วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิทยาการการปรุงดิน

ความสำคัญของอินทรียวัตถุในดิน

โดยทั่วไปในดินที่เหมาะสมในการปลูกพืชควรต้องมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 4 ส่วน คือ แร่
ธาตุอาหารพืช 40% ส่วนของอากาศ 25% ส่วนของน้ำ 25% และส่วนของอินทรียวัตถุ 5% ตามที่แสดงในภาพที่ 1 องค์ประกอบของอินทรียวัตถุมีความสำคัญต่อสมบัติด้านต่างๆ ของดินเนื่องจากอินทรียวัตถุ
ในดินจะเกี่ยวข้องกับสมบัติของดินทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ซึ่งมีผลทั้งทางตรงและ
ทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตของพืช
ภาพที่ 1 แสดงองค์ประกอบของดินที่เหมาะสมในการปลูกพืช

        สำหรับประเทศที่อยู่ในเขตร้อน พื้นที่ทำการเกษตรกรรมจะมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินค่อนข้าง
ต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการที่ทำให้อินทรียวัตถุถูกย่อยสลายอย่างรวดเร็ว คือ สภาพดินฟ้า
อากาศ เพราะประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนและมรสุม อากาศร้อน และมีฝนตกชุกเป็นสภาพที่เหมาะสมกับ
การทำงานของเชื้อจุลินทรีย์ในดินการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ปริมาของอินทรียวัตถุในดินจึงลดลงอย่าง
รวดเร็ว การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำพื้นที่ดินมาใช้ทางการเกษตร จนกระทั่งทำให้อินทรียวัตถุในผิวหน้า
ดิน ซึ่งเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่เกิดจากการทับถมของใบไม้และใบหญ้าลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้
การทำการเกษตรกรรมที่ขาดการปรับปรุงบำรุงดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นสาเหตุที่สำคัญอีก
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุอาหารพืช และอินทรียวัตถุถูกน้ำชะล้างลงสู่แม่น้ำลำ
คลอง รวมทั้งเกษตรกรใช้พื้นที่การเพาะปลูกติดต่อกันมาโดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน การไถ
พรวนและการเตรียมดินแต่ละครั้งก็เป็นการเร่งให้อินทรียวัตถุสลายตัวเร็วขึ้น



        

        อย่างไรก็ตามสภาพของดินที่เกิดขึ้นมาจากหินทราย ซึ่งมีคุณลักษณะที่ขาดความอุดมสมบูรณ์
โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อสลายตัวเป็นดินก็ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกเท่าที่ควร เพราะดินขาดธาตุ
อาหารพืชและอินทรียวัตถุจากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ดินที่ใช้ทำการเกษตรกรรมอยู่ในสภาพที่
ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เมื่อดินทรายมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำไปกว่าปริมาณที่เหมาะสม และ
เม็ดดินจะไม่สามารถเกาะตัวกันได้ดี เพราะขาดสารอิ่มเม็ดดิน ทำให้การอุ้มน้ำของดินน้อยด้วย ซึ่งมีผล
โดยตรงต่อระดับความชื้นของดินเมื่อใช้ปุ๋ยเคมีลงดินทรายก็จะมีโอกาสสูญเสียไปจากดินได้ง่ายกว่า ส่วนดินเหนียวที่ขาดอินทรียวัตถุ ดินก็จะแน่นทึบ ทำให้น้ำไม่สามารถผ่านช่องว่างของเม็ดดินได้ และไหลผ่านหน้าดินไปอย่างรวดเร็ว พาเอาแร่ธาตุอาหารพืชและปุ๋ยที่มีอยู่บริเวณผิวหน้าดินสูญหายไปกับน้ำเมื่อดินแน่นทึบปริมาณอากาศในดินมีน้อย รากพืชไม่สามารถชอนไชไปหาอาหารบริเวณไกลได้ ในที่สุดก็จะเป็นผลกระทบกระเทือนต่อผลผลิตทางการเกษตร สำหรับการพิจารณาปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
กรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดมาตรฐานของระดับอินทรียวัตถุในดินไว้ ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ระดับอินทรียวัตถุที่ใช้เป็นมาตรฐาน


ถ้าดินมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำถึงต่ำมาก คือต่ำกว่า 0.5 และ 0.5-1.0% ก็จำเป็นต้องเพิ่ม
อินทรียวัตถุลงไปจำนวนมาก ถ้าดินมีอินทรียวัตถุตั้งแต่ 1.0-2.0% ดินนั้นมีอินทรียวัตถุระดับปานกลาง
ควรเพิ่มลงไปบ้างถ้าดินมีปริมาณอินทรียวัตถุค่อนข้างสูงประมาณ 2% -ขึ้นไป หากไม่มีการเพิ่ม
อินทรียวัตถุลงไปก็จะต้องรักษาระดับนี้ไว้ตลอด ถ้าดินมีอินทรียวัตถุระดับ 3-5% ก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มลง
ไปสำหรับการแพร่กระจายของปริมาณอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5% มีมากถึง 96.7 ล้านไร่ (หรือประมาณ
30.79%) ตามที่แสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 การแพร่กระจายของปริมาณอินทรียวัตถุระดับต่างๆ ของประเทศไทย




























วิทยาการ"การปรุงดิน" ด้วยนวัตกรรมใหม่ ที่รู้ใจดินและรู้ใจพืช
ชุด "ปรุงดิน" ที่มีความจำเป็นต่อการเพาะปลูกพืชในยุค "GLOBAL WARMING" ชุดนี้เป็นการคิดค้นและผสมผสานอันลงตัวสำหรับดินและพืชในปัจจุบันจริงๆ(จากประสบการณ์มามากกว่า 30 ปี) เรา "ปรุงดิน" จน "ถูกใจดินและกินใจพืช"  เสมือนได้ "เชฟ" มืออาชีพมาปรุงดินให้พืชอย่างกลมกล่อมครบถ้วนสมบูรณ์  ซึ่งพืชจะหมดปัญหาระยะยาวตลอดการเจริญเติบโตไม่สะดุดและล้มเหลว ก่อนปลูกพืชคราใด อย่าลืม!! "ปรุงดิน" ด้วย "ซอยล์ไลฟ์" และแร่ "บีเอ็มซี-มิกซ์" ผสมกันในอัตรา 25กรัม กับ 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงดิน และเสริมด้วยการฉีดพ่นหรือราดลงดินด้วย"ซาร์คอน"(SARCON) เพื่อ "DETOX"( ล้างสารพิษ) ในดินและเป็นการเติมกรดอินทรีย์บางตัวที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการ"SAR"( Systemic Acquire Resisitance ) และกระบวนการ "Revitalization" ของรากพืชด้วย อาทิ Hydroxy acid Group และ Othosilisic acid เป็นต้น ผสมในอัตรา 20 ซี.ซี.ต่อน้ำ20 ลิตร  รับรอง "ดินพร้อม รากพร้อม" สำหรับพืชจริงๆ

ดินเพาะปลูกเมืองไทยในปัจจุบันขาดธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม แทบจะทุกพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหากับพืชมากมายทั้งในด้านการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ ถ้าไม่มีการติดตามข้อมูลของพืชดีๆเราก็จะมีแต่ความล้มเหลวในการผลิตพืช สิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดในการปลูกพืชในปัจจุบัน "การปรุงดิน" จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ความหมายก็คือว่า เราต้อง"ปรับสภาพดินให้เหมาะสม ให้มีทั้งค่า PH ที่เหมาะสมต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืช


 ต้องปรับค่าอินทรีย์วัตถุ(OM) ในดินให้เหมาะสมและมากพอต่อพืชและเหมาะสมต่อการแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหาร(EC) ของพืชให้เป็นประโยชน์ ต้องปรับโครงสร้างดินให้มีความโปร่งพรุนและร่วนซุยเพื่อรากพืชจะได้รับออกซิเจนที่ดีและรากชอนไชหาอาหารได้สะดวก ต้องปรับธาตุอาหารให้เหมาะสม ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมให้มีครบถ้วนและเพียงพอ และที่กล่าวมานี้เป็นองค์ประกอบสำคัญเบื้องต้นที่เราควรมีการจัดสรรให้ครบถ้วนและเหมาะสมหรือที่เราเรียกว่า"การปรุงดิน"  ดินกลมกล่อม พืชดูดกินเอร็ดอร่อย แต่ถ้าปรุงดินไม่ดีไม่มีความครบถ้วนและเหมาะสมก็เสมือนกับการปรุงอาหารที่ไม่กลมกล่อม พืชเองก็ไม่อยากกินอาหารหรือการกินอาหารแล้วไม่เอร็ดอร่อย แล้วจะให้พืชเติบโตให้ได้ดีได้อย่างไรกันเล่า และส่วนหนึ่งของการ "ปรุงดิน" สิ่งที่ดินต้องการและขาดไม่ได้ในการ "ปรุงดิน" นั่นก็คือ "ซอยล์ไลฟ์" ( อินทรีย์วัตถุเข้มข้นสกัดจากธรรมชาติ) และแร่ "บีเอ็มซี-มิกซ์"(BMC-MIX) :

 ซึ่งมีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมชนิดเข้มข้นที่มีประโยชน์เพราะมีธาตุอาหารที่สำคัญที่พืชกำลังต้องการและดินเมืองไทยกำลังขาดแคลนอย่างมากมายมหาศาลจนทำให้การทำงานในกระบวนการเติบโตของพืชมีปัญหาและก็เลยพาให้พืชสะดุดไม่อยากเจริญเติบโต แนะนำให้เกษตรกรนำ "ซอยล์ไลฟ์" ผสมกับ "บีเอ็มซี-มิกซ์" ไปใช้ผสมน้ำรดในอัตรา 25 กรัมกับ 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงดินก่อนปลูกพืชหรือรดรอบลำต้นหลังปลูกพืช ถ้าเป็นพืชเล็ก อาทิ พริก มะเขือ ยาสูบ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ให้รดต้นละ 1 กระป๋องนม แต่ถ้าเป็นพืชใหญ่ ลำไย มะม่วง ทุเรียน มังคุด ยางพารา ก็ให้รดต้นละ 1 บัวรดน้ำ(8-10ลิตร) รดเพียง 1ครั้ง คุ้มไปตั้ง 3-6 เดือน เพราะแร่ "บีเอ็มซี-มิกซ์" จะทำหน้าที่ค่อยๆปลดปล่อยธาตุอาหารตามความต้องการของพืชออกเป็น 2 ระยะ นั่นคือ แบบเร็วทันใจ และแบบช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม(Slow Release)  และหลังจากนั้นให้ราดดินหรือรดต้นพืชด้วย "ซาร์คอน"(SARCON) ในอัตรา 20 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร รดต้นละ 1 กระป๋องนม(สำหรับพืชเล็ก พืชล้มลุก) และรดต้นละ 10 ลิตรหรือ 1 บัวรดน้ำ(สำหรับไม้ยืนต้น อาทิ ยางพารา ไม้ผล เป็นต้น) และนี่คือ.. อีกหนึ่งทางออกของพืชที่ "ออร์กาเนลไลฟ์" ผู้รู้ใจพืชจัดให้ สมกับมุ่งมั่นของเราที่ตั้งใจไว้ว่า เราคือ.. "ผู้ชำนาญการปรุงดิน" ให้พืช  และ "รู้ใจพืช" อย่างแท้จริงนั่นเอง  ในโลกยุคปัจจุบัน "ผู้ใดรู้จริงเรื่องดิน ผู้นั้นสามารถครองโลก" ของพืช ได้อย่างแน่นอน





