วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการปลูกยาสูบ

                                                   คำนำจากผู้เขียน

    เอกสารยาสูบฉบับนี้ ไม่ใช่ตำราวิชาการ แต่เป็นเอกสารที่รวบรวมและเขียนขึ้นจากความรู้และประสบการณ์ของผู้เขียนเองที่มีอยู่หลังจากได้คลุกคลีอยู่กับงานในไร่ปลูกยาสูบของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดน่านมาเป็นเวลามากกว่า 30 ปี  ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมาได้พบเห็นปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับการผลิตใบยาสูบ และผู้เขียนเองก็พยายามใช้ความรู้เท่าทีมีอยู่หาแนวทางแก้ไขและหาทางออกตลอดมาซึ่งก็มีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวในบางครั้ง  แต่ก็พยายามทุกเวลาที่จะพัฒนาและหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้การพัฒนาอาชีพการเพาะปลูกยาสูบของเกษตรกรให้มีความก้าวหน้าต่อไป
    ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า  เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่ตำราวิชาการ ดังนั้นแนวทางบางอย่างอาจไม่ตรงกับความคิดของผู้อื่นเสมอไป  ผู้เขียนเองก็น้อมรับคำติชมและความคิดเห็นต่าง ๆ จากผู้รู้ทุกท่านที่จะช่วยกันแสดงความคิดเห็น เพื่อช่วยกันพัฒนาอาชีพนี้ให้แก่เกษตรกรต่อไป
    เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้ จะเน้นถึงรูปแบบที่มีการปฏิบัติได้จริงและเกิดผลมาแล้ว  แต่ทั้งหมดต้องเข้าใจก่อนเสมอว่า ปัจจัยต่าง ๆ ต้องให้มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ผลลัพธ์ย่อมออกมาเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ตรงนี้ผู้เขียนมั่นใจมาก แต่ถ้าตราบใดที่ปัจจัยบางอย่างไม่เหมือนกัน เราต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม แต่ก็ยังคงหลักการและแนวทางดังกล่าวอยู่
    หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อเกษตรกรหรือผู้เกี่ยวข้องกับอาชีพยาสูบและหวังว่าคงได้รับคำชี้แนะจากผู้รู้ เพื่อทางผู้เขียนจะได้นำมาปรับปรุงต่อไป มีปัญหาต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นขอความกรุณาติดต่อกับผู้เขียนได้ทุกวัน  เวลา  ตามที่อยู่ข้างล่างนี้



                                                                                 ( นายภัคภณ     ศรีคล้าย )
                                                                                      นักวิชาการเกษตร
                                                                          บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย)

                                                           221/8  หมู่ 6 ต.ฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
                                                           โทร  084-8809595, 084-3696633
                                                           www.organellelife.com
                                                           www.paccapon.blogspot.com
                                                           www.facebook.com/organellelife.org
                                                           Line ID : organellelife




7 ขั้นตอนที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการผลิตใบยาสูบเวอร์จิเนีย แต่ละขั้นตอนจะส่งผลกระทบต่อขั้นตอนต่อๆ ไปเป็นลูกโซ่ จึงควรในแต่ละขั้นตอนให้ครบถ้วยสมบูรณ์ก็จะส่งผลดีไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แล้วจะประสบผลสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้




แนวทางการดูแลและปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน

การเพาะกล้ายาสูบ
-    ให้นำวัสดุเพาะกล้า(มีเดีย) บรรจุลงในถาดเพาะ แล้วหยอดเมล็ด เมื่อเมล็ดงอกแล้วประมาณ 10 วัน ให้แยกกล้าไปใส่ในถาดเพาะที่วางไว้ในกะบะซีเมนต์ที่บรรจุน้ำไว้ ดูแลรักษาโดยการป้องกันโรคและตะไคร่น้ำด้วย “อีเรเซอร์-1” ใส่ไปในกะบะที่ใส่ถาดเพาะที่มีน้ำก่อนย้ายกล้ามาชำ 1-3 วัน อัตรา 10 ซี.ซี/น้ำ 1 บัว  รดบนถาดกล้า และฉีดพ่นป้องกันโรคเน่าคอกล้าด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส” ก่อนตัดใบให้ฉีดพ่นด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส” และหลัง ตัดใบเสร็จให้ฉีดพ่นด้วย “อีเรเซอร์-1” เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่จะทำให้กล้าเน่า ,ยอดเน่า

-    การให้ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ย “โฟทอนิค” ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ไม่มีเกลือฟอสเฟต ที่ทำอันตรายกับกล้า สูตร 20-5-30 หรือสูตรใกล้เคียงในอัตรา 90กรัม/น้ำ 1 ถังมะตอย (1 แปลงใช้ 2 ถังมะตอย) ก่อนให้ปุ๋ยให้เอาน้ำออกจน Media แห้ง ใส่ช่วงกล้าอายุ 20 วัน (ก่อน Clipping ใบ 5 วัน)
1. สภาพพื้นที่ดินปลูก
    1.1     ดินที่มีค่าความเป็นกรด -  ด่าง ( PH ) ไม่เหมาะสม  ควรมีการตรวจเช็คค่า PH ของดินปลูกเพราะโดยส่วนใหญ่เท่าที่สำรวจจะพบว่า ดินปลูกยาสูบจะมีความเป็นกรดเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยจะมีค่า PH ประมาณ 4.8 – 5.4   ซึ่งถือว่าเป็นกรดค่อนข้างจัด และไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตสำหรับยาสูบ ทั้งนี้เพราะดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของยาสูบควรมีค่า PH ประมาณ 5.8 – 6.6 คือเป็นกรดอ่อนๆ วิธีแก้ไขเราควรที่จะมีการปรับสภาพของดินปลูกให้ได้ค่า PH ที่เหมาะสม โดยการใช้สารปรับปรุงดิน อาทิ แคลเซียมซัลเฟต หรือ โคโลไมท์
    แนะนำให้ใช้ สารปรับปรุงดิน “ซอยล์แอสท์” 50 – 100 กิโลกรัม (ดูรายละเอียดในภาคผนวก)

    เมื่อสภาพดินมีค่าความเป็นกรด จะมีผลต่อธาตุอาหารต่าง ๆ ที่เราใส่ลงไปในดินดังนี้ คือ
1.     มีการจับธาตุฟอสฟอรัส (P) ไว้   จนพืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้
2.     มีการไล่ธาตุไนโตรเจน (N) , โปแตสเซียม (K) , แคลเซียม (Ca ) , แมกนีเซียม (Mg ) ให้หลุดออกจากอนุภาคดินได้ง่าย นั่นหมายถึง ธาตุต่าง ๆ ดังกล่าวจะถูกชะล้างและสูญเสียง่าย
3.     มีการจับ จุลธาตุ (ธาตุอาหารเสริม) บางตัวไว้จนละลายออกมาไม่ได้ (ถูกตรึงไว้) ทำให้พืชไม่ได้ประโยชน์จนทำให้ขาดจุลธาตุดังกล่าว อาทิ โบรอน สังกะสี ทองแดง เป็นต้น
4.     มีการไล่จุลธาตุบางตัว อาทิ เหล็ก (Fe) และ อลูมีเนียม ( A1) ออกมาจนเป็นพิษต่อพืชได้
ตารางที่ 1-7 เป็นตารางแสดงว่าความเป็นกรด – ด่าง ที่เหมาะสมต่อธาตุอาหารแต่ละตัวที่จะถูกปลดปล่อยออกมาให้เป็นประโยชน์ต่อพืช


1.2  ดินที่มีโครงสร้างไม่ดี  แน่นทึบ ( SOIL COMPACTION ) ลักษณะดินประเภทนี้ จะมีผลต่อระบบรากของยาสูบ  ตลอดจนกระทั้งการระบายน้ำให้แก่รากยาสูบ อันทำให้การเจริญเติบโตและการดูดกินอาหารของยาสูบมีปัญหา  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าระบบรากของยาสูบถือเป็นหัวใจสำคัญ ทั้งนี้เพราะรากยาสูบเป็นแหล่งสร้างนิโคติน ดังนั้นก่อนมีการปลูกยาสูบควรมีการเลือกลักษณะดิน ในกรณีที่จำเป็นต้องปลูกในดินที่มีโครงสร้างดังกล่าว ควรมีการปรับโครงสร้างดินด้วยวิธีการดังนี้ คือ
    (1.2.1) ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในปริมาณที่มากขึ้น (อัตราตั้งแต่ 200 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นไป )
    (1.2.2) ให้ใช้สารสกัดอินทรีย์เข้มข้น อาทิ ซอยล์ไลฟ์ ( SOIL-LIFE ) ในอัตราไร่ละ 500 – 1,000 กรัม โดยผสมสาร  10-15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร รดที่หลุมปลูกต้นละ 250 ซี.ซี. (หรือ 1 กระป๋องนม )
    (1.2.3) ให้ใช้ G-5 ที่มีสารสกัดอินทรีย์แข้มข้นผสมฮอร์โมน Seaweed Extract และ อะมิโน แอซิด ตลอดจนสารป้องกันโรคเน่าต่างๆ

    1.3 ดินที่มีการสะสมของเชื้อโรคสาเหตุของการเน่าและเหี่ยวต่าง ๆ ( SOIL BORNE DISEASE) ในสภาพดินที่มีการเพาะปลูกมานาน ย่อมมีการสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ หลายชนิด อาทิ เชื้อโรค เหี่ยวด้านเดียว (หรือ “ตายผาก” ) ....เชื้อโรคแข้งดำ ฯลฯ และอืน ๆ อีกมากมาย ซึ่งโรคต่าง ๆ เหล่านี้ทำความเสียหายแก่ยาสูบเป็นอันมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อโรคสาเหตุเหล่านี้จะชอบสภาพดินที่มีความเป็นกรดสูง ซึ่งมันมักจะระบาดรุนแรง  การแก้ไขปัญหาตรงนี้คงต้องใช้วิธีผสมผสานและป้องกันไว้ก่อน ถ้าทราบมาโดยตลอดว่าพื้นที่ตรงนั้น ๆ มีการเกิดโรคเป็นประจำ โดย
    (1.3.1) ควรมีการปรับสภาพของดินปลูก โดยเฉพาะดินที่มีความเป็นกรด ( SOIL ACIDITY )  ซึ่งจะเหมาะสมต่อการขยายพันธุ์หรือแพร่ระบาดของเชื้อสาเหตุโดยการใช้ สารปรับสภาพดิน อาทิ ซอยแอสท์ ( SOIL -AST ) หว่านหลังไถขึ้นแปลงเรียบร้อย
    (1.3.2) ควรมีการเลือกใช้สารป้องกันกำจัดที่มีประสิทธิภาพสูงและเชื้อไม่ดื้อยา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อ Fusarium oxysporum f.sp. nicotianae  ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรค “เหี่ยวด้านเดียว” (โรคตายผาก ) หรือเชื้อ Phytopthora parasitica var nicotianae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค “แข้งดำ) หรือเชื้อ Rhizoctonia solani ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค “แข้งเน่า”  หรือ  “โคนเน่า”  เป็นต้น แนะนำให้ใช้   “คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า” จะมีประสิทธิภาพสูงสุด และครอบคลุมหลายเชื้อ (Broad spectrum ) โดยใช้สารอัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไปให้ทั่วลำต้นและใบเมื่อปลูกเสร็จ

