเสมอเป็นปกติ การใช้เอทีฟอนเป็นประจำจะเร่งการตาย ของเซลล์ผลิตน้ำยาง น้ำยางได้มากช่วงแรก แต่เมื่อเซลล์ตายก็ไม่สามารถผลิตน้ำยางได้ในที่สุด การทำให้เซลล์ผลิตน้ำยางแข็งแรงและ การลดเชื้อโรคบริเวณหน้ายาง ทำได้โดยการกระตุ้นภูมิต้านทานป้องกันตนเอง (self defense mechanism) ให้ต้นยาง ด้วยกรดอินทรีย์ Hydroxy acid (อย่าง ERASER-1) ทำให้สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าทำลายเซลล์ผลิตน้ำยางบริเวณหน้ายางได้ดีขึ้น และยังส่งเสริมให้เซลล์ผลิตน้ำยาง แข็งแรง ผลิตน้ำยางสม่ำเสมอ สร้างหน้ายางใหม่สมบูรณ์และกรีดง่าย เพราะเปลือกนิ่ม จากการแยกสายโพลีเมอร์ใน Cellulose ของเปลือกยาง ให้หลวมขึ้น ไม่เกราะตัวแน่นจนแข็ง)




ซูก้า - ไฮเวย์
สารให้พลังงานชั้นสูงในรูปน้ำตาลทางด่วน ชนิด MONOSACCHARIDES โมเลกุลขนาดเล็ก เพื่อการสะสมอาหารให้แก่พืชแบบรวดเร็วทันที พืชรับสารอาหารไม่เพียงพอ พืชสุภาพอ่อนแอ จึงต้องการแต่สารให้พลังงาน ในรูป "น้ำตาลทางด่วน" เท่านั้น เพื่อเพิ่มพลังงานและสารสะสมอาหารแบบทันทีทันใด อีกทั้งยังมี กรดอะมิโน แอซิด ที่จำเป็นในรูปที่พืชสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ พืชจึงใช้เป็นอาหารสะสมได้ในทันที

4 ช่วงที่สำคัญ สำหรับพืช...ที่ต้องการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก
1. ช่วงแตกใบอ่อน 
2. ช่วงการออกดอก 
3. ช่วงการติดผล 
4. ช่วงการเร่งคุณภาพ อาทิ เร่งความหวาน เร่งสี

คุณสมบัติ
(1) ให้พลังงานทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ช่วยเพิ่มพลังงานและอาหารสะสมให้พืช
(2) ช่วยปรับสมดุลของสารอาหารและฮอร์โมนภายในพืชตามหลัก “สมดุลยศาสตร์” ทำให้พืชสมดุลแข็งแรงเติบโตได้เร็วให้ผลผลิตที่ดี มีน้ำหนักสูง
(3) พืชแข็งแรงดี จึงมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่วิกฤตได้ดี อาทิ ความหนาวเย็น หรือความแห้งแล้ง
(4) ก่อนพืชออกดอก ต้องการใช้พลังงานมากกว่าปรกติ เพราะต้องมีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก พืชจึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานทางด่วน เพื่อกิจกรรมดังกล่าว และต้องเป็นแหล่งพลังงานที่พืชนำไปใช้ได้ทันที
(5) มีธาตุอาหารรอง อาทิ แมกนีเซียม (Mg) ที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลด์ อันทำให้ช่วยขบวนการสังเคราะห์แสงให้ดีขึ้น
(6) มี อะมิโน แอซิค ในรูปที่พืชสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ จึงใช้เป็นอาหารสะสมให้พืชทันที
(7) มีธาตุอาหารหลัก อาทิ โพแตสเซียม (K) ที่ช่วยในขบวนการขนถ่ายน้ำตาลไปสะสมที่ผล ทำให้พืชที่มีผลและผลไม้มีรสชาติดี ,สีสวย, มีความหวานและหอม

วิธีการใช้
1.  ช่วงฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกี่ยวและแตกใบอ่อน : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน อัตราผสม 20 ซีซี ต่อ          น้ำ 20 ลิตร เพื่อการแตกใบอ่อน 1 ชุด
2. ช่วงก่อนการออกดอก (ช่วงสะสมอาหาร) : ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ      20 ลิตร เพื่อสะสมอาหารให้มากเพียงพอต่อการเตรียมออกดอก
3. ช่วงการติดผลอ่อน : ฉีดพ่น1-2 ครั้ง ทุก 10-15 วัน อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเร่งการพัฒนา      ของผลอ่อนและลดการหลุดร่วงของผลอ่อน และฉีดพ่นไปต่อใบอีก 1-2 ครั้ง ทุก 10-15 วัน ในช่วงที่        ต้องการขยายผลและเพิ่มน้ำหนักอีกทั้งยังป้องกันผลแตกและผลร่วง เนื่องจากขาดอาหารและขนาด        พลังงาน
4. ช่วงการเร่งคุณภาพ (เร่งความหวาน) : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ทุก 10-15 วัน เพื่อช่วยให้ผลโตอย่างรวดเร็ว         และช่วยเพิ่มสารอาหารต่างๆที่พืชต้องการในการพัฒนาผลให้มีคุณภาพ