ทฤษฎี "การปรุงดิน" ให้มี "อาหารดิน" และ "อาหารพืช"

HUMIC ACID & FLUVIC ACID SUBSTANCES



กลุ่มสารฮิวมิค Humic Substances คืออะไร

ถ้าเราสังเกตดินที่อุดมสมบูรณ์ ปลูกพืชได้งดงาม เจริญเติบโตดีจะเห็นได้ว่ามีสีดำ ซึ่งได้แก่ ดินที่มีอินทรียวัตถุและแร่ธาตุที่เป็นแหล่งอาหารของพืชมาก ในธรรมชาติอินทรียวัตถุในดินเกิดขึ้นได้จากซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาด้วยความร้อน แสงแดด แรงกดดันของบรรยากาศและโดยจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะเปลี่ยนสภาพซากสัตว์เหล่านั้นเป็น สารกลุ่มฮิวมิค(Humic Substances) โดยกลุ่มฮิวมิคที่ขนาดโมเลกุลใหญ่ ได้แก่ ฮิวมิค แอซิค(Humic acids), ฮิวเมท (Humates) เป็นต้น และสารกลุ่มฮิวมิคที่มีขนาดโมกุลเล็กได้แก่ ฟูลวิค แอซิด (Fulvic acids), ฟูลเวท (Fulvates) เป็นต้น

คุณสมบัติของฮิวมิค
ฮิวมิค แอซิค (Humic acids) เป็นสารกลุ่มฮิวมิคที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ จะทำหน้าที่เปลี่ยนโครงสร้าง ลักษณะของดินเป็นหลัก โดยจะปรับสภาพดินให้ดีขึ้น รักษาความสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในดิน เพิ่มความสมดุลของน้ำและออกซิเจนในดิน ทำให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินทำงานได้ดีขึ้น สภาพดินโปร่งร่วนซุยขึ้น และทำให้การปลดปล่อยปุ๋ยดีขึ้น

ฟูลวิค แอซิด (Fulvic acids) จะมีขนาดโมเลกุลเล็กกว่ามาก และจะมีผลต่อปฏิกิริยาเคมีในดินและจะถูกดูดซึมเข้าไปในพืชและมีบทบาทต่อขบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในพืช โดยจะช่วยรักษาความสมดุลของสารอาหารและแร่ธาตุ
ที่ประจุต่าง ๆ ในพืช ช่วยกำจัดสารพิษ โลหะหนักต่าง ๆ ในพืชให้ขับถ่ายออกมาและช่วยให้การทำงานของปฏิกิริยาทางเคมีต่าง ๆ และการขนส่งสารอาหารต่าง ๆในพืชทำงานได้อย่างสมบูรณ์ขณะที่พืชดูดซึมปุ๋ย แร่ธาตุ และสารอาหารไปใช้ สารกลุ่มฮิวมิคในดินตามธรรมชาติจะถูกใช้และลดลงไปด้วย ซึ่งจะมีผลทำให้สภาพดินเปลี่ยนแปลงไป การ
ให้ปุ๋ยเคมีในดินที่ขาดสารกลุ่มฮิวมิค พืชจะดูดซึมปุ๋ยไปใช้ได้ยากสิ้นเปลือง เพราะไม่มีสารกลุ่มฮิวมิคไปช่วยให้พืชดูดซึมปุ๋ยไปใช้ได้ดี โดยจะถูกตรึงอยู่ในดินนั้นหรือถูกชะล้างไปในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์โดยทั่วไปจะขาดสารกลุ่มฮิวมิค ในรูปของ ฮิวมิคแอซิด และโดยเฉพาะ ฟลูวิค แอซิด ซึ่งต้องใช้เวลาในการย่อยสลายอินทรียวัตถุในธรรมชาติ ดั้งนั้นการให้ปุ๋ยโดยให้สารฮิวมิคในจำนวนที่เล็กน้อยแก่พืช ร่วมกับการให้ปุ๋ยตามปกติแล้วจะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด การใช้สารฮิวมิค ประมาณ 3-6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทางดินหรือทางใบทุกเดือนร่วมกับปุ๋ยเคมี ทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีลดน้อยลง ทำให้สภาพดินและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้แก่ ค่าปุ๋ยค่าแรงงาน และพลังงาน ในดินที่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมีมานานหรือสภาพดินเสื่อมโทรมไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก เราสามารถใช้สารฮิวมิคในการปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพดินได้ โดยให้สารฮิวมิค ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม ต่อไร โดยแบ่งให้ 3-4 ครั้งต่อปี


ลักษณะทางกายภาพและเคมีของ ฮิวมิค แอซิด และฟลูวิค แอซิด
ฮิวมิค แอซิด จะมีสีน้ำตาลถึงดำสนิท โดยปกติจะไม่ละลายในสภาวะเป็นกรด (ph น้อยกว่า 2) แต่จะละลายได้ในสภาพเป็นด่าง ในธรรมชาติจะเป็นส่วนประกอบหลักของดินที่อุดมสมบูรณ์ ขณะที่ฟูลวิค แอซิด มีสีเหลืองถึงน้ำตาลเข้มละลายน้ำได้ดี ฟลูวิค แอซิดมีขนาดโมเลกุลเล็กกว่า มีโครงส้รางที่ประกอบด้วย ออกซิเจน มากกว่าและคาร์บอนน้อยกว่า ฮิวมิค แอซิด

ประโยชน์ของ ฮิวมิค แอซิค (Humic acids)
1. ปรับปรุงสภาพและโครงสร้างทางกายภาพของดิน โดยเพิ่มการร่วมตัวของดิน เพิ่มการอุ้มน้ำและออกซิเจนในดินทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุยขึ้น

2. ช่วยรักษาสภาพความเป็นกรด – ด่างในดิน ให้เหมาะสม ไม่ให้เปลี่ยนแปลงง่ายเมื่อใช้ปุ๋ยเคมี

3. กระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน

4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต โดยให้สารอาหารในดินอยู่ในสภาพที่ดูดซึมนำไปใช้ได้

5. เร่งการเจริญเติบโตของรากและต้นไม้

6. ปรับปรุง สี ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และการเก็บน้ำของพืชได้ดีขึ้น

7. ช่วยกำจัดสารพิษในดิน โลหะหนัก หรือเคมีตกค้าง โดยไปจับตรึงไว้ไม่ไห้ดูดซึมเข้าไปได้

8. เพิ่มความต้านทานของพืช ต่อสภาพเครียดจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความร้อน ความแห้งแล้ง เป็นต้น


ประโยชน์ของ ฟูลวิค แอซิด (Fulvic acids)
1. ช่วยรักษาความสมดุลของประจุไฟฟ้าเคมีต่าง ๆ ในเซลล์พืชทุกเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญมากในการมีชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประจุไฟฟ้าทางเคมีในเซลล์สิ่งมีชีวิตที่สมดุลทำให้สิ่งมีชีวิตแข็งแรง เจริญเติบโตเต็มที่และงานได้อย่างมีประสิทธิภาพการขาดสมดุลจะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นอ่อนแอ เป็นโรค และตายในที่สุด

2. ปรับเปลี่ยนปุ๋ยและสารอาหารที่ให้หรือที่มีอยู่ในดิน ให้อยู่ในรูปปลดปล่อยและดูดซึมเข้าเซลล์ได้ง่ายพืชสามารถนำไปใช้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

3. ให้พลังงานและช่วยขนส่งปุ๋ย สารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน์ และเอ็นไซ์ม์ต่าง ๆ ในพืชจากรากหรือใบ ไปยังจุดที่พืชต้องการได้อย่างรวดเร็ว

4. เพิ่มการดูดซึมของระบบราก และทางใบ โดยการกระตุ้นการทำงานของผนังเซลล์

5. ช่วงเร่งการทำงานของเอ็นไซม์และวิตามินในเซลล์พืช ซึ่งมีผลต่อขบวนการทางเคมีสำคัญ ๆ ของพืช เช่น ขบวนการสังเคราะห์แสง ขบวนการหายใจ เป็นต้น

6. เปลี่ยนรูปแบบการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตให้เป็นการสะสมน้ำตาลที่ละลายน้ำได้ดี ซึ่งจะเพิ่มความดันในเซลล์ ทำให้พืชสามารถทนทานต่อความแห้งแล้ง ความหนาวเย็นได้ดี

7. เพิ่มขบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพิ่มจำนวน DNA ในเซลล์ และเพิ่มการสังเคราะห์ RNA

8. ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืชและกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช

9. ช่วยกระตุ้นการแบ่งตัว และขยายตัวของเซลล์พืช

10. ช่วยจับและขับสารที่เป็นพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช ออกจากพืชได้ดี

http://www.paccapon.blogspot.com/2015/10/blog-post.html




ธาตุแมกนีเซียม  (Magnesium :Mg )

เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียว ทั้งที่ใบและส่วนอื่น ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช อาการขาดแมกนีเซียมจะสั่งเกตได้จาบใบพืช ที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบที่อยู่ใกล้กับผล ถ้าหากอาการขาดรุ่นแรงใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน

การขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ผลผลิตลดน้อยลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น เพราะปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่รากพืชจะดึงดูดมาใช้ได้ และการที่มีปริมาณ Potassium สะสมในดินมากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ

การแก้ไข สามารถทำได้โดยการปรับปรุงสภาพดิน ความเป็นกรด ด่างของดินให้เหมาะสมต่อการดูดเข้าไปใช้ของพืช และมีการใช้ปุ๋ย Potassium  ที่พอเหมาะ ที่สำคัญก็คือ การฉีดพ่นทางใบด้วยธาตุอาหารเสริม ซึ่งมีธาตุแมกนีเซียมในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที

มีรายงานการขาดแคลนแมกนีเซียมในหลายแห่งทั่วโลก  ซึ่งการขาดแคลนแมกนีเซียม เนื่องมาจากสาเหตุ เช่น ดินมีแมกนีเซียมต่ำ  การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมมากเกินไป หรือต้นมีแคลเซียมมากเกินไป (ดินด่าง – มี pH มากเกิน 7)  เมื่อผลวิเคราะห์แมกนีเซียมในดิน และในใบต่ำขณะที่โพแทสเซียมและแคลเซียมพอเหมาะก็ควรจะใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมทางดินหรือพ่นทางใบแต่ถ้าผลการวิเคราะห์โพแทสเซียมในดิน และใบสูงเกิน ควรงดหรือลดปุ๋ยโพแทสเซียมชั่วคราว จะลดการขาดแคลนแมกนีเซียมได้ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มมากขึ้นกับส้มบางชนิดมักพบว่าสามารถหยุดอาการขาดแมกนีเซียมได้การขาดแมกนีเซียมอาจมีผลกระทบต่อผลผลิตอย่างรุนแรง เมื่อปริมาณแมกนีเซียมในใบต่ำกว่า  0.3 %  อาการเริ่มแรกของการขาดแมกนีเซียมจะเห็นได้จากอาการเหลืองอย่างไม่ต่อเนื่องของใบแก่ในบริเวณทั้งสองข้างของเส้นกลางใบ มักพบในช่วงปลายฤดูหนาวไปจนถึงต้นฤดูร้อน บริเวณที่มีสีเหลืองจะขยายใหญ่ขึ้นจนแผ่ติดกันเป็นผืน เหลือส่วนฐานและบางครั้งก็เป็นส่วนปลายของใบด้วย ที่จะยังคงเขียวอยู่ ในที่สุดใบทั้งยอดก็จะกลายเป็นสีเหลือง อาการขาดดังกล่าวอาจเกิดขึ้นซีกใดซีกหนึ่งของต้นก็ได้ ลักษณะอาการจะหายไปเมื่อใบที่แสดงอาการนี้ร่วงหล่นไปก่อนที่มันจะแก่ คงเหลือแต่ใบอ่อนที่ยังไม่แสดงอาการอยู่บนต้น ทั้งไนโตรเจน และแมกนีเซียม จะแสดงอาการเหลืองของใบเมื่อมีอาการขาด  อย่างไรก็ตาม อาการขาดไนโตรเจนส่วนใหญ่มักเกิดกับใบที่มีอายุน้อยในช่วงปลายฝนหรือต้นฤดูหนาว ในขณะที่อาการขาดแมกนีเซียมมักไม่เกิดในช่วงเวลาดังกล่าว ในกรณีของการขาดแมกนีเซียม อาจใช้หินปูนDolomitesในดินกรด และใช้ Magnesium Sulphateในรูปของ  kieserite  หรือเกลือ  Epson  ในดินที่เป็นกรดน้อยกว่า