3.    ช่วงเวลาปลูก (PERIOD  PLANTING )
ช่วงเวลาที่พืชได้รับแสงมีผลต่อการออกดอกของพืชหลายชนิด จากการศึกษาของ Gardner และ Allard  นักสรีระวิทยาชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1920 พบว่า ยาสูบพันธุ์ Maryland Mammoth จะออกดอกเมื่อช่วงแสงกลางวันสั้นกว่ากลางคืน ถ้าช่วงวันยาวกว่า 14 ชั่วโมงยาสูบจะไม่ออกดอก แต่ถ้าในฤดูหนาวที่มีช่วงวันสั้นกว่า 14 ชั่วโมง ยาสูบพันธ์นี้จะออกดอก  นอกจากนี้เขายังได้ศึกษาช่วงวันที่มีผลต่อการออกดอกของพืชอีกหลายชนิดพบว่าพืชแต่ละชนิด ต้องการความยาวช่วงวันแตกต่างกัน ซึ่งเขาได้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “โฟโตเพอริโอดิซึ่ม” ( Photoperiodism ) หมายถึงปรากฏการณ์ที่พืชมีการตอบสนองต่องช่วงเวลาที่ไดรับแสงในการส่งเสริมการออกดอกของพืชแต่ละชนิด จะมีช่วงวิกฤติในการชักนำการออกดอกทีแตกต่างกัน สามารถแบ่งพืชตามการตอบสนองต่อช่วงยาวของวันได้  3 ประเภท คือ
    1.     พืชวันสั้น ( short day plant ) หมายถึง  พืชที่ออกดอกเมื่อช่วงวันสั้นกว่าช่วงวันวิกฤติ อาทิ ยาสูบ  เบญจมาศ   ถั่วเหลือง   ข้าว   สตอร์เบอรี่  เป็นต้น
    2.     พืชวันยาว ( long day plant )  หมายถึง  พืชที่ออกดอกเมื่อช่วงวันยาวกว่าช่วงวันวิกฤติ ได้แก่ ข้าวสาลี  ข้าวบาร์เลย์   ข้าวโอ๊ต   ป้วยเล้ง   ผักกาดหวาน   แรดดิช  เป็นต้น
    3.     พืชไม่ตอบสนองต่อช่วงวัน ( day neutral plant ) หมายถึง พืชที่ออกดอกโดยไม่ขึ้นกับช่วงวัน เช่น ข้าวโพด   ข้าวฟ่าง   มะเขือเทศ   ฝ้าย   แตงกวา  เป็นต้น
    ช่วงแสงวิกฤติของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป  ตัวอย่าง ยาสูบ  ซึ่งเป็นพืชวันสั้น  ต้องการช่วงแสงวิกฤติเท่ากับ  14 ชั่วโมง  ยาสูบจะออกดอกได้ ถ้าได้รับแสงในช่วงวันเท่ากับ 14 ชั่วโมง  หรือน้อยกว่า แต่ถ้าช่วงวันยาวกว่า  14 ชั่วโมง  ยาสูบจะไม่ออกดอก ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่ายาสูบต้องการช่วงความมืดยาวในการออกดอก การเกิดแสงในช่วงมืดเพียงเล็กน้อง โดยการใช้แสงรบกวนในเวลากลางคืน   ( night break ) ก็มีผลทำให้พืชวันสั้นไม่ออกดอก  ฉะนั้นอาจเรียกพืชวันสั้นว่า “พืชที่ต้องการช่วงเวลากลางคืนยาว”  ( long night – reguiring plant )

                          ตาราง 1-6  ตัวอย่างค่าช่วงวันวิกฤติของพืชบางชนิด


    ดังนั้น...เมื่อเราทราบแล้วว่า  ยาสูบเป็นพืชวันสั้น (SHORT DAY PLANT)  เราก็ควรจะเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม  ถ้าเราไปเลือกปลูกในช่วงที่มีแสงสั้น อาทิ  ในเดือน ธันวาคม – มกราคม  ยาสูบก็จะออกดอกเร็ว  อันจะหมายถึงว่า การสร้างชุดใบยาจะสิ้นสุดลง  จึงทำให้ได้จำนวนใบยาน้อย  ผลผลิตก็จะต่ำ  ดังนั้นเราควรจะคำนึงถึงช่วงที่เหมาะสมมากที่สุด  เพื่อให้ยาสูบได้ผลผลิตสูงสุด  ช่วงที่เหมาะสมควรจะเป็นช่วงตั้งแต่ เดือน กันยายน ไปจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน

4.    การเตรียมแปลงและระยะปลูก ( CULTURAL  PRACTICEA AND RIDGE  SPACING)
    ยาสูบเป็นพืชที่มีลักษณะทรงพุ่มที่มีใบกว้างและยาว  และต้องการพื้นที่ในการรับแสงที่มากเพียงพอต่องการสร้างคุณภาพและผลผลิตที่สูง  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดระยะห่างของพื้นที่ระหว่างต้นยาสูบแต่ละต้นให้เหมาะสม
    ระยะปลูกควรคำนึงถึงความพอเหมาะพอดี  เพื่อให้ได้ปริมาณต่อพื้นที่สูงสุด อันจะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงและต้องให้ได้คุณภาพที่ดีด้วย
    ระยะปลูกที่เหมาะสม  เพื่อให้ได้เป้าหมายทั้ง 2 ประการนั้น ควรจะเป็นดังนี้
             ระยะระหว่างแถว          120     เซนติเมตร
             ระยะระหว่างต้น          60    เซนติเมตร
    ซึ่งระยะดังกล่าวจะทำให้พื้นที่ 1 ไร่ได้จำนวนต้นยาสูบประมาณ  2,220 ตัน
    การเตรียมแปลงเพื้อให้ได้ระยะดังกล่าว แสดงได้ดังภาพ



ข้อเสียของการไม่เข้มงวดเรื่องระยะปลูก  จนทำให้มีการปลูกต้นยาสูบที่ถี่กว่ากำหนด

1.    จำนวนใบยาต่อต้น  จะน้อยกว่า
2.    ใบยาจะสั้นกว่า  และเล็กกว่า
3.    ใบยาจะบางกว่า   และคุณภาพเนื้อใบยาไม่สม่ำเสมอ
4.    ใบยาจะเหลืองเร็วกว่า  แต่จะเป็น “จำเหลือง” ทั้งนี้เพราะขาดแสงแดดที่เพียงพอ
5.    ใบยาจะเน่าช้ำได้ง่าย  เนื้อใบยาไม่แกร่ง  เนื้องจากเพราะมีการอมน้ำสูง
6.    สิ้นเปลืองแรงงานสูง  ทั้งนี้เพราะต้องเก็บใบยาปริมาณมากในแต่ละครั้ง
7.    ความเสียหายสูง
8.    อัตราแปรสภาพใบยา ( Ratio ) กว้าง ทำให้ต้นทุนสูง

5.    การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมและถูกต้อง (FERTILIZER  APPLICATION )

    ลักษณะปุ๋ยสำหรับยาสูบและการเลือกใช้
    ปุ๋ยที่ใช้กับยาสูบ  ควรจะประกอบไปด้วย

    1.     ปุ๋ยหลัก  (N - P - K  Fertilizer ) หรือรองพื้น ( Base dressing )    ซึ่งจะประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม ( K) รวมทั้งธาตุอาหารรองที่จำเป็น อาทิ  แมกนีเซียม (Mg) และธาตุอาหารเสริมพื้นฐาน โบรอน ( B) ปริมาณธาตุอาหารหลัก N-P-K  จะถูกกำหนดโดยดูพื้นฐานของธาตุอาหารในดินปลูกซึ่งควรมีการวิเคราะห์เบื้องต้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์ธาตุฟอสฟอรัส (P)  เมื่อทราบแล้วก็จะนำมาจัดสัดส่วนความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารทั้ง 3 ตัวหรือที่เรียกว่า  “ N-P-K  Ratio ”  สัดส่วนธาตุอาหาร 
N-P-K   หรือ  N-P-K  Ratio  นั้นในประเทศไทยของเรามีปุ๋ยสำเร็จรูปสูตรมาตรฐานที่ใช้กับยาสูบที่เหมาะสม อาทิ 6-12-24 หรือ 1:2:4   หรือ สูตร 8-12-24   หรือ N-P-K ratio = 1:1.5:3   เป็นต้น ในสภาพดินปลูกยาสูบเมืองไทยโดยทั่ว ๆ ไป  กำหนดความต้องการธาตุอาหารหลักโดยประมาณดังต่อไปนี้
    ธาตุไนโตรเจน (N)        12.0 - 15.0    กิโลกรัม N / ไร่
    ธาตุฟอสฟอรัส (P)        12.0 - 16.0    กิโลกรัม P / ไร่
    ธาตุไปแตสเซียม (K )        28.0 - 36.0    กิโลกรัม K / ไร่
    การเลือกใช้อัตราธาตุอาหารแต่ละตัวในปริมาณเท่าใด  ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานบางประการ นั่นคือ
        1.1     สภาพดิน   ดินอุดมสมบูรณ์สูงหรือต่ำ เนื้อดินปลูก อาทิ ดินร่วน หรือ ดินทราย เป็นต้น
        1.2     ฤดูกาลปลูก  อยู่ในช่วงต้นฝน  หรือปลายฝน หรือต้นหนาว เป็นต้น

    2.     ปุ๋ยเสริม  หรือปุ๋ยเติมแต่ง  ( Side  dressing)    ในบางกรณีเมื่อมีการใช้ปุ๋ยหลัก (N-P-K Fertilizer ) ตามปกติแล้ว แต่จำเป็นต้องมีการเสริมหรือปรับการให้ธาตุอาหารหลักบางตัว อาทิ  ไนโตรเจน หรือ โปแตสเซียม (K)  ก็ควรจะมีการเลือกปุ๋ยที่จะเติมแต่งเข้าไป ทั้งนี้เพราะว่าในบางสภาพ ปุ๋ยรองพื้นอาจมีการสูญเสียหรือถูกชะล้างไปได้  การเลือกเติมแต่งให้กับยาสูบ (Side dressing)  จะอยู่ในช่วงอายุ  3 สัปดาห์  และรูปของปุ๋ยก็ควรจะเหมาะสม โดยส่วนใหญ่จะเน้นไนโตรเจนในรูปไนเตรด (NO3) ส่วนจะมีธาตุอาหารหลักตัวอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก  สูตรปุ๋ยเสริมหรือเติมแต่งที่เหมาะสมในประเทศไทยเราที่นิยมใช้จะมีหลายสูตร อาทิ 13-0-46  (โปแตสเซียมไนเตรต ) , สูตร 15-0-14 (โซเดียมโปแตสเซียมไนเตรต ) หรือที่เรียกว่า “ชีเลี่ยนไนเตรต” หรือ  15-0-0 ( แคลเซียมไนเตรต ) และอื่น ๆ

    ดังนั้น..จากปุ๋ย 2 ประเภทที่กล่าวมาจึงนำมากำหนดเป็นโปรแกรมที่เหมาะสมดังต่อไปนี้คือ
4.1    ปุ๋ยรองพื้น (BASE  DRESSING ) 
กำหนดให้ใช้ปุ๋ย  N : P : K  =  1 : 1.5 : 3  ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมมาก อาทิ ปุ๋ยเพาเวอร์เฟอร์ท สูตร 8-12-24  + 4  MgO + 0.06 B อัตราไร่ละ 100 กิโลกรัม
4.2    ปุ๋ยแต่งข้างหรือปุ๋ยเสริม (SIDE  DRESSING ) กำหนดให้ใช้ปุ๋ยในรูปไนเตรตซึ่งมี N : P : K  =  1 : 0 : 0  หรือ  1 : 0 : 1    จะเป็นสูตรที่เหมาะสมสำหรับการเติมแต่ง เพื่อชดเชยหรือเพิ่มธาตุอาหาร  ทั้งไนโตรเจน ( N ) และโปแตสเซียม ( K ) ที่อาจไม่เพียงพอ ถ้าจะใช้เพียงเฉพาะแค่ปุ๋ยรองพื้น ( BASE  DRESSING) เ พียงอย่างเดียว

