วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เม็ดขยัน "กรีนอัพ " (Green Up)สารพันประโยชน์




กรีนอัพ(GreenUp) สารเพิ่มประสิทธิภาพดิน
เป็นฮอร์โมน&อาหารเสริมพืชเข้มข้น(ชนิดเม็ด) เสริมด้วยสารให้พลังงานและสารสำคัญอื่นๆ(ชนิดเม็ด)
5 ชั้น 5 พลัง 5 สารสำคัญ "ครบและจบในเม็ดเดียว"
ใช้เดี่ยวก็ได้ ใช้ร่วมกับปุ๋ยอื่นๆก็ดี เพราะมีสิ่งที่ปุ๋ยอื่นๆไม่มี
"ความหิวโหย ซ่อนเร้น" คืออะไร?
ไม่ให้ฮอร์โมน&อาหารเสริมที่พืชขาดและต้องการ พืชก็คลานไปเรื่อยๆ ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร การให้ผลผลิตก็ไม่ดี คุณภาพก็มีแต่ต่ำลง
แต่..ส่วนใหญ่เกษตรกรจะให้ด้วยวิธี "ฉีดพ่น"
แต่..ถ้าขี้เกียจ"ฉีดพ่น" จะทำอย่างไรดี?
นี่เลยครับ.."กรีพอัพ"(GreenUp) ชนิดเม็ด..."สะดวก และ ง่าย"
ใช้หว่านหรือคลุกกับปุ๋ยก็ได้ ให้ทางดิน พืชดูดกินได้เต็มที่ ไม่มีปัญหาเรื่องเสียเวลาไปฉีดพ่นให้พืช
"กรีนอัพ"..ของดีที่ขอแนะนำ
ถ้าไม่อยากให้พืช ต้อง"หิวโหย ซ่อนเร้น" อีกต่อไป ต้องให้"กรีนอัพ" เพื่อรองรับความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายพืช





“ครบและจบในกระสอบเดียว”
“ครบและจบในกระสอบเดียว” จริง ๆ
อะไรกัน..เหรอลุง
อ้าวก็ “กรีนอัพ” ไงล่ะ ไอ้หลานเอ๊ย...
“ไม่ใช่ปุ๋ย.... แต่เป็นมากกว่าปุ๋ย”
กระสอบเดียว ได้มากถึง 5 อย่าง
ทั้ง ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ครบตามที่พืชต้องการ
ให้สารอาหาร “น้ำตาลทางด่วน” เพื่อเพิ่มพลังงานเหมือนทานกระทิงแดง..
ให้ฮอร์โมนพืชตั้ง 3 ชนิด ทั้ง “กระตุ้นแตกราก กระชากแตกใบ” รากเยอะ ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม
ให้สารป้องกันแมลงและโรคพืชหลายชนิด “หนอนไม่กวน เพลี้ยไม่เกี่ยว โรคไม่กล้า” แถมยังเป็นสารปรับสภาพดินได้อีกด้วยน่ะ
ครบเครื่องแบบนี้ จะไม่ให้พูดได้อย่างไรว่า “ครบและจบในกระสอบเดียว”
“ครบและจบในกระสอบเดียว...” จริง ๆ
พืชชอบ เพราะ กระสอบเดียวได้ครบ เหมือนได้สั่งอาหารโต๊ะจีน
ใส่ไป... “พืชโตไว ใบเขียวใหญ่ ต้นแข็งแรง ติดดอก ติดผลดี ผลผลิตมีน้ำหนัก ได้ราคาดี มีเงินเหลือใช้ แบบนี้เอาไหม...

“ออร์กาเนลไลฟ์ หนึ่งในใจเกษตรกรไทย”
“ออร์กาเนลไลฟ์ ชื่อนี้ที่คุณมั่นใจ” และไว้วางใจ
“ออร์กาเนลไลฟ์ สินค้าจัดหนัก องค์ความรู้จัดเต็ม”
“รู้ลึก รู้จริง ในสิ่งที่ทำ ผู้นำนวัตกรรมเกษตรตัวจริง”