แอคซอน

“สารสั่งลงหัว” ในพืชตระกูลลงหัวทุกชนิด อาทิ มันสำปะหลัง, มันฝรั่ง, มันเทศ, หอม, กระเทียม, เผือก อื่นๆ ไม่ยอมลงหัว มัวแต่ “หลงงามต้น หลงงามใบ” ต้องให้ “AXZON” ออกคำสั่ง 

สำหรับ..มันสำปะหลัง และพืชลงหัวทุกชนิด "รากคือหัว หัวคือราก" แต่..รากทุกราก จะเป็นหัวหรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวแปร

แต่ถ้าจะหา "ตัวช่วย" ที่ใช่ ให้มันลงหัวสมบูรณ์ "หัวดก หัวใหญ่ ลงหัวไว"
โปรดให้ความไว้วางใจใน "แอคซอน" (AXZON) : สารสำคัญในกระบวนการลงหัว( Tuberization) ให้ทำหน้าที่สำคัญ เพื่อ "ประกันมันลงหัว" ของท่านต่อไป

กระบวนการ "TUBERIZATION"
เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลังเมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีนอีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth)เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน

กระบวนการลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่ ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว(Momosaccharides)ตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงเองได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้นและสุดยอดขึ้น( ดังนั้นการใช้ "ซูการ์-ไฮเวย์" (ZUKAR-Highway) ร่วมด้วยจึงมีผลดีอย่างยิ่งต่อมันสำปะหลัง)

“Photoperiod” : ในธรรมชาติ “Photoperiod” หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืชตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์ “Jasmonic acid” (JA) ที่ใบและหลังจากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก (Root) จนทำให้เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวนมาก


“การลงหัว”(Tuberization) : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ที่เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Subapical meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากและปลายยอดของพืช หลังจากได้รับ JA ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเซลล์ดังนี้

1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์) : เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน

2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์) : เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุดแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็น “หัว”

3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพและหน้าที่) : ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำหน้าที่ให้เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพเพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัวอย่างมีประสิทธิภาพ,สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูกสะสมได้มากขึ้นที่หัว และการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้ปริมาณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น




ORG-1 : สารให้พลังงานพิเศษ และสาร Precursor(สารตั้งต้น) สำหรับพืช


ORG-1 มีสาร Precursor (สารตั้งต้น) ที่สำคัญในกระบวนการ Metabolism ที่เป็นพลังงานชั้นสูงในรูปกรดอินทรีย์ที่สำคัญที่พืชต้องการและมี Amino acid Chelate หลายชนิดที่สำคัญที่พืชต้องการ และยังมีสารสำคัญๆ อีกหลายชนิดที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น Magnesium Chelate ( Mg), Calcium-Boron Chelate (CaB) , Nitrogen as NO3 และธาตุอาหารหลักบางตัว อาทิ Potassium (K) เป็นต้น 
ใช้ได้ดีกับทุกช่วงการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเพิ่มอาหารยามพืชอ่อนแอหรือการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารเองได้ไม่เต็มที่ในช่วงแล้งจัด หนาวจัด หรือช่วงอากาศแปรปรวน ฟ้าปิดแสงแดดน้อย ที่สำคัญช่วยเพิ่มอาหารยามที่พืชต้องการ จึงเหมาะสำหรับช่วงสะสมอาหาร เร่งใบแก่ ในระยะแทงช่อดอก ทำให้ช่อดอกแข็งแรง แทงช่อดอกออกมาได้ดี ช่อใหญ่สมบูรณ์ ช่วยเพิ่มแป้งน้ำตาลในช่วงที่พืชต้องการขยายขนาดผล เพิ่มขนาด เพิ่มน้ำหนัก และสีผลเข้มสวย ทำให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ต้านทานต่อโรคและแมลง

ORG-1 และ ORG-2 มีลักษณะเป็นโมเลกุลเล็กมากที่พืชดูดซึมได้ง่าย พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที สามารถใช้ได้ดีทั้งแบบฉีดพ่นทางใบ ผสมน้ำราดดินรากสามารถดูดซึมได้ หรือให้ไปกับระบบน้ำ พืชสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางใบและทางราก

คุณประโยชน์ :
- ช่วยการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืชของพืช ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว หรือแก้อาการต้นโทรม
- ช่วยให้พืชแตกใบใหม่ได้พร้อมๆกันทั้งลำต้น ยอด และใบที่สมบูรณ์
- ช่วยเติมสารอาหารแบบเร่งด่วนยามที่พืชอ่อนแอ เมื่อสังเคราะห์แสงได้ไม่เต็มที่
- ช่วยสะสมอาหาร ช่วยสร้างแป้งและน้ำตาลให้พืช พืชมีใบหนา ใบใหญ่เขียวเข้มสมบูรณ์
- ช่วยเปิดตาดอก เร่งแทงช่อดอก ให้ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น ออกดอกดก ช่วยให้ช่อดอกยืดยาว ช่อดอกอวบอ้วนสมบูรณ์
- ช่วยผสมเกสร ให้ติดผลดี ติดผลดก ช่วยให้ขั้วเหนียว ลดการหลุดร่วง ขยายขนาดผล เร่งผลโต อย่างสม่ำเสมอ
- ช่วยสร้างเปลือกให้หนา ยืดหยุ่นดี ไม่มีเปลือกแตกง่าย
- ช่วยให้พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน แห้งแล้ง
-ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรค แมลง

อัตราใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองให้ทั่วทั้งต้น




ORG-2 : พลังงานทางด่วนพิเศษ 2 พลังสำหรับพืช

สารให้พลังงานชั้นสูงในรูปน้ำตาลทางด่วน ชนิด MONOSACCHARIDES โมเลกุลขนาดเล็ก เพื่อการสะสมอาหารให้แก่พืชแบบรวดเร็วทันที พืชรับสารอาหารไม่เพียงพอ พืชสุภาพอ่อนแอ จึงต้องการแต่สารให้พลังงาน ในรูป "น้ำตาลทางด่วน" เท่านั้น เพื่อเพิ่มพลังงานและสารสะสมอาหารแบบทันทีทันใด อีกทั้งยังมี กรดอะมิโน แอซิด ที่จำเป็นในรูปที่พืชสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ พืชจึงใช้เป็นอาหารสะสมได้ในทันที

4 ช่วงที่สำคัญ สำหรับพืช...ที่ต้องการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก
1. ช่วงแตกใบอ่อน 
2. ช่วงการออกดอก 
3. ช่วงการติดผล 
4. ช่วงการเร่งคุณภาพ อาทิ เร่งความหวาน เร่งสี


คุณสมบัติ
(1) ให้พลังงานทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ช่วยเพิ่มพลังงานและอาหารสะสมให้พืช
(2) ช่วยปรับสมดุลของสารอาหารและฮอร์โมนภายในพืชตามหลัก “สมดุลยศาสตร์” ทำให้พืชสมดุลแข็งแรงเติบโตได้เร็วให้ผลผลิตที่ดี มีน้ำหนักสูง
(3) พืชแข็งแรงดี จึงมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่วิกฤตได้ดี อาทิ ความหนาวเย็น หรือความแห้งแล้ง
(4) ก่อนพืชออกดอก ต้องการใช้พลังงานมากกว่าปรกติ เพราะต้องมีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก พืชจึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานทางด่วน เพื่อกิจกรรมดังกล่าว และต้องเป็นแหล่งพลังงานที่พืชนำไปใช้ได้ทันที
(5) มีธาตุอาหารรอง อาทิ แมกนีเซียม (Mg) ที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลด์ อันทำให้ช่วยขบวนการสังเคราะห์แสงให้ดีขึ้น
(6) มี อะมิโน แอซิค ในรูปที่พืชสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ จึงใช้เป็นอาหารสะสมให้พืชทันที
(7) มีธาตุอาหารหลัก อาทิ โพแตสเซียม (K) ที่ช่วยในขบวนการขนถ่ายน้ำตาลไปสะสมที่ผล ทำให้พืชที่มีผลและผลไม้มีรสชาติดี ,สีสวย, มีความหวานและหอม



วิธีการใช้
1.  ช่วงฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกี่ยวและแตกใบอ่อน : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน อัตราผสม 20 ซีซี ต่อ          น้ำ 20 ลิตร เพื่อการแตกใบอ่อน 1 ชุด

2. ช่วงก่อนการออกดอก (ช่วงสะสมอาหาร) : ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ      20 ลิตร เพื่อสะสมอาหารให้มากเพียงพอต่อการเตรียมออกดอก
3. ช่วงการติดผลอ่อน : ฉีดพ่น1-2 ครั้ง ทุก 10-15 วัน อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเร่งการพัฒนา      ของผลอ่อนและลดการหลุดร่วงของผลอ่อน และฉีดพ่นไปต่อใบอีก 1-2 ครั้ง ทุก 10-15 วัน ในช่วงที่        ต้องการขยายผลและเพิ่มน้ำหนักอีกทั้งยังป้องกันผลแตกและผลร่วง เนื่องจากขาดอาหารและขนาด        พลังงาน

4. ช่วงการเร่งคุณภาพ (เร่งความหวาน) : ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ทุก 10-15 วัน เพื่อช่วยให้ผลโตอย่างรวดเร็ว         และช่วยเพิ่มสารอาหารต่างๆที่พืชต้องการในการพัฒนาผลให้มีคุณภาพ



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม


โทร. 084-8809595 , 084-3696633
www.organellelife.com
Line ID : @organellelife.com  (พิมพ์ @ ด้วยครับ)
หรือกดลิงก์ด้านล่าง แล้วเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อคุยสอบถามข้อมูลได้ครับ
https://lin.ee/nTqrAvO