    การใช้ปุ๋ยเติมแต่งนับว่ามีความจำเป็นมากสำหรับยาสูบ  การเลือกปุ๋ยเติมแต่ง ( SIDE  DRESSING ) จึงมีความจำเป็นต้องเลือกปุ๋ยที่เหมาะสม  จึงควรใช้หลักในการพิจารณาดังต่อไปนี้ คือ
4.2.1    ปุ๋ยเติมแต่งข้าง ( Side dressing ) ธาตุอาหารไนโตรเจน ( N ) ควรอยู่ในรูป ไนเตรต ( NO3 )
4.2.2    ปุ๋ยเติมแต่งข้าง ( Side dressing ) ธาตุอาหารโปแตสเซียม ( K ) ควรมาจากแม่ปุ๋ย โปแตสเซียมไนเตรต ( KNO3 ) จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด
4.2.3    เมื่อคิดต้นทุนต่อธาตุอาหาร ทั้งธาตุอาหารไนโตรเจน ( N ) และ โปรแตสเซียม ( K ) แล้ว  จะต้นทุนต่ำสุดเมื่อเทียบกับการไปใช้ปุ๋ยในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
4.2.4    ควรเลือกปุ๋ยเติมแต่ง ที่จะไปเสริม ปุ๋ยรองพื้น ( Base  dressing ) ให้มีประสิทธิภาพ โดยเมื่อคิดต้นทุนรวมแล้วจะต่ำกว่าปุ๋ยทั่วไป

วิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง

( ก ) ปุ๋ยรองพื้น      ( Base  dressing )  ควรแบ่งใส่  2 ครั้ง  ตามช่วงอายุดังนี้
    ครั้งที่  1     หลังย้ายกล้าปลูก  7 – 10 วัน      โดยฝังปุ๋ย    อัตรา  30  กิโลกรัมต่อไร่
    ครั้งที่  2     หลังย้ายกล้าปลูก  25  วัน     โดยฝังปุ๋ย    อัตรา  70  กิโลกรัมต่อไร่

( ข )     ปุ๋ยแต่งข้างหรือเติมแต่ง ( Side  dressing )    กำหนดให้ใส่ อาจโดยการฝัง หรือผสมน้ำรด ก็ได้  ในช่วงอายุ 7 – 10 วัน  และอายุ  25 วัน อัตราไร่ละ  40 – 50 กิโลกรัมต่อไร่
สำหรับ ปุ๋ยเติมแต่ง  อาจใช้ในกรณีพิเศษได้ดังต่อไปนี้
    ( ข.1 )  ผสมน้ำรด     เพื่อเร่งการเติบโตได้  ในช่วงอายุ 7 – 10 วัน  ในอัตราไม่เกิน  10 กิโลกรัมต่อไร่
    ( ข.2 )  ผสมน้ำรด     เพื่อชดเชยการขาดธาตุอาหารไนโตรเจน ในช่วงใดช่วงหนึ่ง  ตั้งแต่ยาสูบอายุ 35 วันขึ้นไป  จนถึง  55 วัน โดยจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพใบยา    ในอัตราไร่ละไม่เกิน 10 กิโลกรัม

5.  การดูแลรักษา ( PEST  MANAGEMENT )
    5.1     การป้องกันโรคต่าง ๆ  ( DISEASES  CONTROL )
    5.2     การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูต่าง ๆ ของยาสูบ ( INSECTS CONTROL )
    5.3     การป้องกันและกำจัดวัชพืช ( WEEDS  CONTROL )
    5.4     การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต หรือสภาพดินฟ้าอากาศที่ผิดปกติ  ( ENVIRONMENTAL  FACTORS CONTROL )



5.1    การป้องกันและกำจัดโรคต่าง ๆ
5.1.1    โรคที่เกิดจากเชื้อรา  ( FUNGUS  DISEASES )
5.1.2    โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  ( BACTERIAL  DISEASES )
5.1.3    โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส   ( VIRAL  DISEASES )
5.1.4    โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย  ( NEMATODE  DISEASES )


5.1.1    โรคที่เกิดจากเชื้อราต่าง ๆ ที่สำคัญ และการป้องกันกำจัด
    5.1.1.1     โรคเน่าคอกล้า ( Damping – off )  เกิดจากเชื้อ Pythium spp.  และ Rhizoc tonia solani   การป้องกันและกำจัด ใช้สาร อีเรเซอร์-1 ( Eraser-1 )  อัตรา 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1 บัว  หรือในแปลงเพาะระบบ Semi – Froating

    5.1.1.2     โรคใบจุดสีน้ำตาล ( BROWN SPOT ) ที่เกิดจากเชื้อ Alternaria  alternate  ฉีดพ่นป้องกันด้วยยา Eraser-1  อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ  20 ลิตร

    5.1.1.3     โรคตากบ  (FROG  EYE )  เกิดจากเชื้อ Cercospora  nicotianae
    การป้องกันและกำจัด ( เช่นเดียวกับข้อ 5.1.1.2  )

    5.1.1.4    โรคแอนแทรคโนส (Anth racnose)  เกิดจากเชื้อ Colletotrichum  tabacum
การป้องกันและกำจัด ( เช่นเดียวกันกับข้อ 5.1.1.2 )

     5.1.1.5    โรคเหี่ยวด้านเดียว (Fusarium wilt ) หรือที่เรียกว่า “โรคตายผาก” เกิดจากเชื้อ  Fusarium  oxysporum
การป้องกันและกำจัด       
        (1) ปรับสภาพความเป็นกรดของดิน  โดยใช้สารที่เป็นด่างอาทิ  ปูนโดโลไมท์ ,ซอยส์แอสท์
        (2) ใช้สาร  อีเรเซอร์-1 ( Eraser – 1 )  อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ  20 ลิตร  รดหรือฉีดพ่นที่รอบต้นกล้า
    5.1.1.6  โรคแข้งดำ  (BLACK  SHANK )  เกิดจากเชื้อ Phytophthora  parasitica var. nicotinae
    การป้องกันและกำจัด     ใช้สารคาร์บ๊อกซิล-พลัส ( Carboxyl-plus ) อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นประมาณ  2 -3 ครั้ง หลังปลูก

    5.1.1.7  โรคแข้งเน่า ( SORESHIN )  เกิดจากเชื้อ Rhizoctonia solani 
การป้องกันและกำจัด  เช่นเดียวกับโรคเหี่ยวด้านเดียว ( ข้อ 5.1.1.5 )

    5.1.1.8  โรคราสีน้ำเงิน ( BLUE  MOLD )  ที่เกิดจากเชื้อ  Peronospora   tabacina
การป้องกันและกำจัด  ฉีดพ่นป้องกันด้วยสาร อีเรเซอร์ – 1 ( Eraser – 1 )

5.1.2    โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial  diseases )
    5.1.2.1    โรคเหี่ยวเฉา  ( GRANVILLE  WILT )  เกิดจากเชื้อสาเหตุ  Pseudomonas  solanacearum  ชุบรากกล้าและฉีดพ่นด้วยสาร  คาร์บ๊อกซิล-พลัส ( Carboxyl – Plus )

    5.1.2.2 โรคใบจุดเหลี่ยม ( ANGULAR  LEAFSPOT )  หรือไฟลามทุ่ง ( WILD FIRE ) ซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุ  Pseudomonas  syringae  pv  tabacina   ให้พ่นป้องกันด้วย “อีเรเซอร์-1”  อัตรา  20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร  หลังจากย้ายกล้าปลูก  ประมาณ20-25 วัน  ให้พ่นทุก  7 วัน 

5.1.3 โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (VIRAL DISEASES)
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกับยาสูบ มีโดยประมาณ 18 ชนิด  ดังต่อไปนี้
   5.1.3.1    MOSAIC  เกิดจากเชื้อ TOBACCO MOSAIC VIRUS (TMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus Persicae ฯลฯ
   5.1.3.2    VEIN BANDING เกิดจากเชื้อ POTATO VIRUSY (PVY) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Myzuz spp., Neomyzus spp., Acrythoosiphen spp.
   5.1.3.3    ETCH เกิดจากเชื้อ TOBACCO ETCH VIRUS มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Aulacorthium., Macrosiphiun.,  Myzuz spp. ฯลฯ
   5.1.3.4    TOMATO SPOTTED WILT เกิดจากเชื้อ TOMATO SPOTTED WILT VIRUS (TSWV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยไฟ อาทิ Thrip tabaci, Frankliniella
   5.1.3.5    CUCUMBER MOSAIC VIRUS  เกิดจากเชื้อ CUCUMBER MOSAIC VIRUS (CMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae, Aphis gossypii
   5.1.3.6    VEIN MOTTLE เกิดจากเชื้อ TOBACCO VETH MOTTLE VIRUS (TVMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae
   5.1.3.7    ROSETTE AND BUSHY TOP เกิดจากเชื้อ TOBACCOROSETTE AND BUSHY TOP VIRUS (TRBTV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน (Aphids) อาทิ Myzus sp.
   5.1.3.8    PAENUT STUNT เกิดจากเชื้อ PAENUT STUNT VIRUS (PSV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน
   5.1.3.9    ALFALFA MOSAIC เกิดจากเชื้อ ALFALFA MOSAIC VIRUS (AMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis gossypii, Macrosiphium pisi, Macrosiphium solanifolii, Aphis fabae
   5.1.3.10    LEAF CURL เกิดจากเชื้อ TOBACCO LEAF CURL VIRUS (TLCY) มีพาหะนำเชื้อโดย แมลงหวี่ขาว (whitefly) อาทิ Bemisia tabaci Bemisia gossypiperda, Trialeurodes natatensis Aleurotuberculatus psidii (in Taiwai)
   5.1.3.11    BEET CURLY TOP เกิดจากเชื้อ BEET CURLY TOP VIRUS (BCTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจักจั่น (Leafhopper) อาทิ Circulifer tenellus
   5.1.3.12    RATTLE VIRUS เกิดจากเชื้อ TOBACCO RATTLE VIRUS (TRV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Trichodorus spp.
   5.1.3.13    RING SPOT เกิดจากเชื้อ  TOBACCO RINE SPOT VIRUS (TRSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Xiphinema americanum
   5.1.3.14    STEAK เกิดจากเชื้อ TOBACCO STEAK VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ตั๊กแตน (grasshopper)
   5.1.3.15    NECROSIS เกิดจากเชื้อ TOBACCO NECROSIS VIRUS (TNV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
   5.1.3.16    STUNT เกิดจากเชื้อ TOBACCO STUNT VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
   5.1.3.17    WOUND TUMOR เกิดจากเชื้อ WOUND TUMOR VIRUS (WTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจั๊กจั่น (Leafhopper) อาทิ Agallia constricta. Agallia quadripunctata, Agalliopsis novella
   5.1.3.18     LETTUCE BIG VEIN เกิดจากเชื้อ LETTUCE BIG VEIN VIRUS (LBVV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (fungus) อาทิ Olpidium spp.
ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Viral diseases) จะมีลักษณะโดยทั่วไปที่แสดงอาการ อาทิ แผลจุดเป็นดวง, ด่างลายเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งต้น, แคระแกร็น, หยุดและชะงักการเจริญเติบโต, ลักษณะรูปร่างผิดปกติ, แตกตา, กิ่ง, ช่อ ยอด มากกว่าปกติ
5.1.4  โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย  ( VIRAL  DISEASES )
5.1.4.1    ไส้เดือนฝอยรากปม ( ROOT-KNOT  NEMATODE ) อาทิ Meloidogyne  javanica
5.1.4.2    ไส้เดือนฝอยรากแผล  (ROOT  LESION  NEMATODE )  อาทิ  Pratylenchus spp.
5.1.4.3    ไส้เดือนฝอยรากเน่าสีน้ำตาล ( BROWN  ROOT  ROT  NEMATODE ) อาทิPyatylenchus spp.