กรีนอัพ

ประโยชน์ของอาหารพืช... “กรีนอัพ”เป็นสารเสริมประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ช่วยดูดซับและปลดปล่อยปุ๋ยในดินลดการสูญเสียเป็นอาหารพืชที่ออกฤทธิ์ 2 ระดับ คือ ชั้นนอก ปลดปล่อยอาหารได้ทันทีทันใด ชั้นใน
-• ช่วยในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชกินปุ๋ยได้ดี ใบใหญ่หนากว่าปกติ ใบเขียวเข้มดำมัน 
•ใช้ได้กับพืชทุกชนิดและทุกระยะการเจริญเติบโต 

•- ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และปลอดโรค 
•ติดดอก ออกผล ได้ดีขึ้น เพราะได้รับอาหารครบถ้วน ทำให้การสะสมอาหารมีมาก ถึงเวลาออกดอกก็จะออกดอกแบบสมบูรณ์ ถึงเวลาติดผลก็ติดผลได้สมบูรณ์ ผลไม่ร่วง ขั้วเหนียว ติดผลได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้ผลผลิตมาก 

- •ช่วยเพิ่มทั้งคุณภาพและผลผลิต ของพืชเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรสชาติหรือสีสรรก็ดี ผลผลิตจะมีเนื้อแน่น น้ำหนักดี 

- •ช่วยให้พืชที่มีอาการทรุดโทรมด้วยสาเหตุต่างๆ ฟื้นตัวได้เร็ว 

•- ช่วยป้องกันปัญหาอันเกิดจากการขาดธาตุอาหารต่างๆ อันเป็นต้นเหตุให้พืชมีปัญหา อาทิ การออกดอกไม่ดี ออกดอกน้อย ดอกร่วงง่าย ไม่แข็งแรง รสชาติไม่ดี 

•- ช่วยให้อายุการเก็บเกี่ยวได้ก่อนกำหนดในบางพืช อาทิ ข้าว พืชผักต่างๆ จะให้ผลผลิตเร็วกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้ 10 – 15 วัน 

•- ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ให้ดินโปร่งร่วนซุย ลดการใช้ปุ๋ยลง ธาตุอาหารปลดปล่อยได้ดีขึ้น 

- ช่วยลดการใช้สารเคมี ป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลง เพราะมีส่วนผสมของสารป้องกันและกำจัดโรคและแมลง 

- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายปุ๋ย ทั้งนี้เพราะมีธาตุอาหารที่เข้มข้น สามารถทดแทนปุ๋ยเคมี หรือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ โดยลดปุ๋ยเคมีลง ได้ถึง 50 – 60 %

คำแนะนำในการใช้
นาข้าว
ควรใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมี ใช้กรีนอัพ 10 กก./ถุง ผสมยูเรีย 46-0-0 เข้าไป 2 กก.คลุกเคล้าให้ทั่ว กรีนอัพ 10 กก./ถุง ใช้หว่านกับนาข้าวได้ 1  ไร่  (ใช้หว่านนาข้าวได้ทั้งรอบแรก และรอบสอง)
ดอกมะลิ/ดอกดาวเรือง ไม้ดอกไม้ประดับ ฯลฯ
รองพื้นก่อนปลูก หรือใส่ปุ๋ยอัตรา 1 กำมือ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบ หรือโรยปุ๋ย 1 กำมือ ข้างแถว กลบปุ๋ย (ใช้แทนปุ๋ย 25-7-7)
พริก ผักชี กะหล่ำ มะเขือ ฟักทองถั่ว (พืชผักสวนครัว) รองพื้นก่อนปลูก หรือใส่ปุ๋ย 50 กก. /ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบ โรยปุ๋ย 1 กำมือ ข้างแถว กลบปุ๋ย (ใช้แทน 25-7-7)
อ้อย ถั่วเหลือง ข้าวโพด และพืชไร่ทุกชนิด รองพื้นก่อนปลูก หรือใส่ปุ๋ย 50 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบ โรยปุ๋ยข้างแถว (กลบปุ๋ย) (ใช้แทนปุ๋ยสูตร 15-15-15 / 15-7-18)
ลิ้นจี่ ลำไย ทุเรียน เงาะ กาแฟ และไม้ผลทุกชนิด ก่อนทำการปลูก 1 – 2 กก./ไร่ รองก้นหลุม 
ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 กก./ต้น โรยปุ๋ยรอบๆโคนต้นห่างเท่ากับรัศมีทรงพุ่ม 
ครั้งที่ 2 ก่อนออกดอก 1-2 เดือน 1 กก./ต้น เก็บเกี่ยวผลผลิตและตกแต่ง 
ครั้งที่ 3 ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 45 วัน 1 กก./ต้น โรยปุ๋ยรอบๆโคนต้นห่างเท่ากับรัศมีทรงพุ่ม
ยางพารา ปาล์ม และไม้ยืนต้นทุกชนิด
ก่อนนำต้นกล้าลงหลุม 300 – 400 กรัม/หลุม ใช้รองก้นหลุม 
ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน 1 กก./ต้น โรยรอบโคนต้นห่างเท่ากับรัศมีทรงพุ่ม กลบปุ๋ย 
ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน 1 กก./ต้น โรยรอบโคนต้นห่างเท่ากับรัศมีทรงพุ่ม กลบปุ๋ย