แมกนิซัล®
เป็นปุ๋ยแมกนีเซียมไนเตรท ที่มีธาตุอาหารแมกนีเซียมและไนโตรเจนในรูปไนเตรท ที่พืชดูดซับไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว

คุณสมบัติพิเศษของแมกนิซัล®

ธาตุอาหารพืช 100%
ปราศจากคลอไรด์, โซเดียม และส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อพืช
แมกนีเซียมอยู่ไนรูปสารประกอบไนเตรท-ไนโตรเจน พืชดูดดึงไปใช้ง่าย
ละลายน้ำหมดจดรวดเร็ว ใช้ได้ดีทั้งทางระบบน้ำและฉีดพ่นทางใบ
อยู่ในรูปแผ่นเกล็ด ลดปัญหาการดูดความชื้นและสะดวกในการเก็บรักษา

ความสำคัญของแมกนีเซียมต่อพืช

แมกนีเซียมเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และเป็นส่วนประกอบสำคัญของคลอโรฟิลด์ที่เป็นสีเขียวในส่วนต่างๆของพืช คลอโรฟิลด์ในใบเป็นโรงครัวหลักที่พืชใช้สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารและส่งไปยังส่วนต่างๆ เพื่อใช้พัฒนาการเจริญเติบโต การขาดแมกนีเซียมมีผลให้การเติบโตของพืชทำได้ไม่เต็มที่ มีผลให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตต่ำ

การเตรียมแมกนิซัล® ฉีดพ่นทางใบ
นำอัตราแนะนำคูณกับปริมาณน้ำที่ใช้ต่อไร่ เช่น ใช้น้า 200 ลิตรฉีดพ่นส้มพื้นที่ปลูก 1 ไร่ = 200 กรัมแมกนิซัล® X 10 เท่าของอัตราแนะนำที่ 20 ลิตร = แมกนิซัล® ปริมาณ 2 กก./ไร่ นำแมกนิซัล®ละลายในถังน้ำขนาดเล็ก แล้วผสมกับน้าที่ใช้ฉีดพ่นทั้งหมด หากผสมใช้ร่วมกับปุ๋ยหรือสารเคมีเกษตรอื่นๆควรทดสอบผสมในปริมาณน้อยเพื่อดูความเข้ากันได้ของสารผสมก่อนนำไปใช้จริง

อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในพืช
เมื่อพืชขาดแมกนีเซียมจะพบอาการใบเหลืองระหว่างเส้นใบ โดยเริ่มต้นจะแสดงที่ใบแก่ และลุกลามสู่ใบอ่อน ถ้าพืชขาดธาตุแมกนีเซียมอย่างรุนแรง ใบพืชจะเกิดอาการแห้งตาย

การใช้แมกนิซัล® ฉีดพ่นทางใบ

การฉีดพ่นแมกนิซัล® เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเสริมธาตุอาหารพืชและกระตุ้นพัฒนาการของพืชให้เกิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งแมกนีเซียมในดินส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่พืชนาไปใช้ได้ยาก และถูกตรึงในรูปที่พืชไม่สามารถนามาใช้ได้

นอกจากนี้การฉีดพ่นแมกนิซัล® ทางใบเป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดแมกนีเซียมที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและได้ผลกว่าการใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมทางดิน ที่พืชใช้เวลานานกว่าพืชจะนาไปใช้ซึ่งอาจไม่ทันการและมีผลต่อการให้ผลผลิต

แมกนิซัล® จึงเป็นปุ๋ยแมกนีเซียมที่ดีพร้อมกับพืชทุกชนิดอย่างแท้จริง






          การใช้สารอินทรีย์เพื่อการปรับปรุงดินได้ปฎิบัติกันมาเป็นเวลาช้านานแล้วนับย้อนหลังไปก่อนที่พระเยซูคริสต์ถือกำเนิดขึ้นมาหลายพันปี หรือในสมัยอาณาจักรเมโสโปเตเมียเจริญรุ่งเรืองก็มีหลักฐานว่า เกษตรกรลุ่มแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และยูเฟรติส (Euphates) ใช้สารอินทรีย์ในการปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกกันแล้ว แม้แต่ในประเทศแถบเอเซียก็ปรากฎว่า เกษตรกรในประเทศจีนไดนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้การเกษตร เช่น มูลสัตว์ แม้กระทั่งของเสียจากบ้านเรือนใส่ลงไปปรับปรุงบำรุงในไร่นา หรือการที่ชาวอินเดียซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของอเมริกา นำเอาปลามาฝังใต้เมล็ดข้าวโพด โดยเชื่อว่าจะทำให้ข้าวโพดเจริญเติบโตดี ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกันเกษตรกรทราบดีว่า ดินดำหรือดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงเป็นดินดี เหมาะแก่การเกษตรกรรม


การจำแนกฮิวมัสหรืออินทรีย์วัตถุในดิน
ในปัจจุบันได้มีการจำแนกองค์ประกอบของฮิวมัส หรืออินทรีย์วัตถุในดินออกเป็น 2 ส่วน

1. สารนันฮิวมิค หรือ non-humic substances หมายถึง สารอินทรีย์ในฮิวมัสที่สามารถแยก และระบุองค์ประกอบทางเคมีได้ชัดเจน และมักจะมีโครงสร้างอย่างง่าย สารพวกนี้มักจะไม่มีสีและไม่ค่อยจะทีความสำคัญต่อดินมากนัก เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ขี้ผึ้ง (waxes) เรซิน (resins) เม็ดสีต่างๆ สารประกอบคาร์บอนทั้งพวกอะลิพาติก และพวกอะโรมาติก แอลกอฮอล์ auxins แอลดีไฮด์ กรดอะมิโน และกรดอินทรีย์ต่างๆ เป็นต้น

2. สารฮิวมิค หรือ humic substances
หมายถึง สารอินทรย์ในฮิวมัสซึ่งจะมีโตรงสร้างที่สลับซับซ้อน และถูงสังเคราะห์ขึ้นมาในดิน มีน้ำหนักโมเลกุลสูง เป็นสารที่มีสีตั้งแต่สีเหลืองไปจนถึงสีดำ มีคุณสมบัติเป็นกรดมีคุณสมบัติที่แผ่กระจายได้ดี สารฮิวมิคมีโครงสร้างที่เสถียร และอาจจะคงอยู่ในดินเป็นเวลานานหลายพันปี นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกสารฮิวมิคออกเป็น 3 ประเภท โดยพิจารณาจากคุณสมบัติในการละลายดังต่อไปนี้

2.1 กรดฮิวมิค หรือ Humic Acid (HA) ได้แก่ สารฮิวมิคส่วนที่ละลายได้ในด่าง แต่ไม่ละลายในกรด มีน้ำหนักโมเลกุลตั้งแต่ <1,000 ไปจนถึง >100,000
2.2 กรดฟูลวิค หรือ Fulvic Acid (FA) ได้แก่ สารฮิวมิคส่วนที่ละลายได้ทั้งในกรดและในด่าง มีน้ำหนักโมเลกุลช่วง ตั้งแต่หลายร้อยไปจนถึง >100,000

2.3 ฮิวมิน หรือ Humin ได้แก่ สารฮิวมิคส่วนที่ไม่ละลายทั้งในกรดและในด่าง มีน้ำหนักโมเลกุลสูงบางครั้งอาจสูงถุง >300,000

กรดฮิวมิค เป็นสารอินทรย์จำพวก polyphenols มีธาตุ C, H, O, N, S เป็นองค์ประกอบ และอาจมีธาตุอีกหลายธาตุเป็นองค์ประกอบรอง มีตั้งแต่สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ กรดฮิวมิคจะเป็นส่วนของฮิวมัสหรืออินทรีย์วัตถุในดินที่มีประโยชน์ต่อดินและการเกษตรมากที่สุด ซึ่งความเป็นประโยชน์ดังกล่าวก็เนื่องมาจากกรดฮิวมิคจะมีส่วนที่ออกฤทธิ์ หรือส่วนที่ทำปฏิกิริยาได้ ที่เรียกว่า reactive groups หรือ functional groups อันได้แก่ carboxyl groups, aliphatic และ aromatic hydroxyl groups, carbonyl และ amide groups ซึ่งบรรดา functional groups เหล่านี้จะทำให้กรดฮิวมิคมีความสามารถในการดูดธาตุอาหารประจุบวก (cations) และช่วยต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH ของดินอย่างเฉียบพลัน เป็นแหล่งเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช ตลอดจนให้คุณสมบัติที่ดีอื่นๆ อีกมากมาย
กรดฮิวมิคและองค์ประกอบอื่นๆ ของสารฮิวมิคนั้นจะมีอยู่ทั่วไปในดิน ในน้ำและแหล่งธรรมชาติ ในตะกอนของคลองหนองบึง ทะเลสาบ และมหาสมุทร แหล่งพรุ (peat bog) ลิกไนท์, ถ่านหินชนิดต่างๆ ในปัจจุบันเราได้ทราบว่าอินทรีย์วัตถุในดินจะเป็นสารพวกฮิวมิค

นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามที่จะสกัด (extract) สารฮิวมิคออกมาจากดินเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา Archard (1786) ได้นำดินพรุ (peat) ซึ่งเป็นดินอินทรีย์ชนิดหนึ่งมาสกัดตัวอย่าง จากนั้นได้ทำให้ตกตะกอนด้วยกรดจะได้ตะกอนสีดำเข้ม มีรูปร่างไม่แน่นอน สำหรับองค์ประกอบที่มีสีดำของอินทรีย์วัตถุในดินนั้น Debereiner (1822) ได้ตั้งชื่อว่า Humussaur หรือ humus acid กรดฮิวมิค เพื่อใช้อธิบายส่วนของ humic substances ที่ละลายได้ในด่าง แต่ไม่ละลายในกรดนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

Sperengel (1826, 1837) ได้สรุปว่าดินที่มีเบสมากจะมี humic acid เกิดรวมตัวอยู่กับสารอื่น ด้วยเหตุนี้ดินมักจะมีปฏิกิริยาเป็นกลาง คือที humus มาก อันเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในทางตรงกันข้ามในดินที่ไม่ค่อยมีเบสมักจะพบ humic acid ในรูปอิสระซึ่งในกรณีดังกล่าวดินจะเป็นกรดและไม่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งก็คือดินจะมีฮิวมัสที่เป็นกรด (acid humus) นั่นเอง นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากได้ถือว่า Sprengel เป็นผู้ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางเคมีของฮิวมัสมากที่สุดใขช่วงเวลานั้น