5.1.5    โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (NON – PARASITIC  DISEASES )
5.1.5.1    โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารบางตัว ( NUTRITIONAL  PROBLEMS )
5.1.5.2    โรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ( ENVIRONMENTAL  PROBLEMS )

6. การตอนยอด   ( TOPPING  AND  SUCKERING )
    การปลูกยาสูบเวอร์จิเนีย  เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีนั้น  หลังจากที่เราได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ  มาทั้งหมดแล้ว   เราก็ควรที่จะมีการตอนยอด   ซึ่งการตอนยอดมีอิทธิพลต่อผลผลิตและคุณภาพของใบยามาก  จุดประสงค์ของการตอนยอด  ก็เพื่อให้ใบยาที่เหลืออยู่บนต้นเจริญเติบโตได้มากขึ้น ทั้งนี้เพราะการตอนยอดจะไปเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับใบยา  ทำให้ใบยามีความหนา  มีความยาวมากขึ้น
    จุดสำคัญของการตอนยอด  และถือ เป็นหัวใจสำคัญนั่นคือ    การปฏิบัติในไร่  ตั้งแต่การเตรียมดิน..  การใช้ปุ๋ย..  การให้น้ำ..  การดูแลปฏิบัติรักษา  ต้องดีและถูกต้อง  จนมาถึงขั้นตอนของการตอนยอด  นั่นคือ
    6.1     จะตอนยอด   เมื่อได..เวลาใด
    6.2     จะตอนยอดแบบใด..วิธีใด

การปฏิบัติที่ถูกต้องที่จะขอแนะนำ      เป็นวิธีการง่าย  ๆ  ดังต่อไปนี้คือ
1.    ตอนยอดเมื่อ..  ต้นยาสูบเริ่มส่งคอดอก
2.    เด็ดยอด..  พร้อมกับใบที่เล็กกว่า  1 คืบทิ้ง
3.    หยอดยาคุมแขนงทันที  เมื่อเด็ดยอดแล้วเสร็จ  โดยให้ใช้สารคุมหน่อ  EKK # 99  อัตรา  20 ซี.ซี. ต่อน้ำ  1 ลิตร   หยอดลงบนส่วนบนต้นยาสูบที่หักยอดทิ้งแล้ว  อัตราต้นละ  10 ซี.ซี.  แล้วค่อย ๆ ส่ายลำต้นเล็กน้อยให้น้ำยาไหลวนดีขึ้น

ข้อดีของการตอนยอด
1.    เพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่ใบยาที่คงเหลืออยู่ในต้น
2.    กระตุ้นให้มีการสร้างรากให้มากขึ้น  และเป็นการเพิ่มปริมาณนิโคติน
3.    ใบยาสูบจะมีความกว้าง..   ความหนา  และความยาวมากขึ้น
4.    ลดแรงงานในการเก็บเกี่ยว ..  การคัดแยกเสียบ  ให้น้อยลง
5.    ช่วยลดโรคและแมลง
6.    ช่วยลดต้นทุนค่าใบยาสดลง
7.    ช่วยเพิ่มคุณภาพและเกรดใบยาให้สูงขึ้น

7. การเก็บเกี่ยว  ( REAPING )
    การเปลี่ยนสีของใบยา  พิกเมนท์  ( PIGMENT )  หรือเม็ดสีในใบยา  จะประกอบไปด้วย สีเขียวของคลอโรฟิลด์  ( Chlorophylle )  สีเหลืองของแคโรทีนและแซนโดฟิล  หรือเรียกรวมกันว่า  “แคโรทีนอยด์”  เมื่อใบยาสูบเริ่มแก่เม็ดสีเขียวของคลอโรฟิลก็จะเริ่มลดลง  ใบขณะที่ปริมาณแคโรทีนนอยด์คงที่  จึงทำให้เห็นสีเหลืองมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของคาร์โบไฮเดรต  และโพลีฟินอล  ในขณะบ่มใบยาปริมาณคาร์โบไฮเดรตจะเปลี่ยนไป  แป้งจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและโพลีฟินอลจะถูกออกซิไดซ์โดยเอ็นไซม์  Polyphenoloxidazed  enzyme  โพลีฟินอลส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสีของใบยาแห้ง สารเหล่านี้เมื่ออยู่ในใบยาสดจะไม่มีสี  อัตราธาตุอาหารไนโตรเจนและโปแตสเซียม ( N : K )  มีส่วนเกี่ยวพันกับปริมาณของโพลีฟินอลมาก  ถ้าไนโตรเจนสูงและโปแตสเซียมต่ำ  จะทำให้มีปริมาณโพลีฟินอลต่ำ  ใบยาสูบบ่มแล้วจะมีสีน้ำตาลมาก
    การปลูกใบยาสูบในสภาพที่แห้งแล้ง  จะทำให้ปากใบของใบยาปิดเพื่อลดการคายน้ำเมื่อการคายน้ำของใบยามีน้อย  ก็จะทำให้อุณหภูมิของใบยาสูงขึ้นและทำให้การดูดธาตุอาหารฟอสเฟต  ( P2O5 )  ได้น้อยลง  ทำให้การขยายตัวของเซลล์น้อยลง   ทำให้ใบยาสูบมีโครงสร้างทึบ  เมื่อนำใบยาดังกล่าวไปบ่มปากใบจะไม่ค่อยเปิดทำให้การคายน้ำในขณะบ่มช้าใบยาสูบก็จะถูกลวกจนเป็นฝ้าได้  และอีกประการหนึ่ง  ยาสูบที่ปลูกในสภาพที่แห้งแล้งมันจะสร้างสารพวกไขมัน  ( Lipid )  ฉาบอยู่ตามผิวใบยา  ทำให้ใบยากรอบ กระด้าง ขาดความยืดหยุ่น จนมีลักษณะ กระด้าง 
( Strachy )  ผิวพื้นเหมือนเนื้อไม้ ( Woody )  เหนียว  ( Lethery ) มีความแห้งกรอบเพราะเนื้อใบยาทึบมาก ( Slick )
    การเก็บเกี่ยวใบยาสดเพื่อนำมาบ่ม  นับว่ามีความสำคัญมาก  ทั้งนี้เพราะว่า  ใบยาแห้งที่มีคุณภาพดีนั้นนอกเหนือจากการปฏิบัติบนไร่ปลูกอย่างถูกต้องทุกอย่างแล้ว  การเก็บเกี่ยวใบยาสดให้ถูกต้องจะเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถ้าขั้นตอนตรงนี้ผิดพลาด  ก็ทำให้การผลิตใบยาให้มีคุณภาพดี ล้มเหลวได้เช่นกัน

หัวใจสำคัญ  ของการเก็บเกี่ยวใบยาที่ถูกต้อง
    7.1  เตรียมต้นยาสูบให้พร้อมสมบูรณ์สำหรับการสุกแก่  ตามอายุของยาสูบ  โดยที่อายุ  45 วัน ให้ฉีดพ่นด้วย  พาร์ทเวย์เพาเวอร์-5  +  ซูก้าร์-ไฮเวย์ (  PATHWAY # IPP POWER-5 + ZUKAR – Highway )  ครั้งแรก  และพ่นอีก 2 – 3 ครั้งที่อายุ  55 วัน  65  วัน   ตามลำดับ  จะทำให้ต้นยาสูบสมบูรณ์และพร้อมจะสุกแก่ได้ตามอายุทำให้การเก็บเกี่ยวถูกต้อง
    7.2  เมื่อต้นยาสูบสมบูรณ์พร้อม ก็เลือกเก็บเฉพาะใบยาที่สุกแก่  อันมีลักษณะสีกระดังงาแก่  (สีสบันงา) , เส้นกลางใบ ( VEIN )  เป็นสีขาวตลอดเส้น
    7.3  ช่วงเวลาการสุกแก่  จะประมาณ  7 – 9 วัน  ครั้งหนึ่ง ๆ ควารเก็บไม่เกิน 2 ใบต่อต้น

    สรุป  ขั้นตอนของการผลิตใบยาสูบให้ได้ผลผลิตสูงคุณภาพดี  เราไม่สามารถละเลย  ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งได้เลย  และสิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ก็คือ  “การติดตามควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน” ถ้ามีปัญหาอย่าตัดสินใจแก้ไขเองโดยพละการ  ให้ปรึกษาผู้รู้ก่อน  เพื่อป้องกันความผิดพลาดและไม่ทำให้เป้าหมายของเราล้มเหลว
    ในระหว่างทุก ๆ ขั้นตอน  ย่อมมีอุปสรรคต่าง ๆ เกิดขึ้นเสมอ  แต่อย่าวิตก  เพราะทุกอย่างแก้ไขได้ทั้งสิ้น  ขอให้ยึดหลักการที่ได้แนะนำมาเป็นทางแก้  ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่จะทำให้เกิดอุปสรรค  อาทิ  ปัจจัยดินฟ้าอากาศ  ปัจจัยสภาพพื้นที่  ๆ แตกต่างกัน เป็นต้น

    ถ้าทุกคนมั่นใจในหลักการย่อมจะประสบผลสำเร็จกันโดยทั่วกัน
    ขอให้โชคดี


  

ORG-5 Granules : ORG-5 เม็ด

Multi Activity Bio organic Granules. เม็ดเดียวครบเครื่องให้กับพืช


Contents -ประกอบด้วย สารสำคัญ

          - Sea weed extract

          - amino acids

          - neem oil

          - humic acid

          - anti root rot substances





An unique Patented granular formulation for plant growth as well as for effective preventive measures against pests and fungi. It can be used for all crops. ORG-5 contains five different constituents - Due to sea weed based bio-fertilizer there is overall growth of crops due to plant cell division and increase in number of plant cells. Due to blend of vital amino acids, crops gets required nourishment at different stages of its growth. Hence there is healthy and vigorous growth with increased number of flowers and fruits Due to Humic acid, there is profuse growth of white roots. Roots become healthy which ultimately enhance plant growth. Due to Neem Oil, plants are protected from sucking pests in the initial stages of their growth. Neem oil also prevents attacks from other insects and pests as well as protect the plant from Nematodes and Termites. Due to Anti root rot substances, soil gets sterilized by killing harmful fungi such as Fusarium and Pythium. Due to its unique constitution, it has proved to be miracle for all types of crops. since all the five constituents are made available to the crop at once, crop is benefited right from the initial stage till the harvest.



      จาก 5 วัตถุดิบที่ผ่านขบวนการทางธรรมชาติในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพืชเพื่อการเจริญเติบโต และการป้องกันและต้านทานต่อศัตรูพืช



ORG-5 สามารถใช้ได้กับทุกพืช

ORG-5 ประกอบด้วยสารสำคัญ 5 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีประสิทธิผลต่อพืชดังนี้

1. Sea weed extract สาหร่ายสกัดธรรมชาติ มีผลให้พืชเจริญเติบโตโดยการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์ ทำให้พืชเติบโตโดยสม่ำเสมอ

2.amino acids ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืช โดยให้กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่พืชนำไปใช้เพื่อสร้างโปรตีนในการเจริญเติบโต

3. Humic acid ช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพของรากพืชให้พัฒนาสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่ในการดูดน้ำหาอาหารได้เต็มที่ ช่วยโครงสร้างของดินให้มีอากาศเพียงพอและร่วนซุย และยังเปลี่ยนสภาพของปุ๋ยที่อยู่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้

4. Herbal extract สารสกัดจากพืชสมุนไพรและสารสะเดาในรูปน้ำมัน เมื่อพืชต้องแสงแดดจะทำให้สารเหล่านี้ออกฤทธ์ในการป้องกันแมลงและยังใช้ใน การยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อในดิน และยังสามารถป้องกันใส้เดือนฝอยและปลวกด้วย

5.Anti root rot substances
ช่วยให้ดินปราศจากโรคพืชที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะจากเชื้อ Fusarium และ Pythium.


Dosage -  8 to 16 kg per Acre as per type of crop.