www.organellelife.com
www.facebook.com/organellelife.org
Line ID:organellelife



แอคซอน + ซาร์คอน คืออะไร?





"แอคซอน"  (AXZON) : ไม่ใช่ปุ๋ยน้ำ ไม่ใช่ปุ๋ยเหลว ไม่ใช่ปุ๋ยเทวดา ไม่ใช่ฮอร์โมนนางฟ้า หรือไม่ใช่สารจากดาวอังคาร หรือสารนาโนใดๆนะครับ แต่.."แอคซอน" เป็นกรดอินทรีย์สังเคราะห์(The Synthesis of Organic acid)ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อพืช ในการทำหน้าที่ในกระบวนการต่างๆทางชีวเคมี(Biochemistry) ภายในเซลล์ของพืช
โดยส่วนตัวของผมยังยืนยันอยู่ตลอดเวลาว่า สำหรับพืชไม่ว่าจะไปปลูกที่ไหนๆ ปัจจัยอื่นๆอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมอาทิ สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพพื้นที่ สภาพที่ดิน และอื่นๆอาจจะแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่ยังเหมือนกันอยู่ไม่ว่าจะปลูกที่ใดนั่นก็คือ"กระบวนการทำงานต่างๆของพืช"ก็ยังคงมีระบบเหมือนเดิม เพียงแต่จะทำอย่างไรให้กระบวนการต่างๆทำงานได้อย่างสมบูรณ์และปกติได้มากน้อยขนาดไหนก็เท่านั้น 

กระบวนการที่สำคัญมีอยู่ 3 กระบวนการ นั้นคือ
“1 พื้นฐาน 3 กระบวนการ
"1 พื้นฐาน" ที่ว่าก็คือ ดิน ควรมีการปรับปรุง บำรุงดินให้ดินมีชีวิต (ไม่ใช่ดินตาย) ดินที่มีอินทรียวัตถุมากเพียงพอ ดินที่มีโครงสร้างที่ดี ไม่แน่นทึบ โปร่งร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี และมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่มากพอ
เพื่อการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน
"3 กระบวนการ" นั่นก็คือ
1. กระบวนการ สั่งราก” (Root Cell Revitalization)
2. กระบวนการ สั่งลงหัว” (Tuberization)
3. กระบวนการ สั่งแป้ง” (Starch Biosynthesis) 

กระบวนการแรก กระบวนการ สั่งราก” (Root Cell Revitalization) ถ้าเราสามารถสั่งรากได้ เราก็มีชัยไปกว่าครึ่ง รากที่ดีคือ รากสะสมอาหาร (Storage Root) หรือที่เราเรียกว่า “Tuberous Root” ซึ่งจะต่างจาก
รากหาอาหาร (Fabous Root) ถ้าเราสั่งรากได้ 100-200 ราก และเป็นสัดส่วน รากสะสมอาหารเป็นส่วนใหญ่
อะไรจะเกิดขึ้น แค่นี้เราก็ชนะไปครึ่งทางแล้ว
กระบวนการที่สอง กระบวนการ สั่งลงหัว” (Tuberization) “เปลี่ยนรากให้เป็นหัว อย่ามัวหลงทาง
เมื่อส่งไม้มาก็ต้องรับให้แม่น เมื่อรากดี ทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนให้เป็นหัวให้ได้มากที่สุด มีรากสะสมอาหาร
30 ราก เปลี่ยนเป็นหัวได้ 30 หัว เปลี่ยนได้แม้กระทั้งกิ่งและแขนงของรากสะสมอาหาร
กระบวนการที่สาม กระบวนการ สั่งลงแป้ง” (Starch Biosynthesis) เพิ่มปริมาณแป้งและโปรตีนให้สูง
ขึ้น มีน้ำหนักมากขึ้น หัวโตเร็ว หัวใหญ่ ได้เปอร์เซ็นต์แป้งสูง นี้คือ เป้าหมายสุดท้ายแห่งความสำเร็จ