ต่อมา Berzelius (1839) นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนได้ทำการแยกสารฮิวมิค 2 ชนิด ออกมาจากน้ำแร่และโคลนซึ่งอุดมไปด้วยออกไซต์ของเหล็ก โดยใช้เบส (KOH) และเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดอะซิติก ซึ่งมี copper acetate อยู่ด้วยก็จะได้สารสกัดเป็นตะกอนสีน้ำตาล เรียกว่า copper apocrenate แต่เมื่อสารสกัดนี้ถูกทำให้มี pH เป็นกลางจะได้ตะกอนขึ้นมาใหม่เรียกว่า copper crenate เมื่อเวลาล่วงเลยมาอีก 20 ปี Mulder (1862) กล่าวว่า

1. Ulmin หรือ humin ไม่ละลายในด่าง

2. Ulmin acid (สีน้ำตาล) และ humic acid (สีดำ) ละลายในด่าง

3. Crenic acid และ apocrenic acid ละลายในน้ำ

ในช่วงหลังของคริสศตวรรษที่ 18 ได้มีการจำแนกวิธีการสกัดสารใหม่ๆ จากซากพืชที่เน่าสลายและจากดิน รวมทั้งจากสารผสมที่เตรียมขึ้นเองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งทำให้สามารถยืนยันได้ว่า ฮิวมัส เป็นสารอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบที่สลับซับซ้อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารคอลลอยด์ และจะมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ นอกจากนั้นยังได้ทราบข้อมูลหลายประการจากปฏิกิริยาสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างฮิวมัสกับองค์ประกอบส่วนอื่นๆ ของดินอีกด้วย Kanonova (1966) มีความเห็นว่า นักวิทยาศาสตร์แต่ละคนจะเจริญรอยตามความคิดผิดพลาดของนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนๆ โดยถือว่าสารที่สกัดออกมาได้จะเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติทางเคมีชัดเจน แต่ในช่วงปลายของคริสศตวรรษที่ 18 นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากเกิดความไม่แน่ใจในความถูกต้องของสูตรทางเคมีของฮิวมัสที่สรุปมาจากการสกัดโดยวิธีต่างๆ และมีการวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดที่ว่า สารสังเคราะห์จากห้องปฏิบัติการจะมีความคล้ายคลึงกับสารฮิวมิคที่เกิดมาจากธรรมชาติ ในช่วงเวลาดังกล่าว Hoppe-Seyler (1889) ได้เสนอศัพท์ใหม่ๆ หลายคำ โดยเฉพาะคำว่า hymatomelanic acid เพื่อสื่อความหมายองค์ประกอบของ humic acid ที่สกัดได้โดยแอลกอฮอล์ ซึ่งศัพท์คำนี้ได้เป็นที่ยอมรับกันตราบเท่าปัจจุบัน



ในคริสศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งความสนใจที่จะจำแนกสารฮิวมิคเพื่อศึกษาคุณสมบัติและโครงสร้างทางเคมีมากยิ่งขึ้น Oden (1919) ได้จำแนกสารฮิวมิคออกเป็น 4 กลุ่มคือ humus coal, humic acid, hymatomelanic acid และ fulvic acid ซึ่งจะเห็นได้ว่า Oden เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า fulvic acid นั้น เพื่ออธิบายส่วนของฮิวมัสที่ละลายได้ทั้งในด่างและในกรด สำหรับคำว่า humic acid นั้น ได้ใช้อธิบายส่วนที่มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ซึ่งละลายในด่างแต่ไม่ละลายในกรด ส่วนนี้จะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบประมาณ 58% สำหรับ hymatomelanic acid เชื่อว่าน่าจะเกิดจาก humic acid ในระหว่างการสกัดด้วยด่าง hymatomelanic acid จะมีสีจางกว่า humic acid (สีน้ำตาลชอคโกแลต) จะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบประมาณ 62% ส่วน fuvic acid นั้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ crenic acid และ apocrenic acid ที่ตั้งชื่อโดย Berzelius ในขณะเดียวกัน Oden ยังเชื่อว่า humus coal และ fulvic acid จะสื่อความหมายการแบ่งกลุ่ม ส่วน humic acid และ hymatomelanic acid จะสื่อความหมายสารประกอบที่มีองค์ประกอบทางเคมีต่างกัน

Shmuk (1924) ถือว่า humic acid ไม่ใช่สารประกอบพิเศษแต่จะเป็นส่วนผสมของสารที่มีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกัน เขาได้ศึกษาปฏิกิริยาระหว่าง humic acid กับแอลกอฮอล์ โดยมี HCI แห้งอยู่ด้วย ซึ่งจะได้ esters จาการศึกษานี้ทำให้ทราบว่ามี carboxyl group (COOH) ใน humic acid และเขายังเชื่อว่า ไนโตรเจนจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโครงสร้างของ humic acid อันเป็นทัศนะที่แตกต่างจากทัศนะของ Oden และนักวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย ที่สำคัญเขาเชื่อว่าไนโตรเจนจะได้มาจากเซลของจุลินทรีย์ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า humic acid จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนคือ สารประกอบอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (โปรตีน) และสารประกอบอะโรมาติก ซึ่งได้มาจากลิกนิน Shmuk เชื่อว่า humic acid เป็นสารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบและเป็นกรดตามธรรมชาติ ความเป็นกรดจะเกิดจากความสามารถในการดูดซับ (absorption) ซึ่งเป็นผลมาจากคุณสมบัติของคอลลอยด์ของ humic acid และเกิดมาจาก COOH group นั่นเอง



ในช่วงเวลานี้ได้มีทฤษฎีการกำเนิดของฮิวมัส 2 ทฤษฎี คือ


1. ทฤษฎีที่ฮิวมัสกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อที่เป็นลิกนินของซากพืช

2. ทฤษฎีที่ฮิวมัสกำเนิดมาจากน้ำตาลที่มีโครงสร้างอย่างง่าย

Trusov นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้ตั้งสมมุติฐานการเกิดของฮิวมัสดังนี้

1. เกิดการย่อยสลายซากพืชโดยปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส ซึ่งทำให้เกิดสารประกอบอะโรมาติกที่มีโครงสร้างอย่างง่าย

2. สารประกอบอะโรมาติกข้างต้นจะถูกออกซิไดส์ โดยน้ำย่อยของจุลินทรีย์เกิดเป็นสารจำพวก hydroxyquinones

3. เกิดปฎิกิริยาควบแน่น (condensation) ของสารจำพวก quinines กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสีเข้ม ซึ่งก็คือ สารฮิวมิค หรือ humic substances นั่นเอง

Page (1930) ได้เสนอให้ยกเลิกคำว่า humus อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากเห็นว่าคำนี้มีความหมายกว้างเกินไป แต่ได้เสนอให้ใช้คำว่า humic matter เพื่ออธิบายสารอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นคอลลอยด์มีสีดำ มีน้ำหนักโมเลกุลสูง และเสนอให้ใช้คำว่า nonhumic matter เพื่อสื่อความหมายสารอินทรีย์ที่ไม่มีสี อันเกิดจากกระบวนการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ต่างๆ เช่น เซลลูโลส ขี้ผึ้ง เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า humic matter และ nonhumic matter ที่เสนอโดย Page จะมีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า humic substance และ nonhumic substances ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน Waksman (1936) ได้เสนอให้ยกเลิกการใช้ศัพทืทั้งหมดที่ใช้สื่อความหมาย humic acid เริ่มตั้งแต่ humin, ulmin, humus, hytatomelanic acid, crenic acid, apocrenic acid และกรดอื่นๆ จนกระทั่งถึง fulvic acid และ humal acid แต่ในที่สุด คำว่า humic acid, fulvic acid, humic และ hymatomelanic acid ก็ไม่ได้ถูกยกเลิกและได้ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน

ทัศนะปัจจุบัน
ในระหว่างช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์สามารถสรุปได้ว่า humic acid และ fulvic acid จะถือกำเนิดมาจากหลายขั้นตอนในกระบวนการแปรสภาพต่างๆ ได้แก่

1. กระบวนการย่อยสลายซากพืชทั้งหมดรวมทั้งลิกนินให้เป็น monomers ที่มีโครงสร้างอย่างง่าย

2. กระบวนการแปรสภาพ monomers ซึ่งจะทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของมวลชีพในดิน (soil microbial biomass)

3. กระบวนการหมุนเวียนแปรสภาพคาร์บอนและไนโตรเจนจากมวลชีพในดิน ซึ่งจะทำให้เกิดการสังเคราะห์เซลใหม่ของมวลชั้นในดิน

4. กระบวนการรวมตัวของโมเลกุลของ monomers ให้เป็นโปลีเมอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง

นักวิทยาศาสตร์ในยุคนี้เห็นพ้องต้องกันว่า polyphenols (quinones) ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาโดนจุลินทรีย์และส่วนที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากลิกนิน หรือส่วนที่ถูกแปรสภาพให้เป็นโปลีเมอร์โดยเฉพาะหรือในเมื่อมีสารประกอบอะมิโน เช่น กรดอะมิโนอยู่ด้วย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำให้เกิดโปลีเมอร์สีน้ำตาล

แม้ว่าทฤษฎี polyphenol จะได้รับความเชื่อถือมากที่สุดแต่การเกิดของ humic acid และ fulvic acid ภายใต้แวดล้อมต่างๆ อาจจะไม่สามารถสรุปรวมเป็นรูปแบบเดียวกันได้ แต่ก็เชื่อว่าปฎิกิริยา หรือกระบวนการที่กล่าวแล้วอาจจะเกิดขึ้นด้วยกันทั้งหมด แต่เกิดในอัตราที่ต่างกัน เช่น ภายใต้สภาพน้ำขังหรือสภาพชื้นและบริเวณพรุหรือหนองบึงอาจจะเกิดปฎิกิริยาที่เกี่ยวกับลิกนิน ส่วนภายใต้สภาพภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป ซึ่งจะร้อนจัดหรือหนาวจัด อาจจะเกิดปฎิกิริยาควบแน่น (condensation) ระหว่างน้ำตาลกับ amines เป็นต้น ส่วนการสูญหายไปของกรดอะมิโนจากตะกอนที่ถูกทับถมเป็นเวลานาน ก็อาจจะเนื่องมาจากการเกิด polyelectrolytes สีน้ำตาลของไนโตรเจนจากปฎิกิริยาที่เกิดจาก reducing sugars ก็ได้

Visser(1986) กล่าวว่าฮิวมิค แอซิดเกิดจากการทับถมของพวกโปรตีน ลิกนิน เซลลูโลส เป็นระยะเวลานาน โดยขบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ดินเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ได้สารสกัดอินทรีย์ฮิวมิค แอซิด


ฮิวมิค-แอซิด
ฮิวมิค แอซิด เป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง โดยปกติมีน้ำหนักโมเลกุลตั้งแต่ 50,000 ขึ้นไป น้ำหนักโมเลกุลของฮิวมิค แอซิด จะมากกว่า fulvic acid แต่องค์ประกอบ คือ ออกซิเจนใน fulvic acid จะมากกว่าใน ฮิวมิค แอซิด

โครงสร้างของฮิวมิค แอซิด เป็นโครงสร้างที่สลับซับซ้อนมาก ประกอบด้วย

1. phenolic groups

2. carboxylic groups

3. hydroxyl groups

4. ketone groups


การสกัดฮิวมิค แอซิด จากดิน (Extraction of Humic acid)
การสกัดฮิวมิค แอซิดจากดินที่นิยมกัน ได้แก่การใช้สารละลาย 0.5N NaOH ซึ่งการใช้ 0.1N หรือ 0.4% NaOH ที่ให้ผลใกล้เคียงกับการสกัดด้วย 1% NaF อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของ NaOH จะมีผลต่อปริมาณของกรดฮิวมิค เพราะ NaOH สามารถละลายชั้นของซิลิเกตของแร่ดินเหนียวได้