อัตราการใช้   3 - 6 กิโลกรัม ต่อไร่



มหัศจรรย์ “ซาร์คอน”( ออร์โธ่ ซิลิซิค แอซิค)
ซิลิคอนกับการเจริญเติบโตของพืช


แม้ว่าซิลิคอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลักของพืช แต่ได้มีการพิสูจน์ในเชิงวิชาการแล้วว่า ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตดังนี้จากการวิจัย เราจะพบว่า การเพาะปลูกพืชในเชิงพาณิชย์ เช่น ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ จะมีการขนย้ายซิลิคอนออกจากพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อฤดูการเพาะปลูก แม้ว่าในดินเองจะมีซิลิคอนในปริมาณสูง แต่การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ปริมาณซิลิคอนในดินเปลี่ยนรูป มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์กับพืชได้ไม่เพียงพอ ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช จากงานวิจัยเราจะพบว่า กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชดังนี้
1. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะทำให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ลำต้นไม่หัก ล้มง่าย ผนังเซลล์ที่แข็งแรงทำให้แมลงเจาะดูดน้ำเลี้ยงได้ยากลำบากขึ้น
2. ในพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว อ้อย เมื่อได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะทำให้โครงสร้างใบ แข็งแรง ใบจะตั้งขึ้น ทำให้รับแสงแดดได้เต็มที่ ขณะเดียวกันสารละลายกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนที่ฉีดพ่น เมื่อแห้งจะเคลือบใบพืชไว้ ทำให้โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าทำลายใบพืชได้
3. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดิน ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้น หลังจากฉีดพ่นกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน พืชจะสร้างรากใหม่ และเสริมสร้างระบบรากให้ซับซ้อนขึ้น
4. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน ที่แทรกอยู่ในโครงสร้างใบ จะทำให้แสงผ่านใบได้น้อยลง หรือใบพืชดักจับแสงได้มากขึ้น ทำให้อัตราสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นใบมีสีเขียวขึ้น
5. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะมีองค์ประกอบของโปแตสเซียมไอออนซึ่งกระตุ้นการลำเลียงอาหารภายในต้นพืช การสังเคราะห์แสงที่ดี ลำเลียงอาหารดีและระบบรากที่ดี จะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
6. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน สามารถดูดซับพิษของโลหะในดิน เช่นโซเดียม อลูมิเนียม แมงกานีส ฯลฯ ได้
7. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะเคลือบใบ ทำให้พืชคายน้ำน้อยลงทำให้พืชสามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งได้นานขึ้น และมากกว่าพืชปกติ
เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ
Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช


กระบวนการ Systemic Acquired Resisitance (SAR) : นวัตกรรมใหม่ในการหยุดยั้งไวรัส ในยาสูบ

 1. อาศัยกลไกในการทำงานของ Systemic Acquired Resistance (SAR)
SAR  เป็นระบบป้องกันตัวเองของพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกกระตุ้นเมื่อเชื้อโรค ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่เข้าทำลายพืชทำให้เกิดบาดแผลพืชจะเกิดการการตอบสนองอย่างฉับพลัน Hypersensitive Response (HR) และหลั่งสารSalicylic acid  ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณ(SAR Signal) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช  กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น

2. อาศัยกลไกในการทำงานของ  Induced Systemic Resistance (ISR)  โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านเชื้อโรค ในกลุ่มของ Defense Proteins หลายๆชนิดอาทิ Defensins, Basic PR-Proteins ( อยู่ในช่องว่างในเซลล์ Vacuole) , Hevein-like Proteins, Thionins etc.

3. อาศัยกลไกในการทำงานของ  Induced Systemic Resistance (ISR)  โดยผ่าน JA-Signaling Pathwayด้วยการส่งสัญญาณเพื่อสร้างสารต่อต้านแมลง ซึ่งสารต่อต้านแมลงอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 กลุ่ม อาทิ
กลุ่มที่ 1 กลุ่ม Alkaloids อาทิ Saponin, Nicotine ฯลฯ ที่มีผลต่อระบบประสาทของแมลง และเอ็นไซม์ต่างๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Proteinase Inhibitors มีผลต่อเอนไซม์ในระบบการย่อยของแมลง ทำให้เกิดอาการขาดอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในแมลง
กลุ่มที่ 3 กลุ่ม Volatile Signal  อาทิ Terpines , Indoles, Phenolics ฯลฯ เป็นสารระเหยที่ส่งสัญญาณในการขับไล่แมลงโดยตรง หรือทางอ้อมโดยสารระเหยที่ส่งสัญญาณล่อแมลง Predators (แมลงล่าเหยื่อ) เพื่อมากำจัดแมลงศัตรูพืช

  4. การให้ธาตุอาหารพืชบางตัวที่จำเป็น อาทิ แคลเซียม(Ca) เพื่อช่วยให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ทำให้ขบวนการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลงดีขึ้น  และ สังกะสี(Zn) เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์สารต่อต้านโรคและแมลงและช่วยขบวนการส่งสัญญาณต่อต้านโรคและแมลงให้ดีขึ้น

 5.  การให้สารอาหารบางอย่างที่สำคัญ อาทิ  Amino acid ทางใบ เพื่อเป็นสารตั้งต้น( Precursor ) ในการสร้างโปรตีนบางตัวในการต่อต้านโรคและแมลง และยังช่วยในการให้พลังงานแก่พืชด้วย  หรือการให้สาร Malate Compounds ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(Precursors) ในการสร้างสารต่อต้านโรคและแมลงต่างๆ อาทิ สาร Alkaloids, Volatile Signals เป็นต้น
6. ยาสูบที่ถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส ใบด่าง,ใบหด  ทำให้ท่ออาหารและท่อน้ำเลี้ยงของต้นมะละกออาจอุดตัน เสื่อมประสิทธิภาพลง จำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยการให้อาหารทางใบ ซึ่งพืชจะได้รับสารอาหารทางปากใบโดยตรง และเข้าสู่กระบวนการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พืชจึงฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยการใช้สารให้พลังงานและอาหารพืชสำเร็จรูปที่จำเป็น อาทิ Monosaccharide , Amino acid , Organic acid ฯลฯ

แนวทางการแก้ปัญหาไวรัสใบด่าง,ใบหด ระบบ ORG-Model  By Organellelife
1.  ซิกน่า ออล อิน วัน( ZIGNA All in One ) สารส่งสัญญาณในการต่อต้านโรคและแมลงต่างๆ( Cell Signalingin Resistance of Plant for Pathogen& Insect ) ทำงานผ่านระบบ SAR และ ISR ซึ่งมีส่วนผสมของสารสำคัญในขบวนการ SA-Signaling Pathway และขบวนการ JA-Signaling Pathway และธาตุอาหารสำคัญบางตัวอาทิ Ca , Znและสารสำคัญบางตัว อาทิ Amino acid , Malate Compounds เป็นต้น
2. ซาร์คอน ( SARCON) เพื่อจุดประสงค์ที่สำคัญคือ
2. 1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์ของพืช อาทิ การฟื้นฟูเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่  การบำรุงเซลล์ให้สมบูรณ์ ไม่แบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ  การซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ
2.2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ
2.3 กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันแมลงหวี่ขาว
และหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป"Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้ว
เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ
Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช
3. อีเรเซอร์-1  (Eraser-1) สารกำจัดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคทีเรียแบบเฉียบพลัน และสารป้องกันเชื้อโรคในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน เสมือนเป็น"วัคซีน" ให้พืช ( ในกระบวนการ Systemic Acquired Resistance: SAR ) โดยผ่าน SA-Signaling Pathwayส่งสัญญาณไปยังเซลล์ต่างๆทั่วทั้งต้นพืช  กระตุ้นให้ยีนต้านทานโรค (PR-Genes) สร้างโปรตีนต้านทานโรคตัวหนึ่งขึ้นมา(PR-Proteins) ที่ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมและฆ่าเชื้อโรคหลายๆชนิด ทำให้พืชมีภูมิต้านทานโรค และสามารถรักษาโรคและป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัสได้ ก่อนที่เชื้อโรคจะลุกลามไปทั่วทั้งลำต้น
4.  ไบโอเจ็ท (Biojet )ฮอร์โมนพืชสกัดชนิดเข้มข้นสำหรับพืชทุกชนิด  ที่จะช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ใหม่ของรากและลำต้น"กระตุ้นแตกราก กระชากแตกยอด แตกใบใหม่"   กระตุ้นกระบวนการสังเคราะห์แสงให้เพิ่มขึ้น ไบโอ-เจ็ท   ประกอบด้วย
ฮอร์โมนต่างๆ   -  อ๊อกซิน (Auxin) , จิบเบลเรลริน (Gibberellin) , ไซโตไคนิน (Cytokinin)
น้ำตาลและกรดอินทรีย์    -  แมนนิทอล (Mannitol)  ,  อัลจีนิค แอซิด (Alginic acid)  ,  ลามินาริน (Laminarin)  ,  น้ำตาลต่างๆ (Other sugar) 
ธาตุอาหารหลัก  -  ไนโตรเจน (N)    ฟอสฟอรัส (P)       โปแตสเซียม (K)
ธาตุอาหารรอง   -  แคลเซียม (Ca)    แมกนีเซียม (Mg)    กำมะถัน (S)
ธาตุอาหารเสริม -  สังกะสี (Zn)  ,   เหล็ก (Fe)  , แมงกานีส (Mn) ,  โบรอน (B),  คอปเปอร์  (Cu)

5. ORG-1 และ ORG-2  - เพื่อให้ในสิ่งที่จำเป็นที่พืชต้องการ
สำหรับ ORG-1 ใช้เพื่อฟื้นสภาพต้นให้สมบูรณ์ พืชไม่โทรมง่าย เช่น หลังเก็บเกี่ยว หรือหลังจากประสบกับโรคระบาดเข้าทำลาย
- ใช้เพื่อทดแทนการสร้างอาหาร ขณะที่พืชวิกฤติการปรุงอาหาร(การสังเคราะห์แสง)จากธรรมชาติได้ไม่เพียงพอ
- ใช้เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ให้กับทุกส่วนของต้นพืช เช่น ส่วนราก ยอด ดอกและผล โตไว ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ติดดอกดี ผลดก ผลใหญ่ ได้ขนาด รสชาติดี สีสวย เนื้อแน่น มีน้ำหนัก
- ใช้เพื่อให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ร้อนจัด หนาวจัด แล้งจัด เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ฯลฯ
- ช่วยสร้างผนังเซลล์พืชให้แข็งแรง สามารถช่วยต้านทานการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้
สำหรับ ORG-2 เป็นสารอาหารพืชชนิดพิเศษ ที่จำเป็น ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่พืช
สำหรับช่วงระยะเริ่มเจริญเติบโต ไปจนกระทั่ง ติดดอก ออกผล ลงหัว หรือ โตสมบูรณ์เต็มที่จนเก็บเกี่ยว  ช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้ได้ปริมาณสูงสุด
-ส่งเสริมการสร้างและสะสมอาหารภายในต้นพืช
-ช่วยเสริมการสร้างตาดอก ติดดอกดี ช่วยผสมเกสรสมบูรณ์
-ลดการร่วงหล่น ขั้วเหนียว ผลดก ผลสวย ได้รูปทรงมาตรฐาน สม่ำเสมอ
-ช่วยสร้างเนื้อให้แน่น มีน้ำหนักดี ขยายขนาดผล ทำให้ผลใหญ่ ผลหนัก
 -เพิ่มปริมาณแป้งในพืชหัวได้มากขึ้น  ทำให้พืชหัวมีขนาดใหญ่ แข็งแรง เนื้อแน่น ไส้ไม่กลวง
-ช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น ช่วยเข้าสี สีสวย รสชาติดี
- ช่วยป้องกันผลกระทบจากสภาวะวิกฤต และความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
     ต้านอากาศหนาว สู้อากาศร้อน  ทนอากาศแล้ง
- พืชฟื้นตัวไว  ให้ดอก ให้ผลเร็ว  ผลใหญ่ได้คุณภาพ และผลผลิตสูง
5.  ซอยล์ไลฟ์ (SoilLife) อินทรียวัตถุสกัดเข้มข้น ที่ใช้บำรุงดินให้ร่วนซุย ไม่แน่นทึบ หรือแน่นแข็ง ดินโปร่งร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี
ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารในดินที่ถูกตรึงไว้ออกมาให้พืชดูดกินได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังให้ออกซิเจน (O2) แก่ดิน เพื่อฟื้นดินให้มีชีวิตและรากพืชงอกเร็วและแผ่ขยายได้เร็วขึ้น ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดินซึ่งจะสร้างแหล่งอาศัยให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆได้
“รากฝอยแผ่กระจาย ผลผลิตเพิ่มมากมาย พืชขยายต้น ขยายใบให้ใหญ่งดงาม ต้นเขียวสมบูรณ์ และช่วยฟื้นฟูให้พืชที่อยู่ในสภาพต้นโทรมให้กลับมาแข็งแรง ต้นใหญ่ ใบเขียว
  วิธีการดูแลรักษายาสูบ ที่ถูกไวรัสใบด่าง,ใบหด เข้าทำลาย
เมื่อพบโรคไวรัสใบด่าง ให้อีเรเซอร์-1 อัตรา 20 ซีซี +ซิกน่า อัตรา10 ซีซี.+ ออร์ซ่า(สารเสริมประสิทธิภาพ) อัตรา 4 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 5 วัน 3-4 ครั้ง ทางดินควรมีการรด"ซอยล์ไลฟ์" ในอัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รดต้นละประมาณ 1 บัวรดน้ำ  กระทั่งอาการของต้นยาสูบเริ่มดีขึ้น 
หลังจากควบคุมอาการไวรัสอยู่แล้ว ให้เริ่มต้นบำรุงดูแลยาสูบ โดยการ ฉีดพ่น"ไบโอเจ็ท" เพื่อกระตุ้นการแตกยอด แตกใบใหม่ที่สมบูรณ์ และฉีดพ่น"ซิกน่า"ร่วมกับ"ซาร์คอน" ทุกๆ  10-15 วัน เพื่อป้องกันและคุ้มครองยาสูบไม่ให้เกิดการเข้าทำลายของเชื้อไวรัสอีกต่อไป 
หลังจากยาสูบได้รับการรักษา ฟื้นฟูแล้ว เกิดการแตกยอดอ่อนใหม่ และมีกิ่งก้านที่สมบูรณ์กว่าเดิม ก้านใบไม่มีรอยช้ำ หรือหากรอยช้ำยังปรากฏให้เห็นได้ก็ไม่เป็นอันตราย เมื่อผ่าดูข้างในก้านใบ ไม่พบรอยช้ำภายใน  และเมื่อต้นยาสูบฟื้นตัวจนสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะให้ผลผลิต ให้ฉีดพ่น ORG-1 + ORG-2 ทุกๆ 10-15 วัน เพื่อสร้างความสมบูรณ์ต่อการให้ผลผลิตที่ดี ไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
อยากบอกว่า ปัญหาเรื่องไวรัสใบด่างนี้ ยังมีทางแก้ไข อยู่ที่ว่าเราจะหยุดหรือเดินต่อไป แต่ถ้าเราหยุดและยอมแพ้ต่อเชื้อโรคนี้ คงไม่มีพื้นที่ปลูกยาสูบเหลือรอให้เราได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์อีกต่อไป ยาสูบก็คงจะสูญหายหายไปจากพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรไทยอีกต่อไป ดังนั้นจึงขอยืนยันว่าเราจะเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่อไป