กระบวนการ "TUBERIZATION" กับกลไก การลงหัว"(Tuber)
          เป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem cell) ที่อยู่บริเวณปลายรากของมันสำปะหลัง เมื่อมันได้รับสารบางตัวใน "แอคซอน" (AXZON) ซึ่งเป็นเสมือนฮอร์โมนที่จำเป็นที่ทำให้เซลล์ดังกล่าวก็จะขยายตัว (Cell Enlargement) เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน อีกทั้งเซลล์ก็ยังจะแบ่งตัว (Cell Division) ในแนวขวาง (Lateral Growth) และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation Growth)เพื่อให้เกิดการขยายเซลล์รากให้บวมขึ้นเป็นหัว (Tuber) และเปลี่ยนหน้าที่เซลล์ (Cell Differentiate) เพื่อทำให้ Stolon หรือ Root เปลี่ยนมาทำหน้าที่สะสมอาหารแทน
การลงหัว (Tuberization) จะดีขึ้นและหัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ยังขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในต้นมันสำปะหลังด้วย ดังนั้นการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis) ที่ดีและสมบูรณ์จะช่วยให้การลงหัวดีและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่เราอาจจะเลียนแบบธรรมชาติโดยการไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการให้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตัวเดียวกันกับที่พืชสังเคราะห์แสงได้ ป้อนให้กับมันสำปะหลังด้วยก็จะช่วยให้มีการลงหัวที่ดีขึ้นและสุดยอดขึ้น ดังนั้นการใช้ "ซูการ์-ไฮเวย์"(ZUKAR-Highway) ร่วม ด้วยจึงมีความจำเป็น นี่คือ..คำตอบ ในการพัฒนาผลผลิตมันสำปะหลังในยุคใหม่แห่งโลกอนาคตทางการเกษตร
ช่วงอายุประมาณ 60-90 วันจะเป็นช่วงอายุ(Growth Stage) ของมันสำปะหลังที่จะเปลี่ยนการเจริญเติบโตมาเป็นการ"ลงหัว"เพื่อสะสมอาหารที่หัว มันจะมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนตัวหนึ่งขึ้นมาควบคุมกระบวนการลงหัว(TUBERIZATION) ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มันสำปะหลังสังเคราะห์ขึ้นได้เองตามธรรมชาติซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ของปริมาณแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ถ้าความสัมพันธ์ของแสงและอุณหภูมิ ไม่สัมพันธ์กัน มากไปหรือน้อยไป มันก็ไม่เพียงพอต่อการสร้างฮอร์โมนตัวนี้ การลงหัวก็จะสะดุดและลงหัวได้ไม่ค่อยดี หรือไม่มีการลงหัว มัวแต่หลงทาง และงามแต่ต้นงามแต่ใบ ไม่มีหัวหรือมีหัวจำนวนน้อย ถ้าฮอร์โมนตัวนี้เพียงพอการลงหัวก็จะดี ทุกอย่างเป็นกระบวนการทางชีวเคมี(Biochemistry) ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ ถึงกลไกต่างๆ ถ้าเราเลียนแบบธรรมชาติโดยการสร้างสารบางอย่างหรือฮอร์โมนบางอย่างที่มันพร่องหรือมันขาดแคลนและนำสารหรือฮอร์โมนนั้นๆมาทดแทนในส่วนที่ขาดแคลนนี้ให้แก่พืชได้ พืชย่อมดีใจและสามารถทำหน้าที่ในกระบวนการต่างๆต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ (ในภาพ: มันอายุ 5 เดือน ทำหน้าที่"ลงหัว" เกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะรากเล็ก รากน้อย เปลี่ยนเป็นหัวเกือบหมด รอก็แต่ขยายหัวและ"ลงแป้ง"เท่านั้น)


องค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของกระบวนการ  "TUBERIZATION"