การใช้เกลือที่เป็นกลางหรือด่างอ่อน เช่นโซเดียมไฟโรฟอสเฟต (Na4P2O7) หรือกรดอินทรีย์บางตัวที่น่าจะเป็นผลดีต่อการสกัดกรดฮิวมิค แต่ปริมาณที่ได้มักจะน้อยกว่าที่สกัดด้วย NaOH จากการทดลองของ Alexandrova (1960) Na4P2O7 ไม่เพียงแต่สกัดสารฮิวมิคในรูปอิสระอย่างเดียว แต่สามารถสกัดส่วนของสารอินทรีย์ที่รวมตัวอย่างซับซ้อนกับโลหะหรือแร่ดินเหนียว โดยไม่ทำลายชั้นซิลิเกต Kumada และคณะ (1967) ใช้ 0.1 NaOH และ 0.1M Na4P2O7 สกัดได้ฮิวมิคแอซิด ในปริมาณมากและป้องกันการเกิด decalcification ซึ่งมีขั้นตอนการสกัดและแยกส่วนดังนี้

Fractionations Based on Solubility Characteristics (Schnitzer and Khan 1978)

ฮิวมิค-แอซิด

การสกัดกรดฮิวมิคในเชิงการค้า
กรดฮิวมิคที่สกัดออกมาจำหน่ายนั้น จะสกัดมาจากอินทรีย์สารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบอยู่ในปริมาณมาก เช่น ลิกไนท์ แร่ leonadite หรือ oxidized leonadite ซึ่งเกิดจากการทับถมของซากพืชและซากสัตว์มาเป็นเวลานับล้านปี และมีกรดฮิวมิคเป็นองค์ประกอบอยู่ในปริมาณที่สูงถึง 85% (โลกเกษตร, 2529) นอกจากนั้นอาจจะสกัดได้จาก ถ่านหินสีน้ำตาล (browncoals) และถ่านหินขนิดอื่นๆก็ได้ ในการสกัดกรดฮิวมิคในเชิงการค้านั้น จะต้องหาวัตถุดิบที่อุดมไปด้วยกรดฮิวมิคจึงจะคุ้มกับการลงทุน วัตุดิบที่นอกเหนือจากจำพวกถ่านหินที่มีกรดฮิวมิคมาก ได้แก่ ดินอินทรีย์ชนิดต่างๆ ทั้งดินอินทรีย์ที่สลายตัวไม่มาก (peats) และดินอินทรีย์ที่สลายตัวมาก (mucks) ซึ่งอาจจะมีอินทรีย์วัตถุเป็นองค์ประกอบสูงถึง 95% ในขณะที่ดินที่ทำการเกษตรทั่วๆไปอาจจะมีอินทรีย์วัตถุน้อยกว่า 1% ทำการสกัดเป็นการค้านั้นจะไม่คุ้มค่าในการลงทุน

ประโยชน์ของกรดฮิวมิค ที่มีต่อการเกษตร
กรดฮิวมิค ให้ประโยชน์ต่อการเกษตรใน 2 กรณี กล่าวคือประโยชน์ทางตรงต่อพืชและต่อดิน
ประโยชน์ทางตรงต่อพืช ได้แก่ผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งมีอยู่มากมายหลายประการ (Visser, 1986) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. ช่วยเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพืชหลายชนิด (Dixit and Kishore, 1967) การจุ่มเมล็ดพืชลงไปในสารละลาย Sodium humate จะช่วยเพิ่มอัตราการหายใจ การดูดน้ำและการงอกของเมล็ดพืช (Smideora, 1962) นอกจากนั้นจะช่วยกระตุ้นผลผลิตและการดูดธาตุอาหารของพืช การหุ้มเมล็ดด้วย Calcium humate จะเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดได้เป็นอย่างดี

2. ช่วยเพิ่มการเจริญของราก ต้น ใบของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผลกระทบต่อส่วนรากมากกว่าส่วนของพืชที่อยู่เหนือดิน Khristeva และ Manoilova (1950) ได้จำแนกพืชออกเป็น 4 กลุ่ม ตามปฎิกิริยาที่มีต่อกรดฮิวมิค ดังต่อไปนี้

- กลุ่มที่ 1 ได้แก่ พืชที่มีแป้งมาก เช่นมะเขือเทศ ยาสูบ แครอท มันฝรั่ง ผักกาดหัว เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้จะทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับกรดฮิวมิค และภายในสภาพที่เหมาะสมก็จะเพิ่มผลผลิตพืชกว่า 50%

- กลุ่มที่ 2 ได้แก่ พวกธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับกรดฮิวมิค ได้ดีพอประมาณ


- กลุ่มที่ 3 ได้แก่ พวกที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ ถั่วชนิดต่างๆ ซึ่งจะทำปฎิกิริยากับกรดฮิวมิคค่อนข้างจะน้อย

- กลุ่มที่ 4 ได้แก่ พืชน้ำมัน เช่น ละหุ่ง ฝ้าย ลินสีด (linseed) ทานตะวัน ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับกรดฮิวมิคน้อยมาก และในบางครั้งยังแสดงปฏิกิริยาทางลบอีกด้วย

กรดฮิวมิคจะกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแผ่กระจายของรากได้ดีและจะส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตของพืชได้มากขึ้น (Lee and Barlette, 1976) กรดฮิวมิค จะเพิ่มการเจริญเติบโตของรากมากกว่าลำต้น และส่วนที่อยู่เหนือดิน และจะมีผลกระทบต่อพืชตระกูลถั่วน้อยมาก แต่ก็แทบจะไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำมัน

3. ผลกระทบที่มีต่อการดูดใช้น้ำของพืช กรดฮิวมิคจะกระตุ้นการลำเลียงน้ำในพืช และลดการสูญเสียน้ำไปจากใบ (Prat, 1960) จะมีอิทธิพลต่อโครงสร้างของเซลพืชทำให้เกิดการเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของเซลพืช

4. อิทธิพลที่มีต่อการหายใจของพืช กรดฮิวมิคจะมีอิทธิพลในการเพิ่มอัตราการหายใจ เช่น ในข้าวบาร์เลย์ มะเขือเทศ และบีโกเนีย (Khristeva, 1953; Sladky and Tichy, 1959) นอกจากนั้นยังมีรายงานว่ากรดฮิวมิคจะเพิ่มอัตราการหายใจของรากพืชเช่น ข้าวโพด พืชตระกูลฟักแฟง ข้าวสาลี (Smidora, 1960) ในบางกรณีแม้ว่าอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้น แต่สมดุลย์ของระบบการเจริญเติบโตของพืชได้

5. อิทธิพลที่มีต่อการดูดใช้ไนโตรเจนของพืช กรดฮิวมิคจะเพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ไนโตรเจนในพืช โดยจะช่วยทำให้พืชสามารถสนองต่อระดับไนโตรเจนที่มากหรือน้อยเกินไปได้โดยไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อพืช และยังจะช่วยให้พืชสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบได้มากขึ้นด้วย (Visser, 1986)

6. อิทธิพลที่มีต่อการดูดธาตุอาหารของพืช กรดฮิวมิคมีความสามารถในการกระตุ้น และยับยั้งการดูดใช้ ions ของพืช ซึ่งทั้งนี้จะเป็นผลมาจากความเข้มข้นของกรดฮิวมิค (Vimil, 1970) น้ำหนักโมเลกุลและ functional groups ที่มีอยู่ในกรดฮิวมิค เช่น carboxyl group, phenolic OH group โดยจะมีผลกระทบต่อกล้าพืชมากกว่าพืชที่โตแล้ว และยังจะเพิ่มการดูดอาหารจำพวก K, Ca, Mg และ P แต่จะยังยั้งอัตราการดูด Cl ของพืช (Mylonas and Mccants, 1980)

7. อิทธิพลที่มีต่อปริมาณคลอโรฟิลด์และการสังเคราะห์แสง กรดฮิวมิคจะทำให้เกิดการสะสมของคลอโรฟิลด์ในพืช ทำให้ใบพืชไม่เกิดอาการเหลืองชัดเจนเกินไป กรดฮิวมิคจะช่วยกระตุ้นให้รากพืชดูดธาตุเหล็ก และลำเลียงสู่ใบได้ดียิ่งขึ้น (Tan and Nopanombodi, 1979) การพ่นสารละลายกรดฮิวมิคจะทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงของผักกาดหัวเพิ่มขึ้นถึง 22%

8. อิทธิพลที่มีต่อปฏิกิริยาของแสงในพืช มีรายงานว่ากรดฮิวมิคจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งปฏิกิริยาของแสงในส่วนต่างๆของพืช (Tichy and Salajhova, 1982) เช่นในพืชจำพวกคะน้าและผักกาดบางชนิด

9. อิทธิพลที่มีต่อปฏิกิริยาของน้ำย่อยในพืช (enzyme) กรดฮิวมิคจะทำให้เกิดการเพิ่มปฏิกิริยาของน้ำย่อยในพืช โดยเฉพาะกิจกรรมของน้ำย่อย phosphorylase ในข้าวสาลี (Bukova and Tichy 1967) อิทธิพลของกรดฮิวมิคที่มีต่อปฏิกิริยาหรือกิจกรรมของน้ำย่อยจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับน้ำย่อยของพืชแต่ละชนิด เช่นกรดฮิวมิคจะยับยั้งกิจกรรมของน้ำย่อย invertase ในรากข้าวสาลี ในขณะที่ไม่มีผลต่อรากผักกาดหัวแต่อย่างใด แต่ในขณะเดียวกันจะมีผลต่อการเพิ่มกิจกรรมของน้ำย่อยในรากถั่ว (Malcolm and Vaughan, 1979) การที่กรดฮิวมิคมีฤทธิ์ต่อน้ำย่อยในพืชต่างๆกัน ดังนั้นกรดฮิวมิคจึงสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างปฏิกิริยาของน้ำย่อยกับพืชได้ด้วย

10. อิทธิพลที่มีต่อปริมาณและการกระจายน้ำตาลในพืช การที่พืชที่ปลูกในกรดฮิวมิคมีความทนทานต่อการเหี่ยวนั้น อาจจะเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของ osmotic pressure ภายในเซล ตลอดจนสาเหตุมาจากการสะสมของ reducing sugars ระหว่างเซลของพืชอีกด้วย (Visser, 1986) กรดฮิวมิคจะมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำตาล monosaccharide และ oligosaccharide อิสระในส่วนของพืชที่อยู่เหนือดิน พืชที่ได้รับกรดฮิวมิคจะมีปริมาณน้ำตาลต่ำมากในลำต้นและใบ แต่ปริมาณน้ำตาลในรากจะมากกว่า

11. อิทธิพลที่มีต่อปริมาณของสาร alkaloids ในพืช กรดฮิวมิคจะทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของสาร alkaloids ในพืชโดยเฉพาะในยาสูบ (Aitken et al 1964) การเพิ่มปริมาณของสาร alkaloids ในพืชสมุนไพรต่างๆ เมื่อได้รับกรดฮิวมิคที่สกัดจากดินพรุ ก็เนื่องมาจากอิทธิพลของกรดฮิวมิคนั่นเอง (Tolpa, 1976)