……



ซิกน่า
สารชักนำการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง
(Induced Systemic Resistance : ISR)


คุณสมบัติ
ซิกน่า ใช้เป็นวัคซีนพืชโดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลง ตามธรรมชาติและสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่ว ทั้งต้น โดย ซิกน่า มีกรดอินทรีย์บางชนิด ที่เป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง
สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย ซิกน่า มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆ ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อ โรคพืชหลายชนิด (board-spectrum) ขณะที่สารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้นหลายชนิดเช่น alkaloids, Proteinase Inhibitors, รวมทั้งสารระเหยต่างๆ เป็นต้น มีกลไกการป้องกันและกำจัดแมลงต่างกันไป ทำให้ออกฤทธิ์เสริมกันได้ดียิ่งขึ้น

ซิกน่า มีกรดอะมิโน ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการสร้างโปรตีนต่อต้านโรคและแมลง ทำให้พืชสามารถนำมาใช้ผลิตโปรตีนที่เป็นภูมิต้านทานได้อย่างต่อเนื่องและไม่ ทำให้ต้นพืชโทรม ซิกน่า ยังมีมาเลท ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสาร สำคัญของพืชต่างๆ รวมทั้งสารที่พืชสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านโรคและแมลงด้วย
ซิกน่า มีแคลเซียมในรูปคีเลท ทำให้สามารถผ่านเข้าสู่พืชและเคลื่อนย้ายในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วยในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนต้านทานโรคและช่วยทำให้พืชมีโครงสร้างที่แข็ง แรงเสริมการป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลงได้อย่างดี ซิกน่า ยังมีสังกะสีในรูปคีเลท ที่ช่วยส่งเสริมขบวนการส่งสัญญาณเซลและขบวนการสังเคราะห์ภูมิต้านทานโรคและ แมลงด้วย

1. ต้องมีสารชักนำ (Elicitor) ให้เกิดสัญญาณ ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของตัวกระตุ้นหรือสายพันธุ์เชื้อโรค ปล่อยสารชักนำไปยังพืชที่มีตัวรับ (Receptor) ที่เข้ากันได้ ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์พืช ทำให้สามารถรับรู้สารชักนำนั้นๆ และเกิดสัญญาณขึ้นได้

2. การรับรู้ที่เกิดขึ้นทำให้พืชสร้างสารส่งสัญญาณ (messengers) ไปยังเซลอื่นๆ ทั่วทั้งต้นที่ยังไม่ถูกบุกรุก สารส่งสัญญาณที่สำคัญได้แก่ (SA), และ (JA) และอื่นๆ

3. Induced Systemic Resistance (ISR) กระตุ้นโดย Plant Growth Promoting Rhizobacteria  (PGPR)ส่งสัญญาณทั้ง JA-signaling pathway และ SA-signaling pathway
ซิกน่า  สารชักนำการสร้างภูมิต้านทานโรคและแมลง  (Induced Systemic Resistance : ISR)

คุณสมบัติ  "ซิกน่า"(ZIGNA) ใช้เป็นวัคซีนพืชโดยเทคนิคที่ทำให้พืชเสมือนถูกกระตุ้นด้วยเชื้อโรคหรือแมลง ตามธรรมชาติและสร้างสารต้านทานโรคและแมลงขึ้นมาต่อต้านภายในต้นพืชเองไปทั่ว ทั้งต้น โดย ซิกน่า เป็นสารส่งสัญญาณที่พืชต้องการขึ้นเมื่อมีการบุกรุกของเชื้อโรคและแมลง
สารต่อต้านโรคที่พืชสร้างขึ้นจาการกระตุ้นด้วย ซิกน่า มีหลายชนิด เช่น PR-proteins, Defensin, Phytoalexins และอื่นๆ ทำให้สามารถกำจัดและควบคุมเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเชื้อ โรคพืชหลายชนิด (board-spectrum) ขณะที่สารต่อต้านแมลงที่พืชสร้างขึ้นหลายชนิดเช่น alkaloids, Proteinase Inhibitors, รวมทั้งสารระเหยต่างๆ เป็นต้น มีกลไกการป้องกันและกำจัดแมลงต่างกันไป ทำให้ออกฤทธิ์เสริมกันได้ดียิ่งขึ้น


มหัศจรรย์ “ซาร์คอน”( ออร์โธ่ ซิลิซิค แอซิค) 


ซิลิคอนกับการเจริญเติบโตของพืช
แม้ว่าซิลิคอนจะไม่ใช่ธาตุอาหารหลักของพืช แต่ได้มีการพิสูจน์ในเชิงวิชาการแล้วว่า ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตดังนี้จากการวิจัย เราจะพบว่า การเพาะปลูกพืชในเชิงพาณิชย์ เช่น ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ จะมีการขนย้ายซิลิคอนออกจากพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อฤดูการเพาะปลูก แม้ว่าในดินเองจะมีซิลิคอนในปริมาณสูง แต่การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ปริมาณซิลิคอนในดินเปลี่ยนรูป มาอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์กับพืชได้ไม่เพียงพอ ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช จากงานวิจัยเราจะพบว่า กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชดังนี้
1. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะทำให้ผนังเซลล์ของพืชแข็งแรง ลำต้นไม่หัก ล้มง่าย ผนังเซลล์ที่แข็งแรงทำให้แมลงเจาะดูดน้ำเลี้ยงได้ยากลำบากขึ้น
2. ในพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว อ้อย เมื่อได้รับกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะทำให้โครงสร้างใบ แข็งแรง ใบจะตั้งขึ้น ทำให้รับแสงแดดได้เต็มที่ ขณะเดียวกันสารละลายกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนที่ฉีดพ่น เมื่อแห้งจะเคลือบใบพืชไว้ ทำให้โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าทำลายใบพืชได้
3. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอนจะปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดิน ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้น หลังจากฉีดพ่นกรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน พืชจะสร้างรากใหม่ และเสริมสร้างระบบรากให้ซับซ้อนขึ้น
4. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน ที่แทรกอยู่ในโครงสร้างใบ จะทำให้แสงผ่านใบได้น้อยลง หรือใบพืชดักจับแสงได้มากขึ้น ทำให้อัตราสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นใบมีสีเขียวขึ้น
5. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะมีองค์ประกอบของโปแตสเซียมไอออนซึ่งกระตุ้นการลำเลียงอาหารภายในต้นพืช การสังเคราะห์แสงที่ดี ลำเลียงอาหารดีและระบบรากที่ดี จะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
6. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน สามารถดูดซับพิษของโลหะในดิน เช่นโซเดียม อลูมิเนียม แมงกานีส ฯลฯ ได้
7. กรดออร์โธ่ซิลิคอนของซาร์คอน จะเคลือบใบ ทำให้พืชคายน้ำน้อยลงทำให้พืชสามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งได้นานขึ้น และมากกว่าพืชปกติ
เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง

มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น



กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช




 องค์ประกอบของ Carboxyl-Plus Extra (คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า)


กรดอินทรีย์ (Organic acid) - สารอินทรีย์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดในสารละลาย (ให้ H+ )

กรดคาร์บ๊อกไซลิค (Carboxylic acid) - กรดอินทรีย์ที่มี Carboxyl group ในโมเลกุล

กรดไขมัน (Fatty acic) - กรดคาร์บอกไซลิคที่มี Carbon (C) ต่อตรง (Aliphatic chain) เท่านั้น






กลไกการออกฤทธิ์ Carboxyl-Plus Extra 

• ในสารละลายกรดคาร์บอกไซลิคจะแตกตัวให้ H+ จนอยู่ในสภาพสมดุล

• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บอกไซลิค จะอยู่ในสภาพแตกตัวและไม่แต่ตัว


• ที่จุดสมดุลย์ กรดคาร์บ๊อกไซลิค แต่ละชนิดมีสภาพแตกตัวไม่เท่ากัน
วัดได้เป็นค่า pKa (ค่าการแตกตัว) ซึ่งจะคงที่สำหรับกรดแต่ละชนิด

• กรดที่มี pKa สูง จะมีสภาพไม่แตกตัวมากกว่า กรดที่มี pKa ต่ำ (เมื่อมี PH สูงขึ้น)







กลไกการออกฤทธิ์ของ คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า
คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตและกำจัดเชื้อโรคพืชโดยใช้คุณสมบัติของกรดคาร์บอกไซลิคและกรดไขมันหลายชนิดร่วมกัน กลไกการออกฤทธิ์ สรุปได้ดังนี้
1.    กรดในคาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า แตกตัวตามค่า pKa ของกรดแต่ละชนิดทำให้ pH ของบริเวณผิวนอกของเชื้อโรคลดลง  ทำให้ผนังเซลล์เชื้อโรคเสียสมดุลย์  ถูกทำลาย และลดการทำงานของเอ็นไซม์ ทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
2. กรดในสภาพไม่แตกตัวจะผ่านผนังเซลล์เชื้อโรคเข้าไป ช่วงแทรกผ่านผนังเซลล์ทำให้บางส่วนเกิดรอยร้าวและรั่ว
3.    กรดที่เข้าไปในเซลล์เชื้อโรคจะแตกตัว ทำให้ pH ในเชื่อโรคลดลง และเปลี่ยนคุณสมบัติโปรตีนทำให้สูญเสียคุณสมบัติการเป็นเอ็มไซม์ที่จำเป็นของเชื้อโรค
4.    เชื้อโรคเร่งกำจัด H+ ออกจากเซลล์ตลอดเวลาทำให้สูญเสียพลังงานจนตาย
5.   กรดแตกตัวประจุลบ ( RCOO-) จะเป็นพิษต่อเชื้อโรคและรบกวนขบวนการสังเคราห์ DNA และโปรตีนทำให้เชื้อโรคตาย