Photoperiod หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวันและอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืชตระกูลที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสม และอุณหภูมิที่ลดต่ำลงพืชจะสังเคราะห์ “Jasmonic acid” (JA) ที่ใบและหลังจากนั้นก็จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังลำต้นที่ทอดเป็นแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก (Root) จนทำให้เกิดหัวเป็นแนวรัศมี (Radial Growth) เป็นจำนวนมาก
การลงหัวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ ที่เซลล์เนื้อเยื้อเจริญ (Subapical meristem cell) ที่อยู่บริเวณ
ปลายรากและปลายยอดของพืช หลังจากได้รับ Jasmonic acid (JA) ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเซลล์ดังนี้
1. Cell Enlargement (การขยายตัวของเซลล์) เซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน
2. Cell Division (การแบ่งตัวของเซลล์) เซลล์เริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง (Lateral) และหยุดแบ่งตัวในแนวยาว (Elongation) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็น หัว
3. Cell Differentiation (การเปลี่ยนสภาพและหน้าที่) ทำให้เกิดการเปลี่ยน Stolon หรือ Root ไปทำหน้าที่
ให้เหมาะสม สะสมอาหารและเซลล์ท่อลำเลียง (Vehicle tube Cell) ก็เปลี่ยนสภาพเพื่อทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัว อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและง่ายขึ้น อาหารถูกสะสมได้มากขึ้นที่หัว การสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้ปริมา ณระดับน้ำตาลที่สูงจะช่วยให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อได้รับ “AXZON” (Jasmonic acid , Glutamic acid and Mixer of Other Organic acid compound) จะช่วยให้เซลล์บริเวณ Storage Root มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีจำนวนมากขึ้นทำให้พร้อมสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น อีกทั้งการเคลื่อนย้ายโปรตีนและแป้งทำให้ง่ายขึ้น หัวมันเลยใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ·


การแช่ "ซาร์คอน" (SARCON)
 SARCON:ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก ไม่ใช่สารเคมีฆ่าเพลี้ยฆ่าแมลง ไม่ใช่สารเคมีกำจัดโรคพืช แต่เป็นกรดอินทรีย์สังเคราะห์หลายตัวที่ทำหน้าที่ๆสำคัญต่างๆต่อกระบวนการทำงานทางชีวเคมี(Biochemistry) และทำหน้าที่ได้ในหลายๆด้าน)
ความจำเป็นที่ต้องแช่ท่อนพันธุ์ ด้วย"ซาร์คอน"(SARCON)
คุณประโยชน์ 3 ประการของสารสำคัญที่มีอยู่ใน "ซาร์คอน"(SARCON)
1. กระตุ้นกระบวนการ Revitalization ระบบเซลล์รากพืช อาทิ การสร้างราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร) ให้ได้ปริมาณมากๆ
2. กระตุ้นกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช( Systemic Acquired Resistances: SAR) อาทิ ป้องกันโรครากเน่า-หัวเน่า โรคใบไหม้ต่างๆ
3. กระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันแมลงและโรค(Agglomeration of Colliods Aggregrate) อาทิ ป้องกันเพลี้ยแป้ง
และหนึ่งในนั้นคือกระบวนการ"Revitalize" เซลล์รากและสร้างสัดส่วนราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร)กับราก"Fibrous root"(รากหาอาหาร) ที่เหมาะสมในปริมาณที่มากพอต่อการสร้างเป็น"Tuber"(โดยผ่านกระบวนการTuberization)
และอีกหนึ่งในนั้นก็คือ"กระบวนการสร้างเกราะป้องกันเพลี้ย" ด้วย"Orthosilisic acid" ที่แตกตัวเป็นสารในรูป"Polymer" และเข้าสู่กระบวนการ" Polymerization" จนเปลี่ยนรูปเป็นสาร "Colloids" และเข้าสู่กระบวนการ"Agglomeration" เพื่อเปลี่ยนรูปให้เป็นผลึกแข็ง(Colloids Aggregrate) และถูกเคลื่อนย้ายไปที่"ผนังเซลล์"(Cell Walls) ต่อไป ผนังเซลล์ก็จะแข็งแบบ"ผนังคอนกรีต" ยากซึ่งที่ปากเพลี้ยจะมาเจาะดูด แปลงอื่นอาจจะมีเพลี้ยมาเจาะน้ำเลี้ยงได้ง่ายและปล่อยเชื้อไวรัสไว้ แต่เราป้องกันไว้ดีกว่า การใช้ยาเคมีดูดซึมจะฆ่าเพลี้ยที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิกได้ ตัวเพลี้ยมันตายไปแต่มันก็ปล่อยเชื้อไวรัสไว้ในพืชแล้ว พืชได้รับเชื้อก็ติดโรคไปแล้ว
เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง
(mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและสภาพแวดล้อมเลวร้ายต่าง ๆ ปกติพืชได้รับ
Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลแข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
มีส่วนผสมของกรดซิลิซิคหรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช





การแช่ท่อนพันธุ์ด้วย "ซาร์คอน" (SARCON)
     ไม่ใช่เป็นการแช่ "ฮอร์โมนเร่งราก" เพื่อให้รากเยอะอย่างเดียว( เพราะ "ซาร์คอน" ไม่ใช่ฮอร์โมนเร่งราก แต่เป็นกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการ "Revitalize" เซลล์ราก) แต่การแช่"ซาร์คอน "ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ได้รากเยอะๆและที่สำคัญรากนั้นๆต้องเป็นราก"Tuberous root"(รากสะสมอาหาร) ให้ได้ปริมาณมากพอจากกระบวนการทำงานในระบบเซลล์รากที่สมบูรณ์ เมื่อได้"รากสะสมอาหาร"ที่มากพอก็รอเข้าสู่"กระบวนการลงหัว"(Tuberization) ด้วย"แอคซอน"(AXZON) ต่อไป
   นี่เพียงแค่หนึ่งในหลายๆคุณประโยชน์ของกรดอินทรีย์ที่มีอยู่ใน"ซาร์คอน"หลายๆชนิด ที่ทำหน้าที่ได้มากมายในระดับเซลล์ ทั้ง
1) Revitaliz ระบบเซลล์ราก (รากมาก รากเยอะ รากแข็งแรง) และเป็นรากสะสมอาหารเป็นส่วนใหญ่
2) Systemic Acquired Resistances (SAR) กระบวนการภูมิคุ้มกันโรคเสมือนได้รับ"วัคซีน" (โรคใบไหม้ ใบหงิก โรครากเน่า โรคหัวเน่า โรคเหี่ยวเฉา บรรเทาและเบาบาง ลงไป)
3) Drought Tolerance  ต้านทานความแห้งแล้ง ความร้อน ทนทานต่อการเหี่ยว การขาดแคลนน้ำ
4) Agglomeration  กระบวนการสร้างผลึกแข็ง( Colliods Aggregrate) ของ Orthosilisic acid เพื่อไปสะสมที่ผนังเซลล์(Cell Wall) ทำให้ผนังแข็งแกร่งดุจคอนกรีต ป้องกันเพลี้ยต่างๆ อาทิ เพลี้ยแป้ง มาเจาะดูน้ำเลี้ยงและปล่อยเชื้อไวรัสไว้
5) Detoxicity ช่วยทำลายสารพิษตกค้างในดินที่จะทำอันตรายให้แก่พืช โดยการจับยึดไว้
6) Liberation of Nutrient ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดิน
    "เข้าใจพืช  รู้ใจดิน"
     จัดสิ่งที่"ใช่"และ"ถูกใจพืช  เข้าใจดิน" คือ..สิ่งที่ยากที่สุดในการทำงานกับพืช


ไม่ต้องแปลกใจว่า..ทำไม?
เมื่อพืชดูด"ซาร์คอน"(SARCON) เมื่อตอนแช่ท่อนพันธุ์เข้าไป ทำไม?..พืชไม่ค่อยหี่ยว ทนแล้ง ทนร้อน ทนขาดน้ำ  (Drought Tolerance)
เมื่อพืชได้รับ "ซาร์คอน" (SARCON) ในใบพืช ซิลิคอนจะสะสมมากในชั้นผนังเซลของเซลผิวนอกชนิดต่าง ๆ (epidermal cells) ได้แก่ bulliform cell, Cork cell, guard cell, long cell, micro-hair, prickle hair, silica cell, subsidiary cell และสะสมน้อยในเซลชั้นกลาง (mesophyll cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) และระบบท่อลำเลียง (vascular bundle cells) ซิลิคอนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงปกป้องการบุกรุกของศัตรูพืชและทนต่อสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายต่าง ๆได้ ปกติพืชได้รับ Silicon ทีละน้อยจากการดูดซึมทางรากและเคลื่อนย้ายไปยังผนังเซลล์ที่สะสมซิลิคอน เมื่อถูกกระตุ้นซิลิคอนจะรวมตัวกันเป็นชั้นโพลิเมอร์ในผนังเซลล์ในรูป silicon – cellulose membrane ช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันตนเอง
 