12. อิทธิพลที่มีต่อการเกิดปมรากของถั่ว จากการศึกษาพบว่า กรดฮิวมิคจะทำให้พืชตระกูลถั่วมีน้ำหนักแห้งเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของถั่วลิสง ถั่วเหลือง และถั่ว clovers (Tan and Tantiwiramanond, 1983) และถั่วที่ได้รับกรดฮิวมิคที่มีระดับความเข้ม 100 มิลิกรัม/ลิตร จะมีจำนวนปมรากที่เพิ่มขึ้นด้วย

13. อิทธิพลที่มีต่อการสังเคราะห์โปรตีนในพืช เช่น ในกรณีของข้าวบาร์เลย์ซึ่งกรดฮิวมิคจะกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนดังการศึกษาของ Dall’Agnola et al (1981)

14. อิทธิพลที่มีต่อลักษณะทางกายวิภาคของพืช เช่น จะทำให้ระบบการลำเลียงน้ำและอาหารของมะเขือเทศ ผักกาดหัว เจริญได้ดีขึ้น กรดฮิวมิคจะมีผลกระทบต่อเนื่อเยื่อต่างๆ ตามลำดับจากมากไปน้อย คือ parenchyma > collenchyma > sclerenchyma และก็เชื่อว่ากรดฮิวมิคจะมีอิทธิพลต่อ meristemic cells มากที่สุด (Visser, 1986)


ประโยชน์ทางตรงต่อดิน
สำหรับประโยชน์ทางตรงของกรดฮิวมิคต่อดิน ก็ได้แก่อิทธิพลของกรดฮิวมิคที่มีต่อคุณสมบัติทางกายภาพเคมี และจุลชีววิทยาของดิน ตลอดจนทำหน้าที่เป็นแหล่งของธาตุอาหารพืชและจุลินทรีย์ในดิน (Schnitzer, 1978) ให้สีแก่ดิน รักษาเสถียรภาพและโครงสร้างของดิน ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของดินอย่างฉับพลันของ pH ของดิน รวมตัวกับโลหะทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อน ซึ่งมีผลต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร พืชดูดซับยาปราบศัตรูพืช เป็นการสลายฤทธิ์ของยาดังกล่าวได้ ทำให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำสูง ฯลฯ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อดินเพื่อการเกษตรทั้งสิ้น

ประโยชน์ทางอื่น
นอกจากนั้นกรดฮิวมิคยังถูกนำมาใช้ในการเกษตรอื่นๆ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และการแพทย์ไปด้วย เช่น ใช้เป็นสารผสมปุ๋ยและ sprays ใช้หุ้มเมล็ด ใช้เป็นสารอาหารในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรืออาจใช้เป็นสารผสมดิน

ในทางอุตสาหกรรมอาจใช้เป็นสารยับยั้งการกรัดกร่อนของโลหะ ใช้อนุรักษ์ไม้ ใช้เป็นสารลอยตัว หรือสารที่ทำหน้าที่แผ่กระจาย (dispersant)

ในด้านสิ่งแวดล้อม ใช้เป็นสารดับกลิ่นของเหลวและแก๊ส ใช้ดูดซับยาปราบศัตรูพืช ใช้กำจัดน้ำเสีย

ในด้านการแพทย์ กรดฮิวมิคได้ถูกนำมาใช้ในการต่อต้านจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกระตุ้นกับใช้รักษาแผลในทางเดินอาหาร ห้ามเลือด รักษาผิวหนังไหม้และเนื้องอก ฯลฯ

การใช้ฮิวมิค แอซิด ในต่างประเทศ
ฮิวมิค แอซิดที่มีอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด เช่นในสหรัฐอเมริกา จะมีชื่อทางการว่า Energizer หรือ Powergizer เป็นฮิวมิค แอซิดที่สกัดมาจากแร่ Leonadite ได้โดยตรงโดยไม่มีการเติมธาตุอื่นๆ ลงไปด้วย อย่างไรก็ตามในบางกรณีอาจจะมีการแสมธาตุอาหารพืชบางธาตุลงไปเพื่อความเหมาะสมสำหรับพืชบางชนิด ในประเทศญี่ปุ่น ฮิวมิค แอซิด ที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรจะมีชื่อว่า Humic 12% บางครั้งอาจมีการผสมธาตุเหล็ก และธาตุอาหารพืช ต่างๆลงไปซึ่งเป็นการปรุงแต่งฮิวมิค แอซิดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศกรีซ มีการใช้ฮิวมิค แอซิดผสมปุ๋ยน้ำ ซึ่งพบว่าให้ผลดีกับยาสูบ กล้วยและพืชผัก ประเทศมาเลเซีย เริ่มมีการนำเอาฮิวมิค แอซิดเข้ามาในประเทศเมื่อ ปีพ.ศ. 2530 โดยใช้ชื่อทางการคำว่า Vegrifol-P ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต (growth promoter) โดยใช้ในรูป seed treatment, transplanting และ field application กับต้นยาสูบ, ถั่วลิสง, ผัก, ข้าว, อ้อย, ปาล์ม และกาแฟ ประเทศได้หวัน ได้มีการนำเอาฮิวมิค แอซิด เข้าไปใช้ประมาณปีพ.ศ. 2530 โดยใช้ชื่อทางการว่า Energizer 12% โดยใช้เป็น seed treatement, ใช้ร่วมกับยาฆ่าแมลง ใช้พ่นทางใบให้กับพืช และใช้ฉีดพ่นลงไปในดิน ในเห็ดหูหนู, ไม้ผล และกระหล่ำปลี (chinese cabbage)

ในประเทศอิตาลีมีการใช้ฮิวมิค แอซิดกับพืชต่างๆ เช่น สตอเบอรี่, แอปเปิ้ล, มะเขือ, แตงโม และมีการใช้ฮิวมิค แอซิดผสมกับยาฆ่าแมลงในยาสูบ นอกจากนี้ยังมีการใช้ฮิวมิค แอซิด ในประเทศสเปน, ฟิลิปปินส์ ในพืชชนิดต่างๆ เช่นมันฝรั่ง, ฝ้าย, ถั่ว, แตงโม, ส้ม, แอปเปิ้ล, องุ่น, พืช ฯลฯ ดังการทดลองดังนี้

เมล็ดผักกาดหัวเมื่อใช้ฮิวมิค แอซิด ที่สกัดจากลิกไนท์ความเข้มข้น 10 และ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ hypocotyl และ mesocotyl ยาวขึ้น (Petrovic และคณะ, 1982) ส่วนพืชอื่นๆ มีการรายงานว่าการใช้ฮิวมิค แอซิดซึ่งสกัดจากถ่านหินและพีท ในความเข้มข้น 20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทำให้ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้น 0.39 ตันต่อเอกตาร์ (Khristeva, 1970) หรือการใช้ฮิวมิค แอซิดที่สกัดจากดินในอัตรา 640 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทำให้ผลผลิตของข้าวโพดเพิ่มขึ้นปริมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ และ 140 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นในแตงกว่า (Tan และ Nopamornbodi, 1979) และเมื่อใช้ฮิวมิค แอซิด ที่สกัดได้จากดิน ในอัตรา 800 และ 100 มิลลิกรัมต่อดิน 1 กิโลกรัม ผลผลิตของถั่วลิสงเพิ่มขึ้น 13-17 เปอร์เซ็นต์ และ 10-30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (Tan และ Tantiwitramanond, 1973) ฮิวมิค แอซิดมีผลต่อการเจริญเติบโตของรากมากกว่าส่วนเหนือดิน (Flair, 1968 และ Kononova, 1971) และส่วนของลำตันดูเหมือนว่าการตอบสนองต่อฮิวมิค แอซิด จะต่างกันตามชนิดของพืชเช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ แครอท และ sugarbeat ซึ่งเป็นพืชที่มีคาร์โบไฮเดรทสูง จะตอบสนองได้ดี โดยผลผลิตจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ (Khristeva, 1953) การดูดใช้ไนโตรเจนของพืช โดยใช้ฟูลวิค แอซิดที่สกัดจากดินในความเข้มข้น 100-300 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าการดูดใช้ไนโตรเจนเพิ่มขึ้น 130 เปอร์เซ็นต์ ในแตงกวา (Rauthan และ Schnitzer, 1981) การทดลองใช้ฮิวมิค แอซิด ที่สกัดจากปุ๋ยหมัก ในอัตรา 10 มิลลิกรัมต่อปุ๋ยหมัก 1 กิโลกรัม พบว่าการดูดใช้ไนโตรเจนเพิ่มขึ้น 30 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ใน millet และข้าวโอ๊ต ตามลำดับ (Kononova และ Alexandrova, 1971)

อ้างอิง :โดย    ปรัชญา ธัญญาดี, เมธี มณีวรรณ, สุภาพร จันรุ่งเรือง













 .........................................................
 ซอยล์ไลฟ์ (SOIL LIFE )


โครงการกู้ชีวิตดินกับวันเดอร์แลนด์  ฟื้นดินตายให้กลายเป็นดินเป็น
เกษตรกรยุคใหม่  ใส่ใจ... ซอยล์ไลฟ์ (SOIL LIFE ) เพราะ "ซอยล์ไลฟ์" ช่วยให้
•    ดินโปร่ง ร่วนซุย
•    พืชดูดกินปุ๋ยได้ดี
•    พืชมีระบบรากสมบูรณ์
•    ช่วยเพิ่มพูนผลผลิต
•    พิชิตโรคทางดิน
สารอินทรีย์จากธรรมชาติ สูตร..เข้มข้น อัตราใช้ต่ำ 15 กรัมต่อน้ำ 20ลิตร (1ปิ๊บ)
ฉีดพ่นหรือรดลงดิน เก็บเกี่ยวผลผลิต กินตลอดกาล

“ซอยล์ไลฟ์” > สารระเบิดดินดาน ที่ทึบ แน่นแข็ง ให้โปร่งร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศดี
“ซอยล์ไลฟ์” > “กุญแจไขและปลดล็อค” ธาตุอาหารในดินให้พืชดูดกินอย่างสมบูรณ์
“ซอยล์ไลฟ์” >  ให้ออกซิเจน (O2) แก่ดิน เพื่อฟื้นดินให้มีชีวิตและรากพืชงอกเร็วและแผ่ขยายได้เร็วขึ้น
“ซอยล์ไลฟ์” >  เพิ่มอินทรีย์วัตถุ สร้างแหล่งอาศัยให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆได้
“รากฝอยแผ่กระจาย ผลผลิตเพิ่มมากมาย พืชขยายต้น ขยายใบให้ใหญ่งดงาม ต้นเขียวสมบูรณ์ เพิ่มพูนรายได้”
๏ สำหรับ...ยางพารา ควรใช้ “ซอยล์ไลฟ์” เพื่อช่วยปรับสภาพดิน ที่เสียหายจากการใช้ปุ๋ยเคมีมานาน ทำให้โครงสร้างดินแน่นทึบ ระบายน้ำไม่ดี สะสมเชื้อโรค อาทิ โรครากขาว,โรคโคนเน่าและต้นยางพาราดูดกินปุ๋ยได้ไม่ดีเพราะธาตุอาหารถูกตรึงไว้ ควรใช้ “ซอยล์ไลฟ์” อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (1ปิ๊บ) รดต้นยางพาราต้นละ 1 บัว จะช่วยให้สภาพดินฟื้นขึ้นมาได้