กลไกการออกฤทธิ์ของ "ERASER-1"


กลไกการออกฤทธิ์ของ อีเรเซอร์-1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ผนังเซลล์ทั้ง 2 ชั้นของเชื้อโรค ได้แก่
1. ผนังเซลล์ชั้นนอก ( outer membrane )
2. ผนังเซลล์ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )





การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก ( outer membrane )ผนังเซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบ(-)อยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้น "อีเรเซอร์-1" ที่มีประจุบวก(+)จะวิ่งไปจับกับผนังเซลล์ที่มีประจุลบ(-)อย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลล์บิดจนเกิดเกิดรอยร้าวขึ้น และสามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป


การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน ( cytoplasmic membrane )
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็น bilayer เหมือนชั้นนอกซึ่งมีประจุลบ(-) ที่บริเวณผิว "อีเรเซอร์-1" ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลล์แล้วมีกลไกออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- ถ้าประจุบวก(+) แรงพอจะทำให้ผนังเซลล์แตกสลาย เชื้อโรคตายทันที
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซลล์ทำให้สารภายในเซลล์ไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลล์เหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลล์ซึ่งมีประจุลบ(-)




โปรแกรมและขั้นตอนการปฏิบัติในการดูแล ยาสูบ



การเพาะกล้ายาสูบ
-          ให้นำวัสดุเพาะกล้า(มีเดีย) บรรจุลงในถาดเพาะ แล้วหยอดเมล็ด เมื่อเมล็ดงอกแล้วประมาณ 10 วัน ให้แยกกล้าไปใส่ในถาดเพาะที่วางไว้ในกะบะซีเมนต์ที่บรรจุน้ำไว้ ดูแลรักษาโดยการป้องกันโรคและตะไคร่น้ำด้วย “อีเรเซอร์-1” ใส่ไปในกะบะที่ใส่ถาดเพาะที่มีน้ำก่อนย้ายกล้ามาชำ 1-3 วัน อัตรา 10 ซี.ซี/น้ำ 1 บัว  รดบนถาดกล้า และฉีดพ่นป้องกันโรคเน่าคอกล้าด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส” ก่อนตัดใบให้ฉีดพ่นด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส” และหลัง ตัดใบเสร็จให้ฉีดพ่นด้วย “อีเรเซอร์-1” เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่จะทำให้กล้าเน่า ,ยอดเน่า
-          การให้ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ย “โฟทอนิค” ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ไม่มีเกลือฟอสเฟต ที่ทำอันตรายกับกล้า สูตร 20-5-30 หรือสูตรใกล้เคียงในอัตรา 90กรัม/น้ำ 1 ถังมะตอย (1 แปลงใช้ 2 ถังมะตอย) ก่อนให้ปุ๋ยให้เอาน้ำออกจน Media แห้ง ใส่ช่วงกล้าอายุ 20 วัน (ก่อน Clipping ใบ 5 วัน) 

การเตรียมพื้นที่ปลูก
-          ไถขึ้นแปลง , จัดระยะปลูก
-          ระหว่างแถว 120 ซม. ระหว่างต้น 60 ซม.
หมายเหตุ  :  แนะนำให้ขึ้นแปลงเดี่ยว ปรับสภาพดินด้วย “ซอยล์แอสท์” อัตราไร่ละ 50 กก. หว่านหลังไถ
หรือขึ้นแปลงเสร็จและใช้ “ซอยล์ไลฟ์” อัตรา 500กรัม ต่อไร่ โดยหลังปลูกผสมน้ำรด อัตราผสม 150 กรัม/น้ำ 1 ถังมะตอย (200ลิตร) รดต้นละ 1 กระป๋องนม หลังปลูกไม่เกิน 3 วัน เพื่อป้องกันการรบกวนของแมลงหวี่ขาว และกระตุ้นภูมิต้านทานโรคต่างๆ
ปลูกเสร็จ
-          ฉีดพ่นด้วย “ซาร์คอน” อัตรา 20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืชต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส และ พ่นด้วย “ซิกน่า” อัตรา 10 ซี.ซี./น้ำ20 ลิตร เพื่อป้องกันการรบกวนของแมลงหวี่ขาว และกระตุ้นภูมิต้านทานโรคต่างๆ  ฉีดพ่นด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส” อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อคุ้มครองและรักษาโรคต่างๆที่สร้างความเสียหายให้กับต้นยาสูบ เช่นโรคใบหด ใบด่าง โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบด่างวงแหวน โรคแข้งดำ โรคเน่า โรคเหี่ยวเฉาต่างๆ ควรฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน ประมาณ 3 ครั้ง



7 วันหลังปลูก
-          ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 8-12-24+4MgO
อัตรา 25 กก./ไร่ ผสมกับ 15-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ และ “ORG-5

อัตรา 4 กก./ไร่ เพื่อให้ฮอร์โมนสารให้พลังงาน(น้ำตาลทางด่วน) และสารป้องกันโรคทางดิน (ครั้งที่1)
-          ฉีดพ่นด้วย “ไบโอเจ็ท”


10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วตรงทรงพุ่มเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต กระตุ้นการแตกราก แตกใบอ่อน แตกยอดดี ควรพ่นทุกๆ 7 วัน ประมาณ 3 ครั้ง เพิ่มความสมบูรณ์ของต้นยาสูบ




25 วัน หลังการปลูก
-          ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 8-12-24+24MgO อัตรา 75 กก./ไร่ (ครั้งที่ 2)

-          เสริมปุ๋ยเร่งสูตร 15-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่

-          ฉีดพ่นด้วย PATHWAY POWER-5 20ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร เพื่อให้ต้นยาสูบได้รับธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการสำหรับการเจริญเติบโต ทุก 7-10 วัน 2-3 ครั้ง จนยาสูบอายุได้ 45 วัน



35 วันหลังการปลูก
-          กรณีต้องการเพิ่มคุณภาพและผลผลิตให้สูงถึง 4,500 - 5,000 กก. / ไร่ ฝังหรือหว่านอาหารเสริม ลาเซน่า(Lazena)
อัตรไร่ละ 25 กก. เพื่อเพิ่มคุณภาพใบยา เพิ่มสีสันใบยาแห้ง เพิ่มผลผลิตใบยาหนา มีน้ำหนัก เพิ่มการสะสมแป้งและน้ำตาลใบยาบ่มมีกลิ่นหอม ทำให้ใบยาสุกแก่สมบูรณ์ตามกำหนด ใบยาไม่เป็นฝ้า ไม่กระด้าง เนื้อใบยาหนา นุ่ม มีความยืดหยุ่นสูง นำไปบ่มตี, เรโซแคบ

60 วันหลังการปลูก
-          ควรตอดยอดทันที เมื่อยาสูบส่งคอดอก หรือหลังจากที่เก็บยาตีน
-          เด็ดยอด พร้อมใบที่สั้นกว่า 1 คืบทิ้ง
-          กำจัดหนอนแขนงทิ้งให้หมด
-          รดด้วยยาคุมหน่อ EKK#99 อัตรา 10 ซี.ซี. ที่ยอดยาสูบ (อัตราผสม 20 ซี.ซี. / 1ลิตร)




ประสบการณ์เรื่อง โรคจากไวรัส ในพืชยาสูบ

ที่มีมากกว่า 18 ชนิด และน่าจะมีเพิ่มขึ้นมากกว่านี้  ถ้าโลกเรายังมีความวิปริตแบบนี้
"ไวรัสพืช"เอง เปรียบเสมือน "มหันตภัยเงียบ" สำหรับพืช ถ้าหากไม่ระวัง พลาดพลั้งติดเชื้อขึ้นมา ก็มีโอกาสสูญเสียยิ่งใหญ่ในเรื่องผลผลิตและชีวิตพืชได้เหมือนกัน
ปีพ.ศ. 2527 จบออกมาใหม่ต้องมาทำหน้าที่นักวิชาการเกษตรให้สถานียาสูบในจังหวัดน่าน ที่มีพื้นที่ปลูกยาสูบที่ต้องดูแลมากกว่า 4,000ไร่ ที่ผ่านมามีปัญหามากมายเกี่ยวกับลูกไร่ที่ส่งเสริมให้ปลูกใบยาทั้งคุณภาพใบยาและผลผลิตใบยา ที่ได้ผลผลิตไม่มาก ทั้งๆที่มีพื้นที่ปลูกมากมาย เพราะอะไรหรือ? และทำไมผลผลิตมันจึงต่ำจัง ด้วยเหตุนี้จึงมีที่มาว่า..ให้ผมมา"ผ่าตัดใหญ่" โดยให้วิทยาการใหม่ๆ ในการบริหารและดูแลตั้งแต่ การผลิตกล้าที่ดี การกำหนดระยะปลูกที่ถูกต้อง การให้ปุ๋ยที่ถูกต้อง การดูแลโรคและแมลง ตลอดจนการเก็บเกี่ยว

ทั้งหมดที่กล่าวมานับว่าเป็นเรื่องสำคัญทั้งนั้น ที่จะต้องทำการ "ผ่าตัดใหม่" หมดโดยเน้นการเพิ่มคุณภาพและผลผลิต และสิ่งหนึ่งที่มีส่วนในการทำให้ผลผลิตตกต่ำนั่นก็คือ.."ความเสียหายจากโรคและแมลง" "ใบ"เสียหายก็ไม่มีผลผลิตจะขาย เพราะมันไม่ได้ขาย"หน่วย"หรือ"ผล"เหมือนพืชอื่นๆ
จึงทำให้ผมได้รู้ซึ้งถึงปัญหาโรคบางอย่างที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นเหมือนโรคประจำตัวยาสูบ และเป็นโรคหลักๆที่ทำความเสียหายมากมาย บางปีเสียหายมากกว่าเกือบ50% ของพื้นที่ ผลผลิตหายไปมหาศาลเลยทีเดียว (ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนนะครับว่ายาสูบต้อง "ขายใบ" ผลผลิตของมันคือ"ใบ")


     โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่สำคัญที่รู้จักในตอนนั้นก็มีแค่ 2 ตัว หลักๆคือโรคใบหด(Leaf Curl) กับโรคใบด่าง(Mosaic) แต่ต่อมามารู้ว่ามีมากกว่า 18 ตัว ซึ่งโรคจากเชื้อไวรัสนี้ไม่มีทางแก้ไขนอกเสียจากการป้องกัน และการป้องกันนั้นก็ดันเป็นการป้องกันทางอ้อมซะด้วยซิ นั่นคือการฆ่าแมลงพาหะที่จะนำเชื้อไวรัสมาปล่อย และฟักตัวระยะหนึ่งแล้วก็จะแสดงอาการของโรคออกมา เรารู้ว่า"โรคใบหด" มีแมลงหวี่ขาว(Bemisia tabaci) เป็นพาหะ และ "โรคใบด่าง" มีเพลี้ยอ่อน(Aphis persicae) เป็นพาหะ เราจำเป็นต้องป้องกันโดยฆ่ามันด้วยสารเคมีดูดซึมชนิดรุนแรงที่สุดเท่าที่จะพึงมีได้ ใช้รองก้นหลุมหรือหยอดที่บริเวณโคนต้น เพื่อให้รากดูดซึม ไม่อย่างนั้นจะป้องกันมันไม่ได้ถ้ามันไม่ตายมันก็จะไปปล่อยเชื้อที่อื่นต่อไปสมัยนั้นเราใช้สารดูดซึมที่ชื่อว่า"Temmic 10%G"(สารAldicarb) ซึ่งรุนแรงมากขนาดหยอดไว้ที่โคนต้นยาสูบ แมลงเข้ามาใกล้ในรัศมี 1-2 ฟุต อาทิ จิ้งหรีด แมลงกระชอน หรือหนอนในดิน มีสิทธิตายเกลี้ยง รวมถึงพวกสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก( งู,กิ้งก่า)ที่หลงทางเข้ามาเป็นอันว่าเรียบร้อยตายไม่มีเหลือ เป็นสารที่ร้ายแรงขนาดนี้เพื่อจะกำจัดแมลงหวี่ขาวและเพลี้ยอ่อน ไม่ให้มานำเชื้อต่อไป (แต่ปัจจุบันสารนี้ถูกแบนให้เลิกใช้ไปตั้งแต่ประมาณปี 2538 ) หมดยุคนั้นแล้วต่อมาก็หันมาหาสารตัวอื่นๆอีกทดแทน อาทิ Carbofuran ,Imidaclopridฯลฯ  แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