  "ซาร์คอน"  มีส่วนผสมของกรดซิลิซิค(Silicic acid)หรือซิลิคอนในรูปที่ละลายน้ำได้ และสามารถซึมผ่านเข้าไปในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นสารช่วยสร้างความต้านทานโรคและแมลงให้แก่พืช โดยกรดซิลิซิคในรูปที่ออกฤทธิ์ได้ (Orthosilicic acid) จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชให้แข็งแรงโดยเฉพาะในชั้นเซลล์ผิวนอก(Epidermis) กรดซิลิซิคสะสมในผนังเซลล์และจะรวมตัวเป็นชั้นโพลิเมอร์(polymer)ปกป้องพืชเมื่อถูกกระตุ้นจากการบุกรุกของโรคและแมลง กรดซิลิซิคยังช่วยทำลายพิษที่ได้รับจากศัตรูพืชและยังช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์และการออกฤทธิ์ของสารต้านทานโรคและแมลงที่พืชสร้างขึ้นเองเช่น phytoalexins, flavonoids เป็นต้น
กรดซิลิซิคที่รวมตัวกันเป็นชั้นของโพลิเมอร์( Layer of Polymers) เพื่อปกป้องพืช ก็ยังทำหน้าที่ในการทำให้พืชทนทานต่อสภาวะเครียดต่างๆ จาก ความแห้งแล้ง ความร้อน ความหนาวเย็น ความเค็มของดิน ฯลฯ ได้ดี ทำให้พืช ทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนเค็มได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยวและรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง หาอาหารได้เก่ง ตลอดจนคุณสมบัติอีกอย่างที่กรดซิลิซิคสามารถทำหน้าที่ได้ดีคือการปลดปล่อยธาตุอาหารที่ตกค้างในดินโดยเฉพาะฟอสเฟต และจับยึดสารพิษตกค้างในดินบางชนิดไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่พืชและไปทำลายพืช



ราคา "แอคซอน"( ราคาสมาชิก)ขวดละ700บาท
    ฉีดพ่นครั้งเดียวที่อายุ 75 - 90 วัน 1 ขวดผสมน้ำได้ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ประมาณ 3 - 5ไร่ ตกต้นทุนเฉลี่ยไร่ละประมาณ 140-230บาท สมมุติถ้าผลผลิตเคยได้ 3 ตัน/ไร่ ได้เพิ่มเป็น 6 ตัน/ไร่หรือผลผลิตเคยได้5ตัน/ไร่ ได้เพิ่มเป็น8ตัน/ไร่ คือเพิ่มขึ้นได้เฉลี่ยไร่ละ 3ตัน(จากที่เคยได้ จริงๆที่ผ่านมาเพิ่มมากกว่าไร่ละ5-8ตัน) เพิ่มแค่ไร่ละ3-5ตัน ก็จะคุ้มค่ากับการลงทุนคือเอาเงินร้อยมาแลกเงินหมื่นครับ นี่คือ..การลงทุนยุคใหม่สำหรับเกษตรกรโดยใช้"องค์ความรู้"ใหม่ๆเข้าพัฒนาผลผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ ถ้าไม่มีตัวแปรอื่นๆที่ทำให้เกิดความเสียหายด้านผลผลิต และไม่เกี่ยวกับตัวสินค้า ถ้าใช้แล้วไม่ได้ผลเรายินดีคืนเงินครับ นี่คือแรงบันดาลใจให้เกษตรกรอยากศึกษาวิชาการใหม่ๆและ"องค์ความรู้"ใหม่ๆในโลกยุคออนไลน์
(หมายเหตุ: ทางบริษัทมีโปรโมชั่นช่วงนี้สำหรับคนสมัครสมาชิกใหม่ สามารถซื้อ2ขวดได้รับแถมฟรีอีก 1 ขวด ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรที่เริ่มใช้ใหม่ลดลง) ลองเอาไปใช้นะครับหลังจากได้ผล ยังมีทางเลือกทางรายได้ใหม่ให้ท่านเลือกทำอีกทาง แต่ท่านต้อง
ใช้ให้เห็นกับตาตัวเองก่อนน่ะครับ