ออร์กาเนลไลฟ์ : “เรารู้จริง ในสิ่งที่เราทำ”
ซอยล์ไลฟ์ ( SOIL LIFE )
“ซอยล์ไลฟ์” ( SOIL LIFE ) เป็นสารอินทรีย์เข้มข้นที่สกัดมาจากธรรมชาติ มีประโยชน์อย่างยิ่งในการบำรุงดิน ปรับปรุงคุณภาพของดิน แก้ดินเป็นกรด ซึ่งจะมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง ออกดอกและผลดก ลดปัญหาการระบาดของเชื้อโรคทางดิน อาทิ โคนเน่า โรครากเน่า โรคเหี่ยวเฉา ฯลฯ และที่สำคัญคือช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป ช่วยเสริมการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พืชดูดกับธาตุอาหารได้ อย่างเต็มที่ “ซอยล์ไลฟ์” สามารถละลายน้ำได้ดีมาก จึงสามารถใช้กับระบบน้ำหรือฉีดพ่นได้

ซอยล์ไลฟ์ คุณค่า 2 พลัง
1.    พลังต่อดิน
2.    พลังต่อพืช     
                
•    พลังต่อดิน
1.    ช่วยปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ไม่จับตัวแน่นแข็ง
อากาศถ่ายเทได้สะดวก ระบายน้ำดี ช่วยอุ้มน้ำและออกซิเจน
2.    ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง (PH) ของดิน ทำให้ดินไม่เสื่อม
ง่ายจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่างๆและปลดปล่อยธาตุอาหารได้มากขึ้น
3.    ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
ทำให้พืชได้รับสารอาหารจากธรรมชาติได้ดี
4.    ช่วยให้พืชสามารดูดซึมธาตุอาหารทางรากได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็น ธาตุอาหารหลัก
ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม จึงช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี พืชงามสมบูรณ์
5.    ช่วยส่งเสริมขบวนการไนตริฟิเคชั่นได้ดีขึ้น
6.    ช่วยลดอัตราการใช้ปุ๋ยลงได้ถึง 30 – 50 %

•    พลังต่อพืช

1. ส่งเสริมการสร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน (AUXIN) ในพืช เพื่อการกระตุ้นแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโตของพืช  พืชเติบโตเร็ว ใบเขียวใหญ่
2. ช่วยเร่งการทำงานของเอ็นไซม์และวิตามินในเซลล์พืช ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นต้น
3. ช่วยให้พลังงานและขนส่งปุ๋ย สารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมนและเอ็นไซม์ต่างๆในพืชจากรากหรือใบไปยังจุดที่พืชต้องการอย่างรวดเร็ว
4. ช่วยรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้า เคมีต่างๆในเซลล์พืชทุกเซลล์ ซึ่งมีความสำคัญมากในสิ่งมีชีวิต เพื่อการเจริญเติบโตและแข็งแรงได้เต็มที่
5. ช่วยเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพิ่มจำนวน DNA ในเซลล์พืชและเพิ่มกระบวนการสังเคราะห์  RNA
6. ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ อาทิ ความหนาวเย็น ความแห้งแล้ง
         




ซอยล์แอสท์
SOIL - AST  “สารปรับสภาพดินและบำรุงดิน” (SOIL Conditioner)

คุณสมบัติ
1. ซอยล์แอสท์ ช่วยลดความเป็นกรดในดินล่าง เนื่องจากดินล่างมีอะลูมินั่มสูง อะลูมินั่มจะรวมตัวกับอนุมูลซัลเฟตใน ซอยล์แอสท์ เป็นอะลูมินั่มซัลเฟต ทำให้อะลูมินั่มไม่ละลายในน้ำ ซึ่งจะทำให้ดินเป็นกรดน้อยลง
2. ซอยล์แอสท์ เพิ่มคุณค่าของสารอินทรีย์ เมื่อผสมซอยล์แอสท์ กับสารอินทรีย์ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน เช่น สารอินทรีย์วัตถุ เนื่องจากแคลเซียมซึ่งเป็นองค์ประกอบของ ซอยล์แอสท์ จะช่วยลดการเผาผลาญของอินทรีย์วัตถุในดิน แคลเซียมทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างอินทรียวัตถุกับดินเหนียว
3. ซอยล์แอสท์ ลดการพังทลายของน้ำและอากาศในดิน ลดปัญหาดินฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย เมื่อใช้ร่วมกับสารโพลิเมอร์ ลดปัญหาสารตกค้างของยาฆ่าแมลงหรือธาตุอาหารที่ตกค้างมากเกินไป
4. ซอยล์แอสท์ ช่วยการเตรียมดินในระบบการไม่ไถพรวนดินการใส่ ซอยล์แอสท์ ในระบบไม่ไถพรวนดิน จะช่วยปรับปรุงดิน ดินเกาะตัวเป็นก่อนเล็กๆ ทำให้ง่ายต่อการซึมน้ำและการใส่ปุ๋ยที่ผิวดินจะแทรกซึมลงไปในดินได้ง่ายขึ้น
5. ซอยล์แอสท์ เป็นแหล่งให้ออกซิเจนแก่พืช อนุมูลซัลเฟตใน ซอยล์แอสท์ จะถูกพืชดูดย่อยแล้ว
ปลดปล่อยออกซิเจนให้แก่รากพืชได้ส่วนหนึ่ง
6. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน เนื่องจาก ซอยล์แอสท์ ให้ธาตุแคลเซียม ซึ่งช่วยให้ดินเหนียวจับตัว
เป็นก้อนทั้งในสภาพดินเป็นกรดหรือด่าง ช่วยให้รากเจริญเติบโต ทำให้อากาศและน้ำผ่านระหว่างเม็ดดินได้สะดวกขึ้น
7. ซอยล์แอสท์ ใส่ในดินเค็ม ช่วยลดค่ากรด – ด่างของดิน
8. ซอยล์แอสท์ เสริมสร้างค่าความนำไฟฟ้าให้เหมาะสม เนื่องจาก ซอยล์แอสท์ ช่วยปรบปฏิกิริยาเคมีของดินให้เหมาะสมกับการสร้างเม็ดดิน ป้องกันการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดิน
9. ผลของการใส่ ซอยล์แอสท์ กับพืชที่ลงหัวในดิน เช่น มันฝรั่ง เผือก หอม กระเทียม ทำให้ดินไม่เกาะติดที่รากหรือหัวของพืช
10. ซอยล์แอสท์ ช่วยลดสภาพดินที่อัดตัวกันแน่นมาก ควรใช้ร่วมกับการไถดินลึกและการใช้วัตถุอินทรีย์
11. ดินเค็มที่มีโซเดียมสูง ทำให้มีโบรอนละลายอยู่ในดินมาก การใส่ ซอยล์แอสท์ จะช่วยชะล้างโบรอนออกจากดินได้มากขึ้น
12. ซอยล์แอสท์ ลดการสูญเสียไนโตรเจนในปุ๋ย ลดการสูญเสียในรูปของการระเหิดของแอมโมเนียในปุ๋ย แอมโมเนียมฟอสเฟต ยูเรีย นอกจากนี้ยังช่วยในการดูดใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในพืชอีกด้วย
13. ซอยล์แอสท์ ป้องกันการเกิดสภาพดินเกาะตัวกันแน่น ซึ่งเกิดจากฝนตกหรือการฉีดพ่นฝอยของการ
ให้น้ำที่ผิวดิน ผลจากการหว่าน ซอยล์แอสท์ หรือให้พร้อมกับระบบให้น้ำ จะทำให้พืชงอกได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม 50 – 100 %
14. ซอยล์แอสท์ ลดความหนาแน่นของดิน ยิ่งถ้าใช้ร่วมกับสารอินทรีย์วัตถุ จะช่วยทำให้ลดความหนาแน่นดินรวมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทำให้สะดวกต่อการไถพรวน
15. ซอยล์แอสท์ ลดสารพิษที่เป็นโลหะหนัก เนื่องจากแคลเซียมทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการปรับความสมดุลของธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานิส สังกะสี และทองแดงที่อยู่ในตัวพืช นอกจากนี้แคลเซียมยังป้องกันการดูดธาตุที่ไม่จำเป็นต่อพืชที่มีมากเกินไปจน เป็นอันตรายต่อพืช
16. ซอยล์แอสท์ สามารถลดค่าพี – เอชของดิน โดยเฉพาะในดินที่มีพี – เอช สูง ซึ่งมีผลกระทบต่อการเป็นประโยชน์ของเหล็ก และสังกะสี
17. ซอยล์แอสท์ เป็นแหล่งสำรองให้ธาตุกะมะถัน เนื่องจากการผลิตปุ๋ยเคมีสูตรสูง กำมะถันถูกกำจัด
ออกไปและผลจากการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซต์ในระบบการทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรมเพื่อทำให้อากาศบริสุทธิ์ จึงทำให้เกิดการขาดแคลนกำมะถันในระบบการเกษตร
18. ซอยล์แอสท์ ใส่ในดินกรดจัด ช่วยเพิ่มค่า พี – เอชของดิน
19. ในสภาพดินที่มีสัดส่วนระหว่างแคลเซียม – แมกนีเซียม ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การใส่ ซอยล์แอสท์ จะช่วยปรับสัดส่วนของแคลเซียม – แมกนีเซียม ให้เหมาะสมต่อพืช
20. ซอยล์แอสท์ ปรับปรุงคุณภาพของผลไม้และป้องกันการเกิดโรคพืชเนื่องจากแคลเซียมในพืชมักมี อยู่จำนวนจำกัดและอาจขาดแคลนในไม้ผลบ่อยมาก คุณภาพของผลไม้ต้องการแคลเซียมที่เพียงพอเนื่องจากแคลเซียมเคลื่อนที่ช้าใน ต้นพืชและจะต้องมีปริมาณที่เพียงพอที่รากพืช  ซอยล์แอสท์ ช่วยป้องกันการเกิดโรคปลายรากเน่าของแตงโมและมะเขือเทศ ซอยล์แอสท์ เหมาะสำหรับดินกรดที่ปลูกมันฝรั่ง สามารถควบคุมโรคสแคปได้ดี
21. ซอยล์แอสท์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การใส่ซอยล์แอสท์ ทำให้ดินซาบซึมน้ำได้ดี ทำให้มีน้ำที่เป็นประโยชน์แก่ดินเพิ่มขึ้น 25- 100%
22. ซอยล์แอสท์ แก้ปัญหาดินเค็ม เนื่องจากดินมีปริมาณเกลือโซเดียมสูงมาก แคลเซียมใน ซอยล์แอสท์ จะไปแทนที่โซเดียมในอนุภาคดินเหนียว โซเดียมจะถูกน้ำซะล้างออกไปจากดิน
23. ซอยล์แอสท์ แก้ปัญหาดินเหนียวพองตัวและแตกระแหง อันเนื่องมาจากดินเหนียวมีโซเดียมสูงมากแคลเซียมจาก ซอยล์แอสท์ จะเข้าแลกที่ประจุของโซเดียมที่ผิวดิน
24. ซอยล์แอสท์ สนับสนุนการใส่ปูน การใส่ ซอยล์แอสท์ ร่วมกับการใส่ปูน ทำให้การสูญเสียโพแทสเซียมและแมกนิเซียมจากการชะล้างลดลง มีผลทำให้เพิ่มผลผลิตพืชได้ดี
25. ซอยล์แอสท์ ช่วยให้ดินเปียกชื้น ทำให้ไถดินง่ายขึ้น
26. ซอยล์แอสท์  เพิ่มให้ดินรวมตัวกับอินทรียวัตถุ เนื่องจากมีแคลเซียมเป็นตัวเชื่อม ทำให้เกิดความคงตัวของดินกับอินทรีย์วัตถุ
27. ซอยล์แอสท์ หยุดยั้งการไหลบ่าของน้ำและการพังทลายของดิน เนื่องจากที่หว่านด้วย ซอยล์แอสท์ทำให้ดินซึมน้ำง่ายขึ้น
28. ซอยล์แอสท์ ช่วยดูดซึมธาตุอาหาร แคลเซียมใน ซอยล์แอสท์ เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างกลไกทางชีวเคมีของพืช ทำให้รากพืชดูดใช้ธาตุอาหารได้ดีขึ้น
29. ซอยล์แอสท์ ลดความเป็นพิษของเกลือโซเดียม สำหรับในพืชที่ไม่ทนเค็ม แคลเซียมใน ซอยล์แอสท์ จะช่วยลดความเป็นพิษของเกลือโซเดียม ที่มีผลกระทบต่อความงอกของเม็ดพืชและการเจริญเติบโตของพืช