 แต่ก็ไม่มีทางเลือก จึงยังคงต้องใช้สารเคมีป้องกันแมลงพาหะอยู่ต่อไปอีกหลายปี แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้และสร้างความไม่พึงพอใจให้ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการสถานีบ่มใบยาเลยความเสียหายยังมีปรากฏให้เห็นมากมายอยู่ จึงทำให้คิดว่ามันน่าจะมีทางออกที่ดีและเป็นวิธีที่ใช่มากกว่านี้ไหม เพราะผ่านมาเป็นสิบๆปีก็ยังคงมีความเสียหายให้ได้เห็นตลอดมา จนทำให้นึกถึงว่า"น่าจะมี"วัคซีนพืช"นะ เน้นเรื่องของการสร้าง"ภูมิคุ้มกันโรค" ให้พืช เสมือนพืชได้รับ"วัคซีน" ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นแล้วที่จะต้องขวนขวายและค้นคว้าหาทางออกในเรื่องนี้ให้จงได้ ว่ามันต้องมีวิธีและมีทางออกใหม่ให้เรา จนกระทั่งมาพบกับกระบวนการ"Systemic Acquired Resistance"(SAR) และต่อมาจึงได้นำมาทดลองและปรับใช้จนพึงพอใจ

   ในปี 2543 ก็ได้เริ่มนำมาใช้ในไร่ยาสูบ แบบผสมผสาน โดยฉีดสารที่เสมือน"วัคซีน"ให้ยาสูบทุกไร่ ฉีดพ่นให้ตั้งแต่ปลูกเสร็จไปจนยาสูบอายุถึง 30 วัน(ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน) และยังคงใช้สารเคมีดูดซึมรองก้นหลุมอยู่หลังปลูกกล้าเสร็จ 1 วัน อยู่ ก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ความเสียหายเริ่มน้อยลงจนน่าพึงพอใจแต่ยังไม่เบ็ดเสร็จ ก็ศึกษามาเรื่อยๆว่ามันน่าจะมีทางที่ถูกต้องมากกว่านี้ที่ไม่ต้องใช้สารเคมีดูดซึมฆ่าแมลงพาหะเลยได้ไหม เพราะอย่างไงก็ฆ่ามันได้ไม่หมด เพราะแมลงพาหะมันไม่รู้หรอกว่าต้นยาสูบต้นไหนมียาหรือไม่มียาดูดซึมไว้ มันบินมาดูดกินน้ำเลี้ยงแล้วถึงรู้และมันก็ตายไปแต่มันก็ได้คายเชื้อไวรัสไว้ ต้นพืชต้นนั้นก็ติดเชื้อและมีอาการโรค ต้นไหนภูมิคุ้มกันอ่อนก็ติดเชื้อเป็นโรคไป ต้นไหนมีฤทธิ์ยาต่ำ มันดูดกินไปมันก็ไม่ตาย สุดท้ายก็เป็นโรคอยู่ดี และเราก็ไม่อยากใช้วิธีฆ่าด้วยสารเคมีอีกต่อไปแล้ว เพราะเราไม่มีวันชนะมันหรอก ซักวันมันปรับตัวได้มันก็ดื้อยาอีกจนได้
                       
จนต่อมาเราก็คิดว่า ถ้าไม่ฆ่าแมลงพาหะมันเราจะป้องกันโรคได้อย่างไร  เราต้องขับไล่ไม่ให้มันเข้ามาใกล้ๆภายในสวนเราดีไหม ให้ไปดูดกินน้ำเลี้ยงของพืชที่อยู่สวนอื่นข้างเคียงก็ได้ไม่ต้องเข้ามายุ่งกับพืชในสวนของเรา พืชเราก็จะได้ไม่ต้องรับเชื้อไวรัส เพราะตัวแมลงพาหะมันไม่ได้เข้ามาด้วยว่าถูกไล่หรือเนรเทศไปให้ไกลๆแล้ว หรือถ้ามันหลงเข้ามาเราจะป้องกันอย่างไร แนวทางแก้ไขมี 2 ทางร่วมกันนั่นคือ (1) เราต้องสร้าง "เกราะป้องกัน" ที่แข็งแกร่งเหมือน "เสื้อเกราะ" ที่แมลงพาหะมันจะเจาะต้นและใบไม่เข้า เมื่อมันเจาะไม่เข้ามันก็ปล่อยเชื้อเข้าสู่พืชเราไม่ได้ "เกราะ"ที่ว่ามานั้นจะต้องแข็งแกร่ง นั้นหมายความว่าผนังเซลล์ต้องแข็งแกร่งแบบผนังคอนกรีตเลยทีเดียว  และถ้ามันเจาะเข้ามาปล่อยเชื้อได้บ้าง มันก็จะเจอกับแนวทางที่ 2 นั่นก็คือ "กระบวนการ SAR" ที่ทำหน้าที่เสมือนมี"วัคซีน" ที่คอยควบคุมป้องกันและกำจัดเชื้อไวรัส ไม่ให้ทำหน้าที่ได้จนมันต้องตายไปในที่สุด เราก็จะได้เห็นพืชของเราสุขภาพดี ไม่มีโรคภัยรบกวน เติบโตได้ดี ให้ผลผลิตที่ดี เห็นแล้วก็มีความสุข

ด้วยหลักการต่างๆที่กล่าวมา จึงต้องหาสารต่างๆที่ว่าเพื่อมาทำหน้าที่ๆวางไว้ ทั้ง "สารไล่" และ "สารสร้างเกราะป้องกัน" ร่วมกับสารที่ทำหน้าที่เสมือนเป็น"วัคซีน" เป็นการผสมผสานเพื่อการเอาชนะโรคที่เกิดจากสาเหตุไวรัส ที่ถูกวิธี  ในปี 2550 ยุทธวิธีนี้ก็เริ่มต้นมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีสถานียาสูบแม่แบบที่ผมดูแลอยู่เป็นพันกว่าไร่ ที่ใช้ "ระบบเกษตรประณีต" (Intensive Farming) คือการลดความเสียหายให้ได้มากที่สุดไม่เกิน1% เพื่อให้ผลผลิตสูง คุณภาพ ต้นทุนต่ำ เพราะเมื่อไม่มีโรคเข้าทำลาย ความเสียหายก็ไม่มี การเจริญเติบโตก็สมบูรณ์ดี คุณภาพก็มีตามที่ต้องการ ตามหลักการที่ตั้งไว้ ปลูกพืช 100 ต้น ต้องให้ได้ 100 ต้นที่เหมือนๆกัน โดยต้องไม่ให้มีความเสียหายหรือเสียหายก็ให้น้อยที่สุด "ปลูกยาสูบ 1,000 ไร่ ต้องให้ได้ผลผลิตเท่ากับคนอื่นปลูก 1,500 ไร่ "
ไม่ยากเลยใช่ไหม? ถ้าหากรู้วิธี รู้ว่าจะเอาชนะโรคและศัตรูพืชที่มาทำความเสียหายให้ผลผลิตเราได้อย่างไร?  รู้ว่าจะบริหารและจัดการธาตุอาหารและสารสำคัญที่จำเป็นที่พืชต้องการอย่างถูกต้องเหมาะสมได้อย่างไร?
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางที่วางไว้ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆให้พืชในเรื่องของการลดความเสียหายจากศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคต่างๆ ที่ยากจะรักษา ไม่ให้มาทำร้ายผลผลิตพืชของเรา และขอสงวนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นเนื่องจากเป็นแนวคิดส่วนตัวของผู้เขียนและเป็นแนวทางเฉพาะตัวของผู้เขียนที่ใช้ปฏิบัติมา ใช่หรือไม่ใช่ ผู้เขียนก็ตัดสินใจใช้แนวทางที่กล่าวมานี้เป็นเวลาสิบๆปีแล้ว อย่างพึงพอใจในผลงานของมันที่ผ่านมา

                                                                                        ภัคภณ(ธณกรภ์)  ศรีคล้าย
                                                                                             8 กรกฎาคม 2558


ภาคผนวก: ยาสูบ กับโรคที่เกิดกับเชื้อไวรัส( Viral Diseases)
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกับยาสูบ มีโดยประมาณ 18 ชนิด  ดังต่อไปนี้
1.    MOSAIC  เกิดจากเชื้อ TOBACCO MOSAIC VIRUS (TMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus Persicae ฯลฯ
2.    VEIN BANDING เกิดจากเชื้อ POTATO VIRUSY (PVY) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Myzuz spp., Neomyzus spp., Acrythoosiphen spp.
3.    ETCH เกิดจากเชื้อ TOBACCO ETCH VIRUS มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Aulacorthium., Macrosiphiun.,  Myzuz spp. ฯลฯ
4.    TOMATO SPOTTED WILT เกิดจากเชื้อ TOMATO SPOTTED WILT VIRUS (TSWV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยไฟ อาทิ Thrip tabaci, Frankliniella
5.    CUCUMBER MOSAIC VIRUS  เกิดจากเชื้อ CUCUMBER MOSAIC VIRUS (CMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae, Aphis gossypii
6.    VEIN MOTTLE เกิดจากเชื้อ TOBACCO VETH MOTTLE VIRUS (TVMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae
7.    ROSETTE AND BUSHY TOP เกิดจากเชื้อ TOBACCOROSETTE AND BUSHY TOP VIRUS (TRBTV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน (Aphids) อาทิ Myzus sp.
8.    PAENUT STUNT เกิดจากเชื้อ PAENUT STUNT VIRUS (PSV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน
9.    ALFALFA MOSAIC เกิดจากเชื้อ ALFALFA MOSAIC VIRUS (AMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis gossypii, Macrosiphium pisi, Macrosiphium solanifolii, Aphis fabae
10.    LEAF CURL เกิดจากเชื้อ TOBACCO LEAF CURL VIRUS (TLCY) มีพาหะนำเชื้อโดย แมลงหวี่ขาว (whitefly) อาทิ Bemisia tabaci Bemisia gossypiperda, Trialeurodes natatensis Aleurotuberculatus psidii (in Taiwai)
11.    BEET CURLY TOP เกิดจากเชื้อ BEET CURLY TOP VIRUS (BCTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจักจั่น (Leafhopper) อาทิ Circulifer tenellus
12.    RATTLE VIRUS เกิดจากเชื้อ TOBACCO RATTLE VIRUS (TRV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Trichodorus spp.
13.    RING SPOT เกิดจากเชื้อ  TOBACCO RINE SPOT VIRUS (TRSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Xiphinema americanum
14.    STEAK เกิดจากเชื้อ TOBACCO STEAK VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ตั๊กแตน (grasshopper)
15.    NECROSIS เกิดจากเชื้อ TOBACCO NECROSIS VIRUS (TNV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
16.    STUNT เกิดจากเชื้อ TOBACCO STUNT VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
17.    WOUND TUMOR เกิดจากเชื้อ WOUND TUMOR VIRUS (WTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจั๊กจั่น (Leafhopper) อาทิ Agallia constricta. Agallia quadripunctata, Agalliopsis novella
18.    LETTUCE BIG VEIN เกิดจากเชื้อ LETTUCE BIG VEIN VIRUS (LBVV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (fungus) อาทิ Olpidium spp.
ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Viral diseases) จะมีลักษณะโดยทั่วไปที่แสดงอาการ อาทิ แผลจุดเป็นดวง, ด่างลายเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งต้น, แคระแกร็น, หยุดและชะงักการเจริญเติบโต, ลักษณะรูปร่างผิดปกติ, แตกตา, กิ่ง, ช่อ ยอด มากกว่าปกติ





สอบถามเพิ่มเติม 
บริษัท ออร์กาเนลไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด 
084 -8809595, 084-3696633
Line ID : @organellelife.com  (มี@ด้วยครับ)