อัตราและวิธีใช้  50 - 100 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ หว่านพร้อมไถพรวน หรือหลังจากไถพรวนแล้ว

ขนาดบรรจุ 20 กิโลกรัม





 ORG-5 Granules : ORG-5 เม็ด





Multi Activity Bio organic Granules. เม็ดเดียวครบเครื่องให้กับพืช

Contents -ประกอบด้วย สารสำคัญ

          - Sea weed extract
          - amino acids
          - neem oil
          - humic acid
          - anti root rot substances



An unique Patented granular formulation for plant growth as well as for effective preventive measures against pests and fungi. It can be used for all crops. G5 contains five different constituents - Due to sea weed based bio-fertilizer there is overall growth of crops due to plant cell division and increase in number of plant cells. Due to blend of vital amino acids, crops gets required nourishment at different stages of its growth. Hence there is healthy and vigorous growth with increased number of flowers and fruits Due to Humic acid, there is profuse growth of white roots. Roots become healthy which ultimately enhance plant growth. Due to Neem Oil, plants are protected from sucking pests in the initial stages of their growth. Neem oil also prevents attacks from other insects and pests as well as protect the plant from Nematodes and Termites. Due to Anti root rot substances, soil gets sterilized by killing harmful fungi such as Fusarium and Pythium. Due to its unique constitution, it has proved to be miracle for all types of crops. since all the five constituents are made available to the crop at once, crop is benefited right from the initial stage till the harvest.


      จาก 5 วัตถุดิบที่ผ่านขบวนการทางธรรมชาติในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพืชเพื่อการเจริญเติบโต และการป้องกันและต้านทานต่อศัตรูพืช


ORG-5 สามารถใช้ได้กับทุกพืช

ORG-5 ประกอบด้วยสารสำคัญ 5 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีประสิทธิผลต่อพืชดังนี้

1. Sea weed extract สาหร่ายสกัดธรรมชาติ มีผลให้พืชเจริญเติบโตโดยการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์ ทำให้พืชเติบโตโดยสม่ำเสมอ

2.amino acids ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืช โดยให้กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่พืชนำไปใช้เพื่อสร้างโปรตีนในการเจริญเติบโต

3. Humic acid ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพของรากพืชให้พัฒนาสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่ในการดูดน้ำหาอาหารได้เต็มที่ ช่วยโครงสร้างของดินให้มีอากาศเพียงพอและร่วนซุย และยังเปลี่ยนสภาพของปุ๋ยที่อยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้

4. Herbal extract สารสกัดจากพืชสมุนไพรและสารสะเดาในรูปน้ำมัน เมื่อพืชต้องแสงแดดจะทำให้สารเหล่านี้ออกฤทธ์ในการป้องกันแมลงและยังใช้ใน การยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อในดิน และยังสามารถป้องกันใส้เดือนฝอยและปลวกด้วย

5.Anti root rot substances
ช่วยให้ดินปราศจากโรคพืชที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะจากเชื้อ Fusarium และ Pythium.


Dosage -  8 to 16 kg per Acre as per type of crop.

อัตราการใช้   3 - 6 กิโลกรัม ต่อไร่









ซาร์คอน
 

คุณประโยชน์ 3 ประการของสารสำคัญที่มีอยู่ใน "ซาร์คอน"
1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์รากพืช

2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) ทำหน้าที่เสมือน"วัคซีนพืช" ควบคุมโรคทั้งจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

3. กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate)
(SARCON ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก ไม่ใช่สารเคมีฆ่าเพลี้ยฆ่าแมลง ไม่ใช่สารเคมีกำจัดโรค แต่เป็นกรดอินทรีย์สังเคราะห์หลายตัวที่ทำหน้าที่ต่างๆต่อกระบวนการทำงานทาง ชีวเคมี(Biochemistry) และทำหน้าที่ได้หลายๆด้าน)
และหนึ่งในนั้นคือกระบวนการ"Revitalize" เซลล์รากและสร้างสัดส่วนราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร)กับราก"Fibous root"(รากหาอาหาร) ที่เหมาะสมในปริมาณที่มากพอต่อการสร้าง"Tuber"(โดยผ่านกระบวน การTuberization)
และอีกหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป "Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ "Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ แต่ตัวเพลี้ยมันดูดยาเข้าไปมันก็ตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้ว


เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ใน ใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลล์ของเซลล์ผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง

(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม เลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ

Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง

มี ส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืช เมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการ สังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น

กรดซิลิซิคที่รวมตัวกัน เป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อย ธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช

หน้าที่บางอย่างในหลายๆอย่างของ"ซาร์คอน"

1) Revitalize ระบบเซลล์ราก (รากมาก รากเยอะ รากแข็งแรง) และเป็นรากสะสมอาหารเป็นส่วนใหญ่

2) Systemic Acquired Resistances (SAR) กระบวนการภูมิคุ้มกันโรคเสมือนได้รับ"วัคซีน" (โรคใบไหม้ ใบหงิก โรครากเน่า โรคหัวเน่า โรคเหี่ยวเฉา บรรเทาและเบาบาง ลงไป)

3) Drought Tolerance  ต้านทานความแห้งแล้ง ความร้อน ทนทานต่อการเหี่ยว การขาดแคลนน้ำ

4) Agglomeration กระบวนการสร้างผลึกแข็ง( Colliods Aggregrate) ของ Orthosilisic acidเพื่อไปสะสมที่ผนังเซลล์ (Cell Wall)ทำให้ผนังแข็งแกร่งดุจคอนกรีต ป้องกันเพลี้ยต่างๆอาทิ ที่จะมาเจาะดูน้ำเลี้ยงและปล่อยเชื้อไวรัสไว้

5) Detoxicity ช่วยทำลายสารพิษตกค้างในดินที่จะทำอันตรายให้แก่พืช โดยการจับยึดไว้

6) Liberation of Nutrient ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดิน







ออร์กรีน
ออร์กรีน (ORGreen) ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา ผีเสื้อมรกต


เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในฝันที่พืชทุกพืชขยันตามหากันมานานก็เพราะว่า ORGreen มีองค์ประกอบหลายอยำงที่จาเป็นตํอพืชและพืชต๎องการ ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆไมํมี ไมํวำจะเป็นสาร Malate ซึ่งเป็นสารตั้งต๎น (starter) ในกระบวนการทำงานของเซลล์พืช หรือ Fulvic acid ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารและรักษาสมดุลย์แรํธาตุสารอาหารตำงๆ และ Amino acid เป็นต้น

ORGreen : มีสาร “Malate” ซึ่งเป็นสารตั้งต๎น (starter) ในกระบวนการทางานของเซลล์ ทำให้พืชดำเนินกิจกรรมของเซลล์ได้อยำงสมบูรณ์ ไมํมีการสะดุดหรือหยุดชะงัก ไมํวำสภาวะแวดล้อมทั้งอุณหภูมิหรือสภาพดิน ฟ้า อากาศ จะแปรปรวนเพียงใดก็ตาม ไมํว่าจะหนาวจัด, ร้อนจัด, แล้งจัดหรือชํวงแสงน้อยจนทำให้พืชสังเคราะห์แสงหรือปรุงอาหารได้ไมํเต็มที่ พืชเองก็ยังคงเจริญเติบโตได้ตามปรกติ เพราะเราให้สาร Malate เป็นสารตั้งต๎นแบบลัดวงจรโดยเลียนแบบธรรมชาติที่พืชเคยสร้างได้เอง จึงทำให้พืชเจริญเติบโตดี ต้นอวบใหญํ ใบเขียวเข้ม ให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ติดดอกออกผลดก ผลผลิตสูง คุณภาพสูง
ปลูกยางพาราก็ให้น้ำยางพาราดี มีน้ำหนัก มีเปอร์เซ็นต์น้ำยางสูง ปลูกปาล์มน้ำมันก็ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันมาก เปอร์เซ็นต์สูง ปลูกมันสาปะหลังก็ให้มันหัวใหญํ น้ำหนักมาก เปอร์เซ็นต์แป้งสูง ปลูกข้าวก็ให้ผลผลิตข้าวสูง เมล็ดเต็ม เปอร์เซ็นต์แป้งสูง

 ORGreen : มีกรดฟลูวิค (Fulvicacid) ซึ่งเป็นหัวใจในการบริหารและจัดการ รักษาสมดุลแรํธาตุและ สารอาหารตำงๆของพืช ชํวยเพิ่มการดูดซึมธาตุอาหาร ชํวยกำจัดสารพิษออกจากพืช (Detoxification) เพิ่มขบวนการสังเคราะห์โปรตีนและการสะสมน้ำตาลในพืช ทาให้พืชมีผลตอบสนองที่ดีที่สุด

 ORGreen : มีกรดอะมิโน (Aminoacid) ในรูปคีเลท (chelate) ขนาดเล็กที่สุด ทำให้ผำนเข้าสูํเซลล์ได้งำยและรวดเร็ว ทาให้พืชได้รับพลังงานและอาหารสะสมได้ทันที โดยไมํผำนกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช พืชจึงเติบโตเร็ว แข็งแรง ให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ

ที่กลำวมาเป็นเพียงบางสํวนใน ORGreen ที่ปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ “ไมํมี” และเชื่อได้เลยวำปุ๋ยอินทรีย์แบบนี้ไมํมีใครทำได้ เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ไมํมีใครเหมือนและไมํเหมือนใคร เพราะเราใสํ “หัวใจของพืช” ลงไปนั้นคือเราใสํสาร “Malate” ซึ่งเป็นสารตั้งต๎น (starter) และ สำคัญจริงๆ ในวงจรชีวิต ของพืชในกระบวนการเมทาบอริซึมของพืช พืชจะเติบโตได้อยำงไมํมีที่สิ้นสุด...ไมํสะดุด..ไมํชะงักงัน ไมํวำกลางคืนหรือกลางวัน พืชจะสร้างผลิตภัณฑ์ตำงๆได้ไมํวำจะเป็นน้ำยาง,น้ำมัน,น้ำตาล,แป้ง ก็ตาม ที่ได้อยำงครบถ้วนสมบูรณ์ ชํวยเพิ่มพูนคุณภาพ และผลผลิตของพืชได้เป็นอยำงดีเยี่ยม ใช้แล้วรู๎สึกได้ทันทีวำไมํมีใครเหมือน...ผู้ที่รู้ดีที่สุดและสามารถให้คำ ตอบได้ดีก็คือ “พืชของทำน” นั่นเอง

ขนาดบรรจุ 25 กิโลกรัม

อัตราและวิธีการใช้
50 - 100 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ โดยการหว่าน หรือ ฝังบริเวณรอบลำต้น
 



084-8809595 , 084- 3696633
Line ID : organellelife
www.organellelife.com